การกำหนดนโยบายการคลังและบูรณาการของ 4 หน่วยงานหลัก (10-1-55) สรุปเนื้อหาการบรรยาย หลักสูตรนักการ คลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 1
กรอบนโยบายการคลัง ครอบคลุมนโยบายรายได้ รายจ่าย หนี้สาธารณะ และทรัพย์สิน กรอบวงเงินงบประมาณรายได้ โดยคณะทำงานประกอบด้วยธนาคารแห่งประเทศ ไทย สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ กรมจัดเก็บ กรมธนารักษ์ และสคร. โดยมี สศค. เป็นเลขานุการ ในการประมาณรายได้ภาษี จะต้องไม่ลืมว่าภาษีที่เก็บได้จะถูกคืนภาษีและจัดสรร ให้ อปท. รวมกว่าร้อยละ 50 เวลากล่าวถึง การคลังภาคสาธารณะจะต้องคิดรวมรัฐวิสาหกิจและอปท. ด้วย ความสัมพันธ์ในสองทิศทางระหว่างภาษีที่เก็บได้และสภาวะของเศรษฐกิจและ ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภค
การประมาณการรายได้ การประมาณการรายได้รัฐโดยพิจารณาจาก Real GDP อัตราเงินเฟ้อ การขยายตัว ของมูลค่านำเข้า อัตราแลกเปลี่ยน ปริมาณเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ย โดยสรุปควรพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจ นโยบายรัฐ และทิศทางการจัดเก็บรายได้ ที่เปลี่ยนแปลงไป การวิเคราะห์รายได้ภาษีจะพิจารณาจากอัตราการบริโภคเฉลี่ย Tax Buoyancy และรายได้ต่อ GDP เนื่องจากรายได้รัฐต่อ GDP ของประเทศไทย เพียงประมาณร้อย 17 ทำให้เป็นการ ยากในการพัฒนารัฐสวัสดิการ
การประมาณการรายจ่าย ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ รายจ่ายลงทุน และเงินโอน ปัจจุบัน เนื่องจาก PPP และรัฐวิสาหกิจ เพิ่มขึ้นมาก รายจ่ายลงทุนจึงไม่ จำเป็นต้องถึงร้อยละ 25 สำนักงบประมาณและสภาพัฒน์เป็นผู้กำหนดการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย การชดเชยเงินคงคลัง (จากการขาดดุลงบประมาณ) ที่มากขึ้นเป็นปัจจัยที่เบียดบัง งบลงทุนได้ และทำให้ขาดดุลในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเพราะต้องกู้ชดเชยการขาดดุล ในปีงบประมาณที่ผ่านมา กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (หนี้ต่อ GDP ร้อยละ 60-ภาระหนี้ต่องบประมาณ ร้อยละ 15-งบลงทุนต่องบประมาณร้อยละ 25)
นโยบายการคลังและเศรษฐกิจ รายได้นอกงบประมาณ = เงินฝากหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ เงินกู้ และเงินกองทุน นโยบายการคลังขาดดุลหรือสมดุล ส่งผลต่อเงินคงคลัง 2 บัญชี ที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทย บัญชีที่ 1 รับเงิน และบัญชีที่ 2 จ่ายเงิน กำหนดให้สามารถกันรายจ่ายงบประมาณที่ยังไม่ได้จ่ายของหน่วยงานต่างๆได้ 2 ปี ซึ่ง จะทำให้งบประมาณรายจ่ายในอนาคตสูงขึ้น เงินคงคลังจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ด้วยเหตุผลที่รายจ่าย ลดลงได้ยาก ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ (ซึ่งควรแยกออกจากรายจ่ายประจำ) และรายจ่ายสวัสดิการ เป็น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดุลงบประมาณ นอกจากนี้ การใช้นโยบายภาษีเพื่อสนับสนุนภาคเอกชน การกระจายอำนาจการคลังให้ อปท. และรายได้ภาษีที่ลดลง ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดุลงบประมาณของประเทศ