ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ และ หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ สัปดาห์ที่ 3 1.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Specific Factor Model ดร.วิธาดา อนกูลวรรธกะ
Advertisements

เศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน
อะไรคือ “SMEs” “SMEs” ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Small and Medium Enterprises หรือแปล เป็นภาษาไทยว่า "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม" มีบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.
รูปแบบของการจัดเก็บข้อมูล. รูปแบบการจัดเก็บข้อมูล แบบ Sector Sampling.
กำหนดการเชิงเส้น PLERN SAIPARA RMUTL.
Project ภาคเรียน 1/48 จัดทำตลอดภาคเรียน บูรณาการเพียง 3 รายวิชา
ถาวร ชลัษเฐียร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การพัฒนากำลังแรงงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 14 ธันวาคม 2558 เสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและ.
การบริหารโครงการ (project management) ผู้บริหารโครงการและทีมงาน พ. อ. หญิง อโณมา คงตะแบก กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
เอกสารนำเสนอโครงการ. ที่มาโครงการ : สำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคาร SME Bank และสมาคม แฟรนไชส์ และไลเซนส์ (FLA) ร่วมกันผลักดันโครงการช่วยด้านการเงินแก่
CNG for Industry (NGV-NGR Cooperation Project)
E-Commerce Chapter 1 Introduction to e-commerce
ภาพรวมของการบัญชี (OVERVIEW OF ACCOUNTING)
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองทัพอากาศ ทุ่งสีกัน
ผ้าห่มไม่หายแค่ใส่ตัวเลข ปัญหาและการปรับปรุงแก้ไข
New Chapter of Investment Promotion
ระบบการผลิต อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี.
การเตรียมพร้อมทรัพยากรมนุษย์สู่ไทยแลนด์ 4.0
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 อุตสาหกรรม 4.0
เอกสารประกอบการบรรยาย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย อุตสาหกรรม 4
บทที่ 8 การจัดซื้อ บทนำ บทบาทของการจัดซื้อ กิจกรรมต่างๆ ของการจัดซื้อ
แนวโน้มการพัฒนากำลังคน สู่อนาคต
การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ
วิทยากร : ธรรศ ทองเจริญ
กลุ่มประสิทธิภาพกลุ่มที่ 1 (เขตตรวจราชการที่ 1, 2 และ 4)
การปลูกจิตสำนึกในการทำกิจกรรมปรับปรุง และ ทำงานอย่างมีความสนุกสุขใจ
การเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุม
AEC ผลกระทบการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อนายจ้างและแรงงานไทย
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม EC 261 3(3-0-6)
อาหารและการเกษตรไทย ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
หลักการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค.
คณะที่ 3 : พัฒนาระบบบริหารจัดการ การบริหารการเงินการคลัง
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
หลักการและแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาการทำงาน
กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ. ศ
ฝึกปฏิบัติ กระบวนการแผนพัฒนาหมู่บ้าน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ฉัตรชัย นิติภักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
การบริหารโครงการ ด้วยระบบปฏิทินกิจกรรมแบบเบ็ดเสร็จ Project management with integrated calendar system โดย ... ธนาภรณ์ ฉิมแพ / ประจักษ์ สุขอร่าม / จารุวรรณ.
โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้มีรายได้น้อย
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเกษตรสมัยใหม่ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science and Technology Infrastructure Databank (STDB)
2017 edition of "The World of Organic Agriculture"
การจัดการกระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
“SMEs” ....ธุรกิจขนาดย่อม.
ข้อมูลและสารสนเทศ.
พลตำรวจตรี สุรัตน์ อรุณฤกษ์ถวิล อาจารย์ (สบ
การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างกิจการใหม่
เรื่อง การผลิตอาหารปลอดภัย
บทที่1 ความรู้ทั่วไปสำหรับ การจัดการโซ่อุปทาน
ยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฎิรูปการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
การควบคุม (Controlling)
ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center)
การดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561
แนวคิดและตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ เพื่อการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ จังหวัดบุรีรัมย์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
การประชุมกลุ่ม เรื่องการพัฒนางานสาธารณสุขชายแดน
ผลประกอบการทางการเงิน
11/17/2010.
Management Review Based On ISO 9001 : 2008
ดูง่าย จ่ายครบ จบในใบเดียว
บทที่ 2 การจัดการเงินทุนขั้นแรกของธุรกิจขนาดย่อม
การทำเหมืองข้อมูลด้วยโปรแกรม RapidMiner Studio
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ และ หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ สัปดาห์ที่ 3 1

