การบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดีเพื่อการส่งออกไปตลาดอาเซียน เลอศักดิ์ อินชู สถาบันองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน กลุ่มอาเซียนหากรวมทุกประเทศในกลุ่มเข้าด้วยกันแล้ว เป็นกลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีมูลค่าผลรวม GDP ถึง $2.4 พันล้านในปี 2013 และคาดการไว้ว่า ในปี 2050 จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยขนาดประชากรที่ 600 ล้านคน อาเซียนมีตลาดแรงงานใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียง จีน กับ อินเดีย เท่านั้น อาเซียนไม่ใช่ตลาดเดี่ยว มีความหลากหลายอยู่ในกลุ่ม เช่น อินโดนีเซียอยู่ในกลุ่ม G20 ในขณะที่พม่าเพิ่งจะเปิดประเทศ เป็นตลาดใหม่ที่พยายามสร้างตัวเองขึ้นมา สิงคโปร์มี GDPต่อหัวสูงกว่าแม้กระทั่งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาและแคนาดา ความแตกต่างทางรายได้เฉลี่ยในกลุ่มอาเซียนสูงกว่าประเทศสมาชิกในกลุ่ม EU ถึง 7 เท่า นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมและภาษา เช่นอินโดนีเซียประชากรนับถือศาสนาอิสลามถึง 90% ในฟิลิปปินส์ประชากรกว่า 80% นับถือศาสนาคริสต์ ในประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ 95% ด้วยความแตกต่างที่กล่าวมาทั้งหมด แม้จะมีการรวมกลุ่มเป็น AEC ก็ไม่ได้แปลว่านักลงทุนจะสร้างธุรกิจขึ้นมาหนึ่งรูปแบบแล้วจะใช้ใด้กับทุกประเทศในกลุ่ม
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน ความมั่นคงของเศรษศาสตร์มหภาค แสดงให้เห็นถึงโอกาศที่เศรษฐกิจจะเจริญเติบโตได้อีก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษกิจตกต่ำในเอเซียในปี 1997 หรือภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปี 2008 ปัจจุบันยังคงแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากปริมาณหนี้สาธารณะมีตัวเลขอยูที่ต่ำกว่า 50%ของ GDP ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับ 90%ในอังกฤษและ105%ในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะมีความกังวลเรื่องธนาคารกลางสหรัฐอาจหยุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ QE (Quantitative Easing) แต่ผลกระทบต่ออาเซียนจะมีน้อยมากเมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดกับEU อัตราเงินออมยังคงอยู่ในระดับที่คงที่ตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งมีมูลค่าถึงหนึ่งในสามของGDP แม้ว่าจะมีความแตกต่างค่อนข้างมากของเงินออมในกลุ่มระหว่างประเทศที่มีอัตราการออมสูง เช่น บรูไน มาเลเซีย และสิงคโปร์ และประเทศที่มีอัตาราการออมต่ำอย่าง กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน อาเซียนเป็นศูนย์กลางของความต้องการของผู้บริโภคที่นับวันจะโตขึ้นเรื่อยๆ GDPต่อหัวของประชากรในอาเซียนเติบโตมากว่าภูมิภาคอื่นๆนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา อัตาราการเพิ่มของรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ปีละ 5% บางประเทศในกลุ่มเจริญเติบโตเร็วมาก เช่น เวียตนาม ใช้เวลาเพียง 11 ปี (ตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2006) ในการเพิ่ม GDP เป็นสองเท่า จาก $1,300 เป็น $2,600 อัตราความยากจนในกลุ่มลดลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ในปี 2000 จำนวนประชากรที่อยู่ต่ำกว่าระดับความยากจนนานาชาติอยู่ที่ 14% (รายได้ต่ำกว่า $1.25 ต่อวัน) ตัวเลขที่วัดได้ในปี 2003 ลดลงไปเหลือแค่ 3% เท่านั้น ประชากรกว่า 67 ล้านครัวเรือนในอาเซียนจัดอยู่ในกลุ่ม “Consuming Class” ซึ่งมีรายได้ เฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือนมากกว่า $7,500 ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเป็น 125 ล้านครัวเรือนภายในปี 2025 ซึ่งจะทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดผู้บริโภคสำคัญในอนาคต ไม่มีสินค้าตัวใดนำตลาดออกมาอย่างชัดเจนในอาเซียน แต่แนวโน้มของตลาดออกมาทางกิจกรรมสันธนาการยามว่าง ประชากรชอบซื้อขายในรูปแบบค้าปลีกแบบใหม่ และยิดติดกับยี่ห้อสินค้ามากขึ้น เช่นในอินโดนีเซีย ผู้บริโภคอินโดนีเซียจะซื้อสินค้ายี่ห้อที่ตัวเองชื่นชอบเท่านั้น
