การพัฒนาระบบบริหารภาครัฐที่มีธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน การพัฒนาระบบบริหารภาครัฐที่มีธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผจงจิตต์ วงศ์ธีรญาณเดช 20 สิงหาคม 2549
ประเด็นการนำเสนอ ระบบบริหารภาครัฐ : ความหมายและเหตุผลการดำรงอยู่ ปัจจัยผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ระบบราชการทั่วโลก ประเทศไทยในบริบทของ การเปลี่ยนแปลง ปัญหาการบริหารภาครัฐไทยในปัจจุบัน กระแสแนวคิดทางวิชาการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยน กระบวนทัศน์การบริหารภาครัฐไทยในปัจจุบัน Good Governance ความหมาย แนวคิด ที่มีต่อการบริหารภาครัฐไทย การบริหารภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล ปัญหาอุปสรรคในการบริหารภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล และแนวทางการเสริมสร้างการบริหารภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล
ระบบบริหารภาครัฐ : ความหมายและเหตุผลในการดำรงอยู่ รูปแบบ โครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการดำเนินกิจกรรมของรัฐ การดำเนินกิจกรรมของรัฐ : การบริหารงานภาครัฐ public administration สาขาวิชา/องค์ความรู้ (body of knowledge) ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาครัฐ : รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration ทำไมต้องมีการบริหารงานภาครัฐ รัฐถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการใช้อำนาจที่ได้มาจากเสรีภาพของปัจเจกชนในการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการโดยรวม เพื่อดำเนินกิจกรรมที่ทำร่วมกันในสังคมให้เกิดประโยชน์สุขตามวัตถุประสงค์ที่แต่ละคนต้องการ ความรู้ในการบริหารงานภาครัฐ มีความเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ปัจจัยสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง เป็นพลวัตร ส่งผลให้องค์ความรู้ เทคนิค วิธีการที่ใช้ในการบริหารงานภาครัฐมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ความแตกต่างระหว่างการบริหารงานภาครัฐกับภาคเอกชน ภาครัฐ : คำนึงผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) และ ความรับผิดชอบพร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ (Accountability) ภาคเอกชน : ผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Private Interest)
ปัจจัยผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบราชการทั่วโลก ประเทศไทยในบริบทของการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบราชการทั่วโลก กระแส โลกาภิวัตน์และ ความก้าวหน้า เทคโนโลยี วิกฤติ เศรษฐกิจ บริการของรัฐ ขาดประ- สิทธิภาพ ปัจจัย ผลักดัน ระดับการ แข่งขันทาง ธุรกิจเพิ่มขึ้น โครงสร้าง ภาษีสูงไป ไม่ส่งเสริม การลงทุน กระแส ประชาธิป- ไตย ที่มา สศช., 2549
การทุจริต ความเก่า ล้าสมัย ประพฤติมิชอบ ของระบบ กำลังคน การบริหาร สภาพปัญหา ของระบบราชการ กำลังคน ไม่มีคุณภาพ การบริหาร แบบรวมศูนย์ อำนาจ ทุจริต ประพฤติ มิชอบ ความไม่ รับผิดชอบ ปัญหา ประสิทธิภาพ ทัศนคติ ค่านิยม แบบดั้งเดิม กฎ ระเบียบ เทคโนโลยี วิธีปฏิบัติงาน ไม่ทันสมัย ค่าตอบแทน สวัสดิการไม่เหมาะสม ที่มา สำนักงาน ก.พ.ร., 2549
กระแสแนวคิดทางวิชาการที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการภาครัฐไทยในปัจจุบัน แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์: เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค สนับสนุนการดำเนินภารกิจของรัฐโดยใช้กลไกตลาดเพิ่มขึ้น (Marketization) ต้องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาทำหน้าที่จัดการบริการสาธารณะแทนภาครัฐ ให้รัฐเล็กลง เน้นเรื่อง ประสิทธิภาพ (Efficiency) และความคุ้มค่าของเงิน (Value for Money) แนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่: การจัดการนิยม (Managerialism) วิธีการบริหารจัดการเหมือนกันทั้งภาครัฐและเอกชน (Business-like Approach) (ตามที่ Woodrow Wilson กล่าวไว้ว่า การบริหารคือการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารของภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม วิธีการบริหารงานย่อมเหมือนกัน ต่างกันที่วัตถุประสงค์ รัฐเน้นประโยชน์สุขของประชาชน) เน้นเรื่องประสิทธิผล คุณภาพ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และความรับผิดชอบ แนวคิดทางรัฐศาสตร์: ประชารัฐ : ข้อจำกัดของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จึงต้องการเห็นการมีส่วนร่วมทางตรงของประชาชนในกระบวนการบริหารงานของรัฐเพิ่มมากขึ้น ให้รัฐเล็กลง แต่ภาคประชาสังคมหรือภาคประชาชนมีบทบาทมากขึ้น แนวคิดทางกฎหมายปกครอง: เน้นคุณค่าในเรื่องหลักนิติรัฐหรือนิติธรรม “Rule of Law” ต้องการเห็นการบริหารภาครัฐอยู่ในกรอบกติกาของสังคม ไม่ใช้อำนาจเกินกว่าที่ขอบเขตกฎหมายกำหนด ที่มา ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์, 2548
องค์ประกอบหลักของ New Public Management : NPM การประชุมของ The Commonwealth Association For Public Administration and Management (CAPAM) ปี 1994 สรุปได้ว่า NPM ประกอบด้วย : 1. การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน 2. การลดการควบคุมจากส่วนกลาง และเพิ่มอิสระในการบริหาร ให้แก่หน่วยงาน 3. การกำหนดความต้องการ การวัดผลงาน และการให้รางวัล แก่ผลการดำเนินงาน ทั้งในระดับองค์การ และระดับบุคคล
องค์ประกอบหลักของ New Public Management : NPM (ต่อ) 4. การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านของบุคลากร (เช่นระบบ การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทน และระบบคุณธรรม) และ เทคโนโลยี ( เช่นระบบข้อมูลสารสนเทศ) เพื่อช่วยให้ หน่วยงานสามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ 5. การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องการแข่งขัน ทั้งการแข่งขัน ระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับหน่วยงานของเอกชน ในขณะเดียวกัน ภาครัฐ ก็หันมาทบทวนตัวเองว่า สิ่งใดควรทำเองและสิ่งใดควรปล่อย ให้ภาคเอกชนทำ
Good Governace ความหมายและแนวคิด ความหมาย: UNDP (1989) การใช้อำนาจทางการเมือง การบริหารและเศรษฐกิจในการดำเนินภารกิจกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศในทุกระดับ โดยมีกลไก กระบวนการ สถาบัน ซึ่งประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ สามารถแสดงออกถึงความต้องการผลประโยชน์ การประสานความประนีประนอม การใช้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ธีรยุทธ บุญมี: การบริหารจัดการประเทศที่ดีในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ ระดับในลักษณะเป็นหุ้นส่วนกัน โดยมีกฎกติกาที่จะให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรม คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์: กรอบในการบริหารจัดการขององค์กรต่าง ๆ ในการบริหาร องค์ประกอบของความหมาย: ภาครัฐ: เสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง กฎหมาย และการบริหารราชการ ภาคเอกชน: ดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต ภาคประชาชนหรือองค์กรต่าง ๆ: มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และการตรวจสอบภาครัฐและเอกชน คุณลักษณะของ Good Governance: มีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ การมีกฎระเบียบที่ยุติธรรมและน่าเชื่อถือ การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ การมีเสรีภาพของการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม การแสงหาความร่วมมือกับองค์กรประชาสังคม
สถานการณ์ ปี 2540 - วิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 - วิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2541 - Forum for Good Governance of Thailand ต้องมีระบบการบริหารการจัดการที่ดีทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นการปฏิรูปภาคเอกชน ภาคราชการและการปฏิรูปสังคมให้เข้มแข็ง จึงจะเป็นเครื่องค้ำประกันที่มั่นคงให้สังคมไทย มีความยั่งยืนและมีความยุติธรรม ปี 2542 - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (ยกเลิกปี 46) หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
ปี 2545 - มาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 กำหนดกรอบการบริหารราชการยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นหลักการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี และการบริหารงานแนวใหม่ “ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน” ปี 2546 - พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดขอบเขต แบบแผน วิธีปฏิบัติราชการ
เจตนารมณ์ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สร้าง กฎ เกณฑ์ และกลไกที่ดีในการบริหารราชการ ทำให้บ้านเมืองอยู่อย่างสันติ สงบสุข พัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนอง ความต้องการของประชาชน
หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ม. 6) เป้าหมายการบริหารราชการ หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ม. 6) เป้าหมายการบริหารราชการ เกิดประโยชน์สุข ของประชาชน ประเมินผลการปฏิบัติ ราชการอย่างสม่ำเสมอ ผลสัมฤทธิ์ต่อ ภารกิจของรัฐ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประชาชนได้รับ ความสะดวก ตอบสนองความต้องการ มีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจของรัฐ ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกินความจำเป็น
ปัญหาอุปสรรคในการบริหารภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล การมีคำจำกัดความที่ไม่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดการตีความไปในทิศทางที่หลากหลาย ขาดการนำสู่การปฏิบัติย่างจริงจัง เนื่องจากไม่เห็นประโยชน์และความสำคัญ รูปแบบการเมืองการปกครองที่ไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ (วัฒนธรรมอุปถัมภ์ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย) ไม่มีการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน
แนวทางการเสริมสร้างการบริหารภาครัฐ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล แนวทางการเสริมสร้างการบริหารภาครัฐ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้ข้าราชการทำงานแบบมืออาชีพ: สร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง GG และแนวทางการนำ GG ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมปรับทัศนคติอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น ปรับบทบาทการบริหารจัดการภาครัฐกับภาคีการพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น: เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะแทนภาครัฐมากขึ้น ส่งเสริมให้ภาคประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของภาคราชการมากขึ้น กระจายภารกิจการกระจายอำนาจทางการบริหารและการจัดการด้านให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐโดยการสร้างภาคราชการที่มีประสิทธิภาพ: ทบทวนบทบาทและภารกิจของรัฐให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่เล็กลง จัดโครงสร้างแบบผสมผสาน (Matrix organizational structure) มีหลายฟังก์ชัน แต่ละฟังก์ชันมีการเชื่อมโยงของผลลัพธ์และกระบวนการทำงานร่วมกัน พัฒนาระบบประเมินผลการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน: ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการติดตาม ประเมินผล และรายงาน ให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง
หลักการบริหารราชการเดิม หลักการบริหารราชการใหม่ หลักการบริหารราชการเดิม หลักการบริหารราชการใหม่ -ราชการเป็นผู้ปกครอง -ประชาชนเป็นผู้รับบริการ ผู้ถูกปกครอง ผู้ถูกกระทำ -ต้องทำตามกติกากฎระเบียบที่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด -การให้บริการสาธารณะเป็นการจัดบริการให้ตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด -เน้นที่ประโยชน์สุขและความต้องการ ของประชาชน -ให้บริการสาธารณะที่เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้รับบริการ -ราชการเป็นผู้ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่มา ดร.อรพินท์ สพโชคชัย, 2548
หลักการบริหารราชการเดิม หลักการบริหารราชการใหม่ หลักการบริหารราชการเดิม หลักการบริหารราชการใหม่ -มุ่งที่จะวางระบบการบังคับบัญชาตามสายงาน ที่เน้นเรื่องการจัดโครงสร้าง และลำดับขั้นการบังคับบัญชาที่เป็นทางการ -การทำงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด มีโครงสร้างหน้าที่ -การเพิ่มหลักการและวิธีการบริหารงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน ความคุ้มค่า ความรับผิดชอบในการทำงาน เน้นประชาชนผู้รับบริการและสังคมที่จะต้องได้รับประโยชน์จากการบริหารงานภาครัฐ -โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ง่าย
หลักการบริหารราชการเดิม หลักการบริหารราชการใหม่ หลักการบริหารราชการเดิม หลักการบริหารราชการใหม่ -เน้นการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ทำงานข้ามขั้นตอน -มีการรายงานผู้บังคับบัญชาเป็นลำดับขั้น เป็นระบบการรวมศูนย์การสั่งการ -การตัดสินใจและความรับผิดชอบอยู่ที่ผู้บริหารระดับบน -เน้นการทำงานที่กระจายความรับผิดชอบให้แก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถลดขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัว -มีการวัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจน -มีผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจและดำเนินงานที่ชัดเจน
ความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบหลักของ NPM : ธรรมาภิบาล การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน การลดการควบคุมจากส่วนกลาง และเพิ่มอิสระในการบริหาร ให้แก่หน่วยงาน การกำหนดความต้องการ การวัดผลงาน และการให้รางวัลแก่ผลการดำเนินงาน ทั้งในระดับองค์การ และระดับบุคคล การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านของบุคลากรและ เทคโนโลยี การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องการแข่งขัน เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับความสะดวกตอบสนองความต้องการ ประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
ความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิด NPM : ธรรมาภิบาล เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค “Marketization” แนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่ “Managerialism” แนวคิดทางรัฐศาสตร์ “Paticipation” แนวคิดทางกฎหมายปกครอง “Rule of Law” เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับความสะดวกตอบสนองความต้องการ ประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
ผจงจิตต์ วงศ์ธีรญาณเดช 20 สิงหาคม 2549 ขอบคุณค่ะ ผจงจิตต์ วงศ์ธีรญาณเดช 20 สิงหาคม 2549