บทที่๑ กำเนิดพระพุทธศาสนา บทที่๑ กำเนิดพระพุทธศาสนา
๑.๑ พุทธประวัติ
พระพุทธเจ้าคือใคร? พระพุทธเจ้า คือ บุคคลในประวัติศาสตร์ พระพุทธเจ้า คือ บุคคลในประวัติศาสตร์ พระพุทธเจ้า คือ บุคคลผู้สั่งสมความดีมา เป็นเวลายาวนานจนกระทั่ง ถึงจุดสมบูรณ์พร้อมทั้งด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ระหว่างการสั่งสมความดี เรียกว่า พระโพธิสัตว์ การสั่งสมความดีของพระโพธิสัตว์ เรียกว่า บำเพ็ญบารมี บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ หรือสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่? พระพุทธเจ้ามีอภินิหาร จริงหรือเปล่า? การพิสูจน์ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงทำอย่างไร?
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างไร? การตรัสรู้ หมายถึง การรู้ หรือการเห็น หรือการพบความจริงอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ที่เรียกว่ารู้ตามเป็นจริง การรู้/เห็น/พบ ดังกล่าวหมายถึง รู้เห็นด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ญาณ อันเป็นผลจากการพัฒนา/อบรมจิต ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าสมาธิภาวนา จนจิตบริสุทธิ์สะอาด แล้วเกิดพลังรู้ที่เรียกว่า ญาณ (การหยั่งรู้)
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาของพระองค์ จริงหรือไม่?
การรู้ด้วยญาณ เป็นการรู้จริงหรือรู้ตามเป็นจริง จึงทำให้กิเลส (สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง) ซึ่งเกิดจากการรู้ผิด หรือรู้ไม่จริงหมดไป การรู้จริง หรือความรู้จริงที่สำคัญที่ทำให้กิเลสหมดไปจากจิต คือ รู้จริงในอริยสัจสี่ ซึ่งเป็นการรู้ความจริงของชีวิต หรือรู้ชีวิตตามเป็นจริง เพราะฉะนั้น จึงเรียกกว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่
ทำไมพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา?
พุทธลีลาในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา? พระพุทธเจ้านิพพานแล้วไปไหน?
๑.๒ วิธีการของพระพุทธเจ้า
เริ่มจากพัฒนา หรืออบรมจิตด้วยกระบวนการของสมาธิภาวนา จนจิตสงบนิ่งถึงขั้นที่เรียกว่า ฌาน เมื่อจิตถึงภาวะที่เรียกว่า ฌาน คือ สงบแนวแน่เป็นเวลาต่อเนื่อง จิตก็บริสุทธิ์ใสสะอาด เกิดพลังรู้ที่เรียกว่า ญาณ (ความสามารถรู้เห็น)
ทรงใช้ญาณนั้นมองหรือพิจารณาขันธ์ 5 หรือสังขารร่างนี้ จนเห็นความจริงหรือธรรมชาติของสังขารอย่างแจ่มแจ้งตามเป็นจริง เป็นเหตุให้กิเลส ที่เกิดจากความหลงผิดหรือไม่รู้จริงหมดไป เรียกว่า ตรัสรู้ คือความรู้แจ้งที่ทำให้หมดกิเลส
ผู้ที่ตรัสรู้หรือหมดกิเลส เรียกว่า ผู้ถึงนิพพานหรือบรรลุนิพพาน และผู้บรรลุนิพพาน เรียกว่า พุทธะ หรือ อรหันต์ โดยมี 3 ลักษณะ หรือ 3 ประเภท คือ รู้ด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยใคร และสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามเรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ รู้ด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยใคร แต่ไม่สอนผู้อื่นอย่างเป็นกิจจะลักษณะเรียกว่า ปัจเจกพุทธะ รู้ตามที่ผื่นสอน เรียกว่า สาวกพุทธะ หรือ อนุพุทธะ ลักษณะร่วมของพุทธะทุกประเภทคือเป็นพระอรหันต์ คือ หมดกิเลสเหมือนกัน
พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูหรือไม่? ใครเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานไปแล้ว? ตำแหน่งพระพุทธเจ้าผูกขาดหรือไม่? หนทางสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าต้องปฏิบัติอย่างไร?