ประเด็นคำถามในการประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 วันที่ 9 มกราคม 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI 1. ตัวชี้วัดในระดับกระทรวง เมื่อถ่ายทอดตัวชี้วัดลงสู่ระดับกรมที่เกี่ยวข้อง มีข้อสังเกตว่าควร ใช้ระบบเดิมเช่นเดียวกันกับในปี 2555 คือ ทุกกรมในกระทรวงเดียวกันควรรับผลการประเมิน ร่วมกัน เพราะว่าเป็นการทำงานร่วมกันของกระทรวง คำตอบ หลักการในการจัดทำตัวชี้วัดได้เปลี่ยนให้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดของระดับกระทรวงไปสู่ระดับกรม เฉพาะกรมที่เกี่ยวข้องแล้วตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI (ต่อ) 2. การกำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดในระดับกรม ที่ถ่ายทอดมาจากกระทรวง จะกำหนดน้ำหนักเท่าไร จากตัวอย่างของกระทรวงเกษตรฯ พบว่าน้ำหนักตัวชี้วัดกระทรวงจะอยู่ที่ 25% และมาที่ระดับกรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายน้ำหนักลงไปที่ 20% ในขณะที่น้ำหนักตัวชี้วัดระดับกระทรวงของกรมชลประทาน มีน้ำหนัก 25% เมื่อถ่ายทอดตัวชี้วัดไปยังกรมชลประทาน มีน้ำหนักอยู่ที่ 25% เหมือนกัน คำตอบ การกำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดในระดับกรมขึ้นอยู่กับลักษณะและความสำคัญของตัวชี้วัด ขึ้นอยู่กับการเจรจากับคณะกรรมการระดับกระทรวง ทั้งนี้ ต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าน้ำหนักที่ถูกกำหนดใน ระดับกระทรวง
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI (ต่อ) 3. กรณีที่กรมไม่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดในระดับกระทรวงเลย เช่น สำนักงานปลัดกระทรวง ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดเป็นตัวชี้วัดของกระทรวงไปยังกรมได้ คงมีแต่ภารกิจเฉพาะของกรม เท่านั้น กรณีนี้ ควรจะต้องใช้หลักการเดิมเช่นเดียวกันกับเมื่อปี 2556 ที่ให้สำนักงาน ปลัดกระทรวงรับตัวชี้วัดทุกตัวของกระทรวง คำตอบ กรณีสำนักงานปลัดกระทรวง คงใช้หลักการในการจัดทำตัวชี้วัดใกล้เคียงกับปี 2556 กล่าวคือ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงรับตัวชี้วัดของกระทรวงทุกตัว ในฐานะที่เป็นหน่วยกำกับ ติดตาม และผลักดันยุทธศาสตร์การปฏิบัติราชการโดยรวมของกระทรวง โดยกำหนดตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการ บูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการโดยรวมของกระทรวง เป็นการถ่วงน้ำหนักผลคะแนนตัวชี้วัดของกระทรวงทุกตัว และให้กำหนดตัวชี้วัดระดับกรมเพิ่มเติมสำหรับสำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ในการกำหนดตัวชี้วัดกระทรวงควรคำนึงถึงการถ่ายทอดตัวชี้วัดไปยังกรมในสังกัดให้ครบถ้วนด้วย
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI (ต่อ) 4. ระบบการรายงานผลการประเมิน ขอให้เว็บไซด์สำนักงาน ก.พ.ร. มีความเสถียรในการนำ ข้อมูลเข้าด้วย คำตอบ สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการ ปรับปรุงแก้ไขระบบ e-sar ,เว็บคอรัปชัน (cleanreport.opdc.go.th) ให้มีความเสถียรมากขึ้น โดยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Brandwidth) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับส่วนราชการใน การรายงานผล จัดระบบการกำหนดระยะเวลาในการนำเข้าข้อมูลของแต่ละส่วนราชการให้มีระยะเวลาที่เหลื่อมกัน
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI (ต่อ) 5. ขอให้สำนักงาน ก.พ.ร. อย่าเอางานของหน่วยงานอื่นมาดำเนินการ เช่น เรื่อง ความโปร่งใส ที่หน่วยงานอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว เช่น ปปช. ปปท. กพ. เพราะ สุดท้ายเมื่อ ก.พ.ร. รับมา ดำเนินการ ก็มอบให้ ก.พ.ร. กรมต้องดำเนินการ ไม่ว่าเรื่องโปร่งใส การบริหารความเสี่ยง ควบคุมภายใน มีจำนวนหลายเรื่องเกินไป คำตอบ กรณีตัวชี้วัดความโปร่งใส ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงาน ปปช. ขอรับเป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดเรื่องของความโปร่งใสฯ ในเป็นการวัดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้ระบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) โดยเป็นการบูรณาการสาระสำคัญการสร้างความโปร่งใส ระหว่าง สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร สำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น และสำนักงาน ก.