งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาวะผู้นำทางการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาวะผู้นำทางการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาวะผู้นำทางการศึกษา
 Educational (Leadership)

2 สมาชิกในกลุ่ม คบ.เคมี ปี 4 หมู่ 2
นางสาวประภาพร ประโมทานัง นางสาวสุภาพร สมภา นายเก้ากรานต์ ศรีวงค์ชัย นายนภดล ปราบสกุล นายพณัฐโชติ ศรีหาวัตร นายมงคล ลอยดี

3 ผู้นำ (Leader) บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่อง จากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ สั่งการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

4 ภาวะผู้นำ (Readership)
กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของ ตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆ ตามต้องการ โดยมี ความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย

5 การศึกษา (Education) กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการ ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้าง องค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม ให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

6 ภาวะผู้นำทางการศึกษา
บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบ ที่ดีในด้านการศึกษาให้แก้ผู้ตาม

7 ซึ่งภาวะผู้นำแบ่งเป็น 4 ยุคดังนี้
ยุคที่ 1 ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ (Trait Theories)   คุณลักษณะของผู้นำ 6 ด้าน ตามแนวคิด Stogdill  1. คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical Characteristics) 2. คุณลักษณะด้านภูมิหลังทางสังคม (Social Background) 3. คุณลักษณะด้านสติปัญญาและความสามารถ (Intelligence and Ability) 4. คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ (Personality) 5. คุณลักษณะที่เกี่ยวกับงาน (Task-Related Characteristic) 6. คุณลักษณะทางสังคม (Social Characteristic)

8 ยุคที่2 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
Kurt Lewin (1939) เน้นที่การวิเคราะห์พฤติกรรม ของผู้นำที่พึงกระทำ มี 3 รูปแบบ 1. ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic style) 2. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic style) 3. ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire style)

9 และผู้ตาม กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
RensisLikert (1966) ได้ศึกษาภาวะผู้นำที่แตกต่างจาก kurt Lewin โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ และผู้ตาม กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ได้ระบุพฤติกรรมผู้นำ 2 แบบ คือ 1. พฤติกรรมของผู้นำแบบมุ่งคน 2. พฤติกรรมของผู้นำแบบมุ่งงาน

10 โดยแบ่งเป็น 4 ระบบ ดังนี้
Likert (1967) ได้พัฒนาแนวความคิดของมหาวิทยาลัย มิชิแกน ในปี ค.ศ โดยได้นำแนวความคิดพฤติกรรม ผู้นำแบบมุ่งคน และ แบบมุ่งงานมาทำการวิจัย โดยแบ่งเป็น 4 ระบบ ดังนี้ ระบบที่ 1 พฤติกรรมผู้นำเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (exploitative autocratic) ระบบที่ 2 พฤติกรรมผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีเมตตา (benevolent autocratic)  ระบบที่ 3 พฤติกรรมผู้นาแบบปรึกษาหารือ (consultative) ระบบที่ 4 พฤติกรรมผู้นาแบบมีส่วนร่วม (participative)

11 1. มิติมุ่งงาน (Task Orientation) 2. มิติมุ่งคน (Relation Orientation)
Reddin (2010) นำแนวความคิดของ การมุ่งงาน และมุ่งคน มาร่วม พิจารณากับ ประสิทธิผลของงาน มีดั่งนี้  1. มิติมุ่งงาน (Task Orientation) 2. มิติมุ่งคน (Relation Orientation) 3. มิติมุ่งประสิทธิผล (Effectiveness Orientation )  และได้จำแนกรูปแบบพฤติกรรมผู้นำ 4 รูปแบบ 1. ผู้นำแบบแยกตัว (separated) 2.ผู้นำแบบเสียสละ (dedicated)  3.ผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ (related) 4.ผู้นำแบบบูรณาการ (integrated)

