ซากดึกดำบรรพ์ .

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เรขาคณิตสามมิติ และปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
Advertisements

สารชีวโมเลกุล : โปรตีน
จัดทำโดย 1.ด.ช.พนาดร เขื่อนแก้ว ม.2/5 เลขที่ 6
ซากดึกดำบรรพ์ .
ชนิดของหินโดยประมาณ พบเป็น โดยรวมหินแปรไว้ในหินต้นกำเนิดเหล่านี้แล้ว
แผ่นดินไหว.
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(ประวัติศาสตร์ ม.4-6)
นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board)
นริศ ภูมิภาคพันธ์ ชวลิต วิทยานนท์
ภาวะโลกร้อน นายอัศวิน สมบูรณชนะชัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร ปี2.
SINGAPORE.
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ
อารยลุ่มธรรมแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
ลักษณะภูมิอากาศของทวีปแอฟริกา
บทที่ 3 ระบบฐานข้อมูล Database system
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
จัดทำโดย ด.ช.สมชาย คงดั่น 2/5.
การขับเคลื่อน Whole Value Chain Network ด้วยโลจิสติกส์ (Logistic) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย.
โครงสร้างทางธรณีวิทยา
และแผนการดำเนินงาน ปี 55 สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
กาแฟ (coffee) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Coffea spp.
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอ สามร้อยยอด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอหัวหิน
โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต
สื่อความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษ์ศาสตร์
รายชื่อสมาชิก กลุ่ม1 1.นายวิสุทธิ์ ศิลารัตน์ ม.6/6 เลขที่ 5ก
วิวัฒนาการ เต่าทะเล.
วิวัฒนาการของม้า.
วิวัฒนาการของม้า.
ประเภทของป่าไม้ ป่าไม้ในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ 1. ป่าดงดิบหรือป่าไม้ที่ไม่ผลัดใบ 2. ป่าผลัดใบ ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ ได้อีก.
เรื่อง ขนมไทยพื้นบ้าน
Story board.
สภาพทางสังคม และ วัฒนธรรม ของทวีปยุโรป
ลักษณะทางกายภาพของ ทวีปยุโรป.
ลักษณะทางกายภาพ ของทวีปแอฟริกา Afica.
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ทรัพยากรธรรมชาติ ของทวีปแอฟริกา
ทรัพยากรธรรมชาติทวีปแอฟริกา
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
หมีขั้วโลก.
นางสาวจิตรลดาพร แพงดี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวาริชศาสตร์
Story board.
ASEAN ASSOCIATION MALAYSIA.
ทวีปเอเชียน่ารู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เข้าสู่บทเรียน.
ที่ดิน 200 ไร่ จังหวัดอุดรธานี ของคุณเปรมศักดิ์ ภู่ม่วง
Story board.
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรป
ด.ญ.มลิวัลย์ ธุรี เลขที่ 28 ม.1/2 ส่ง อาจารย์ ดลหทัย อินทร์จันทร์
แหล่งท่องเที่ยวไทย.
ดวงจันทร์ (Moon).
ที่ตั้งภาคตะวันตกของประเทศไทย
อังกฤษเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์ อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปี
สมาคมอาเซียน AEC ประเทศ ลาว (Laos)
การวัดทางด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
งูอันตรายของโลก จัดทำโดย ด.ช.เก่งกาจ บุญมี ชั้นม.1/12 เลขที่17 เสนอ
ด. ญ. ปวันรัตน์ ตันกาศ เลขที่ 20 ม.1/2 ถัดไ ป.  จากหลักฐานรูปปั้นแมว มัมมี่แมว และ ภาพเขียนผนังเกี่ยวกับแมวแล้ว เราเชื่อว่าได้ มีการ  เลี้ยงแมวในอียิปต์
รถยนต์วิ่งมาด้วยความเร็วคงที่ 10 เมตร/วินาที ขณะที่อยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางเป็นระยะทาง 35 เมตร คนขับก็ตัดสินใจห้ามล้อโดยเสียเวลา 1 วินาที ก่อนห้ามล้อจะทำงาน.
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ สถานีอุตุนิยมวิทยาตาก
ประเทศ มาเลียเชีย ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และกลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน.
สัตว์โลกสวยงามที่ใกล้สูญพันธุ์
เรื่อง สัตว์ ถัดไป.
  1. นักเรียนศึกษาคำถามเพื่อศึกษาค้นคว้าตามประเด็น ต่อไปนี้  1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุพบบริเวณใดของโลก  1.3. สิ่งใดที่บ่งบอกความเจริญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า อ. เมือง จ
1.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Flash
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ซากดึกดำบรรพ์ 

