บทบาทสถาบันอุดมศึกษา บนเส้นทางประชาคมอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20 เมษายน 2554
บทบาทสถาบันอุดมศึกษาบนเส้นทางประชาคมอาเซียน 1. อาเซียน : ความเป็นมาและพัฒนาการโดยสังเขป 2. อาเซียน : จากสมาคมสู่ประชาคม Bali Summit II 3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน 5. ประชาคมสังคม วัฒนธรรมอาเซียน 6. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) 7. ประเทศไทยกับอาเซียน 8. ผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาของไทย 9. การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทย
1. อาเซียน : ความเป็นมาและพัฒนาการโดยสังเขป 1. อาเซียน : ความเป็นมาและพัฒนาการโดยสังเขป 1.1 ความเป็นมา ASEAN (Association of South East Asian Nations) - การก่อตั้ง : 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) - สมาชิก 5 ประเทศ :1ไทย 2 มาเลเซีย 3 อินโดนีเชีย 4 สิงคโปร์ 5 ฟิลิปปินส์ + ... 6 บรูไน (ค.ศ. 1984) - สาเหตุ - ความล้มเหลวของ ASA (Association of Southeast Asia), Maphilindo - เผชิญปัญหาและภัยร่วมกัน - ความตึงเครียดของสงครามเย็น 1.2 พัฒนาการ 1967-1971 Getting to know and building trust, 1971: Zone of Peace Freedom and Neutrality (ZOPFAN) 1972-1977 Common political standpoint: Bali Summit Peaceful Coexistence, Peaceful Settlement of Conflict 1978-1989 Political solidarity against Vietnam’s occupation in Cambodia 1990-2000 Widening (6+CLMV) and Deepening (AFTA) 2001-2015 Regional Integration toward ASEAN Community
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การจัดระเบียบใหม่ในภูมิภาค ค.ศ.1992-2010 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การจัดระเบียบใหม่ในภูมิภาค ค.ศ.1992-2010 การถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชาใน ค.ศ. 1989-1990 นำไปสู่การสิ้นสุดการเผชิญหน้าระหว่างอาเซียนกับเวียดนาม-ลาว การล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและการแตกสลายของสหภาพโซเวียต ไม่เพียงแต่นำไปสู่การสิ้นสุดสงครามเย็นในระดับโลก ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามและลาว จำเป็นต้องปรับตัวทางเศรษฐกิจ เพราะไม่อาจพึ่งพาค่ายคอมมิวนิสต์ที่ล่มสลาย เวียดนามหันมาใช้กลไกตลาดด้วยนโยบาย Doi Moi และลาวใช้นโยบาย “จินตนาการใหม่” เป็นสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาด (Market Socialism) ประเทศไทยและอาเซียน เห็นโอกาสในการจัดระเบียบภูมิภาค (Regional Order) ใหม่ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Peaceful Coexistence) และเสถียรภาพในภูมิภาค (Regional Stability)
การจัดระเบียบทางการเมือง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังสงครามเย็น หลังสงครามเย็นสิ้นสุดและความขัดแย้งในกัมพูชายุติลง อาเซียนเห็นโอกาสเชิญให้ เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า เข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามเป็นสมาชิก 1995, ลาว/พม่า 1997, กัมพูชา 1999 ประเทศสมาชิกใหม่ CLMV ต้องยอมรับหลักการอาเซียนในการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธี โดยรับรองสนธิสัญญาไมตรีจิตและความร่วมมือ (Treaty of Amity and Cooperation, 1976) การประชุม AMM ประจำปีเป็นกลไกของการปรึกษาและร่วมหารือระหว่างสมาชิก 10 ประเทศของอาเซียน เป็นการจัดระเบียบทางการเมืองในภูมิภาคเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และร่วมมือกันแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี
การจัดระเบียบทางความมั่นคงหลังสงครามเย็น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียนเห็นโอกาสในการจัดระเบียบทางความมั่นคงแบบพหุภาคี (Multilateral Security Arrangement) เดิมใช้ทวิภาคีและถ่วงดุลอำนาจระหว่างมหาอำนาจ อาเซียนนำแนวคิด Cooperative Security: “ความมั่นคงจากการร่วมมือ” มาใช้ โดยพยายามร่วมมือปรึกษาหารือเพื่อลดความหวาดระแวง และเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน จัดตั้ง ARF (ASEAN Regional Forum) เป็นเวทีปรึกษาหารือ ประกอบด้วย สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ: ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม , ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน(Dialogue Partners) : ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป , ประเทศผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน (Observers) : ได้แก่ ปาปัวนิวกินี ติมอร์ ,ประเทศอื่นในภูมิภาค : ได้แก่ มองโกเลียและเกาหลีเหนือ
การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจหลังสงครามเย็น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ใน ค.ศ. 1992 ได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0-5 ต่อมาได้เลื่อนให้เสร็จภายใน 10 ปี ใน ค.ศ. 2003 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลง GATT รอบอุรุกวัย การจัดตั้งเขตการค้าเสรีส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่มอาเซียนเพิ่มมากขึ้น อาเซียนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย แต่ประเทศ CLMV มีเวลาเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี ถึง ค.ศ. 2008 จึงเปิดเสรีทั้งหมด อาเซียนกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ มีผู้บริโภค 580 ล้านคน ดังนั้น AFTA กลายเป็นกลไกของการจัดระเบียบทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค อาเซียนเปิดเสรีกับจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ค.ศ. 2010
2. อาเซียนในศตวรรษที่ 21: จากสมาคมสู่ประชาคม 2. อาเซียนในศตวรรษที่ 21: จากสมาคมสู่ประชาคม วิกฤตเศรษฐกิจ 1997 ทำให้อาเซียนตระหนักถึงปัญหาภายใน - ความอ่อนแอ (weakness) - ความล่อแหลม (Vulnerability) - ขนาดเล็ก (Small size) การท้าทายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภายนอก - The Rise of China - The Emergence of India - The Dominance of US - The Decline of Japan - The Supremacy of Economic issues ASEAN’s Responses - ASEAN 10 + 3 - Bali Summit II 2003: ASEAN Community
เส้นทางสู่ประชาคม 2003 ผู้นำอาเซียนประกาศ Bali Concord II เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) ประกอบด้วย 3 เสาหลักได้แก่ ประชาคมความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรม ใน ค.ศ. 2020 2004 ผู้นำอาเซียนตกลงนำร่องการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ 11 สาขา ได้แก่ 1.เกษตร 2.ประมง 3.ผลิตภัณฑ์ไม้ 4.ผลิตภัณฑ์ยางพารา 5.สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม 6.ยานยนต์ 7.อิเล็กทรอนิสก์ 8.สุขภาพ 9.เทคโนโลยีสารสนเทศ 10.การท่องเที่ยว 11.การบิน 2007 เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายใน ค.ศ. 2015 (เร็ว ขึ้นกว่าเดิม 5 ปี)
3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) 3.1 เป้าหมาย รวมตัวทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง (deepening process) สู่ การเป็น ฐานการตลาดและฐานการผลิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน และจัดให้มีการ เคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน เงินลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี 3.2 เหตุผล ที่ต้องร่วมมือกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจ (1) กระแส Globalization (2) กระแส Regionalization ในภูมิภาคต่างๆ EU, NAFTA (3) The Rise of China and The Emergence of India 3.3 กระบวนการ - พัฒนาจาก AFTA (เขตการค้าเสรีอาเซียน) ASEAN 6 ภาษีเหลือ 0% ร้อยละ 80 ของ IL ปี 2007 ร้อยละ 100 ของ IL ปี 2010 CLMV เหลือ 0-5% ปี 2007, เหลือ 0% ปี 2015 - พัฒนาจาก AFAS (กรอบความตกลงว่าด้วยการบริการ) - เร่งขจัดภาษี ใน 11 สาขาหลัก
4. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) เป้าหมาย ลดความหวาดระแวงระหว่างประเทศสมาชิก ร่วมมือกันทางด้านความมั่นคง (Cooperative Security) เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันโดยสันติและการปฏิเสธการใช้ความรุนแรงและกำลังในการแก้ไขความขัดแย้ง อีกทั้งปรึกษาหารือเพื่อนำไปสู่นโยบายร่วมกันทางความมั่นคงและต่างประเทศ พัฒนา ARF เป็นกลไกในการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี กระบวนการ พัฒนา ARF จาก Confidence Building สู่ Preventive Diplomacy
ปัญหาความมั่นคงของอาเซียน Intra ASEAN Traditional Security - ปัญหาเขตแดน ทางบก/ทางทะเล - ปัญหาข้ามชาติ (Transnational issues) Non-Traditional Security issues : Migration Natural disaster Trafficking etc. Extra ASEAN - South China Sea : Spratlys - Korean Peninsular : N.Korean Nuclear - Taiwan Straits - Human Rights issue
5. ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community) เป้าหมาย - ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ (Stake holder) - สร้างอาเซียนให้เป็นสังคมเอื้ออาทรและแบ่งปัน (caring and sharing community) กระบวนการ - Transnational activities : Travel, Tourism Educational exchanges, Training - Social safety net - Human Security
6. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) กฎบัตรอาเซียน เป็นธรรมนูญที่ใช้บังคับร่วมกันซึ่งระบุถึง ค่านิยม แนวคิด และเป้าหมายร่วมกัน Background - 2005 ตั้งกลุ่ม EPG : Fidel Ramos, Ali Alatas - ม.ค.2007 EPG ส่งรายงานต่อ ASEAN Summit ตั้งคณะ HLTF เพื่อร่าง ASEAN Charter - พ.ย.2007 ผู้นำพิจารณาและลงนามในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อให้สัตยาบันภายใน 2008
Impact 1. อาเซียนจะกลายเป็นนิติบุคคล (legal body) 2. อาเซียนจะกลายเป็นองค์กรที่มีกติกาและกฏเกณฑ์ชัดเจน (Rule-based organization) 3. อาเซียนจะกลายเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างและกระบวนการ ตัดสินใจที่ชัดเจน ปรับปรุงระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพ 4. เลขาธิการอาเซียนจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น 5. กฎบัตรอาเซียนจะช่วยให้การบูรณาการสมาชิกาอาเซียน เป็นไปอย่างลึกซึ้ง (deepening) และเป็นองค์กรที่มี ประชาชน (people-centered)
7. ประเทศไทยกับอาเซียน : อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้ม 7. ประเทศไทยกับอาเซียน : อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้ม อดีต ไทยมีบทบาทนำในอาเซียน - ก่อตั้งอาเซียน ที่กรุงเทพฯ ค.ศ.1967 - ผลักดันการแก้ไขปัญหากัมพูชาร่วมกัน ค.ศ.1980-1989 - เสนอแนะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) - เป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกของเวทีปรึกษาหารือด้าน ความมั่นคงของภูมิภาค (ARF) - ผลักดันการประชุม เอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งแรก - เคยเสนอแนะสร้างกลไก ASEAN Troika, Flexible engagement ปัจจุบัน เลขาธิการอาเซียนเป็นคนไทย : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ตั้งแต่ ก.ค. 2008- มิ.ย. 2009 ไทยเป็น ประธานอาเซียน - ผลักดันการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้มีผลการบังคับใช้ - เร่งรัดการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนภายใน 2015 ปัญหา และ อุปสรรค :
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน Blueprint 2009-2015 ประชาสังคมวัฒนธรรมอาเซียนครอบคลุมเนื้อหาดังนี้ 1. การพัฒนามนุษย์ 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม 3. ความยุติธรรมและสิทธิ 4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน 6. การลดช่องว่างการพัฒนา
การพัฒนามนุษย์ อาเซียนพัฒนามนุษย์โดยส่งเสริมและลงทุนด้านการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรม และการเสริมสร้างขีดความสามารถ ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดย: ก. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาทุกระดับ ระหว่าง สถาบันการศึกษาในอาเซียน ข. สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ ค. จัดตั้งกลุ่มวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาขั้นสูงในอาเซียน ง. ประสานความร่วมมือกับองค์การ รมต. ศึกษาแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จ. สนับสนุนการเรียนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
