อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
หลักในการจัดสิ่งมีชีวิตเข้าในอาณาจักรสัตว์ 1. Eukaryote; multicellular organism 2. Cell ไม่มี Cell wall 3. Heterotroph กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร 4. เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง (อาจบางช่วงของชีวิต) 5. ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี เพราะระบบประสาทเจริญ
หลักที่ใช้ในการแบ่งหมวดหมู่สัตว์ 1. ระดับการทำงานร่วมกันของเซลล์ no true tissue – Parazoa true tissue – Eumetazoa - germ layer - diploblastica - triploblastica
2. สมมาตร (Symmetry) การตัดหรือผ่าออกแล้วทำให้ได้ 2 ส่วนเหมือนกัน 2.1 Asymmetry ไม่สามารถผ่าแล้วให้ 2 ส่วนเท่ากัน เช่น ฟองน้ำ 2.2 Spherical symmetry แบ่งให้ 2 ข้างเท่ากันได้หลายระนาบโดยผ่านจุดศูนย์กลาง เช่น Volvox
2. สมมาตร (Symmetry) 2.3 Radial symmetry รูปทรงกระบอก ตัดให้ผ่านจุดศูนย์กลางได้หลายแนว เช่น ดอกไม้ทะเล 2.4 Bilateral symmetry แบ่งให้ 2 ข้างเท่ากันได้ครั้งเดียว เช่น หนอนตัวแบน แมลง มนุษย์
3. ทางเดินอาหาร (Digestive tract) 3.1 แบบร่างแห(channel network) เป็นทางผ่านของน้ำภายนอก (มีหลายช่อง) เข้าสู่ภายในลำตัว ได้แก่ ฟองน้ำ 3.2 แบบปากถุง(one-hole sac) เป็นทางเดินอาหารที่มีช่องเปิดทางเดียว เป็นทั้งทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร ได้แก่ cnidarian และ หนอนตัวแบน 3.3 แบบท่อกลวง(two-hole tube) ทางเดินอาหารมีช่องเปิด 2 ช่อง ช่องอาหารและช่องกากอาหารแยก จากกัน ได้แก่ ทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมจนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง
4. ช่องตัว (Coelom) พบเฉพาะในสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นเท่านั้น 4.1 Acoelom มีชั้น mesoderm ประกอบด้วยเซลล์บรรจุอยู่เต็ม ได้แก่ หนอนตัวแบน 4.2 Pseudocoelom มีช่องตัวแทรกอยู่ระหว่าง mesoderm กับเนื้อเยื่อชั้นอื่น ได้แก่ หนอนตัวกลม 4.3 Eucoelom มีช่องตัวแทรกอยู่ระหว่าง mesoderm กับ mesoderm เท่านั้น ได้แก่ ไส้เดือนดิน จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
Body cavity or Coelom Ectoderm Mesoderm Endoderm
5. การแบ่งเป็นปล้อง (Segmentation) เป็นการเกิดรอยคอดขึ้นบนลำตัว 5.1 Superficial segmentation เป็นปล้องเฉพาะภายนอก เกิดปล้องเฉพาะผิวลำตัว เช่น พยาธิตัวตืด 5.2 Metameric segmentation เกิดปล้องตลอดลำตัว เกิดขึ้นจาก mesoderm แล้วทำให้เนื้อเยื่อชั้นอื่นเกิดปล้องไปด้วย ได้แก่ ไส้เดือนดิน arthropod สัตว์มีกระดูกสันหลัง
Ectoderm Mesoderm Endoderm
6. ระบบไหลเวียนเลือด 6.1 Open circulatory system ระบบไหลเวียนที่ไหลเวียนในท่อ และอาศัย coelom ช่วยในการไหลเวียน ได้แก่ mollusc, arthropod, echinoderm 6.2 Close circulatory system ระบบไหลเวียนอยู่ภายในท่อตลอด เช่น annelid, chordate
7. การพัฒนาตำแหน่งของ blastopore 7.1 Protostome ตำแหน่งของ blastopore พัฒนาไปเป็นปาก เช่น annelid, arthropod, mollusc 7.2 Deuterostome ตำแหน่งของ blastopore พัฒนาไปเป็นทวารหนัก ได้แก่ echinoderm, chordate