ซากดึกดำบรรพ์  ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น  เมื่อตายซากจะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน ซากดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ตามชั้นหินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ เพราะหินตะกอนเป็นหินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดีกว่าหินชนิดอื่น นอกจากนั้นยังอาจพบซากดึกดำบรรพ์ในหินภูเขาไฟบางชนิด เกิดจากการทับถมของเถ้าถ่านภูเขาไฟ เพราะ เป็นบริเวณที่มีความพรุนและมีซิลิกา(SiO2)มาก ส่วนหินอัคนีและหินแปรมักไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ เนื่องจากหินอัคนีเกิดจากแมกมาที่ร้อนมาก และหินแปรเกิดจากการแปรสภาพเนื่องจากความร้อนสูง ทำให้ซากดึกดำบรรพ์ที่ฝังตัวในหินอัคนีและหินแปรถูกทำลาย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุด เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลเพราะเมื่อสัตว์ทะเลตายซากจะจมลงสู่ก้นทะเล โคลนและตะกอนเม็ดละเอียดในน้ำทับถมและสะสมอยู่ตอนบนตะกอนละเอียดเหล่านี้จะทำให้ซากของสัตว์ทะเลเสียหายน้อยมาก

ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดและระบุระยะเวลาทางธรณีวิทยา เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและ รูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์

ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ดัชนี แอมโมไนทต์ เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) กลุ่มเดียวกับปลาหมึกปัจจุบัน เปลือกขดเป็นวง ส่วนใหญ่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ทำให้สามารถพบได้ทั้งบริเวณทะเลตื้นและลึก พบมากในมหายุคมีโซโซอิก และสูญพันธ์เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเซียส ไทรโลไบต์  เป็นสิ่งมีชีวิตในยุคแคมเบรียมและยุคออร์โดวิเชียน มาสูญพันธุ์ในยุคเพอร์เมียน การพบซากดึกดำบรรพ์ ไทโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล

แบรคิโอพอต จากแหล่งเขาถ่าน อ. สวี จ แบรคิโอพอต จากแหล่งเขาถ่าน อ.สวี จ.ชุมพร  เป็นสัตว์ทะเลมีลักษณะคล้ายหอยกาบคู่ เช่น หอยแครง แต่ต่างกันที่เปลือกทั้ง ๒ ฝา ที่มีขนาดไม่เท่ากัน แต่ฝาเดียวกันจะมีลักษณะด้านซ้าย และด้านขวาสมมาตรกัน พบแพร่หลายมากในมหายุคพาลีโอโซอิก ฟิวซูลินิด อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อายุประมาณ 290 ล้านปี เป็นสัตว์ทะเลเซลล์เดียว มีลักษณะรูปร่างยาว หัวท้ายแหลม รูปร่างและขนาดคล้ายเม็ดข้าวสารทำให้คนทั่วไปคิดว่าเป็นข้าวสารหิน จึงนิยมเรียกว่า คตข้าวสาร พบมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัสและเพอร์เมียน และได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปลายยุคเพอร์เมียน

แกรปโตไลต์ เป็นสัตว์ทะเลที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายรอยพิมพ์บางๆ อยู่บนหินดินดานสีดำหรือมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ แกรปโตไลต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนี เนื่องจากพบมากในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้น ยุคออร์โดวิเชียนถึงดีโวเนียน พบที่แหล่งบ้านป่าเสม็ด อ.ละงู จ.สตูล ไครนอยด์ พบในหิน แอนดีไซต์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่เขาชนโถ จ.เพชรบูรณ์ อายุประมาณ 250 ล้านปี ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเล มีรูปร่างคล้ายต้นไม้บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่าพลับพลึงทะเลแพร่หลายในมหายุคพาลีโอโซอิก

สโตรมาโตไลต์ เป็นเนินตะกอนที่เกิดจากการสะสมตัวพอกขึ้นมาเป็นชิ้นๆ โดยแบคทีเรียจำพวกไซยาโนแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สโตรมาโตรไลต์พบเป็นซากดึกดำบรรพ์มาตั้งแต่ 3,500 ล้านปีก่อน โดยพบในทวีปแอฟริกา และออสเตรเลีย

ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ช่วยให้ซากสิ่งมีชีวิตเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ คือ กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ช่วยให้ซากสิ่งมีชีวิตเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ คือ โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็งของสิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์เมื่อตายไปแล้วจะผุพังเน่าเปื่อยเร็วมาก แต่เปลือกแข็งของพืชและสัตว์เหล่านี้ เช่น ฟัน เปลือกนอก และเนื้อไม้ จะคงสภาพอยู่ได้และกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ไปในที่สุด กระบวนการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ กระบวนการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ที่แตกต่างกัน จะทำให้ซากดึกดำบรรพ์มีสภาพและความสมบูรณ์ของซากแตกต่างกัน

3. หินถูกดันขึ้นไปมาและถูกกัดเซาะ กระบวนการกลายเป็นหิน (petrifaction) ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่เกิดโดยกระบวนการนี้ มักเกิดกับส่วนที่แข็ง เช่น กระดูก เปลือกหอย ไม้ ฯลฯ เป็นกระบวนที่เกิดจากสารละลายในน้ำใต้ดินที่มีแร่ธาตุ ซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต ออกไซด์ของเหล็ก ซัลไฟด์ของเหล็ก ฯลฯ แทรกซึมเข้าไปตกผลึกในช่องว่างภายในเซลล์แทนที่เนื้อเยื่อหรือผนังเซลล์ของพืช สัตว์ ทำให้เซลล์ของซากอินทรีย์แข็งตัว รวมทั้งคงรูปร่างและโครงสร้างเดิมไว้ได้ 4. ซากดึกดำบรรพ์โผล่ขึ้นสู่ชั้นผิวโลก 1. สัตว์หรือพืชตายลงจมลงสู่ก้นทะเลและส่วนที่เหลือจะค่อยๆถูกฝังลงในชั้นของตะกอน 2. ตะกอนชั้นล่างๆได้กลายเป็นหินและส่วนที่เหลืออยู่จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ 3. หินถูกดันขึ้นไปมาและถูกกัดเซาะ

ในประเทศไทย มีซากดึกดำบรรพ์ ไม้กลายเป็นหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด พบอยู่ในยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ 16 – 0.7 ล้านปีก่อน เป็นไม้สกุลปาล์ม พบในเขต อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ ตั้งอยู่ที่บ้านโกรกเดือนห้า อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นพิพิธภัณฑ์ 1 ใน 7 ของโลก

กระบวนกลั่นระเหยหรือกระบวนการเกิดแผ่นซากคาร์บอน (distillation หรือ carboni -zation) เกิดกับซากดึกดำบรรพ์พืชหรือสัตว์เล็ก ๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับ เมื่อเวลาผ่านไปและความดันที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ส่วนประกอบที่เป็นน้ำหรือไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจนถูกขับออกไป จนกระทั่งเหลือแต่เพียงธาตุคาร์บอนอิสระ ซึ่งจะเกิดเป็นคราบคาร์บอนสีดำรูปสำเนาของสัตว์และพืชต่าง ๆ ซากสัตว์ที่มักพบและเกิดโดยกระบวนการนี้ ได้แก่ ซากแกรปโตไลต์ (graptolite) อาร์โทรปอดส์ (arthropods) ปลา เป็นต้น หากคราบคาร์บอนดังกล่าวหลุดหายไป ร่องรอยที่ยังเหลืออยู่ในชั้นหินหรือตะกอนเนื้อละเอียด จะเรียกว่า รอยพิมพ์ (impression) ซากฟอสซิลปลาที่เกล็ดแปรสภาพเป็นคาร์บอนสีดำมัน ซึ่งเกิดจากกระบวนการ คาร์บอนไนเซชัน (carbonization)