พ.ร เข้าด้วยกัน ขณะนี้สำนักงาน ปปช. อยู่ระหว่างการนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI (ต่อ) 6. ตัวชี้วัดตามกรอบกำหนดว่ามีไม่เกิน 5 ตัวชี้วัด แต่เมื่อดูแล้วมีการแตกย่อยเป็น 7 ตัวชี้วัด จำนวนตัวชี้วัดจึงไม่น้อยลงเลย คำตอบ สำนักงาน ก.พ.ร. พยายามที่จะปรับตัวชี้วัดตามภารกิจหลักของกระทรวงให้ลดลง มีตัวชี้วัดเท่าที่จำเป็นและสามารถวัดผลได้ภายในปีงบประมาณ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 5 ตัวชี้วัด นอกจากนี้ได้มีการปรับลดตัวชี้วัดในมิติภายในให้ลดลง โดยตัดตัวชี้วัดต้นทุนต่อหน่วย ซึ่งทุกส่วนราชการดำเนินการมาหลายปีและมีผลการดำเนินการอยู่ในระดับดีอยู่แล้ว และตัวชี้วัดเบิกจ่ายให้มีจำนวน ที่ลดลง
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับ KPI (ต่อ) 7. มีประเด็นฝากให้กับก.พ.ร. ว่า การที่ให้กระทรวงรับเป็นเจ้าภาพในการจัดทำตัวชี้วัดใน ระดับกรมแล้ว ไม่ควรต้องมีการเจรจากับคณะกรรมการในระดับกระทรวงอีก ควรต้อง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระทรวง คำตอบ ในหลักการการจัดทำคำรับรองฯ สำหรับในปี 2557 นี้ ต้องการให้กระทรวงรับเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดทำคำรับรองในระดับกรมเองทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามในระยะแรกควรมีความเชื่อมโยงกับ ก.พ.ร. เนื่องจาก ต้องมีการดำเนินการจัดสรรเงินรางวัลให้กับกระทรวงเพื่อจ่ายไปยังกรมในสังกัด และต้องนำคะแนนของทุกส่วนราชการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดโปร่งใส 8. เกณฑ์การวัดสำหรับตัวชี้วัดการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ควรมีหลักเกณฑ์ ในการให้คะแนนที่ง่ายกว่านี้ สมกับเป็นตัวชี้วัดด้านการโปร่งใส? คำตอบ หลักเกณฑ์ในการกำหนดตัวชี้วัดไม่ได้พิจารณาถึงความยากง่าย แต่ให้ความสำคัญของตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนถึงความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการได้อย่างแท้จริง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดเกณฑ์การวัดความสำเร็จในการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ (ตัวชี้วัดที่ 7 การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ) โดยพิจารณาครอบคลุมทั้งการจัดทำแผน และผลการดำเนินงานตามแผน ประกอบกับผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการในกระบวนงานที่ดำเนินการ ทั้งนี้จะให้ความสำคัญในขั้นตอนการจัดทำแผน ซึ่งควรผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถปรับปรุงกระบวนงานเพื่อสร้างความโปร่งใสได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สำหรับรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนอยู่ระหว่างดำเนินการ และจะจัดชี้แจงให้ส่วนราชการทราบต่อไป)
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดโปร่งใส (ต่อ) เกณฑ์การวัดสำหรับตัวชี้วัดการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ น้ำหนักร้อยละ 5 มีดังนี้ กรณีที่ 1 ส่วนราชการที่ทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) (40 กรม) ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ กรณีที่ 2 ส่วนราชการที่ไม่ต้องทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) (104 กรม) 7.1 ผลการสำรวจความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ (สำรวจโดยสำนักงาน ก.พ.ร.) ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน 1 ความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 3 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 4 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 5 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด 7.1 ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนการสร้างความ โปร่งใสในการปฏิบัติราชการ (น้ำหนักร้อยละ 1.5) 7.2 ระดับความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนการสร้าง ความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ (น้ำหนักร้อยละ 1.5) 7.3 ผลการสำรวจความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ (น้ำหนักร้อยละ 2) (สำหรับรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนอยู่ระหว่างดำเนินการ และจะจัดชี้แจงให้ส่วนราชการทราบต่อไป) หมายเหตุ สำหรับการวัดแผนและผลการดำเนินการ จะถูกวัดในตัวชี้วัดที่ 2 คุณภาพการให้บริการ (ตัวชี้วัดย่อยที่ 1 และ 2)