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน การเจริญเติบโตของสังคมเมืองกับตลาดผู้บริโภคจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกัน เมืองต่างๆในอาเซียนเติบโตเร็วมาก 22% ของประชากรของอาซียนอาศัยอยู่ในเมืองที่มีประชากรมากกว่า 200,000 คน และรายได้ของประชากรเหล่านี้สร้างตัวเลข GDPอยู่ที่มากกว่า 54% ภายในปี 2025 คาดว่าประชากรจะอบยพเข้าไปอยู่ในเมืองอีกเพิ่มอีก 54 ล้านคน อัตราการเจริญเติบโตของเมืองขนาดกลางสูงกว่าเมืองใหญ่ คาดการว่าในปี 2025 เกือบ 40% ของ GDP ในอาเซียนจะมาจาก142เมืองที่มีประชากรระหว่าง 200,000 ถึง 5 ล้านคน ผู้บริโภคในอาเซียนเริ่มซื้อขายออนไลน์มากขึ้น อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้น 110% และอัตราการใช้อินเตอร์เนทที่เพิ่มขึ้น 25% ทำให้อาเซียนมีประชากรที่ใช้ Facebookสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากอเมริกาเท่านั้น ยกเว้นพม่าซึ่งมีเพียง 1% ของจำนวนประชากรเท่านั้นที่เข้าถึง Internet
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน ASEAN อยู่ในกระแสการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก ASEAN มีขนาดตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นรองเพียง สหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ และจีนและฮ่องกงเท่านั้น มีมูลค่าตลาดถึง 7% ของตลาดส่งออกทั้งโลก ประเทศสมาชิกในกลุ่มได้พัฒนาศักยภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีความหลากหลาย เวียตนามเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้ากลุ่มสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิงคโปร์และมาเลเซียเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าอิเลคทรอนิคส์ ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อินโดนีเซียเป็นผู้นำในด้านการผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์ม ถ่านหิน โกโก้ และดีบุก พม่าเพิ่งจะเปิดตัวสู่เศรษฐกิจโลก นอกจากสินค้าเกษตรแล้ว พม่ายังมีน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และอัญมณีจำนวนมาก ในขณะที่ฟิลิปปินส์กำลังมาแรงในเรื่องของธุรกิจ Outsource จีนซึ่งเคยเป็นคู่แข่งในตลาดอิเลคโทรนิคส์ ปัจจุบันกลายมาเป็นลูกค้าสำคัญของมาเลเซียและสิงคโปร์
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน Export Processing Zone ที่เคยมีเฉพาะในจีน ปัจจุบันมีอยู่ใน ASEAN เกือบทุกประเทศ ทั้งสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย พม่า และเวียตนาม ซึ่งคาดว่าจะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่ตั้งของ ASEAN เป็นทางผ่านให้กับกระแสโลกสำคัญหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ การเงิน ผู้คน ข้อมูล การสื่อสาร ทำให้การเคลื่อนย้ายผ่านแดนเป็นไปได้โดยง่าย มีคำกล่าวไว้ว่า ภายในปี 2025 ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งของทั้งโลกจะอาศัยอยู่ภายไต้รัศมีการเดินทางทางเครื่องบินห่างจากพม่าไม่เกิน 5 ชั่วโมง การซื้อขายระหว่างประเทศจะมีมากขึ้น เนื่องจากการเปิด AEC แม้ว่าจะยังมีอุปสรรคหลายอย่างก็ตาม 25% ของสินค้าส่งออกส่งไปยังประเทศสมาชิก ASEAN ด้วยกัน แม้ว่าตัวเลขจะต่ำกว่า เมื่อเทียบกับ NAFTA หรือ EC แต่ตัวเลขนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากความร่วมมือที่เข้มแข็งของสมาชิกด้านซัพพลายเชนผ่านแดน