กระบวนการแช่แข็ง (refrigeration) พบในเขตอากาศหนาวใกล้ขั้วโลกหรือเขตหิมะแถบภูเขาสูง ซากสัตว์จะถูกแช่เย็นจนแข็งไปทั้งตัว โดยที่ยังคงมีเนื้อเยื่อต่าง ๆ เหมือนเนื้อสัตว์ที่ถูกแช่แข็ง แม้กระทั่งอาหารที่อยู่ในกระเพาะก็ยังมีสภาพที่สด แมมมอธ เพศเมียวัย 1 เดือน ที่คาดว่าน่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 40,000 ปีก่อนถูกแช่แข็งในไซบีเรีย ฟอสซิลอายุ 67 ล้านปีของงูใหญ่ที่กำลังกัดกินไข่ไดโนเสาร์เป็นอาหาร ถูกแช่แข็งข้ามกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันขุดพบในประเทศอินเดีย

แมงมุมที่ติดอยู่ในยางสนที่แข็งเป็นอัมพัน ซึ่งมีอายุประมาณ 40 ล้านปี กระบวนการดองคงสภาพ (preservation) กระบวนการดองคงสภาพ เช่น การดองในบ่อที่มีการสะสมเน่าเปื่อยของถ่านพีต (peat) การดองในน้ำมันดิน (tar) หรือยางมะตอย (asphalt) จนเกิดเป็นสารเคมีที่ป้องกันการเน่าเปื่อยได้ ซากพืช – สัตว์ที่ตกลงไปในยางสนที่แข็งตัวเป็นอำพัน (amber) ซากที่เกิดโดยวิธีนี้ จะรักษารายละเอียดได้ดีมาก เช่น ซากของแมลงต่าง ๆ แมงมุมที่ติดอยู่ในยางสนที่แข็งเป็นอัมพัน ซึ่งมีอายุประมาณ 40 ล้านปี  ซีลาแคนท์ ดองทั้งตัวเป็นปลาโบราณ ที่มีรายงานการพบเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ ละอองเกสรของดอกกล้วยไม้ดึกดำบรรพ์ติดอยู่บนหลังฟอสซิลผึ้งโบราณ ถือเป็นบรรพบุรุษกล้วยไม้อายุประมาณ 26-112 ล้านปีก่อน

กระบวนการเกิดมัมมี่ (mummification) เป็นการเกิดโดยธรรมชาติจากการแห้งของซากทีละน้อย พบได้ในที่อุณหภูมิสูงและแห้ง แถบทะเลทรายหรือบริเวณอื่น ๆ ฟอสซิลฝูงวาฬ กลางทะเลทราย อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อน  ประเทศชิลี Mummified baboon ร่างมนุษย์ถูกเก็บไว้ด้วยเถ้าภูเขาไฟ

การเกิดร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ (fossil traces) เป็นการเกิดร่องรอยอันมีที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ ไม่ใช่เป็นตัวซากดึกดำบรรพ์โดยตรง มีหลายรูปแบบ ดังนี้ 1. แบบหล่อ (mold) หรือรอยพิมพ์ (impression)  (ส่วนเว้า)  เกิดจากซากส่วนที่แข็งถูกทับถมโดยตะกอนและเกิดเป็นรอยพิมพ์ของส่วนที่แข็งอยู่ในหิน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของ เสื่อทะเล (Bryozoa)  สภาพแบบ Mold พบในชั้นหินในยุคดีโวเนียน  อายุ 416-359 ล้านปี  ไทรโลไบต์จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคไซลูเรียน – ยุคดีโวเนียน หอยกาบ (Bivalve)   สภาพแบบ Mold เป็นซากดึกดำบรรพ์ ยุคคาร์บอนิเฟอรัส   อายุ 359-299 ล้านปี    แบบหล่อ ด้านนอกของหอย

