ผลการคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และการให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ ในคลินิกเลิกบุหรี่ หน่วยระบบทางเดินหายใจ เจ้าของผลงาน : หน่วยระบบทางเดินหายใจ โทร. 043-366224 สังกัด : แผนกการพยาบาลอายุรกรรม งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Share & Learn 2013 ความเป็นมาและแนวคิด การสูบบุหรี่เป็นปัญหา และปัจจัยเสี่ยงก่อโรคร้ายแรงซึ่งสามารถป้องกันได้ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีนโยบายชัดเจนเป็น “โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ” ใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น หน่วยระบบทางเดินหายใจ ดำเนินคลินิกเลิกบุหรี่และรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่กับผู้รับบริการและบุคลากรเป็นประจำทุกปี โดย คัดกรองการสูบบุหรี่ผู้ใช้บริการทุกราย ก่อนตรวจสมรรถภาพปอด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและผลของการให้คำปรึกษาในคลินิกเลิกบุหรี่ วิธีการดำเนินการ (How to) ระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือน สิงหาคม 2555 – เมษายน 2556 ดำเนินการ โดยการคัดกรองประวัติการสูบบุหรี่ก่อนตรวจสมรรถภาพปอดทุกราย และให้คำปรึกษาผู้ป่วยเพื่อลิกสูบบุหรี่ทุกราย โดยใช้ กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA P = Plan ขั้นตอนที่ 1 : คัดกรองประวัติการสูบบุหรี่ ขั้นตอนที่ 2 : ตอบแบบสอบถามประเมินภาวะสุขภาพ และระดับการติดบุหรี่ A = Act ผู้ป่วยที่ยังไม่เลิกสูบบุหรี่ได้สอบถามปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ต้องการให้บุคลากรช่วยเหลือ นัดมาตรวจสมรรถภาพปอด 1 ปีให้กำลังใจ กระตุ้น ให้กำลังใจผู้สูบบุหรี่ D = Do ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสมรรถภาพปอดคัดกรองผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 4 : พยาบาลให้คำปรึกษาเลิกสูบบุหรี่ โดยวิเคราะห์ข้อมูล/อาการ จากแบบประเมินร่วมกับผลตรวจสมรรถภาพปอด ผลกระทบบุหรี่ต่อสุขภาพ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่ ยกตัวอย่างผลตรวจสมรรถภาพปอดผู้สูบบุหรี่/เลิกบุหรี่สำเร็จ และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ C = Check ขั้นตอนที่ 5 : โทรศัพท์ประเมินผลการเลิกสูบบุหรี่การให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ ผมเลิกบุหรี่แล้วครับ ผลการคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้สูบบุหรี่ 240 ราย ผลการติดตามผู้สูบบุหรี่ (n = 240) ระดับความรุนแรงของโรค จำนวน (n = 240) ร้อยละ ติดตามได้ 162 67.51 ติดตามไม่ได้ 73 32.49 ผลการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มติดตามได้ (n = 162) เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 41 25.31 ยังไม่เลิกสูบบุหรี่ จำแนกเป็น ลดจำนวนบุหรี่ลง -สูบบุหรี่จำนวนเท่าเดิม 121 43 78 74.69 26.57 48.15 ผลการดำเนินงาน 23.51 12 มาตรวจตามนัด - มากที่สุด นัดรักษาต่อเนื่องทีคลินิก โรคหืดและโรคถุงลมโป่งพอง (n = 51) 76.49 39 ไม่มาตรวจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ( n = 51) 49.02 25 น้อย 47.06 24 ปานกลาง 3.92 2 มาก ร้อยละ จำนวน ระดับความรุนแรง ของโรค คัดกรองเป่าปอด 5,632 ราย ตรวจสุภาพประจำปี 167 ราย (69.56 % ผู้ป่วยนอก &ใน 73 ราย (30.42%) สูบบุหรี่ 240 ราย (4.26 %) เหตุผลที่ เลิกสูบ อยากเลิก ตั้งใจมุ่งมั่น เลิกเพื่อครอบครัว เพื่อสุขภาพ ของตนเอง สูบแล้วไม่เกิดประโยชน์ สังคมรังเกียจ การเรียนรู้/การนำไปใช้ประโยชน์ การคัดกรองผู้ป่วยทุกรายด้วยการสอบถามสถานะของการสูบบุหรี่ ให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ ทุกหน่วยงานควรได้ตระหนัก ให้ความสำคัญเพื่อป้องกันโรคกลุ่มเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ซึงโอกาสพัฒนาในคลินิกโรคหืดและโรคถุงลมโป่งพอง ควรมีการติดตามผู้สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ กระตุ้นให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ได้ทั้งหมด และการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการให้คำปรึกษาเลิกสูบบุหรี่ รวมถึงกระจายการเข้าถึงบริการคลินิกเลิกบุหรี่