หลักการและเหตุผล ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมฐานราก ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ ประสบความยากจน เกิดปัญหาสังคม ชุมชนมีการใช้ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เพื่อดำรงอยู่ มีกรณีตัวอย่างดีๆที่เป็นความร่วมมือหลายฝ่ายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สถานการณ์ ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การสร้างระบบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาล ให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความ หลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน แบ่งเป็น ๔ หมวด ๓๕ มาตรา หมวด ๑ สภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๕ – มาตรา ๒๓ มาตรา ๕ การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล หมวด ๒ การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๒๔ – มาตรา ๒๙ หมวด ๓ การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๓๐ – มาตรา ๓๓ หมวด ๔ การส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๓๔ – มาตรา ๓๕
คำนิยามตามพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน “ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ “ชุมชนท้องถิ่น” หมายความว่า ชุมชนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่หมู่บ้านหรือตำบล “ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม” หมายความว่า ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเกิดขึ้นก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หมายเหตุ คำนิยามเป็นการปรับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ม.๖๖ ,๖๗
“องค์กรชุมชน” หมายความว่า องค์กรซึ่งเป็นการรวมของชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าประชาชนจะจัดตั้งกันขึ้นเอง หรือโดยการแนะนำหรือสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน “ตำบล” หมายความว่า เขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เขตในกรุงเทพมหานคร หรือเขตพื้นที่ที่กฎหมายเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ให้ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมฯรักษาการตามพรบ.นี้
สภาองค์กรชุมชนตำบล การก่อเกิดสภาองค์กรชุมชนตำบล หมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน 2 ชุมชนอื่น ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน จดแจ้งจัดตั้งที่ ผญ.บ้าน จดแจ้งจัดตั้งที่ ผญ.บ้าน จดแจ้งจัดตั้งที่ กำนัน ส่งบัญชีรายชื่อให้ พอช. ปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทน 4 คน ปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทน 4 คน ปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทน 2 คน * หลักเกณฑ์ วิธีการและการจดแจ้ง การจัดตั้งชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ให้เป็นไปตามที่ พอช. ประกาศ ผู้แทนชุมชนท้องถิ่น / ผู้แทนชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และผู้แทนชุมชนอื่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ประชุมจัดตั้ง กำนันรับจดแจ้ง จัดตั้งส่งให้พอช. ร้อยละหกสิบของชุมชนที่จดแจ้งเห็นชอบให้จัดตั้ง ประชุมครั้งแรกกำหนดจำนวนและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ใน 5 สภาองค์กรชุมชนตำบล
แผนผังแสดงการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล จดแจ้งการจัดตั้งองค์กรชุมชนตำบล ออกใบรับจดแจ้ง สภาองค์กรชุมชนตำบล ชุมชนอื่นในตำบล ประชุม ผุ้นำชุมชน คัดเลือก ผู้แทน ชุมชนละ2คน ออกใบรับจดแจ้ง จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน กำนัน จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ออกใบรับจดแจ้ง แจ้งการจดแจ้งจัดตั้ง ชุมชน/สภาองค์กรชุมชน พอช. การจัดตั้ง ชุมชน สภาองค์กร ชุมชนตำบล ประกาศ หลักเกณฑ์/ วิธีการ แบบจดแจ้ง ประชุมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน จำนวน ผู้แทนชุมชน มติการจัด ตั้งสภาฯ กำหนด ผู้แทนชุมชนท้องถิ่น ท้องถิ่นดั้งเดิม ชุมชนอื่นไม่น้อยกว่า60%ของจำนวนทั้งหมดในตำบล วิธีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ แจ้งการจดแจ้งจัดตั้ง ชุมชน/สภาองค์กรชุมชน ผู้บริหาร อปท. ผอ.เขต (กรณีไม่มี ผญบ./กำนัน) จดแจ้งการจัดตั้ง สภาองค์กรชุมชนตำบล ออกใบรับจดแจ้ง แจ้งการจดแจ้งตั้งชุมชน จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ออกใบรับจดแจ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนท้องถิ่น/ดั้งเดิมในหมู่บ้าน ประชุม ผุ้นำชุมชน คัดเลือก ผู้แทน ชุมชนละ4คน กระบวนการ เลือกสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ ออกใบรับจดแจ้ง จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ
องค์ประกอบสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๖) ๑.สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในหมู่บ้าน และผู้แทนชุมชนอื่นในตำบล ที่ได้รับการคัดเลือกและที่จำนวนตามที่ประชุมตาม ม.๕ กำหนด ๒.สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน ๑ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกตาม ๑
คุณสมบัติสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๗) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีจนถึงวันคัดเลือก ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิก/ ผู้บริหาร อปท. ผู้มีตำแหน่ง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง หนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก ไม่เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. สว. สมาชิกหรือผู้บริหารอปท. หรือเข้ารับการสรรหาเป็น สว. หนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อห้ามสำหรับสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๑๒) ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกหรือผู้บริหาร อปท. ไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและศีลธรรม ไม่สมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. สว. สมาชิกหรือผู้บริหาร อปท. หรือเข้ารับการสรรหาเป็น สว. ห้ามไม่ให้ผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.สว.สมาชิก/ผู้บริหาร อปท. ยังไม่ครบหนึ่งปีเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชน
ระบบบริหารงานสภาองค์กรชุมชนตำบล สมาชิกสภาฯมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี นับแต่วันคัดเลือก(ม.๘ ) จัดการประชุมอย่างน้อยปีละ ๔ ครั้ง หรือกรณีสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ร้องขอ ม.๑๙) การประชุมต้องมีสมาชิกเข้าร่วมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (ม.๒๐) การประชุมครั้งแรกให้สมาชิกเลือกกันเองเป็นประธานคนหนึ่ง และรองประธานสองคน(ม.๑๕ ) สภาฯอาจตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติภารกิจแทนได้ตามความเหมาะสม(ม.๒๓)
ภารกิจสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๒๑) ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับ อปท.และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนนเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือ อปท. จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของปชช.ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการของ อปท.หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งนี้ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็ง สมาชิกองค์กรชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงาน ของ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ ต่อ อปท.และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง วางกติกาในการดำเนินกิจการสภาองค์กรชุมชน จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ รวมถึงสถานการณ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ ปชส.ให้ประชาชนทั่วไปทราบ เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคนเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของสภาฯ
การสนับสนุนกิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล ให้ อปท.และหน่วยงานของรัฐ ส่งเสริมสนับสนุนให้ความร่วมมือ ชี้แจงทำความเข้าใจแก่สภาองค์กรชุมชนและชุมชนทุกประเภท ตามที่ร้องขอ(ม.๒๒) อปท.ที่สภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ในเขตอาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายสภาฯเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป ตามที่กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยให้กรมฯหารือกับ พอช. (ม.๒๒)
การยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล เมื่อมีเหตุต้องยุบเลิก ให้ประธานสภา แจ้งต่อกำนัน กำนันออกใบแจ้งและให้แจ้ง พอช.ทราบ(ม.๑๐) หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจดแจ้งการยุบเลิกให้เป็นไปตามที่พอช.ประกาศกำหนด(ม.๑๐) ให้โอนทรัพย์สินที่เหลือแก่หน่วยรัฐหรือองค์กรสาธารณะที่ที่ประชุมสภาฯเห็นสมควร หากไม่ได้จัดการให้ พอช.ดำเนินการและแจ้งให้ที่ประชุมระดับจังหวัดทราบ(ม.๑๑)
การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล(หมวด ๒) ให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และเมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ร้องขอ (ม.๒๔) ผู้ว่าฯอาจให้มีการจัดประชุม เมื่อมีการจัดทำหรือแก้ไขแผนพัฒนาจังหวัด หรือเห็นสมควรรับฟังความเห็นสภาองค์กรชุมชน(ม.๒๕) ผู้เข้าประชุม เป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลละสองคน ผู้ทรงคุณาวุฒิไม่เกิน 1 ใน 5 ของผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๒๖) อบจ.อาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการประชุมเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป(ม.๒๙)
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล(หมวด ๓) ให้ พอช.จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(ม.๓๐) ผู้เข้าประชุมมาจากผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ได้รับการเสนอชื่อ และ ผู้ทรงคุณาวุฒิไม่เกิน ๑ ใน ๕ (ม.๓๑) เรื่องที่ประชุม ได้แก่ การกำหนดมาตรการส่งเสริมจัดตั้งและพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบล เสนอแนะการจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม กฏหมาย และบริการสาธารณะของรัฐและ อปท.ที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัด สรุปปัญหาชุมชนและทางแก้เสนอต่อครม.(ม.๓๒)
การส่งเสริมกิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล(หมวด๔) ให้พอช.กำหนดข้อบังคับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายการประชุมระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับตำบลของสภาองค์กรชุมชนตามควรแก่กรณี(ม.๓๔) ให้ พอช.มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชน ได้แก่ การประสานการจัดตั้ง เผยแพร่ ปชส. รวบรวมข้อมูลศึกษาวิจัย ประสานกับ อปท. หน่วยงานรัฐ NGO จัดทำทะเบียนกลาง (ม.๓๕) ให้พอช. ติดตามประเมินผล เสนอรายงานต่อการประชุมสภาองค์กรชุมชนระดับชาติ และรัฐมนตรีเพื่อเสนอครม.อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(ม.๓๕)
ความสัมพันธ์ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนกับกฏหมายอื่นๆ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ ระบุว่าบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งคำว่า ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ได้ระบุไว้ใน รธน.มาตรา ๖๖ ได้นำมาให้ความหมายใน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ ได้ระบุสิทธิของบุคคลที่จะร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ...การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง...จะกระทำมิได้เว้นแต่...ได้จัดกระบวนรับฟังความคิดเห็นของ ปชช.และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน...สิทธิชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานเพื่อให้ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ย่อมได้รับการคุ้มครอง ซึ่งสิทธิชุมชน หมายถึงสิทธิของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตามมาตรา ๖๖ ที่ได้นำมาให้ความหมายใน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
ความสัมพันธ์กับพรบ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ร.บ.สภาพัฒนาสภาการเมือง เป็นกฏหมายที่ออกตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ได้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติเมื่อ ๒๑ ธ.ค.๕๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเมืองในระบบประชาธิปไตย พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่งเสริมให้ ปชช.มีความเข้มแข็งทางการเมือง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนาการเมืองและติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผน เสริมวัฒนธรรมอันดีและการมีส่วนร่วมของ ปชช.ทางการเมือง การพัฒนาสถาบันการเมือง และการส่งเสริม/พัฒนาให้ ปชช.เข้มแข็งทางการเมือง รวมถึงสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมให้เข้มแข็ง จิตสำนึกความเป็นพลเมือง ร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชน ตามกม.ว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน
ร่าง พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง (ต่อ) สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมาจากผู้แทนภาคประชาสังคมที่ที่ประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลเลือกกันจังหวัดละ ๑ คน(๗๖คน) ผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมที่จดแจ้งตาม พรบ.นี้ ๑๖ คน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มีสส.ในสภาทุกพรรค ผู้แทนพรรคการเมืองที่ไม่มีสส.ในสภาเลือกกันเอง ๒ คน ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ๑ คน สมาชิกโดยตำแหน่งจากเลขา กกต. เลขาคณะกรรมการสิทธิ เลขาสภาที่ปรึกษา และผอ.พอช.