2. รูปหล่อหรือรูปพิมพ์ (cast)  (ส่วนนูน) เมื่อซากส่วนที่แข็งถูกทับถมในตะกอน และเกิดเป็นแบบหล่อแล้ว ต่อมาส่วนที่แข็งถูกชะล้างออกไปจนเกิดเป็นช่องว่าง แล้วช่องว่างถูกแทนที่ด้วยแร่หรือหินอื่นๆเรียกร่องรอยเหล่านี้ว่ารูปหล่อ ซากดึกดำบรรพ์ของหอยตะเกียง (Brachiopod)  สภาพแบบ Mold   เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคดีโวเนียน  อายุ 416-359 ล้านปี ไทรโลไบต์จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคไซลูเรียน – ยุคดีโวเนียน

3.รอยเท้าและรอยลาก (tracks and trails) เป็นร่องรอยของรอยเท้า รอยลาก รอยคืบคลาน หรือรอยของส่วนร่างกายสัตว์ที่ปรากฏอยู่ในตะกอนหรือหินแข็ง เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ รอยของกระพรุนทะเล เป็นต้น  รอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ซากฟอสซิลรอยเท้าของเมกาเธอเรียม สัตว์ในตระกูลช้างชนิดหนึ่ง จากยุคน้ำแข็ง พบที่เมืองกัวมินิ เอาร์เจนตินา สูญพันธุ์ไปประมาณ 10,000 ปีก่อน รอยเท้าไดโนเสาร์ ภูแฝก ต. ภูแล่นช้าง  กิ่งอำเภอนาคู จ. กาฬสินธุ์

4. คอโปรไลต์ (coprolites) เป็นซากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ในสมัยบรรพกาล เป็นประโยชน์ในการบอกนิสัยการกินของสัตว์ รวมทั้งอาจทำให้ทราบรูปร่างและขนาดของรูทวารหนักของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ได้ ฟอสซิลมูลของไดโนเสาร์ชนิดหนึ่ง ฟอสซิลอุจจาระมนุษย์อยู่ในถ้ำเพสลีย์ที่โอเรกอนที่แสดงว่ามนุษย์อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือมากว่า 14,000 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เข้าใจกันว่ามนุษย์อยู่ที่นี่มาแค่ 13,000 ปีเท่านั้น ฟอสซิลอึหมาป่าสีน้ำตาลช็อกโกแลตม้วน เป็นก้อนกลมขุดขึ้นมาจากชายฝั่งทะเลเนเธอร์แลนด์ มีอายุย้อนไปถึงยุคไพลโตซีนตอนปลาย หรือ 12,000-100,000 ปีมาแล้ว

5. แกสโตรไลต์ (gastrolites) เป็นก้อนกรวดก้อนหินที่มีความมัน เรียกว่า หินกิซซาร์ด (Gizzard stone) มีอายุอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก สัตว์เลื้อยคลานดังกล่าวกินเข้าไปเพื่อช่วยในการย่อยอาหารแล้วถ่ายออกมา

6. ร่องรอยอื่นๆ  (feeding burrow) เช่น รอยรูที่เกิดจากตัวหนอน หอย หรือสัตว์อื่นๆ เจาะพื้นที่อยู่อาศัย รอยเขี้ยวหรือฟันแทะที่ปรากฏอยู่บนชิ้นกระดูก เป็นต้น ซากฟอสซิลที่มีร่องรอยสิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนอยู่ในอุกกาบาจ บริเวณขั้วโลกใต้ ไซบีเรีย และอลาสก้า โดยเขาเรียกร่องรอยสิ่งมีชีวิตนี้ว่า “ฟอสซิลหนอนต่างดาว” โดยโครงสร้างคล้ายคลึงเชื้อโรคแบคทีเรียตระกูล cyanobacteria ร่องรอยของหนอน (worm) พบบนหินทรายที่ประเทศออสเตรเลีย คาดว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดราว 1.2 พันล้านปี ซึ่งอยู่ในช่วงมหายุคพรีแคมเบรียน ร่องรอยรูหนอนชอนไช

ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย ส่วนมากอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง พบในยุคไทรแอสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเชียส ตอนกลางอายุ 200 – 100 ล้านปีที่ผ่านมา ไดโนเสาร์ชนิดแรกที่พบคือ สยามโมซอรัส สุธีธรนี