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน ASEAN ยังได้ทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศคู่ค้านอกกลุ่ม เช่น จีน ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ซึ่งเมื่อรวมตัวเลขการซื้อขายออกมาแล้ว จะมี GDP ประมาณ 21 พันล้านและแค่ 31% ของปริมาณรวมการซื้อขายทั้งโลก บริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศ ASEAN ในปี 2006 มีบริษัทที่เข้าทำเนียบ Forbes Global 2000 อยู่ใน ASEAN ถึง 49 บริษัท ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น 74 ในปี 2013 ASEAN-5 (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ดึงนักลงทุนเข้าประเทศรวมกันมากกว่าจีน (128 พันล้านต่อ 117 พันล้าน) ในปี 2013 Source : http://www.mckinsey.com/insights/public_sector/understanding_asean_seven_things_you_need_to_know
ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจในตลาดอาเซียน ทุกอย่างจะดีขึ้นจริงหรือ การเดินทางระหว่างประเทศสมาชิกจะสะดวกมากขึ้น ทุกประเทศมีภาษาของตัวเองและไม่ใช้ภาษาใดร่วมกันเลย มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีในแต่ละประเทศ (http://www.thai-aec.com/643) มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบอะไรบ้างหลังจากเปิด AEC เราในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการต้องวางแผนรับมืออย่างไร
ระบบโลจิสติกส์ที่ดีช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไร ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีในการซื้อขายระหว่างประเทศ Incoterms Letter of Credit (L/C) Documentation กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับงานนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด การซื้อขายระหว่างประเทศ บุคคลหรือองค์กรที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนำเข้าส่งออกทั้งหมด สิทธิพิเศษที่สามารถใช้ได้ ค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการต้องรู้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการว่าจ่ายที่ใคร และด้วยอัตราเท่าไร และจะหาทางลดค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอนอย่างไร
การซื้อขายระหว่างประเทศ
ภาพกระบวนการนำเข้า-ส่งออก
ภาพกระบวนการนำเข้า-ส่งออก
สิทธิพิเศษที่มีใช้อยู่ GSP (Generalized System of Preferences) GSTP (Global System of Trade Preferences) FTA (Free Trade Area) AFTA (ASEAN Free Trade Area) JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) AICO (ASEAN Industrial Cooperation) TAFTA (Thailand-Australia Free Trade Agreement)
กลยุทธ์ต่อยอดการค้า ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิถาพ กระตุ้นยอดการส่งออกด้วยระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพิ่มช่องทางการขายให้กับผลิตภัณฑ์ เช่นงานแสดงสินค้า เปิด Website สถานการณ์ตลาดนำเข้าและส่งออกของไทยและประเทศในกลุ่ม ASEAN ในปัจจุบัน ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกในประเทศที่จะทำการซื้อขายด้วย รูปแบบการส่งออกของผู้ประกอบการรายใหญ่ๆในประเทศไทย ตลาดค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก วางกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ในจุดที่เหมาะสม กำหนดเป้าหมายการขายจากรายจ่ายจริงๆ ภาษาอังกฤษ