เนื้อหา ความหมายของหลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ รูปแบบขององค์กรธุรกิจ ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ 2

ความหมายของหลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ การผลิตหรือซื้อขายสินค้า หรือบริการโดยหวังผลกำไร และรับผิดชอบต่อความเสี่ยง ความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจริยธรรม 3

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ         ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจสามารถแยกได้ 2 ลักษณะคือ        1. ปัจจัยภายใน  หรือทรัพยากรของธุรกิจเป็นปัจจัยที่ธุรกิจ  สามารถสร้างขึ้นและสามารถควบคุมได้     (มีอธิบายเพิ่มเติม) 2.  ปัจจัยภายนอก  เป็นปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถจะควบคุมกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่  สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  เช่น  ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กฎหมายการเมือง  คู่แข่ง  เทคโนโลยี ฯลฯ       4

 1. ปัจจัยภายใน        1. ปัจจัยภายใน  โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4 M ได้แก่           1.1  คน (Man) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ จึงจะทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจหลายรูปแบบ ซึ่งในวงจรธุรกิจมีคนหลายระดับ หลายรูปแบบ ทั้งระดับผู้บริหาร ผู้ใช้แรงงานร่วมกันดำเนินการ จึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ           1.2  เงิน (Money) เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุนเพื่อให้เกิดการประกอบธุรกิจโดยธุรกิจแต่ละประเภทใช้ปริมาณเงินทุกที่แตกต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ย่อมใช้เงินทุนสูงกว่าธุรกิจขนาดเล็กกว่า ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการวางแผนในการใช้เงินทุน และการจัดหาเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ประสบปัญหาด้านเงินทุน และก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุดคุ้มกับเงินที่นำมาลงทุน 5

 1. ปัจจัยภายใน (ต่อ)   1.3  วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างมาก ผู้บริหารจึงต้องรู้จักการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำสุด อันจะส่งผลให้ธุรกิจมีผลกำไรสูงสุดตามมา           1.4  วิธีปฎิบัติงาน (Method) เป็นวิธีการในการปฎิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุม เพื่อให้การปฎิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ   6

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หมายถึง การจัดหาหรือสรรหาสถานที่ สำหรับประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง กำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความสัมพันธ์กับลูกค้าความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนั้น ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสมจะทำให้องค์การธุรกิจประสบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่นค่าขนส่งสูง ขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ สถานที่ประกอบกิจการย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่าย และการลงทุน ดังนั้นการพิจารณาเลือกทำเลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลาย ประการเพราะการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการ ดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่าง ๆ เช่น การวางแผนระบบการผลิต การวางผังโรงงาน การลงทุน และรายได้ เป็นต้น 7

7 ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ สำรวจแหล่งขาย การสั่งซื้อ การรับสินค้าและวัตถุดิบ แหล่งแรงงาน แรงงานที่มีฝีมือ หรือแรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labour) แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทั่วไป (Unskilled Labour) 8

7 ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ (ต่อ) 3. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิต ค่าขนส่งสินค้าไปเก็บรักษา ค่าขนส่งสินค้าออกจำหน่าย 4. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สาธารณูปโภค สถานพยาบาล 5. แหล่งลูกค้า 6. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ เช่น แหล่งพื้นที่สีเขียวจะมีโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้ 7. แหล่งเงินทุน 9

รูปแบบขององค์กรธุรกิจ รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงการธุรกิจของประเทศไทย  จำแนกรูปแบบได้ดังต่อไปนี้ 1. กิจการเจ้าของคนเดียว 2. ห้างหุ้นส่วน      2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ     2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3. บริษัทจำกัด 4. การสหกรณ์  แบ่งเป็น 6 ประเภท   5. รัฐวิสาหกิจ 6. บริษัทมหาชน 7. บริษัทข้ามชาติ 8. กิจการแฟรนไชส์ 9. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) 10

การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว     คือธุรกิจที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของรับผิดชอบในการบริหารจัดการทุกด้านด้วยตนเอง จัดตั้งได้ง่ายและมักเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เงินทุนในการดำเนินกิจการเป็นของตนเองหรือไม่ก็หยิบยืมมาจากญาติพี่น้องเพื่อนฝูง การดำเนินกิจการทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ     ข้อดี     -  จัดตั้งง่าย     -  มีอิสระในการตัดสินใจ     -  ผลตอบแทนหรือกำไรทั้งหมดเป็นของเจ้าของ     -  ระเบียบข้อบังคับของกฎหมายไม่เข้มงวด     -  ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่ำ     -  การเลิกกิจการสามารถทำได้ง่าย     ข้อเสีย     -  เจ้าของรับหนี้สินไม่จำกัดจำนวน     -  การจัดหาเงินทุนทำได้ยาก     -  ธุรกิจไม่ยืนยาวและต่อเนื่อง     -  เจ้าของขาดความสามารถในการบริหารจัดการ และขาดประสบการณ์     -  โอกาสก้าวหน้าของพนักงานมีน้อย  11

ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน คือ การประกอบการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปทำสัญญาร่วมกัน และกระทำกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งผลกำไรหรือผลตอบแทนระหว่างกันแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้     -  ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) -  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  (Limited Partnership) 12

ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ            ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ  ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ จึงแบ่งห้างหุ้นส่วนสามัญได้เป็น2 ประเภท คือ              1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้คำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลประกอบหน้าชื่อห้างเสมอ ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะต้องระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ชัดเจน ซึ่งจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน และทำนิติกรรมต่าง ๆ ในนามห้างหุ้นส่วนได้              1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาของห้างหุ้นส่วน กฎหมายให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้ 13

ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ประกอบหน้าชื่อของห้างหุ้นส่วนเสมอ ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ              2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มีสิทธิเพียงออกความเห็น รับเป็นที่ปรึกษาและทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น จะเป็นแรงงานไม่ได้              2.2 หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน กฎหมายระบุว่าต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนและทุนที่นำมาลงทุนเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้   14

ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน (ต่อ)     ข้อดี     -  จัดตั้งง่าย     -  เป็นการระดมความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของหุ้นส่วน     -  สามารถระดมแหล่งเงินมาดำเนินงานได้     -  ข้อจำกัดของกฎหมายไม่ยุ่งยาก     -  การเลิกกิจการทำได้ง่าย     ข้อเสีย     -  รับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด     -  การเจริญเติบโตของธุรกิจมีขอบเขตจำกัด     -  ความขัดแย้งของหุ้นส่วน     -  ถอนเงินทุนคืนยาก     -  มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น 15

บริษัทจำกัด (Corporation) คือ นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากกิจการและนำกำไรนั้นมาแบ่งกัน การลงทุนแบ่งออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คน ขึ้นไป ข้อดี     -  ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินจำกัด     -  สามารถหาทุนเพิ่มโดยการขายหุ้นได้     -  โอนหุ้นได้ง่าย     -  อายุของการดำเนินงานไม่จำกัด     -  สามารถดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารจัดการได้     -  รูปแบบเหมาะสมกับธุรกิจทุกขนาด   ข้อเสีย     -  ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก และต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล     -  มีข้อจำกัดทางกฎหมายและข้อบังคับมาก     -  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูง     -  ความลับของบริษัทเปิดเผยได้ง่าย     -  การบริหารสามารถใช้บุคคลภายนอกได้ ซึ่งอาจขาดความตั้งใจ เสียสละ ซื่อสัตย์ 16

สหกรณ์ คือ การกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ การครองชีพของสมาชิกและของครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจัดประเภทสหกรณ์ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2516 กำหนดประเภทสหกรณ์ที่รับจดทะเบียนรวมมี 6 ประเภท ดังนี้ 1. สหกรณ์การเกษตร เช่น การจัดหาเงินทุน การจัดหาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆทางการเกษตรมาจำหน่ายให้สมาชิกในราคาถูก การรวบรวมผลิตผลออกจำหน่าย และการแปรรูปผลิตผลออกจำหน่ายให้ได้ราคาดี 2. สหกรณ์การประมง ส่งเสริมและประกอบอาชีพด้านการประมง จัดหาเงินทุนแลอุปกรณ์เกี่ยวกับการประมงจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูก และการจัดการด้านการตลาดเพื่อให้สามารถจำหน่ายผลิตผลให้ได้ราคาดี                        17

สหกรณ์ (ต่อ) 3. สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพ รวมถึงการจัดหาและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก   4. สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคายุติธรรม  5. สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการแก่สมาชิกในด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า สหกรณ์แท็กซี่ รถรับจ้าง สหกรณ์การเคหสถาน เป็นต้น 6. สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในหมู่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินในยามจำเป็นด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก โดยมีเงินปันผลคืนตามส่วนให้ 18

รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) คือ หน่วยงานหรือองค์กรทางธุรกิจที่รัฐจัดตั้งขึ้นหรือมีหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละ 50     วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ     -  กิจการบางอย่างเป็นกิจการสาธารณูปโภค หากให้เอกชนดำเนินการเองอาจให้บริการได้ไม่ทั่วถึง     -  เป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง แต่ได้ผลตอบแทนต่ำ     -  กิจการบางประเภท อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้     -  เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของชาติ     -  เพื่อควบคุมการผลิตสินค้าบางประเภท     -  เพื่อเป็นแหล่งรายได้ของรัฐ เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล     -  เพื่อให้ความช่วยเหลือเอกชนเฉพาะด้าน 19

บริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2511 บริษัทมหาชนจำกัดมีโครงสร้าง เหมือนกับบริษัทจำกัด คือ มีผู้ลงทุนเรียกว่า ผู้ถือหุ้น รับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังไม่ชำระมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหาร แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากบริษัทจำกัด คือ                     1.  มีกลุ่มผู้ก่อการเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป                     2.  มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดรวมกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ส่วนหุ้นจำนวนที่เหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือไว้ได้รายละไม่เกินร้อยละ10                     3.  ต้องมีทุนที่ชำระด้วยตัวเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท โดยมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 20 บาท และไม่เกินหุ้นละ 100บาท 20

บริษัทข้ามชาติ บริษัทข้ามชาติ หมายถึง องค์กรการผลิตอย่างหนึ่งที่มีทุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อประเทศที่ได้รับการลงทุนจากการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จำแนกผลดังกล่าวออกได้ดังนี้                     1.  ผลดีของบริษัทข้ามชาติ  ทำให้ประเทศที่ได้รับการลงทุนมีเงินลงทุนเข้าประเทศมากขึ้นมีการจ้างแรงงานของประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นและได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยนำมาใช้พัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น                     2.  ผลเสียของบริษัทข้ามชาติ  ทรัพยากรของประเทศที่ได้รับการลงทุนลดลง เสียดุลการชำระเงินในระยะเวลายาว เนื่องจากประเทศที่ลงทุนจะนำเงินออกจากประเทศผู้รับลงทุน เมื่อการดำเนินงานมีผลกำไร 21

กิจการแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ หมายถึง สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ แฟรนไชส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจในลักษณะของการให้สิทธิ์ทางการค้า โดยผู้ประกอบการตกลงทำสัญญากับบริษัทต้นแบบเรียกว่าบริษัทแม่ โดยผู้ซื้อสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าสินค้าให้กับบริษัทเจ้าขอเพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยจะได้รับผลตอบแทนจากบริษัทต้นแบบ           22

ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้น จากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่าย คือ   1.  แฟรนไชซอร์ (Franchisors) หรือเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้สัมปทาน   2.  แฟรนไชซี (Franchisees) คือ ผู้ขอรับสัมปทาน ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี  แมคโดนัลด์  พิซซ่าฮัท ฯลฯ กิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น  ไทเกอร์มาร์ต  สตาร์ชอร์ป ฯลฯ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิดโดยคนไทยเอง เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่โก๊ะตี๋ ฯลฯ 23

ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภท คือ                     1.  ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า  เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทาน หรือแฟรนไชซอร์ให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานหรือตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชซี ในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า หรือสินค้าจากผู้ให้สัมปทาน โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคลา สถานีบริการน้ำมันเซลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น                      24

ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ (ต่อ) 2.  ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ  เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ มักจะเป็นระบบการดำเนินธุรกิจของผู้ให้สัมปทานที่ประสบความสำเร็จสูง เช่น พิซซ่าฮัท  เคเอฟซี  เซเว่น-อีเลฟเว่นโดยการดำเนินธุรกิจประเภทนี้จะถูกกำหนดลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวคิดเดียวกันระหว่างผู้ให้สัมปทานกับผู้รับสัมปทาน ทั้งด้านกลยุทธ์ แผนการตลาด มาตรฐานการปฏิบัติงานและการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น 25

ธุรกิจแฟรนไชส์ (ต่อ) ข้อดี     -  โอกาสขาดทุนมีน้อย     -  ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการมากนัก     -  สามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาถูก     -  ลดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์   ข้อเสีย     -  ขาดอิสระในการดำเนินงาน     -  การขยายกิจการทำได้ยาก     -  มีกฎเกณฑ์หลายประการจากบริษัทแม่ทำให้ไม่คล่องตัว     -  ขาดความคิดสร้างสรรค์            26

