งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 การจัดการเงินทุนขั้นแรกของธุรกิจขนาดย่อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 การจัดการเงินทุนขั้นแรกของธุรกิจขนาดย่อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 การจัดการเงินทุนขั้นแรกของธุรกิจขนาดย่อม

2 หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน
1. การพยากรณ์และการวางแผน (Forecasting and Planning) 1.1 การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะสั้น จะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสถานภาพทางการเงินของธุรกิจ กล่าวคือเป็นการคาดการณ์กระแสเงินสดรับและเงินสดจ่ายของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละเดือนธุรกิจมีเงินสดเกินหรือเงินสดขาดมือจำนวนเท่าใด 1.2 การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะยาว จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนระยะยาว

3 หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน
2. การตัดสินใจลงทุนและการจัดหาเงินทุน (Investment and Financing Decisions) 2.1 การตัดสินใจลงทุน จะเกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ ผู้ถือหุ้น 2.2 การตัดสินใจในการจัดหาเงินทุน ต้องพิจารณาสัดส่วนของเงินทุนจากหนี้สิน (Debt Financing) และส่วนของเจ้าของ (equity financing) ให้เหมาะสม

4 หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน
3. การประสานงานและการควบคุม (Coordination and Control) 4. การเป็นตัวแทนขององค์กรเพื่อทำการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Markets) 4.1 ตลาดเงิน (Money Market) การระดมเงินทุนระยะสั้นที่มีอายุ การชำระคืนไม่เกิน 1 ปี 4.2 ตลาดทุน (Capital Market) การระดมเงินทุนระยะยาวที่มีอายุการชำระคืนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

5 หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน
5. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) 5.1 ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากภายนอกกิจการจะมีผลกระทบต่อสินทรัพย์เกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจไม่มากก็น้อย 5.2 ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายในของกิจการที่มีผลกระทบต่อสินทรัพย์เฉพาะรายเท่านั้น เช่น ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องขององค์กร เป็นต้น

6 หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน
6. การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายเงินปันผล (Dividend Decision) อัตราการจ่ายเงินปันผลนี้จะเป็นตัวกำหนดกำไรสะสมของธุรกิจ

7 เป้าหมายทางการเงินของผู้จัดการทางการเงิน
1. กำไรสูงสุด (Profit Maximization) เป็นเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น 2. การสร้างความมั่งคั่งสูงสุด (Wealth Maximization) เป็นเป้าหมายทางการเงินระยะยาว 3. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงกลุ่มบุคคลในสังคม (stakeholder)

8 รูปแบบของการประกอบกิจการ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) ผู้ก่อตั้งเรียกว่า “เจ้าของกิจการ” ข้อดี 1. ง่ายต่อการจัดตั้ง ใช้เงินลงทุนต่ำ 2. การตัดสินใจในการบริหารจัดการสะดวกและรวดเร็ว เพราะขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว 3. กรณีที่มีกำไร เจ้าของกิจการจะได้รับเพียงคนเดียว 4. การเลิกกิจการทำได้ง่าย 5. เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงทำให้กิจการเสียภาษีต่ำ

9 รูปแบบของการประกอบกิจการ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) ข้อเสีย 1. มีเงินทุนจำกัด 2. การขยายกิจการทำได้ยาก 3. เจ้าของกิจการรับผิดชอบต่อภาระหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน 4. ความรู้ความสามารถในการบริหารงานจำกัดเพียงเจ้าของกิจการคนเดียว 5. ขาดความต่อเนื่องของธุรกิจหากเจ้าของกิจการเสียชีวิต

10 รูปแบบของการประกอบกิจการ
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงร่วมกันลงทุนเพื่อประสงค์ที่จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจ ผู้ลงทุนเรียกว่า “ผู้เป็นหุ้นส่วน” 2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (General Partnership) ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญมีอำนาจในการบริหารกิจการของห้างทุกคน และจะต้องรับผิดชอบต่อภาระหนี้สินของห้างแบบไม่จำกัดจำนวน

11 รูปแบบของการประกอบกิจการ
2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) ผู้เป็นหุ้นส่วน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิด และผู้เป็นหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด

12 รูปแบบของการประกอบกิจการ
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) ข้อดี 1. จัดหาเงินทุนได้มากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว 2. มีทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจมากกว่า 3. มีอำนาจในการกู้ยืม ข้อเสีย 1. เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ 2. กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดจะมีความเสี่ยงสูง 3. ขาดความต่อเนื่องของการบริหารงาน ถ้าหุ้นเป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือถอนตัว

13 รูปแบบของการประกอบกิจการ
3. บริษัท (Company/Corporation) การจัดตั้งกิจการที่มีวิธีการระดมเงินทุนจากการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน ผู้ลงทุนเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” 3.1 บริษัทจำกัด (Limited Company) เป็นรูปแบบกิจการที่มีผู้ร่วมลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยมีผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คน 3.2 บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company) เป็นรูปแบบกิจการที่มีผู้ร่วมลงทุนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป

14 รูปแบบของการประกอบกิจการ
3. บริษัท (Company/Corporation) ข้อดี 1. สามารถระดมเงินทุนได้ง่าย 2. สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 3. ผู้ลงทุนจะรับผิดชอบต่อหนี้สินจำกัดเท่ากับเงินที่ลงทุนในหุ้น 4. การเลิกลงทุนทำได้ง่าย โดยการขายหรือโอนหุ้น 5. ขยายกิจการทำได้ง่าย เพราะสามารถเข้าถึงตลาดทุน

15 รูปแบบของการประกอบกิจการ
3. บริษัท (Company/Corporation) ข้อเสีย 1. การก่อตั้งทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าธุรกิจรูปแบบอื่น เพราะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 2. เงินทุนค่อนข้างสูง 3. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัด 4. เสียภาษีซ้ำซ้อน 5. ต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบ

16 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่มีลักษณะการบริหารงานอย่างอิสระ ผู้บริหารมักเป็นเจ้าของกิจการ การจัดหาเงินมาลงทุนทำธุรกิจเป็นเงินทุนส่วนตัว และการดำเนินงานจะทำภายในท้องถิ่น มีจำนวนพนักงาน เงินลงทุน สินทรัพย์ และยอดขายน้อยกว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน

17 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ ได้กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

18 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
1. ปริมาณยอดขายมีน้อย 2. มีฝีมือและประสบการณ์ของตนเองในการบริการลูกค้า 3. มีการบริการในลักษณะเป็นการส่วนตัว 4. มีความสะดวก 5. สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของท้องถิ่น 6. มีแรงจูงใจสูง 7. มีความคล่องตัวในการจัดการ 8. ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ

19 ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
1. บทบาทในการสร้างงานใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมมีส่วนสำคัญในการทำให้บุคคลนำความคิดใหม่ ๆ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ในสังคม 2. บทบาทในการสร้างนวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมจะมีจุดเริ่มต้นจากงานวิจัยในห้องทดลองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ

20 ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
3. บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาค ธุรกิจขนาดย่อมของประเทศไทยจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในท้องถิ่น เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น 4. บทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การมีธุรกิจขนาดย่อมเข้ามาแข่งขันด้วยจะทำให้การแข่งขันด้านราคาลดลงตลอดจนมีการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมาตรฐานของสินค้า

21 ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
5. บทบาทในการช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่ให้ผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หน้าที่บางอย่างธุรกิจขนาดย่อมมักจะทำได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น การจัดจำหน่าย การขายปัจจัยการผลิต การบริการ เป็นต้น

22 ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
6. บทบาทในการกระจายการพัฒนาประเทศ ธุรกิจขนาดย่อมมีการตั้งกระจัดกระจายกันไปตามชุมชนต่าง ๆ 7. บทบาทในการเพิ่มการระดมทุน ธุรกิจขนาดย่อมเป็นการรวบรวมเงินทุนที่เป็นของผู้ประกอบการและญาติพี่น้องมาก่อให้เกิดประโยชน์ในทางธุรกิจ

23 ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
8. บทบาทในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดการกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ 9. บทบาทในการเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่ ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อมทำให้ธุรกิจมั่นคง

24 ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม
1. การบริการ (services) เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีจำนวนมาก ได้รับความนิยมในการลงทุนและเติบโตเร็วที่สุด เนื่องจากไม่ต้องใช้ทรัพยากรการดำเนินงานที่ซับซ้อน จัดตั้งได้ง่าย 2. การค้าปลีก (retailing) เป็นการขายผลิตภัณฑ์โดยบุคคลอื่นให้แก่ผู้บริโภค (Consumer) การค้าปลีกเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่นิยมทำกัน

