คู่มือการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interests) จัดทำโดย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
กระทรวงพาณิชย์ประกาศเจตนารมณ์ เป็นองค์กรต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (MOC Zero Corruption)
กระทรวงพาณิชย์ประกาศเจตนารมณ์ เป็นองค์กรต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (MOC Zero Corruption) เพื่อปลูกจิตสำนึกให้แก่ข้าราชการและบุคลากรในทุกระดับของกระทรวง พาณิชย์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนไม่กระทำทุจริตและประพฤติมิชอบ ตระหนักถึงบทบาทการเป็นข้าราชการที่ดี เพื่อร่วมกันพัฒนา การให้บริการ ประชาชนที่มีคุณภาพ ปฏิบัติงานโดยยึดมั่นคุณธรรม โปร่งใส และตรวจสอบผล การทำงานได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ความหมายของผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict Of Interests) ผลประโยชน์ทับซ้อน : สถานการณ์หรือการกระทำที่ บุคคลมีผลประโยชน์ส่วนตัวมากจนมีผลต่อการตัดสินใจ หรือ การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งทำให้ตัดสินใจยาก ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติได้ ความขัดแย้ง (Conflict) สถานการณ์ที่ขัดกัน ไม่ลง รอยเป็นเหตุการณ์อันเกิดขึ้นเมื่อบุคคลไม่สามารถตัดสินใจ กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้จากความ ไม่ลงรอยกันในเรื่องความคิด แนวทางปฏิบัติ หรือ ผลประโยชน์
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ผลประโยชน์ส่วนตน (Private Interests) เป็น ผลตอบแทนที่บุคคลได้รับ โดยเห็นว่ามีคุณค่าที่จะสนองตอบ ความ ต้องการของตนเองหรือของกลุ่มที่ตนเองเกี่ยวข้อง ผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจให้คนเรามีพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสนอง ความต้องการทั้งหลาย (เพ็ญศรี วายวานนท์, 2527 : 154)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict Of Interests) เป็นสถานการณ์ที่บุคคลในฐานะพนักงานหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ใน การแสวงประโยชน์แก่ ตนเอง กลุ่มหรือพวกพ้อง ซึ่งเป็นการละเมิดทางจริยธรรม และส่งผลกระทบ หรือความเสียหายต่อประโยชน์ สาธารณะ คำอื่นที่มีความหมายถึงความขัดแย้งกันแห่ง ผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ได้แก่ การมี ผลประโยชน์ทับซ้อน ความขัดกันระหว่าง ผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ และ รวมถึงคอร์รัปชัน เชิงนโยบาย คอร์รัปชันสีเทา
มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของ ข้าราชการในการป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับ ซ้อนในการปฏิบัติราชการหลายประการ ดังปรากฏในหมวด 2 ข้อ 3(3) ข้อ 5(1),(2),(3),(4) ข้อ 6(1),(2),(3) ข้อ 7(4),(5) ข้อ 8(5) ข้อ 9(1)
มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย
มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน ประกาศคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใด โดย ธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 (มาตรา 103)
ตัวอย่าง นายประสาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ ได้เรียกนางจันทร์เพ็ญ เจ้าหน้าที่ธุรการไปคุยที่ ห้องประชุมของฝ่ายพัสดุ นายประสาน >> คุณจันทร์เพ็ญ คุณช่วยพิมพ์งานที่กรมฯ เราจะจัดซื้อจัดจ้าง ตามนี้นะ แล้วพรุ่งนี้นำไปแจก ที่ประชุมให้คณะกรรมการฯ อย่างให้ผิด เชียวล่ะ นางจันทร์เพ็ญ >> ที่ผ่านเราไม่เคยมีการกำหนดไม่ใช่หรือคะ นายประสาน >> คุณอย่าสงสัยมากนักเลย คนเรามีพรรคพวกก็ต้องเกื้อหนุน กัน การประชุมครั้งนี้ กรรมการฯ ทุกคนก็รู้อยู่แล้วล่ะ ว่าบริษัท ไหนจะได้รับเลือก นางจันทร์เพ็ญ >> ค่ะ ได้ค่ะ คุณประสาน นายประสาน >> ขอบใจจันทร์เพ็ญ การกระทำดังกล่าว ถือว่าเป็นความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กำหนดสเปคที่เกื้อหนุนพวกพ้อง ขณะที่ผู้เสนอสินค้ารายอื่นไม่ทราบ ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณข้าราชการ เป็นการ เลือกปฏิบัติและใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์ให้แก่พวกพ้องให้ได้เปรียบ ในการแข่งขันหรือได้รับชัยชนะในการประมูลงานของหลวง ซึ่งหากได้ดำเนินด้วย ความโปร่งใส ราชการจะใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่ากว่า