สมาชิกมีวาระ ๔ ปี ประชุมปีละสองสมัยๆละหนึ่งเดือน มีสนง สมาชิกมีวาระ ๔ ปี ประชุมปีละสองสมัยๆละหนึ่งเดือน มีสนง.พัฒนาสภาพัฒนาการเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระในสถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานตาม พ.ร.บ. ประธานรัฐสภารักษาการตามพ.ร.บ. ให้มีกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ ภาคประชาชนที่รวมตัวเป็นเครือข่าย บทเฉพาะกาล ในวาระเริ่มแรก ในสภาพัฒนาการเมืองประกอบด้วยประธานที่ประธานรัฐสภาแต่งตั้ง ผู้แทนองค์กรชุมชนตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน ๓ คน ผู้แทนภาคประชาสังคมอื่น ๓ คน ผู้ทรงคุณาวุฒิ ๕ คน ดำเนินการออกระเบียบที่จำเป็นและให้ได้สภาพัฒนาการเมืองให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันตั้งแต่ พรบ.ใช้บังคับ
ความสัมพันธ์ระหว่าง พรบ.สภาองค์กรชุมชนกับพรบ.สภาพัฒนาการเมือง คำนิยาม ม.๓ องค์กรภาคประชาสังคมหมายความว่า (๑)ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่รวมตัวเป็นสภาองค์กรชุมชนตามกฏหมายสภาองค์กรชุมชน อำนาจหน้าที่ ม.๖(๔)(จ)ให้สภาพัฒนาการเมืองร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชน ตามกฎหมายสภาองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการตาม พรบ. องค์ประกอบสมาชิก (ม.๘)(๑)สมาชิกซึ่งมาจากผู้แทนภาคประชาสังคมตาม(๑)คือสภาองค์กรชุมชนเลือกกันจังหวัดละ ๑ คน การดำเนินงานในวาระแรก ให้มีผู้แทนองค์กรชุมชน ๓ คน และให้เลขาสถาบันพระปกเกล้าประสานกับ พอช.ให้ได้สมาชิกทีมาจากสภาองค์กรชุมชนภายใน ๒๑๐ วัน นับแต่ พรบ.ใช้บังคับ
ความแตกต่างพรบ.สภาองค์กรชุมชนกับพรบ.สภาพัฒนาการเมือง พรบ.สภาองค์กรชุมชนเป็นกฏหมายส่งเสริมเกิดขึ้นตามความพร้อมของพื้นที่ พรบ.สภาพัฒนาการเมืองเป็นกฏหมายตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ในพรบ.ระบุไว้ชัดเจนว่า ดำเนินการให้มีสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองภายในสองร้อยสี่สิบวันหลังกฎหมายประกาศใช้
ความสัมพันธ์ พรบ.สภาองค์กรชุมชนกับกฎหมายฉบับอื่นๆ พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่..) พ.ศ..... ที่ได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำนันผู้ใหญ่บ้าน มีบางมาตราอาจเกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชน เช่น มาตรา ๒๘ตรี ในหมู่บ้านหนึ่งมีคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ผช.ผู้ใหญ่บ้าน สมชิก อปท.ในหมู่บ้าน ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้านเป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณาวุฒิ ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากที่ราษฎรเลือก ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่ม องค์กรใดมีสิทธิเป็นกรรมการหมู่บ้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ มท.กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน ตาม พรบ ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน ตาม พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบและบทบาทคล้ายๆกับสภาองค์กรชุมชน แต่เป็นสภาในระดับหมู่บ้าน ซึ่งถ้าหากเป็นพื้นที่มีการทำงานร่วมกันทุกฝ่าย ก็น่าจะเกิดการเชื่อมโยงระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้านกับสภาองค์กรชุมชนตำบล กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่เป็นกฏหมายที่มีผลบังคับทุกพื้นที่ และแนวทางปฏิบัติหลายเรื่องกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประกาศกำหนดหรือการแต่งตั้งโดยนายอำเภอ