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดโปร่งใส (ต่อ) 9. เครื่องมือในการตรวจตัวชี้วัดโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ เป็นอย่างไร มีวิธีการตรวจอย่างไรและหลักเกณฑ์การตรวจวัดและวิธีการจะออกมาทีหลังใช่หรือไม่ คำตอบ ตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ด้านการพัฒนาองค์การ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ซึ่งต่อมาตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ เห็นควรให้ส่งเสริมส่วนราชการและกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2556 ในตัวชี้วัดความสำเร็จการดำเนินโครงการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ จึงทำให้มีการกำหนดเกณฑ์และการจัดกลุ่มข้อเสนอฯ ในเชิงคุณภาพ (P1-P4) ภายหลังจากที่มีการส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดทำข้อเสนอฯ ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 นี้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางดำเนินการ เครื่องมือการสนับสนุนส่วนราชการที่ชัดเจนมากขึ้น ตามที่ได้มีการชี้แจงกรอบแนวทางตัวชี้วัดความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการไปแล้ว และเตรียมจัดชี้แจงหลักเกณฑ์และปฏิทินการดำเนินงานเพื่อให้ส่วนราชการสามารถนำไปกำหนดทิศทางได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดโปร่งใส (ต่อ) 10. การสำรวจความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการสำหรับส่วนราชการที่ไม่มี SLA มีเครื่องมือและวิธีการวัดอย่างไร เพราะส่วนราชการที่มีภารกิจด้านสังคม เช่น ก.สาธารณสุขมีงาน บริการผู้ป่วย ซึ่งจะแตกต่างกับส่วนราชการที่มีการวัดความโปร่งใสในการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จึงมีข้อสังเกตว่าเครื่องมือที่ใช้วัดควรจะต้องสอดคล้องกับบริบทของส่วนราชการที่มีความแตกต่างกันในเชิงเศรษฐกิจและสังคม คำตอบ แบบสำรวจความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการได้คำนึงถึงบริบทของกระบวนงานตามภารกิจของส่วนราชการที่แตกต่างกัน โดยประกอบด้วยข้อคำถามไม่เกิน 10 คำถาม ครอบคลุมในด้านความโปร่งใส ด้านความเชื่อถือ ไว้วางใจ และด้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกลุ่มกระทรวงด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ทั้งนี้คำถามมีการสำรวจและวัดความเห็นจากประชาชนผู้รับบริการในกระบวนงานที่ส่วนราชการดำเนินการสร้างความโปร่งใสโดยตรง
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัด SLA ขั้นตอนมานานแล้ว จนไม่สามารถลดได้อีก และยังกำหนดให้ทำแผนให้ปรับปรุงให้ลดอีก ลดสุดๆ ได้แค่นี้ ความโปร่งใสในข้อที่สอง คือถ้ามันมีแผน มีกระบวนการดำเนินงาน ลด จนสุดๆ จนเกิดเป้าไปแล้ว คำตอบ การลดขั้นตอน เป็นแนวทางหนึ่งของการปรับปรุงบริการ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ยกเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงกระบวนงานบริการตามตัวชี้วัด SLA นั่นหมายความว่า ยังมีแนวทางอีกมากในการปรับปรุงบริการ เช่น นำระบบเทคโนโลยีมาช่วย การออกแบบระบบงานใหม่ การพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ เป็นต้น ดังนั้น หากหน่วยงานไม่สามารถลดขั้นตอนการให้บริการได้แล้ว หน่วยงานสามารถเลือกแนวทางอื่นๆ เพื่อนำมาดำเนินการปรับปรุงบริการได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทขององค์กร
