พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 เรื่อง
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 การเปลี่ยนแปลง ข้าราชการ หมายความว่า : - ข้าราชการพลเรือนสามัญ - ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา - ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา - ข้าราชการรัฐสภา - ข้าราชการตำรวจ - ข้าราชการทหาร 1. กำหนดให้บังคับใช้กับข้าราชการเฉพาะตามที่กำหนดในมาตรา 4 2. ตัดข้าราชการตุลากร และข้าราชการอัยการ
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 22 การเปลี่ยนแปลง การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มีพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางไปราชการจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น - ยกเลิกการกำหนดตำแหน่งผู้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะรับจ้าง - ทุกตำแหน่งมีสิทธิเบิกค่าพาหนะรับจ้างโดยต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในหลักฐานการเบิกค่าพาหนะ (แบบ บก.111)
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 25 การเปลี่ยนแปลง การใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ และต้องใช้พาหนะนั้นตลอดเส้นทาง จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะเหมาจ่ายได้ (1) อธิบดีขึ้นไป สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (2) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานในส่วนภูมิภาค (3) หัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค กรณีไม่สามารถใช้พาหนะส่วนตัวได้ตลอดเส้นทาง ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุญาต - เพิ่มเงื่อนไข ต้องใช้พาหนะส่วนตัวนั้นตลอดเส้นทาง จึงจะเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายได้ - กรณีไม่สามารถใช้พาหนะส่วนตัวได้ตลอดเส้นทางต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น ต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุญาต
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 การเปลี่ยนแปลง การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบินในประเทศ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ - กำหนดให้สิทธิชั้นธุรกิจ เฉพาะรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง - ตามข้อ 2 สิทธิชั้นประหยัด (แต่หากมีความจำเป็นต้องเดินทางชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด) - ตามข้อ 3 สิทธิชั้นประหยัด และไม่สามารถขออนุมัติ ในชั้นที่สูงกว่าได้ - ผู้ดำรงตำแหน่งที่ต่ำกว่าที่ระบุในข้อ 3 เฉพาะกรณีที่มี ความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ตำแหน่ง ระดับชั้นตามสิทธิ 1. รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ชั้นธุรกิจ 2. บริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี วิชาการระดับทรงคุณวุฒิ บริหารระดับต้น และอำนวยการระดับสูง ชั้นประหยัด (หากจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินชั้นสูงกว่าต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวง) 3. วิชาการระดับเชี่ยวชาญ ทั่วไประดับทักษะพิเศษ อำนวยการระดับต้น วิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และระดับชำนาญการ ทั่วไประดับอาวุโส และระดับชำนาญงาน
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 53 53/1 และ 53/2 การเปลี่ยนแปลง การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศกลับไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง ดังนี้ 1. กำหนดผู้มีสิทธิเดินทางชั้นหนึ่ง เฉพาะรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง 2. ใช้ระยะเวลาในการเดินทางเป็นตัวกำหนดสิทธิการโดยสารเครื่องบิน 3. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี และระดับทรงคุณวุฒิ ได้สิทธินั่งชั้นหนึ่งเฉพาะการเดินทางตั้งแต่ 9 ชั่วโมงขึ้นไป แต่กรณีเดินทางต่ำกว่า 9 ชั่วโมง สิทธิชั้นธุรกิจ (แต่หากจำเป็นต้องเดินทางชั้นที่สูงกว่าต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด) 4. ระดับเชี่ยวชาญ และทักษะพิเศษ เดินทางโดยชั้นประหยัด ตำแหน่ง ระยะเวลาโดยสารเครื่องบิน ตั้งแต่ 9 ชั่วโมงขึ้นไป ต่ำกว่า 9 ชั่วโมง 1. รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ชั้นหนึ่ง 2. บริหารระดับสูงได้แก่รองปลัด กระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี และวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ชั้นธุรกิจ (หากจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินชั้นสูงกว่าต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวง) 3. บริหารระดับต้น อำนวยการระดับสูง ชั้นประหยัด 4. ผู้ดำรงตำแหน่งนอกจากที่ระบุในข้อ 2 - 3
จบการนำเสนอ