แนวการเขียนยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำพูน
กระบวนการเบื้องต้นก่อนจะเป็นงานเขียน กระบวนการคิด กระบวนการเตรียมข้อมูล กระบวนการเรียบเรียง
กระบวนการคิด จุดมุ่งหมายของการเขียน ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า งานเขียนมีจุดประสงค์อย่างไร เช่น บอกเล่า โฆษณา ชักชวน เรียกร้อง แสดงความคิดเห็น ฯลฯ ประเด็นสำคัญของเรื่อง อะไรคือสาระหรือประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอ
กระบวนการเตรียมข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นหรือทัศนะ อารมณ์ความรู้สึก
กระบวนการเรียบเรียง ระดับของภาษา ต้องเหมาะกับโอกาส สถานการณ์ จุดประสงค์ บทความส่วนใหญ่จะใช้ภาษากึ่งแบบแผน คือเป็นงานเป็นการพอสมควร ระมัดระวังเรื่องความสม่ำเสมอเป็นระดับเดียวกันโดยตลอดทั้งเรื่อง โวหารการเขียน ควรใช้บรรยายโวหารเพื่อมุ่งบอกเล่าเรื่องราว เหตุการณ์หรือข้อมูล หลักการสำคัญคือให้สาระสำคัญของเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ให้เนื้อหาสำคัญ ประเด็นที่จำเป็น มีการเรียงลำดับ
คุณลักษณะที่ดีของงานเขียน มีเอกภาพ ต้องมีเนื้อความนำเสนอใจความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง ทุกข้อความต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงใจความเดียว มีสัมพันธภาพ คือ ความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวเนื่องกันของข้อความ นอกจากนี้ยังอาศัยการใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม สัมพันธภาพระหว่างย่อหน้าก็ต้องมีด้วยเช่นกัน
หลักการเขียนย่อหน้า มีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ มีสุนทรียภาพ มีสัมพันธภาพระหว่างย่อหน้า มีความยาวพอเหมาะ เว้นวรรคตอนถูกต้อง เหมาะสม
แนวการเขียนที่ดี เขียนให้อ่านง่าย คิดก่อนแล้วจึงลงมือเขียน เขียนให้ตรงเป้าหมาย ใช้คำง่ายที่ผู้อ่านคุ้นเคย ใช้คำเหมาะสม มีความชัดเจน ไม่กำกวม ไม่ใช้คำขยายยืดยาวเกินจำเป็น
เขียนประโยคสั้น แต่ได้ความมาก ชัดเจน เขียนวรรคสั้นดีกว่าเขียนวรรคยาวๆ แนวการเขียนที่ดี เขียนประโยคสั้น แต่ได้ความมาก ชัดเจน เขียนวรรคสั้นดีกว่าเขียนวรรคยาวๆ ไม่ควรมีลีลาการใช้ความซับซ้อน เขียนให้แจ่มแจ้งตามที่คิดไว้ ควรทบทวนเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น พยายามแสดงความคิดของปราชญ์ให้มาก