รูดอล์ฟ ดีเซล
สิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล เมนูหลัก ประวัติ สิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล ผลงาน ภาคผนวก หลักการทำงาน บั้นปลายชีวิต
ประวัติ รูดอล์ฟ ดีเซล เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ในกรุงปารีสฝรั่งเศส ซึ่งพ่อแม่ของเขาย้ายมาจากเยอรมัน เขาเกิดมาในครองครัวที่มีฐานะจึงได้รับการศึกษาที่ดี เขาได้เข้ามาศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และ ในระดับอุดมศึกษาเขาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนอาชีวศึกษา ที่อ๊อกซเบิร์ก เยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงมิวนิค ด้านวิศวกรรมศาสตร์
ผลงาน เครื่องยนต์ดีเซล เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร และสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซแอมโมเนียแทนการใช้พลังงานไอน้ำได้ และเครื่องยนต์ที่อาศัยหลักการสันดาป แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับรูดอล์ฟ ดีเซลมากที่สุด ก็คือ เครื่องยนต์แบบใช้อากาศอัด แต่เครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่รูดอล์ฟ ดีเซลได้ประดิษฐ์ขึ้น ก็ยังมีข้อเสียอยู่ที่ผนังกระบอกสูบไม่แข็งแรงพอที่จะต่อความดันอากาศสูงๆ ได้ ดังนั้นรูดอล์ฟ ดีเซลจึงหันมาปรับปรุงการประดิษฐ์กระบอกสูบ เครื่องยนต์ของรูดอล์ฟ ดีเซลประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1897 โดยเขาได้ใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 5 ปี รูดอล์ฟ ดีเซลได้ตั้งชื่อเครื่องยนต์ตามชื่อของเขาว่า ดีเซล ตามคำแนะนำของภรรยา
สิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง รูดอล์ฟ ดีเซลได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกจำหน่าย โดยตั้งชื่อบริษัทแห่งนี้ว่า ไรซิงเกอร์ไมเยอร์ และรูดอล์ฟ ดีเซล บริษัทของเขาได้ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง แต่ในไม่ช้ารูดอล์ฟ ดีเซลก็ต้องพบกับความเดือดร้อนแสนสาหัส เนื่องจากในขณะนั้นกฎหมายเรื่องสิทธิบัตร ยังมีความละหลวมอยู่มาก ทำให้รูดอล์ฟ ดีเซลต้องเสียเงินทองเป็นจำนวนมากสำหรับการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องในสิทธิ บัตรของเขา อีกทั้งสุขภาพของเขายังเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ เพราะความเหน็ดเหนื่อยทั้งทางกายและทางใจจากการต่อสู้ในเรื่องของสิทธิบัตรเครื่องยนต์ของเขาและต่อมาบริษัทของเขาก็ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่าง รุนแรง
หลักการทำงาน หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล คือ อากาศเมื่อถูกอัดตัวจะมีความร้อนสูงขึ้น แต่ถ้าอากาศถูกอัดตัวอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการสูญเสียความร้อน ทั้งแรงดันและความร้อนจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อฉีดละอองน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในอากาศที่ร้อนจัดจากการอัดตัว ก็จะเกิดการเผาไหม้ขึ้นอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดกำลังงานขึ้น กำลังงานที่เกิดขึ้นจะนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของแรงขับหรือแรงผลักดัน ผ่านลูกสูบและก้านสูบทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน ณ กำลังอัดเดียวกัน อากาศที่อุณหภูมิเริ่มต้นสูงกว่า เมื่อถูกอัดย่อมมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือร้อนกว่า เครื่องยนต์ดีเซลแบ่งออกเป็นแบบใหญ่ๆ ได้เป็น 2 แบบคือ เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ (The 4-cycle Engine) เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ (The 2-cycle Engine)
บั้นปลายชีวิต ในช่วงบั้นปลายชีวิตของรูดอล์ฟ ดีเซล เขาต้องท้อแท้ใจอย่างมากเพราะสิ่งที่เขาทุ่มเทอย่างหนักมาตลอดระยะเวลาต้องล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า ดังนั้นในปี ค.ศ.1913 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และไม่ได้เดินทางกลับมาอีกเลย ซึ่งภายหลังมีข่าวว่าเขา ได้หายไปในช่องแคบอังกฤษ แม้ว่ารูดอล์ฟ ดีเซลจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้สร้างคุณประโยชน์ให้กับนักประดิษฐ์รุ่นหลังเป็นอย่างมากก็คือ เครื่องยนต์ดีเซลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
ภาคผนวก
จัดทำโดย เด็กหญิง ธิดารัตน์ วงษ์เดือน เลขที่ 26 ชั้น ม.2/2