25 ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม
3. การค้าส่ง (wholesaling) เป็นธุรกิจที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตแล้ว ขายต่อให้กับผู้ค้าปลีกเพื่อทำการขายให้กับผู้บริโภคต่อไป 4. การผลิต (manufacturing) ถ้าเปรียบเทียบกับธุรกิจทั้ง 3 ประเภทข้างต้น การผลิตนับเป็นธุรกิจที่ยากสำหรับธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในการแข่งขัน

26 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
การจัดหาเงินทุนอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจมีต้นทุนทางการเงินต่ำ และทำให้เกิดสภาพคล่อง 1) จะหาแหล่งเงินทุนจากที่ไหน (Where) 2) จำนวนเท่าไหร่ (How) 3) จะต้องใช้เงินทุนเมื่อไหร่ (When)

27 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
ความต้องการเงินทุนในช่วงเวลาต่าง ๆ 1. ความต้องการเงินทุนเมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งกิจการ ค่าใช้จ่ายในการเริ่มดำเนินการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มธุรกิจเพียงครั้งเดียว ผู้จัดการทางการเงินจึงควรสำรองเงินสดหมุนเวียนให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น

28 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
ความต้องการเงินทุนในช่วงเวลาต่าง ๆ 2. ความต้องการเงินทุนในการดำเนินงาน 2.1 ช่วงที่ธุรกิจกำลังเติบโต ธุรกิจจึงต้องใช้เงินทุนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากต้องมีการเพิ่มยอดขาย การขยายฐานลูกค้าใหม่ การจ้างพนักงานเพิ่ม การเพิ่มจำนวนสินค้าคงคลัง 2.2 ช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง

29 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
ความต้องการเงินทุนในช่วงเวลาต่าง ๆ 3. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงกิจการ เป็นช่วงที่ธุรกิจเติบโตเต็มที่ มักจะมีการควบรวมกิจการ ซื้อกิจการ ปรับโครงสร้างองค์การ และการระดมทุนในตลาดทุน

30 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
การจัดหาเงินทุน 1. เงินสะสมส่วนบุคคล (Owner’s Money) ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ คือ ไม่มีภาระดอกเบี้ยเหมือนการกู้ยืม 2. เงินทุนจากครอบครัวและเพื่อน (Family & Friends) ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในระยะเริ่มต้นกิจการ และกรณีที่มีความต้องการเงินทุนอย่างเร่งด่วน ข้อเสียคือ เมื่อจำนวนหุ้นส่วนมากขึ้น การตัดสินใจจะยุ่งยาก

31 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
การจัดหาเงินทุน 3. ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีต้นทุนตํ่ากว่าการกู้ยืมเงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 4. เงินทุนจากการกู้ยืม (Loans) การกู้ยืมก่อให้เกิดภาระผูกพันในเรื่องของดอกเบี้ย 5. เงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ไม่มีวัตถุประสงค์ครอบงำกิจการ เพียงแต่เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการ โดยอาจเข้าร่วมบริหาร ให้คำปรึกษาหรือช่วยการจัดการโดยใช้ประสบการณ์และช่องทางธุรกิจที่มีอยู่

32 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
การจัดหาเงินทุน 5. เงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนระยะยาวในธุรกิจอื่นในรูปแบบของการเข้าร่วมลงทุน ไม่มีวัตถุประสงค์ครอบงำกิจการ เพียงแต่เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการ โดยอาจเข้าร่วมบริหาร ให้คำปรึกษาหรือช่วยการจัดการโดยใช้ประสบการณ์และช่องทางธุรกิจที่มีอยู่

33 การจัดการเงินทุนขั้นแรกในการประกอบธุรกิจ
การจัดหาเงินทุน 5. เงินร่วมลงทุน (Venture Capital) 1. Seed Investing เป็นการร่วมลงทุนในธุรกิจที่ยังไม่ได้ก่อตั้ง 2. Early Stage Investing เป็นการร่วมลงทุนในบริษัทที่เพิ่งเริ่มกิจการ แต่มีศักยภาพในการเติบโตสูง 3. Expansion Stage Financing เป็นการร่วมลงทุนในบริษัทที่เริ่มมีความพร้อมสำหรับการขยายกิจการ แต่ขาดเงินทุน 4. Later Stage Financing เป็นการร่วมลงทุนในกิจการที่เติบโตแล้ว แต่ต้องการเงินทุนหรือคำปรึกษาการลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 การจัดการเงินทุนขั้นแรกของธุรกิจขนาดย่อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google