13 คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับเขื่อน 1. ทำไมจึงมีการต่อต้านเขื่อนขนาดใหญ่อย่าง กว้างขวาง? ตอบ เขื่อนขนาดใหญ่เป็น ชนวนของความขัดแย้ง ทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และมีความเสี่ยงมหาศาล เหตุผลหลักที่มีการคัดค้านเขื่อนทั่วโลก ก็คือ การที่ประชาชนจำนวนมากต้อง อพยพ จากถิ่นฐานเดิมโดยไม่ได้รับ การคุ้มครองสิทธิของความเป็นมนุษย์ ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจ ขณะเดียวกันชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากที่อยู่ท้ายน้ำต้อง ได้รับผลกระทบจากเขื่อนทั้งปัญหาน้ำเสีย ความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ปลา ลดลง เกิดการขาดแคลนน้ำมากขึ้นจนต้องแย่งชิงน้ำกัน ขณะที่การผลิตทาง การเกษตรลดลงแต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์จากการ ที่เขื่อนกักปุ๋ยธรรมชาติไว้จนต้องใช้ปุ๋ยเคมีทดแทน การที่ต้องเสี่ยงกับ อุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้น การเสี่ยงกับเขื่อนพังจากแผ่นดินไหวและการสร้าง เขื่อนไม่ได้มาตรฐาน เขื่อนยังทำให้ เกิดโรคระบาดมากขึ้น ทั้งในอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ ชลประทาน ขณะที่ผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อนมักตกอยู่กับนายทุนที่ดิน รายใหญ่ นักการเมือง บรรษัทข้าม ฯลฯ ที่รวมเรียกว่าบรรดาอุตสาหกรรม เขื่อน ผู้ที่คัดค้านเขื่อนยังเห็นว่านโยบายการจัดการน้ำด้วยการสร้างเขื่อนนั้น ไม่เหมาะสม และยังมีวิธีการอื่นที่เป็นทางเลือกในการจัดการน้ำให้มี ประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. มีประชาชนที่ต้องอพยพจากการสร้างเขื่อนที่ผ่านมาจำนวนเท่าใด ? ตอบ นับแต่มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วโลกเมื่อ 63 ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน มีผู้ที่ถูกอพยพจากการสร้างเขื่อนประมาณ ล้านคน ใกล้เคียงกับจำนวนประชากร ในประเทศไทยทั้งประเทศ การอพยพส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในจีนและอินเดีย ในปัจจุบันคาด ว่ามีชาวบ้านทั่วโลกประมาณ 2 ล้านคนต่อปีที่ถูกอพยพจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่ง เราเรียกว่าผู้ถูกอพยพเหล่านี้ว่า "ผู้อพยพจากอ่างเก็บน้ำ"(Reservoir Refugee)สำหรับ ประเทศไทยคาดว่ามีผู้ที่ถูกอพยพจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ประมาณ 250, ,000 โดยเขื่อนลำปาวมีชาวบ้านถูกอพยพมากที่สุด(5,500 ครอบครัว) แต่สถิตินี้ กำลังจะถูกทำลายจากการสร้างเขื่อนป่าสัก 3. เกิดอะไรขึ้นเมื่อชาวบ้านคัดค้านเขื่อน? ตอบ เมื่อมีการคัดค้านเขื่อนสิทธิความเป็นมนุษย์ของชาวบ้านจะไม่ได้รับการคุ้มครอง นัก สร้างเขื่อนและทางการที่มีอำนาจเหนือกว่าก็จะเข้าจัดการกับชาวบ้านด้วยวิธีความรุนแรง ชาวบ้านจะถูกคุกคาม และหลายกรณีถูกลอบสังหาร หลายกรณีการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง ความเป็นธรรมของชาวบ้านมักจะจบลงด้วยการใช้กำลังของทางการและกำลังของ มวลชนจัดตั้งเข้าสลายการชุมนุม การจับกุมคุมขังและดำเนินคดี การกระทำที่โหดร้าย ที่สุดของนักสร้างเขื่อนก็คือ เหตุการณ์สังหารโหดร้ายที่เกิดขึ้นในกรณีการสร้างเขื่อนชิ ซอย(Chixoy Dam)ประเทศกัวเตมาลา เมื่อ ปี 1982 จากการที่กองกำลังของทางการได้ ทำการสังหารโหดชนพื้นเมืองเผ่ามายันถึง 378 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี มีการ ข่มขืนสตรีก่อนฆ่าแล้วเผา นอกจากนั้นเด็กวัยรุ่นอีก 18 คนยังถูกจับไปเป็นทาสอีกด้วย ซึ่งเหตุการณ์สังหารโหดนี้มีชนวนแค่ว่าชนพื้นเมืองเผ่ามายันปฏิเสธที่จะรับค่าชดเชยที่ไม่ เป็นธรรม
ในประเทศไทยการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการสร้างเขื่อนเกิดขึ้นมากที่สุด เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ โดยการสร้างเขื่อนห้วยหลวงเพื่อนำน้ำไป ป้อนฐานทัพอเมริกัน ได้มีชาวบ้านคัดค้านแต่ทางการและนักสร้างเขื่อนได้ใช้" ยุทธการหนองบัวบาน"เข้าจัดการกับชาวบ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องเสียชีวิต ประมาณ 200 คน ในช่วงเดียวกันนั้นก็ได้เกิดเหตุการณ์ลอบสังหารผู้นำชาวบ้านที่ คัดค้านการสร้างเขื่อนมาบประชัน 2 คน ในระหว่างปี พ.ศ แม้จะ เป็นยุคประชาธิปไตย แต่ชาวบ้านที่ต่อสู้เรื่องเขื่อนยังถูกสังหารเพิ่มอีกหลาย คน ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีเขื่อนภูมิพล เขื่อนห้วยขอนแก่น และเขื่อนโป่งขุนเพชร ขณะที่การชุมนุมเรียกร้องค่าชดเชยเขื่อนปากมูลและเขื่อนสิรินธรที่อยู่ใน ช่วงเวลาเดียวกัน ได้จบลงด้วยการใช้กำลังเจ้าหน้าที่รัฐเข้าสลายการชุมนุม ของชาวบ้าน การคุกคามที่ชุมนุม และการจับกุมและดำเนินคดีผู้นำและแม้แต่ สตรี ขณะที่กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น บรรดานักการเมืองท้องถิ่นประกาศอย่าง เปิดเผยผ่านสื่อมวลชนว่าจะจัดการผู้ที่คัดค้านเขื่อนด้วยกำลังและประกาศจะ สังหารนักสิ่งแวดล้อม ที่คัดค้านเขื่อนแห่งนี้