12 ยุคที่ 3 ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์
(Situational or Contingency Leadership Theories) Fiedler(1994)  เชื่อว่า ผู้นำเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของคนเปลี่ยนแปลงได้ยาก ควรที่จะหาสถานการณ์ที่ “ลงตัว” กับรูปแบบของผู้นำจะทำให้เกิดการ ใช้รูปแบบภาวะผู้นำ(ซึ่งเป็นบุคลิกภาพของผู้บริหารที่ติดตัวอย่างถาวร) และมีประสิทธิภาพสูงสุด

13 ได้เสนอผู้นำตามสถานการณ์ที่เรียกว่า ทฤษฎีวิถีทาง
House (1996) ได้เสนอผู้นำตามสถานการณ์ที่เรียกว่า ทฤษฎีวิถีทาง สู่เป้าหมายซึ่งมีแนวคิดคือ ผู้นำที่ดีจะต้องช่วยเหลือหรือชี้ เส้นทางให้ผู้ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายมีดังนี้   1. ผู้นำแบบสั่งการ (Directive Leadership) 2. ผู้นำแบบสนับสนุน (Supportive Leadership) 3. ผู้นำแบบร่วมงาน (Participative Leadership) 4. ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน (Achievement-oriented Leadership)

14 Hersey และ Blanchard (1977) 
ได้เสนอตัวแบบผู้นำตามสถานการณ์ที่เรียกว่า ทฤษฎีความ เป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ของเฮอร์ซีย์และบลันชาร์ด มี แนวคิดว่า ผู้นำที่ประสบความสาเร็จจะต้องปรับรูปแบบ ภาวะผู้นำของตน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของ ผู้ปฏิบัติงานความพร้อมในที่นี้ หมายถึง ความสามารถ และ ความมุ่งมั่นหรือความเต็มใจ ของผู้ปฏิบัติงานในการ ทำงาน

15 ยุคที่ 4 ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theories)
Bums (1978) กล่าวว่าภาวะผู้นำเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่มี ความ แตกต่างกันในด้านอำนาจ แรงจูงใจ และทักษะเพื่อไปสู่จุดหมาย ร่วมกัน สรุปได้เป็น 3 รูปแบบ  1)ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) 2)ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) 3)ภาวะผู้นาด้านจริยธรรม (Moral Leadership)

16 Bass (1985) เห็นต่างจาก Burn โดยกล่าวว่าพฤติกรรมของ ผู้นำในการนำให้ได้ผลเกินความคาดหวังนั้น ผู้นำจะต้องแสดงความ เป็นผู้นำทั้ง 2 ลักษณะร่วมกัน คือ 1. ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยทิศทางการแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำจะออกมาในสัดส่วนของ ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน หรือภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับ 1). สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร 2). สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร 3). คุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำ

17 Kouzes & Posner (1987) The Leadership Challenge ได้ เสนอ กระบวนการของผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5 ขั้นตอน 1. Challenging the Process - ท้าให้เปลี่ยนแปลง 2. Inspiring a Shared Vision – กระตุ้นให้มีวิสัยทัศน์ร่วม 3. Enabling Others to Act – ทำให้คนอื่นมีความสามารถ 4. Modeling the Way – ทำให้ดูเป็นตัวอย่างเป็นขั้นตอน 5. Encouraging the Heart - ให้การยอมรับและกำลังใจทีมงาน

18 บทบาทหน้าที่ของผู้นำ (Leadership Roles)
ผู้นำมีบทบาทและหน้าที่หลายอย่าง ผู้นำในกลุ่มคนที่ชอบเผด็จการอาจ มีหน้าที่อย่างหนึ่งแต่ผู้นำในกลุ่มคนที่ชอบประชาธิปไตยอาจมีบทบาท และหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง แต่บทบาทและหน้าที่ทั่วๆ ไปของผู้นำทุกคน มีตรงกันอยู่บ้าง ซึ้งแบ่งคร่าวๆ ออกเป็น 14 อย่างด้วยกัน

