เนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558 มีดังนี้ มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
“มาตรา 123/2 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต คือ ป.อาญา มาตรา 149
มาตรา 123/3 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท คือ ป.อาญา มาตรา 150
มาตรา 123/4 ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ ขององค์การระหว่างประเทศ โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทําการ หรือไม่กระทําการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ คือ ป.อาญา มาตรา 143
มาตรา 123/5 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทําการ ไม่กระทําการ หรือประวิงการกระทําอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ คือ ป.อาญา มาตรา 144
หมวด 9 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี (2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี
(3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วย งานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมี ลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว (4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนัก งานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้ง ต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม หลักกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103 มาตรา 103 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
วัตถุประสงค์ของการห้าม คือ “ความไม่เหมาะสม” เพราะสาธารณชนอาจมองว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ รับสิ่งของมีค่า เพื่อตอบแทนในการให้บริการ
ข้อยกเว้นที่ให้รับได้ รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
ธรรมจรรยา (Moral obligation) หมายถึง ความประพฤติอันถูกธรรม
ตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 ซึ่งกำหนดความหมายของ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” ไว้ว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ หรือจาก บุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกัน ในสังคม
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตามประกาศดังกล่าวได้ ดังต่อไปนี้ 1. รับจากญาติ ซึ่งให้โดยเสน่หา ตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป 2. รับจากบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ญาติ มีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาส ไม่เกินสามพันบาท 3. รับ ที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป
“ทรัพย์สิน” คือ สิ่งต่างๆ ที่มีราคาและอาจถือเอาได้ “ประโยชน์อื่นใด” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
“ญาติ” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้อง ร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ของคู่สมรส บุตรบุญธรรม หรือผู้รับบุตรบุญธรรม
โอกาสต่างๆ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรม เช่น งานศพ งานบวช งานแต่งงาน
หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม เช่น การเยี่ยมคนเจ็บป่วย การเกษียณอายุ การย้ายตำแหน่ง
การรับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือมีมูลค่าเกินสามพันบาท จำเป็นต้องรับไว้ เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล รายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อวินิจฉัยเหตุผลความจำเป็น ความเหมาะสม และความสมควร ผู้บังคับบัญชาไม่ให้รับ คืนผู้ให้ กรณีคืนผู้ให้ไม่ได้ ให้ส่งมอบหน่วยงาน
การรับจากต่างประเทศ กรณีไม่ระบุให้เป็นของส่วนตัว หรือเกินสามพันบาท ไม่ว่าจะระบุให้เป็นของส่วนตัวหรือไม่ จำเป็นต้องรับ เพื่อรักษาไมตรี หรือมิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ให้รายงานผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาตให้รับเป็นประโยชน์ส่วนตน ให้ส่งมอบหน่วยงาน
ผลของการฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดฝ่าฝืนมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ให้ถือเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา (เดิม) (ของใหม่)ปัจจุบันใช้ มาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5