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัด SLA (ต่อ) ขั้นตอนมานานแล้ว จนไม่สามารถลดได้อีก และยังกำหนดให้ทำแผนให้ปรับปรุงให้ลดอีก ลดสุดๆ ได้แค่นี้ ความโปร่งใสในข้อที่สอง คือถ้ามันมีแผน มีกระบวนการดำเนินงาน ลด จนสุดๆ มันเกิดเป้าไปแล้ว คำตอบ สำหรับตัวชี้วัดความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ เกณฑ์การวัดประเมินผลจะมีการปรับจากเกณฑ์ของปีที่แล้ว ซึ่งวัดผลสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดหลักที่ส่วนราชการกำหนดตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ เทียบกับค่าเป้าหมาย (ต่ำกว่า เท่ากับ หรือมากกว่า) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 การวัดผลการดำเนินงานตามแผนสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการนั้น จะพิจารณาเกณฑ์ที่สามารถวัดผลความสำเร็จและสะท้อนความโปร่งใสในกระบวนงานได้อย่างแท้จริง สอดคล้องตามแผนฯ ที่ส่วนราชการกำหนด ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาและชี้แจงให้ส่วนราชการทราบต่อไป
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัด SLA (ต่อ) ความพึงพอใจงานบริการที่บังคับให้ทุกส่วนราชการดำเนินการวัดทุกปีอยู่แล้ว มีน้ำหนัก 10 คะแนน ตามที่บอกว่า 104 กรมไม่ต้องวัด SLA ตั้งข้อสังเกตว่า ทั้ง 104 กรมไม่มีงานบริการใช่หรือไม่ ไม่ต้องทำ PMQA ใช่หรือไม่ และ ไม่ต้องประเมินความพึงพอใจใช่หรือไม่ ทำไมไม่ยกน้ำหนัก 10 % ของ SLA ไปอยู่ในมิติด้าน ประสิทธิผล คำตอบ ตามประเด็นข้อสังเกต ขอเรียนชี้แจงดังนี้ 104 กรมมีงานบริการ แต่เป็นงานบริการที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขการคัดเลือกมาดำเนินการ SLA การทำ PMQA เป็นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์การ เพื่อให้องค์กร เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ทุกส่วนราชการควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 104 กรมยังคงต้องประเมินความพึงพอใจ แม้ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินผลตามตัวชี้วัด แต่ส่วนราชการสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรได้ ส่วนราชการที่ไม่มีตัวชี้วัด SLA จะยกน้ำหนัก ร้อยละ 10 ไปอยู่ในมิติด้านประสิทธิผลอยู่แล้ว
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวชี้วัด SLA (ต่อ) 13. เกณฑ์การวัดตัวชี้วัดเรื่อง SLA ขอร้องว่าอย่าทำเหมือนเกณฑ์ตัวชี้วัดเรื่องความโปร่งใส ที่ให้ส่วนราชการ จัดทำแผนก่อนแล้วเกณฑ์ค่อยออก แล้วมาบอกว่าแผนของส่วนราชการ ไม่ดี แบบนี้ไม่ยุติธรรมสำหรับส่วนราชการ เรียนทุกครั้งในทุกเวที ก.พ.ร ยังนิ่งเหมือนเดิม ปีนี้ยังดีมีการชี้แจงหลักเกณฑ์ SLA ตั้งแต่ต้น ยอมรับได้ การมีคลินิกให้คำปรึกษาดำเนินการมาหลายปี แต่ไม่ได้อะไรเท่าไร จริงๆ ก.พ.ร.ใหญ่ ต้องลงดูรายละเอียดลึกกว่านั้น หาก ก.พ.ร.ใหญ่ อยากให้ หน่วยงาน 40 หน่วยงาน ทำงานได้ดีที่สุด อยากให้ทาง ก.พ.ร.ใหญ่ เหนื่อยนิดหนึ่ง ลงมาดูกับหน่วยงานลึกๆ เลย ดีไหม หน่วยงานจะได้รู้วิธีทำกันว่า ก.พ.ร.ใหญ่ อยากได้อะไร ก.พ.ร.น้อยก็อยากเป็นส่วนที่ดีเหมือนกัน แต่การทำงานที่ผ่านมาดูเหมือนว่า ก.พ.ร.น้อยคิดเองทำเอง แล้ว ก.พ.ร.ใหญ่ เป็นคนตัดสินใจ ก.พ.ร.น้อยคิดเองอาจจะไม่ชัดเจน ก็ขอว่าเริ่มต้นแผนจะทำอย่างไรที่จะทำให้แผนดีและก็ถูกใจ ก.พ.ร.ใหญ่ เข้าใจว่า ก.พ.ร.ใหญ่ วางแผนมอบมรดกคงเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ให้มีการถ่ายโอนภารกิจ เพราะ ก.พ.ร.ใหญ่ก็คงพยายามสปริท งานออกเพื่อให้น้อยที่สุด ก็ทราบว่าอัตรากำลัง ก.พ.ร. เองก็มีไม่มากพอ แต่อย่าลืมว่า ก.พ.ร.น้อย ทารุณกว่า คนน้อยมาก คำตอบ สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำความเห็นไปปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามที่ได้เสนอแนะ
ประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับอัตรากำลัง 14. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ช่วยผลักดันให้ ก.พ.ร. กรม เป็นระดับ 9 อยากให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับสำนักงาน ก.พ. เรื่องการกำหนดกรอบอัตรากำลัง ว่า ก.พ.ร. กรม ควรมีกรอบ อัตรากำลังว่าควรเป็นเท่าไร ขณะนี้ ก.พ.ร กรม มีประมาณ 2 คน หากอัตรากำลัง น้อยจะรับงานที่ ก.พ.ร. มอบมาให้ดำเนินการได้อย่างไร ภาระงานมีมากขึ้น อยากให้ ก.พ.ร.สำรวจอัตรากำลัง ก.พ.ร. กรมของทุกส่วนราชการ คำตอบ สำนักงาน ก.พ.ร. อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจกรอบอัตรากำลังของ ก.พ.ร. ในแต่ละกระทรวง และจะได้หารือกับสำนักงาน ก.พ. ต่อไป