ขณะจิตที่ 1 อตีตภวังค์ คือ ภวังคจิตดวงแรกที่กระทบกับอารมณ์ กระบวนการเกิดการรับรู้ของจิต-เจตสิก กระบวนการเกิด-ดับของวิถีจิตทางปัญจทวาร 17 ขณะ หรือ 17 ดวง ขณะจิตที่ 1 อตีตภวังค์ คือ ภวังคจิตดวงแรกที่กระทบกับอารมณ์ ขณะจิตที่ 2 ภวังคจลนะ เป็นภวังคจิตที่เกิดต่อจากอตีดภวังค์ มีอาการหวั่นไหวเมื่อกระทบกับอารมณ์ใหม่ แต่ยังมีอารมณ์เก่าอยู่ ---
ขณะจิตที่ 3 ภวังคุปัจเฉทะ เป็นภวังคจิตที่เริ่มปล่อยอารมณ์เก่าจนขาด เป็นการตัดขาดจากกระแสภวังค์ ทำให้ภวังคจิตสิ้นสุด ---
ขณะจิตที่ 4 ปัญจทวารวัชชนจิต เป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นวิถี เมื่อภวังคจิตดับ ปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นเพื่อรับปัญจารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเป็นครั้งแรก ซึ่งจิตจะรู้แต่เพียงว่าอารมณ์ที่มากระทบนั้นเป็นอารมณ์ใด เช่น รูป และมาทางทวารไหน เช่น ทางตา เป็นต้น เพื่อเป็นปัจจัยให้แก่สัญญาและวิญญาณทางทวารนั้นๆ---
ขณะจิตที่ 5 ปัญจวิญญาณ หมายถึงจิต 5 ดวงที่เกิดขึ้นรับปัญจารมณ์ เมื่อปัญจทวาราวัชชนะดับ ก็เป็นปัจจัยให้ปัญจวิญญาณเกิดขึ้นตามทวารและอารมณ์ที่รับรู้ เช่น จักขุ วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ---
ขณะจิตที่ 6 สัมปฏิจฉนจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณ เพื่อเสนอให้จิตจิตขณะที่ 7 ทำหน้าที่ไต่สวนพิจารณา --- ขณะจิตที่ 7 สันตีรณจิต เป็นจิตขณะที่ 7 ที่ทำหน้าที่พิจารณาไต่สวนอารมณ์ที่รับมาจากสัมปฏิจฉนะ ว่าอารมณ์ที่ได้รับนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร เพื่อประมวลอารมณ์ให้จิตขณะที่ 8 ตัดสิน---
ขณะจิตที่ 8 โวฏฐัพพนจิต คือ มโนทวาราวัชชนจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ว่าเป็นกุศล อกุศล หรือ กิริยา เพื่อจะได้เสพอารมณ์นั้นด้วยความเป็นบุญ บาป หรือ อพยากฤต เมื่อกำหนดอารมณ์เสร็จแล้วก็ดับ---
ขณะที่จิต 9-15 ชวนจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์ที่ถูกตัดสิ้นแล้วโดยโวฏฐัพพนจิต ว่าเป็นกุศลชวนะ อกุศลชวนะ หรือกิริยาชวนะ ซึ่งเป็นอย่างเดียวกันทั้ง 7 ขณะเป็นเหตุใหม่ที่ทำให้บาป – บุญปรากฏขึ้น แล้วก็ดับ---
ขณะที่จิต 16-17 ตทาลัมพนจิต เป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้นรับเศษของอารมณ์ที่เหลือจากชวนะอีก 2 ขณะ เพื่อหน่วงอารมณ์สู่ภวังคจิตต่อไป เมื่อลงสู่ภวังค์เมื่อใด ก็เป็นการสิ้นสุดวิถีจิตและสิ้นสุดอายุของอารมณ์ ต่อจากนั้นจิตก็จะเป็นภวังค์รับอารมณ์เก่าต่อไปอีก จนกว่าจะได้รับอารมณ์ใหม่จึงจะขึ้นวิถีจิตใหม่---