พัฒนาการของคอมพิวเตอร์
พัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน ยุคก่อนการใช้ไฟฟ้า ยุคที่มีการใช้ไฟฟ้า เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ ลูกคิด เครื่องคำนวณของปาสคาล เครื่องทอผ้าอัตโนมัติด้วยกลไกล เครื่องคำนวณมาร์กวัน
ยุคก่อนการใช้ไฟฟ้า ลูกคิด เครื่องคำนวณของปาสคาล เครื่องทอผ้าอัตโนมัติด้วยกลไกล
ยุคที่มีการใช้ไฟฟ้า เครื่องคำนวณมาร์กวัน
ลูกคิด ลูกคิด (Abacus) เป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรก ที่ มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา โดยชาว ตะวันออก (ชาวจีน) และยังมีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะต่างๆ ออกไป เช่น ลักษณะลูกคิด ของจีน ซึ่งมีตัวนับรางบน สองแถว ขณะที่ ลูกคิดของญี่ปุ่นมีตัวนับรางบนเพียงแถวเดียว แม้ เป็นอุปกรณ์สมัยเก่า แต่ก็มีความสามารถในการ คำนวณเลขได้ทุกระบบ
เครื่องคำนวณของปาสคาล เครื่องคำนวณของปาสกาล ประดิษฐ์ในปี ค.ศ. 1642 โดย เบลส์ ปาสกาล (Blaise Pascal :1623 - 1662) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องคำนวณนี้มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม มี ฟันเฟืองสำหรับตั้งและหมุนตัวเลขอยู่ด้านบน ถือได้ว่า เป็น “เครื่องคำนวณใช้เฟืองเครื่องแรก” โดยใช้หลักการ หมุนของเฟือง และการทดเลขเมื่อเฟืองหมุนไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขออกที่หน้าปัด เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการ คูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร
เครื่องคำนวณปาสคาล
เครื่องทอผ้าอัตโนมัติด้วยกลไกล ปี ค.ศ. 1801 โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด (Joseph Marie Jacuard ) ช่างทอผ้าชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนาเครื่องทอผ้า ให้ทอลายได้ตามรูปแบบที่ต้องการ โดยการใช้เทป กระดาษเจาะรูควบคุมการเคลื่อนที่ของเครื่องทอผ้า
เครื่องผลต่างของแบบเบจ (Babbage's Difference Engine) ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage: 1792 - 1871) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องผลต่าง (Difference Engine) ขึ้นมาในปี 1832 เป็นเครื่องคำนวณที่ ประกอบด้วยฟันเฟืองจำนวนมาก สามารถคำนวณค่า ของตารางได้โดยอัตโนมัติ แล้วส่งผลลัพธ์ไปตอกลงบน แผ่นพิมพ์สำหรับนำไปพิมพ์ได้ทันที
เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจ (Babbage's Analytical Engine) ต่อมาแบบเบจได้พัฒนาเครื่องวิเคราะห์ ซึ่งจะ ประกอบด้วย หน่วยความจำ ซึ่งก็คือ ฟันเฟือง หน่วยคำนวณ ที่สามารถบวกลบคูณหารได้ บัตรปฏิบัติ คล้าย ๆ บัตรเจาะรู้ใช้เป็น ตัวเลือกว่าจะคำนวณอะไร บัตรตัวแปร ใช้เลือกว่าจะใช้ข้อมูลจาก หน่วยความจำใด ส่วนแสดงผล คือ เครื่องพิมพ์ หรือ เครื่องเจาะบัตร บุคคลที่นำแนวคิดของแบบเบจมาสร้างเครื่อง ก็ คือลูกชายของแบบเบจ ชื่อ เฮนรี่ (Henry) ในปี 1910
เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจ
จากการคำนวณด้วยเครื่องวิเคราะห์นี้มีลักษณะใกล้เคียง กับส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงทำให้ ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) ได้รับการยกย่อง ว่าเป็น “บิดาแห่งคอมพิวเตอร์”
เครื่องคำนวณมาร์กวัน (Mark I) ในปี ค.ศ. 1896 ฮอลเลอริช ได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท เพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ โดย ใช้ชื่อบริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติง เรดคอสติง หลังจากนั้นใน ปี ค.ศ. 1943 เปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ไอบีเอ็ม (International Business Machine : IBM) บริษัท ไอบีเอ็ม นี้มีบทบาทสำคัญในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่นแรก ๆ ของโลก Mark I เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ของไอบีเอ็มในปี 1943 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM: International Business Machines Co.,) โดยโธมัส เจ. วัตสัน (Thomas J. Watson) ได้พัฒนาเครื่องคำนวณที่มีความสามารถเทียบเท่ากับ คอมพิวเตอร์ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเครื่องวิเคราะห์ แบบแบบเบจมาปรับปรุง
ในปี 1943 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM: International Business Machines Co ในปี 1943 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM: International Business Machines Co.,) โดยโธมัส เจ. วัตสัน (Thomas J. Watson) ได้พัฒนาเครื่องคำนวณที่มีความสามารถเทียบเท่ากับ คอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือ เครื่องคิดเลขที่ใช้เครื่องกลไฟฟ้า เป็นตัวทำงาน ประกอบด้วยฟันเฟืองในการทำงาน อัน เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเครื่องวิเคราะห์แบบแบบเบจมา ปรับปรุงนั่นเอง เครื่องนี้ยังไม่สามารถบันทึกคำสั่งไว้ใน เครื่องได้ มีความสูง 8 ฟุต ยาว 55 ฟุต ซึ่งก็คือ เครื่อง Mark I หรือชื่อทางการว่า Automatic Sequence Controlled Calculator