เรื่อง สติ กับการบริโภค เรื่อง สติ กับการบริโภค โดย ด.ญ. จันทร์ฉาย ไตรพันธ์ ชั้น ม.3/2 เลขที่ 7
สติ คืออะไร ก่อนอื่นขอเกริ่นนำสักหน่อย เพราะว่า เห็นมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกับ คำว่า สติกันมาก จนกลายเป็นว่า สตินี้ ทำให้เกิดไม่ได้ ต้องทำเหตุใกล้ อันเป็นการคลาดเคลื่อนต่อพุทธพจน์อย่างมาก คำว่า สติ คือ การระลึกรู้ ตัวเดียวสั้นๆ นี้แหละ เราเข้าใจง่ายๆ เช่นว่า เราระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ นี้เรียกว่า มีสติ แต่คำถามก็คือ เราจะระลึกรู้อะไร และ เราจะระลึกรู้เพื่ออะไร อันจะนำไปสู่องค์ธรรม มหาสติปัฎฐาน ขอท้าวความเดิม ก่อนจะไปที่ มหาสติ เนื่องจากว่า มีพระท่านหนึ่ง และ สาวก ได้เอ่ยว่า สตินี้ไปกำหนดไม่ได้
สตินี้ไปทำให้มันมีขึ้นไม่ได้ มันมีขึ้นเอง เพียงแค่ไปจดจำรูปนาม เท่านั้นมันจะมีขึ้นเอง ซึ่งผิดจากพุทธพจน์มากมายก่ายกอง ย้อนกลับไปดูความหมายของ สติ อันหมายถึงระลึกรู้ ทีนี้ การจะระลึกรู้ ก็นำไปสู่คำถามว่า เราจะระลึกรู้อะไรบ้าง พระศาสดาสอนว่า อย่างแรก คือ รู้กาย ตามธรรมดา สติ นั้นไม่ได้ไปจับที่กาย เราก็ไม่ได้ไปสนใจว่ากาย นั้นจะเคลื่อนอย่างไร ข้อนี้ทุกท่านทราบดี แม้ว่า ตอนนี้เราระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไร ก็ไม่ได้หมายความว่า เรากำลังรู้ว่า นิ้วเรากระดิกอย่างไรในการพิมพ์ เราไม่ได้รู้ทุกอย่างตลอดเวลา ดังนั้น สติไปจับกับอะไร เราจึงต้องกำหนดเพื่อเอาสติไปจับกับสิ่งนั้น นี้เป็นประการแรก ที่เราต้องสังวรเอาไว้ว่า ต้องกำหนดการเข้าไปรู้ ดังนั้น อยู่ดีๆ สติจะไประลึกรู้ที่นิ้วขยับไหม สติจะไประลึกรู้ที่ นิ้วโป้งเท้ากระดิกไหม ในกรณีที่เรากำลังนึกคิด ด้วยสังขารธรรม ดังนั้น การจะเอาใจเข้าไปรู้อะไรก็ตาม ต้องกำหนดรู้ พระศาสดาจึงสอนให้เอาใจกำหนดที่ลมหายใจ เพราะธรรมดาเราไม่ได้สังเกตุลมหายใจ เรียกว่า อานาปานสติ คือ กำหนดเอาสติมาไว้ที่ลมหายใจ ดังนั้นในพระไตรปิฎก จึงใช้คำว่า ไปกำหนดรู้ รู้ได้ นั้นแหละคือ การเจริญสติ คือ ไปกำหนดระลึกรู้ ใน บรรพทั้งสี่ มีคำถามต่อมาว่า กำหนดไปรู้เพื่ออะไร ตอบว่า เพื่อให้องค์สตินั้นเจริญขึ้น พัฒนาขึ้น ดังนั้น สติจึงต้องถูกอบรมให้ดี ให้ละเอียด โดยเริ่มจากสติกำหนดรู้ที่ฐานกาย ก่อน
การบริโภค การบริโภค หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรืบำบัดความต้องการของมนุษย์คือ 1.การ บริโภคสินค้าคงทน ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสิ้นหรือหมาดสภาพไป ยังใช้ได้อีกเป็นเวลานาน แต่เมื่อการใช้ย่อมเกิดการสึกหรอ 2.การบริโภคสินค้าไม่คงทน ซึ่งเป็นการบริโภคที่ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสินไป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ผู้บริโภค คือ ผู้ที่มีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือในครัวเรือน ผู้บริโภคมีจำนวนมากทั่วประเทศ บางคนก็ตัดสินใจในการซื้ออย่างมีระเบียบแบบแผนสามารถใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ได้คุ้มค่า ปัจจัยที่กำหนดความต้องการบริโภคของครัวเรือน 1.รายได้ผู้บริโภค รายได้ผู้บริโภคจะเป็นตัวกำหนดการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค 2.สินค้า และบริการ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับราคา สินค้าและบริการนั้น โดยราคามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณต้องการซื้อ 3.รสนิยม ของผู้บริโภค รสนิยมของผู้บริโภคเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งรสนิยมของผู้บริโภคนั้นจะแตกต่างไปตามอายุ เพศ ระดับการศึกษา 4.สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษา สิ่งแวดล้อม การโฆษณา เหล่านี้มีอิทธิผลต่อความต้องการของผู้บริโภค 5.ฤดูกาล เมื่อฤดูการเปลี่ยนไปย่อมมีอิทธิผลให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลไป 6.การคาดคะเนเกี่ยวกับราคาสินค้า การคาดคะเนเป็นการคาดการเดาในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งมีผลต่อการบริโภค
สติกับการบริโภค เราควรมีสติเพราะสติคือการระลึกรู้เมื่อเราระลึกรู้ได้เราก็จะบริโภคสินค้าอย่างมั่นคงผู้ที่มีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือในครัวเรือน ผู้บริโภคมีจำนวนมากทั่วประเทศ บางคนก็ตัดสินใจในการซื้ออย่างมีระเบียบแบบแผนสามารถใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ได้คุ้มค่า
คำคม ผู้บริโภคที่ดีควรตัดสินใจอย่างมีสติ