การจัดการองค์ความรู้ และประสบการณ์คณะแพทยศาสตร์ รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ สำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเภทของความรู้ 1. ความรู้โดยนัย / เฉพาะตัว (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ สัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในกิจการใดๆ เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้(ถ้าจะทำ) เช่น ทักษะในการทำงาน และการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นต้น
ประเภทของความรู้ 2. ความรู้ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้รวบรวมและถ่ายทอดออกมาแล้วโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถ่ายทอดผ่านเทคโนโลยีต่างๆ หรือจัดทำเป็นคู่มือต่าง ๆ เป็นต้น
ความเป็นจริงขององค์ความรู้ในองค์กร กระจัดกระจาย เข้าถึงยาก ไม่เป็นระบบ ไม่รู้ว่ามีอะไร และจะไปหาจากไหน คิด ทำ แก้ในเรื่องเดียวกัน พร้อมกันแต่ต่างคนต่างทำ คิด ทำ แก้ในเรื่องที่มีคนทำอยู่แล้ว มี Best Practice ใช้ในวงจำกัด และบางครั้งองค์กรก็ไม่รู้ว่า ตนมี Best Practice อะไรบ้าง หลายเรื่องถูกลืมและหายไปพร้อมกับคน
สิ่งที่มีอยู่ Incomplete/ partial KM (KM ครึ่งๆกลางๆ) loss knowledge asset Actual KM (KM จริงๆ) กลุ่มกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง/CQI Guideline KM ในเนื้องาน KM อย่างไม่เป็นทางการ
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) หมายถึง กระบวนการจัดการทั้งหมดที่ได้มาซึ่งองค์ความรู้ ทำให้องค์ความรู้นั้นคงอยู่ สามารถเข้าถึง พัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดองค์ความรู้ การแสวงหา สร้างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้ การจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ(เพื่อการเข้าถึง) การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับก็ได้ ใครทำกับใครก็ได้)
1. การกำหนดองค์ความรู้ องค์ความรู้ที่ควรจะมี หรือจำเป็นต้องมี ซึ่งอาจจะเป็น - องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในองค์กร หรือ - องค์ความรู้ที่ยังไม่มี หรือยังไม่ชัดเจน
2.การแสวงหา สร้างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นหาเพิ่มเติม ช่วยกันคิด ระดมสมอง นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
3. การถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้ การให้ การรับ นำไปปรุงแต่ง ใช้ประโยชน์
4. การจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้ความรู้คงอยู่ ทำให้รู้ที่อยู่(ของความรู้) จะได้ไปเอามาใช้ได้เมื่อต้องการ
5. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ไม่ใช่แค่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการเปิดใจรับสิ่งดีๆ จากผู้อื่น เป็นการเพิ่มคุณค่าใหห้กับองค์กร เป็นเป้าหมายสูงสุดของ KM
ปณิธาน ใช้เป็นเครื่องมือพัฒนางานตามพันธกิจ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านบริการ ด้านการบริหารจัดการ พัฒนาคน/พัฒนางาน/สร้างนวัตกรรม องค์กรแห่งการเรียนรู้
ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์ แหล่งข้อมูล/บุคคล ปัจจัยที่ช่วยให้การเปิดเส้นใน เด็กเล็กได้สำเร็จ - ตำแหน่ง -คนช่วยจับขณะเปิดเส้น -อารมณ์ สมาธิคนแทงเส้น - เปิดที่ศีรษะ เนื่องจากมองเห็นได้ชัดเจน คงอยู่ได้นาน -ขออนุญาตผู้ปกครองก่อน ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแล -คนช่วยจับจะต้องนิ่งจริงๆ เด็กจะร้องและดิ้น การแทงเส้นที่แขน ขา ต้องระวังเรื่องกระดูกหักด้วย -จะต้องสงบ มีสติ ไม่หงุดหงิด -คุณชุติวรรณ RN NICU -คุณศิริพร RN NICU
ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์ แหล่งข้อมูล/บุคคล - ระบบพี่เลี้ยง - อุปกรณ์เปิดเส้น เบี่ยงเบนความสนใจและให้เด็กมีส่วนร่วม - ควรมี RN Senior สำหรับเป็นพี่เลี้ยง - ควรมีการเตรียมอุปกรณ์ในการเปิดเส้นให้พร้อม เช่น rubber band, Radiant warmmer สำหรับให้ความอบอุ่น - ขณะเปิดเส้นควรพูดคุยเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก เด็กจะลดการต่อต้านลง อาจบอกให้หายใจลึกๆ - ให้เลือกว่าต้องการให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยหรือไม่ แทงเส้นแล้วอาจมีการเป่าให้หายเจ็บ -คุณชุติวรรณ RN NICU -คุณศิริพร RN NICU
CoPธุรการภาควิชา และคลังเลือดกลาง ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานฯ เกี่ยวกับงานธุรการภาควิชาไว้อย่างครอบคลุม โดยใช้โปรแกรม Mind Map เป็นเครื่องจัดเก็บและสามารถค้นหาได้อย่างง่าย หากผู้ปฏิบัติงานไม่อยู่ สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ เนื่องจากมีข้อมูลและหลักปฏิบัติอยู่ในโปรแกรม Mind Map แล้ว สามารถติดตามผลการปฏิบัติงาน และทราบขั้นตอนดำเนินการ สะดวก ลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการถ่ายเอกสารจำนวนมาก
CoP สนง.คณบดี/ผอ.รพ.และธุรการ การลดรอบระยะเวลาการทำงาน การทำบันทึกเพื่อขออนุมัติไปฝึกอบรม ดูงานและไปราชการทุกประเภทแบบครบวงจร ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการทำบันทึกคำขอ ลดการใช้กระดาษจากเดิม 5 แผ่น เหลือ 2 แผ่น/1 เรื่อง และลดเวลาการทำงานจากเดิม 15 นาที เป็น 5 นาที/1 เรื่อง ได้นำเสนอหลักการต่อผู้บริหารและกองการเจ้าหน้าที่ มข. แล้วขยายผลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและถือปฏิบัติร่วมกัน
สิ่งที่ต้องการ ผู้สรุปความ บันทึก ความครอบคลุมหน่วยงาน พันธกิจ รูปแบบใหม่ของKM
Key words “การนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนและ ต่อเนื่อง เพื่อองค์กรโดยรวม”