การให้หรือรับของขวัญและผลประโยชน์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องการให้หรือรับของขวัญและผลประโยชน์ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 ) มาตรา 103 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด บัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของ ผู้อื่น ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดยอนุโลม โทษ จำคุกไม่เกิน3ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 122)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องการให้หรือรับของขวัญและผลประโยชน์ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้ 1.รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสม ตามฐานานุรูป 2.รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติ ราคาหรือมูลค่าใน การรับ จากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท 3.รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคล ทั่วไป
กฎหมายที่เกี่ยวข้องการให้หรือรับของขวัญและผลประโยชน์ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2544 ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัว ของผู้บังคับบัญชานอกเหนือจากกรณีปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญแก่กัน มิได้ การให้ของขวัญตามปกติประเพณีนิยมตามวรรคหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ ของขวัญที่มีราคาหรือมูลค่าเกินจำนวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติกำหนดไว้ สำหรับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย ธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตมิได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการเรี่ยไรเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดหรือใช้เงินสวัสดิการ ใดๆ เพื่อมอบให้หรือจัดหาของขวัญให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของ ผู้บังคับบัญชาไม่ว่ากรณีใดๆมิได้ ข้อ 7 ผู้บังคับบัญชาจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตน รับของขวัญจากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชามิได้ เว้นแต่เป็นการรับ ของขวัญตามข้อ 5
กฎหมายที่เกี่ยวข้องการให้หรือรับของขวัญและผลประโยชน์ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” หมายความว่า การรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติหรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่าง ๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ ปฏิบัติกันในสังคม “ประโยชน์อื่นใด” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การรับ ความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน "ปกติประเพณีนิยม" หมายความว่า เทศกาลหรือวันสำคัญซึ่งอาจมีการให้ ของขวัญกัน และให้หมายความรวมถึงโอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันใน สังคมด้วย
มีความจำเป็นต้องรับเพื่อรักษาไมตรี ? 1.แจ้งผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการให้วินิจฉัย 2.มีเหตุผลสมควร ให้รับไว้ 3.ไม่มีเหตุผลสมควร ให้ส่งคืน หากส่งคืนไม่ได้ ต้องมอบให้ส่วนราชการ
1.ควรรับหรือไม่ ? 2.ต้องรายงานหรือไม่ ? 3.หากฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร ?
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน “ความขัดแย้ง ระหว่าง บทบาท” (Conflict of roles) หมายความว่าบุคคลดำรง ตำแหน่ง ที่มีบทบาทสองบทบาทขัดแย้งกัน เช่น นายสมชายเป็นกรรมการสอบ คัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน โดยที่บุตรสาวของสมชายเป็นผู้สมัครสอบคนหนึ่งด้วย ซึ่งใน กรณีนี้ถือว่าเกิด “การดำรงตำแหน่งอันหมิ่นเหม่ต่อการเกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน” แต่ในกรณีนี้ถือว่ายังมิได้นำไปสู่การกระทำความผิดแต่ประการใด (เช่น การสอบคัดเลือกบุคคลยังมิได้เกิดขึ้นจริง หรือมีการสอบเกิดขึ้นแล้วแต่ นายสมชาย สามารถวางตัวเป็นกลางมิได้ช่วยเหลือบุตรสาวของตนแต่ประการใด เป็น ต้น) ถ้าเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน จะต้องถอนตัวออกอย่างสมบูรณ์จากการเป็นผู้มี ส่วนในการตัดสินใจ งดแสดง ความคิดเห็น ละเว้นจากการให้คำปรึกษา และงดออก เสียง (Recusal) (เช่น ในกรณีที่สมชายเป็นกรรมการสอบคัดเลือกบุคลากร เข้าทำงานโดยมี บุตรสาวของตนสมัครเข้าร่วมสอบคัดเลือกด้วยนั้น ซึ่งในสถานการณ์ เช่นนี้ สมชาย จะต้องลาออกจากการเป็นกรรมการสอบคัดเลือก เพื่อเป็นการถอนตัวออกจากการ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ อันหมิ่นเหม่ต่อผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างสูง)