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชขนาดใหญ่เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 15-20 เมตร พบฟอสซิลครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เดินด้วย 2 ขาหลัง ส่วน 2 ขาหน้า มีขนาดเล็ก ในยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 6.5 เมตร นับว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่พบในอเมริกาเหนือ

กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส เป็นไดโนเสาร์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศและปราดเปรียว ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร คอเรียว เล็กยาว ปากเป็นจะงอย ไร้ฟัน ถูกค้นพบในชั้นหินหมวดหินเสาขัว ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุประมาณ 130 ล้านปี

อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุยุคไทรแอสซิกตอนปลายประมาณ 209 ล้านปี ความยาวประมาณ 13-15 เมตร ขุดค้นพบฟอสซิลที่จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ   ค้นพบซากไดโนเสาร์กินพืชพันธุ์ใหม่ของโลกถือได้ว่าเป็นพันธุ์ใหม่ของโลกที่มีการค้นพบและมีการตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นแหล่งที่พบ กับชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่วีรสตรีผู้นำที่กล้าหาญของชาวเมืองโคราช คือ ท่านท้าวสุรนารี รวมเป็นชื่อสกุลและชนิดใหม่ของโลกว่า "ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ"  (25 พ.ย.54) จะเห็นว่าแหล่งซากไดโนเสาร์ของ ประเทศไทยส่วนมากจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิก ตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง หรือตั้งแต่ 200 100 ล้านปีที่ผ่านมา

ประเภทของการจัดลำดับชั้นหิน ประโยชน์ของการศึกษาซากดึกดำบรรพ์และลำดับชั้นหิน 1.ทำให้ทราบว่าหลังจากเมื่อโลกได้กำเนิดขึ้นมา เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว นับจากนั้นมาสิ่งมีชีวิตเซลล์ เดียวแรกเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ล้านปีมาแล้ว และได้มีวิวัฒนาการซับซ้อนสูงมาจนถึงมนุษย์ปัจจุบัน  2. ทำให้ทราบถึงและเป็นหลักฐานในการศึกษาสภาพแวดล้อมลักษณะการสะสมตัวของชั้นหิน สภาวะอากาศสมัยบรรพกาล สภาพภูมิประเทศสมัยโบราณในขณะที่สัตว์เหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ คือ บอกเล่าถึงธรณีประวัติของโลก  เช่น  ธรณีวิทยาบริเวณภูเขาด้านตะวันตกของจังหวัดลำปางพบหินหลายชนิด ได้แก่ หินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมน และหินปูน ซึ่งเกิดสลับกัน 2 ช่วง โดยมีหินทราย หินกรวดมนสีแดงปิดทับอยู่บนสุด และพบซากดึกดำบรรพ์ได้แก่ หอยกาบคู่ และหอยงวงช้าง (แอมโมนอยด์) สะสมอยู่ในชั้นหินจากลักษณะของหินและซากดึกดำบรรพ์ แสดงลำปางเดิมเคยเป็นทะเล  ต่อจากนั้นเปลือกโลกนี้มีการเคลื่อนที่ ทำให้พื้นที่นี้ยกตัวสูงขึ้นดังที่พบเห็นในปัจจุบัน 3. เป็นข้อมูลเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างชั้นหินในพื้นที่ต่างๆ กัน เช่น ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์กลุ่มเดียวกันและเป็นชนิด (Species) เดียวกัน แน่นอน แสดงว่าในชั้นหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวนั้น แม้ว่าอยู่ที่ต่างกัน แต่เกิดการสะสมตัวเป็นชั้นตะกอนในแอ่งสะสมตัวในช่วงเวลาเดียวกัน

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ วีดีโอเพิ่มเติม http://www.youtube.com/watch?v=d_GosnrTAew http://www.youtube.com/watch?v=puEkrAP8HdM http://www.youtube.com/watch?v=d_GosnrTAew http://www.obeclms.com/scorm/science/4/4_11/intro.swf ความรู้เพิ่มเติม http://www.baanjomyut.com/library_2/fossil/02.html http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/science04/01/p3.html สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก http://www.learnbytechno.com/