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ความหมายของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)         เป็นคำย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Small and Medium Enterprises หมายถึงการประกอบกิจการเพื่อรายได้ที่ใช้เงินทุนในการประกอบธุรกิจไม่มากนัก เป็นงานอิสระมีขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่นตลาดในการจำหน่ายและบริการไม่กว้างขวางนัก         ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครอบคลุมกิจการ 3 ประเภท คือ 1   กิจการการผลิต (Production Sector)  ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural   Processing)   ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining) 2   กิจการการค้า  (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก(Retail) 3   กิจการบริการ  (Service Sector) 27

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ต่อ) ตารางแสดงการกำหนดขนาดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล SME http://www.thaitambon.com/tambon/tsmesrc.asp?sSearch=b2b&FL=sName&cSmeType=1&sprovcode=&ORDER=sName&AD=ASC http://www.sme.go.th/Pages/home.aspx#page=page-act http://www.thaifranchisecenter.com/links/show.php?id=94 28

บทบาทและความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม   -  ช่วยประหยัดเงินตราจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ -  ทำให้เกิดการจ้างงาน -  ทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจของตนเองมากขึ้น -  เป็นแหล่งเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาความสามารถของบุคคล -  เกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ -  ผลิตสินค้าและบริการนำเงินตราเข้าประเทศ -  เชื่อมโยงและช่วยส่งเสริมธุรกิจขนาดใหญ่ -  ช่วยในการกระจายความเจริญและพัฒนาด้านต่าง ๆ ออกสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นลดปัญหาการกระจุกตัวของธุรกิจตามเมืองใหญ่ 29

ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม         1.  ขาดแคลนแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนและขยายกิจการ จึงขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้         2.  ขาดความรู้ความสามารถเรื่องระบบการบริหารจัดการที่ดี การบริหารจัดการมักอาศัยประสบการณ์จากการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก         3.  มีปัญหาในการว่าจ้างแรงงาน เมื่อแรงงานมีทักษะฝีมือและความชำนาญมากขึ้นมักจะย้ายออกไปทำงานกับธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นและผลตอบแทนสูงกว่า         4.  มีข้อจำกัดด้านเทคนิควิชาการและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย         5.  มีข้อจำกัดในการได้รับการส่งเสริมของภาครัฐ         6.  มีปัญหาด้านการตลาดและการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่  ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจโดยทั่วไปก่อนที่จะขยายตัวเติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วพัฒนามาจากการเป็นธุรกิจขนาดเล็กมาก่อนทั้งสิ้น ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้ให้การสนับสนุนการประกอบธุรกิจประเภทนี้เป็นอย่างมาก 30

ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ ความหมาย : ความไม่แน่นอนของ การเกิดปรากฎการณ์ที่ทำให้ธุรกิจเกิด ความสูญเสีย ประเภทของความเสี่ยง มี 8 ประเภท 1. ความเสี่ยงที่แท้จริง เกิดแก่บุคคล เกิดแก่ทรัพย์สิน เกิดแก่ความรับผิดชอบ 2. ความเสี่ยงจากการคาดการณ์ - การจัดการ - การเมือง - นวัตกรรม 3. ความเสี่ยงพื้นฐาน - สภาวะทางเศรษฐกิจ - สภาวะทางการเงิน - ภัยธรรมชาติ - ภัยจากการสงคราม - ภัยจากการก่อการร้าย 4. ความเสี่ยงจำเพาะ - ไฟไหม้ - อุบัติเหตุ 31

6. ความเสี่ยงคงที่ - ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแน่นอน - รสนิยมของลูกค้า ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ (ต่อ) 6. ความเสี่ยงคงที่ - ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแน่นอน - รสนิยมของลูกค้า 5. ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการค้าของโลก การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค 7. ความเสี่ยงที่เอาประกันได้ มีลักษณะสำคัญ อุบัติเหตุ คำนวณได้ ความสูญเสียที่แท้จริงระบุในสัญญาประกันภัย ไม่สูญเสียมากเกินไป 8. ความเสี่ยงที่เอาประกันภัยไม่ได้ ขาดสถิติ ภัยต่อสาธารณะ จากผลประโยชน์ มีความเสี่ยงมากเกินไป 32