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน มาตรการของรัฐในการป้องกันความขัดแย้งกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม 1. กำหนดคุณสมบัติพึงประสงค์และคุณสมบัติต้องห้ามของรัฐ 2. การเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สิน หนี้สิน และธุรกิจครอบครัวต่อ สาธารณะ 3. การกำหนดข้อพึงปฏิบัติ (Code of Conduct)
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ตัวอย่างข้อไม่พึงปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่พึงรับของตอบแทน ที่เป็นเงินและไม่ใช่ตัวเงินที่มูลค่าสูง เกินความเหมาะสมและได้มาโดยมิชอบ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่พึงตัดสินใจในหน้าที่การทำงาน โดยมีเรื่องของการเงิน และการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของข้าราชการเพื่อ ออกกฎหมายหรือกระทำอื่นใดที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่พึงทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ หลังพ้น ตำแหน่งราชการ เป็นการป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการนำข้อมูลลับ ภายในหน่วยงานราชการที่ทราบไปใช้ประโยชน์หลังออกจากตำแหน่งแล้ว และป้องกันการใช้สิทธิพิเศษในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ ในฐานะที่ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยงานราชการมาแล้ว
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน หลักการ 4 ประการสำหรับการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน 1. ป้องกันผลประโยชน์สาธารณะ 2. สนับสนุนความโปร่งใสและความพร้อมรับผิด 3. ส่งเสริมความรับผิดชอบส่วนบุคคลและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง 4. สร้างวัฒนธรรมองค์กร แนวทางการบริหารเพื่อป้องกัน ผลประโยชน์ทับซ้อน
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน กรอบการทำงาน มี 6 ขั้นตอน 1.ระบุว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนแบบใดบ้างที่มักเกิดขึ้นในองค์กร 2. พัฒนานโยบายที่เหมาะสม รวมถึงกลยุทธ์การจัดการและแก้ไข ปัญหา 3. ให้การศึกษาแก่เจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับต่าง ๆ รวมถึง เผยแพร่นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ ทับซ้อนให้ทั่วถึงใน องค์กร 4. ดำเนินการเป็นแบบอย่าง 5. สื่อสารให้ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้รับบริการ ผู้สนับสนุนองค์กร และ ชุมชนทราบถึงความมุ่งมั่นในการ จัดการเพื่อป้องกันผลประโยชน์ ทับซ้อน 6. บังคับใช้นโยบายและทบทวนนโยบายสม่ำเสมอ
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน รายละเอียดในการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารเพื่อป้องกัน ผลประโยชน์ทับซ้อน 1. การระบุผลประโยชน์ทับซ้อน 2. พัฒนากลยุทธ์และตอบสนองอย่างเหมาะสม 3. ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และหัวหน้างานระดับสูง 4. ดำเนินการเป็นแบบอย่าง 5. สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย 6. การบังคับใช้และทบทวนนโยบาย
ช่องทางและขั้นตอนการดำเนินการต่อข้อร้องเรียน
ช่องทางการร้องเรียน ส่งข้อร้องเรียนหรือร้องเรียนด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ ต่อต้านการทุจริต 563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสออำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี 11000 ร้องเรียนผ่านทางเว็บไซต์ www.moc.go.th ร้องเรียนผ่านทางอีเมล์ : anti_corruption@moc.go.th ร้องเรียนผ่านทางสายด่วน 1203 ร้องเรียนผ่านทางโทรสาร (02) 507 6217
การดำเนินการตาม ข้อร้องเรียนได้ข้อ ยุติ ช่องทางและขั้นตอนการดำเนินการต่อข้อร้องเรียน การทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ สำเนาแจ้งข้อ ร้องเรียน ภายใน 15 วันทำการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รับข้อร้องเรียน ข้อร้องเรียน หน่วยงานที่ถูก ร้องเรียน รับข้อร้องเรียนเอง โดยตรง พิจารณาจำแนกเรื่องเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่ถูกร้องเรียน แจ้งผลการ ดำเนินการ เบื้องต้นให้ผู้ ร้องเรียน ทราบ การดำเนินการตาม ข้อร้องเรียนได้ข้อ ยุติ แจ้งผลให้ ผู้ร้องเรียน ทราบ ศปท. เร่งรัด และ ติดตา มข้อ ร้องเรี ยนจน ได้ข้อ ยุติ ภายใน 3 วัน ทำการ สำเนาแจ้ง ภายใน 15 วันทำการ