การพัฒนามนุษย์ ฉ. จัดตั้งกองทุนสำหรับเยาวชนอาเซียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ช. แลกเปลี่ยนนักแสดงและนักวิชาการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซ. ส่งเสริมทางเลือกในการศึกษาระดับสูงในประเทศสมาชิกอาเซียน ญ. สนับสนุนประชาชนในสมาชิกอาเซียนให้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ฏ. จัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับอาเซียนศึกษาทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา
8. ผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาของไทย ผลกระทบด้านบวก: โอกาส: การร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยในอาเซียน 1. ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) 2. การแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Mobility) 3. การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา: อาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ 4. การทำหลักสูตรร่วม (Twinning Program) 5. การร่วมวิจัย (Joint Research) 6. การร่วมจัดสัมมนานานาชาติ (International Conference) 7. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาการและอื่นๆ โอกาส การขยายจำนวนนักศึกษา: เพิ่มหลักสูตรนานาชาติ (อังกฤษ) ทำ Road Show แนะนำหลักสูตรในอาเซียน ตั้ง Corner แนะนำหลักสูตรในสถานทูต โอกาส ของบัณฑิตไทยทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียน ตั้งแผนกแนะแนวทำงาน (ติดต่อบริษัทของอาเซียน...)
8. ผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาของไทย (ต่อ) ผลกระทบด้านลบ: การแข่งขันรับนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับอาเซียน การแข่งขันเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา การแข่งขันเพื่อดึงอาจารย์ชั้นนำ การแข่งขันแสวงหาทุนวิจัยจากนอกภูมิภาค การแข่งขันในตลาดงานระหว่างบัณฑิตไทยกับสมาชิกอาเซียน
8. ผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาของไทย (ต่อ) อุปสรรคปัญหา 1. ความพร้อมของบุคลากร 2. ทักษะด้านภาษาอังกฤษ 3. ความรู้เกี่ยวกับตลาดแรงงาน 4. ความเข้าใจด้านวัฒนธรรม โอกาส: ไทยมีโอกาสเป็น hub ของการศึกษาอาเซียน ถ้าปรับตัวและเตรียมความพร้อม
9. การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทย พัฒนาบุคลากร: ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรฝ่ายสนับสนุน นักศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เป็นนานาชาติ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และ ภาษาของสมาชิกอาเซียน พัฒนาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและตลาดแรงงานอาเซียน พัฒนาหน่วยงานใหม่ : ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ฝ่ายรับสมัครนักศึกษาของอาเซียน ฝ่ายติดต่อตลาดแรงงานในอาเซียน กิจกรรม: Exchange visits Institutional contacts Personal contacts
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 อาเซียน กลายเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวของการเคลื่อนย้ายสินค้า ภาคบริการ และแรงงานทักษะ / นักวิชาชีพ อย่างอิสรเสรี แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) กำหนดให้มี - การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง (Self Certification) - ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน
การเปิดเสรีภาคบริการการศึกษาของ AEC Mode 1 การให้บริการข้ามพรมแดน Mode 2 การบริโภคบริการในต่างประเทศ Mode 3 การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ Mode 4 การเคลื่อนย้ายบุคลากร
ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน วัตถุประสงค์ คือ การช่วยให้นักวิชาชีพอาเซียนสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่นได้สะดวกมากขึ้น โดยประเด็นด้านคุณสมบัติที่ประเทศสมาชิกมานั่งเจรจาเพื่อหาจุดตกลงยอมรับร่วมกันนั้นคือ เรื่องวุฒิการศึกษา และประสบการทำงาน ที่เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการอนุญาตให้นักวิชาชีพต่างด้าวเข้าไปทำงานในประเทศตนได้
Toward ASEAN Community