วิชายาและการใช้ยาสัตว์ (Animal Drugs and Usage) รหัสวิชา 515-463 สพ.ญ.อุษา เชษฐานนท์
บทนำ วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบ 1. ความรู้พื้นฐานในการออกฤทธิ์ของยาซึ่งเกี่ยวข้องกับ การดูดซึม การกระจาย และการขับออกของยา 2. ความรู้พื้นฐานในการเลือกใช้ยาซึ่งเกี่ยวข้องกับรูปแบบ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและข้อบ่งใช้อื่น ๆ ในการให้ยา 3. ยากลุ่มต่างๆ ที่มีการใช้มากในการเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับหลักในการเลือกใช้ยาแต่ละกลุ่มอย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น ยาต้านจุลชีพ ยาถ่ายพยาธิ วัคซีน และอื่น ๆ
พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 (8) คำว่า “ยา” หมายความว่า 1. วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายา ที่ รัฐมนตรีประกาศ 2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกัน โรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ 3. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่รัฐมนตรีประกาศ วัตถุตาม (1) หรือ (2) ไม่รวมถึงวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหาร เครื่องกีฬา เครื่องสำอาง เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลป์ และส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการนั้น
สรุป ยาคือ สารเคมีทุกชนิด ยกเว้นอาหาร ซึ่งใช้ในการบำรุง ป้องกัน หรือ รักษาสุขภาพ ของคนและสัตว์
เภสัชวิทยา (Pharmacology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับยา โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.Pharmacokinetics (เภสัชจลนศาสตร์: ร่างกาย ยา) การออกฤทธิ์ของยา : การดูดซึม การกระจาย และการขับออกของยา 2. Pharmacodynamics (เภสัชพลศาสตร์: ยา ร่างกาย) กลไกการออกฤทธิ์ ผลที่ใช้รักษา รูปแบบและขนาดของยา อาการที่ไม่พึงประสงค์
ชนิดของยาที่ใช้ในการรักษาโรค แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. ยาที่มีผลต่อการทำลาย / ยับยั้งเชื้อ ยาต้านแบคทีเรีย ยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น 2. ยาที่ใช้รักษาตามอาการ ยาแก้ไข้ แก้ปวด วิตามินต่างๆ เป็นต้น
แหล่งกำเนิดของยา 1. ยาสังเคราะห์ 2. ยาที่ได้จากธรรมชาติ ได้จากพืช เช่น สมุนไพร ได้จากสัตว์ เช่น ตับ น้ำดี ได้จากแร่ธาตุ เช่น ยาเคลือบ ลำไส้ (kaolin) ได้มาจาก ดินขาว
กลุ่มยา สำคัญ ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ มีดังนี้ ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ฮอร์โมน เบต้าอะโกนิสต์และสารเร่งการเจริญเติบโต วัคซีน ยาฆ่าเชื้อและยาล้างเชื้อ ยาต้านแบคทีเรีย ยากำจัดพยาธิภายในและภายนอก สมุนไพร
การใช้ยา มีหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ (อย่างน้อยที่สุด) ดังนี้ 1. ชื่อยา ชื่อทางเคมี/ ชื่อสามัญ/ ชื่อทางการค้า 2. สรรพคุณ 3. รูปแบบและวิธีที่เหมาะสมในการให้ยา 4. เวลาและตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ 5. ขนาดของยาที่ให้ 6. การเป็นพิษ หรือ อาการข้างเคียง