19 1) ผู้นำในฐานะผู้บริหาร (The Leader as Executive) 2) ผู้นำในฐานะผู้วางแผน(The Leader as Planner) 3) ผู้นำในฐานะผู้กำหนดนโยบาย (The Leader as Policy Maker) 4) ผู้นำในฐานะผู้ชำนาญการ (The Leader as Expert) 5) ผู้นำในฐานะตัวแทนของกลุ่มเพื่อติดต่อกับภายนอก (The Leader as External Group Representative)

20 6) ผู้นำในฐานะผู้ควบคุมความสัมพันธ์ภายใน (The Leader as controller of Internal Relations) 7) ผู้นำในฐานะผู้ให้คุณและให้โทษ (The Leader as Purveyor of Rewards and Punishments) 8) ผู้นำในฐานะผู้ไกล่เกลี่ย (The Leader as Purveyor of Rewards and) 9) ผู้นำในฐานะที่เป็นบุคคลตัวอย่าง (The Leader as Exemplary)

21 10) ผู้นำในฐานะสัญลักษณ์ของกลุ่ม (The Leader as Symbol of the Group) 11) ผู้นำในฐานะตัวแทนรับผิดชอบ (The Leader as substitute for Individual Responsibility) 12) ผู้นำในฐานะผู้มีอุดมคติ (The Leader as Ideologist) 13) ผู้นำในฐานะบิดาผู้มีแต่ความกรุณา (The Leader as Father Figure) 14) ผู้นำในฐานะเป็นผู้รับความผิดแทน (The Leader as Scapegoat)

22 บทบาทของผู้นำที่ดี 1) บทบาทการสร้างเครือข่าย (Networking) 2) บทบาทการให้การสนับสนุน (Supporting) 3) บทบาทการขจัดความขัดแย้งและการสร้างทีมงา (Managing conflict and team building) 4) บทบาทการติดตาม (Monitoring) 5) บทบาทการให้ข้อมูล (Informing)

23 6) บทบาทในการสร้างความชัดเจน (Clarifying) 7) บทบาทในการวางแผนและจัดองค์การ (Planning and organizating) 8) บทบาทในการแก้ปัญหา (Problem solving) 9) บทบาทในการปรึกษาและมอบหมายงาน (Consulting and delegating) 10) บทบาทในการสร้างแรงจูงใจ (Motivating) 11) บทบาทในการประกาศเกียรติคุณและให้รางวัล (Recognizing and rewarding)

24 ภาวะผู้นำกับการนำไปใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียน
 ภาวะผู้นำกับการนำไปใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียน 1. การเป็นผู้นำจะต้องสามารถให้คาปรึกษาแก่ผู้อื่นได้จึงต้องเป็น ผู้รอบรู้ในด้านต่างๆ 2.สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ สื่อความหมายให้ผู้อื่นรับรู้ได้ พูดจูง ใจให้ผู้อื่น เกิดการ เปลี่ยนแปลงในทางที่ต้องการ 3.มีความคิดในเชิงบวก กล้าตัดสินใจ กล้ายอมรับความผิดพลาด ที่เกิดขึ้น มีความคิดที่จะ พัฒนาชั้นเรียน

25 ภาวะผู้นำกับการนาไปใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียน
 ภาวะผู้นำกับการนาไปใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียน 1.ต้องมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการ ทางด้านวิชาการ ทางด้าน วิชาชีพ และแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน 2.มีความฉลาดทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สามารถใช้เหตุผล จัดการกับ ปัญหาในชั้นเรียนได้ 3.ต้องทำตัวเป็นเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม

26 สรุปได้ว่า ภาวะผู้นำทางการศึกษา จะ ต้องใช้ความรู้ความสามารถนำไปสู่ผลงานทางวิชาการในการพัฒนางาน หรือผลงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัย เทคโนโลยี และมีความรู้ที่กว้าง มีความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การ ไม่ตื่นตูมเป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรู้จักใช้ดุลย พินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้องหรือกล่าวได้ว่าผู้นำที่ดีจะต้อง รู้จักควบคุม ตัวเองนั่นเอง (Self Control)


ดาวน์โหลด ppt ภาวะผู้นำทางการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google