การรับนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ประตูสู่คณะวิทยาศาสตร์ การรับนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 1. การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (ระบบ Admissions กลาง) 2. การคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (ระบบ Admissions ตรง) 3. การรับเข้าศึกษาหลักสูตรเคมีประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
การรับนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 2. การคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (ระบบ Admissions ตรง) 2.1 โครงการโอลิมปิกวิชาการ 2.2 โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน 2.3 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (พสวท.) และการรับโดยวิธีพิเศษ (วพ.) 2.4 โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา
จำนวนการรับเข้าศึกษา ระบบ Admissions กลาง ระบบ Admissions ตรง หลักสูตรเคมีประยุกต์ (นานาชาติ) จำนวน 662 คน จำนวน 304 คน จำนวน 100 คน
เกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา 1. การรับเข้าศึกษาระบบ Admissions กลาง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นไปตามการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2552 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ การสอบสัมภาษณ์ 2. การรับเข้าศึกษาระบบ Admissions ตรง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นไปตามประกาศฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2552 3. การรับเข้าศึกษาหลักสูตรเคมีประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ตัดสินผลการคัดเลือกจากใบสมัครและคุณสมบัติตามประกาศ
องค์ประกอบและค่าน้ำหนักวิชาในการคัดเลือกเข้าศึกษา รายวิชา % ค่าน้ำหนัก วันสอบ รับตรง รับกลาง GPAX - 10 วิชาเฉพาะที่ จุฬาฯจัดสอบ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 40 21 ต.ค. 51 เวลา 09.00-12.00 น. GPA กลุ่มสาระ 20 O-NET ภาษาไทย (01) 4 7 21–22 กุมภาพันธ์ 2552 สังคมศึกษา (02) ภาษาอังกฤษ (03) คณิตศาสตร์ (04) วิทยาศาสตร์ (05) A-NET ภาษาอังกฤษ 2(13) 5 มีนาคม 2552 คณิตศาสตร์ 2(14) 15 วิทยาศาสตร์ 2(15) รวม 100
โครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิธีรับตรง ประจำปีการศึกษา 2552 คุณสมบัติ และเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง ของคณะวิทยาศาสตร์ ต้องกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ ยกเว้นผู้สมัครในโครงการการรับโดยวิธีพิเศษ (วพ.) อนุโลมให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนปีการศึกษา 2548 และมีผลสอบ O-NET ไม่ตรงปีที่สำเร็จการศึกษาสมัครคัดเลือกได้ โดยต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามที่โครงการกำหนด ดังนี้ โครงการโอลิมปิกวิชาการ เป็นนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (สอบแข่งขันรอบที่ 1 และ/หรือสอบแข่งขันรอบที่ 2) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หรือเป็นนักเรียนที่สอบได้ลำดับที่ 1 ถึง 40 ในการสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.) ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 รวมกันไม่ต่ำกว่า 2.50 โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ให้เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน หรือเป็นนักเรียนที่ผ่านการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ ซึ่งจัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คุณสมบัติ และเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา (ต่อ...) คุณสมบัติ และเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา (ต่อ...) โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และการรับโดยวิธีพิเศษ (วพ.) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 5 รวมกันไม่ต่ำกว่า 3.00 มีผลการเรียนเฉลี่ย วิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 รวมกันไม่ต่ำกว่า 3.25 สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าโครงการ พสวท.เพื่อรับทุนการศึกษา จะต้องกำลังศึกษาในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในจังหวัดต่อไปนี้คือ ลพบุรี อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง ชลบุรี และสระแก้ว จะต้องมีคะแนนสอบครบทุกรายวิชาตามที่กำหนด โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา รับสมัครผู้ที่มีประวัติและความสามารถในทางกีฬาดีเด่นระดับชาติ ตามเกณฑ์ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนด ดำเนินการโดย สำนักงานนิสิตสัมพันธ์ และดูรายละเอียดได้ที่ http://www.admissions.chula.ac.th
กำหนดการ การรับเข้าศึกษา ระบบ Admissions ตรง ปีการศึกษา 2552 รับสมัครเข้าศึกษา 22 สิงหาคม – 15 กันยายน 2551 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก 15 ตุลาคม 2551 การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ/คุณสมบัติเฉพาะ ลำดับคะแนนและ จำนวนรับของแต่ละโครงการ โดยมีกำหนดการดังนี้ โครงการโอลิมปิกวิชาการ และ โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ 19 ธันวาคม 2551 สอบสัมภาษณ์ 25 ธันวาคม 2551 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 8 มกราคม 2552 ผู้มีสิทธ์เข้าศึกษารายงานตัว 14 มกราคม 2552 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และการรับโดยวิธีพิเศษ (วพ.) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ 8 เมษายน 2551 สอบสัมภาษณ์ 10 เมษายน 2551 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 17 เมษายน 2551 ผู้มีสิทธ์เข้าศึกษารายงานตัว 17 เมษายน 2551