ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี การใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาล ผู้ที่มีภาวะเศร้าโศก (Grief) สูญเสีย (Loss) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี
หัวข้อเนื้อหา ความหมายของภาวะเศร้าโศก สูญเสีย อาการสำคัญของบุคคลที่มีภาวะเศร้าโศก สูญเสีย สาเหตุ ปัจจัยและกลไกการเกิด ภาวะเศร้าโศก สูญเสีย กระบวนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะเศร้าโศก สูญเสีย
ความหมายของภาวะเศร้าโศก (Grief) ภาวะเศร้าโศก หมายถึง ความรู้สึกเสียใจที่เกิดขึ้น เมื่อคาดว่าจะมีการสูญเสีย (loss) หรือรับรู้ว่าตนเองสูญเสียเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายมีการตอบสนองทั้งร่างกายและอารมณ์ (ฉวีวรรณ สัตยธรรม, 2554: Videbeck, 2014) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากความคิด อารมณ์และความรู้สึก เกิดขึ้นทุกช่วงของพัฒนาการของบุคคล ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น การที่ของเล่นหาย และเมื่อเติบโตมาต้องแยกทางจากคนรัก หรือ แยกจากครอบครัว ประสบการณ์เหล่านี้เป็นการสูญเสียที่ก่อให้เกิดอารมณ์เศร้าโศกได้ทั้งสิ้น (Videbeck, 2014)
ความหมายของความรู้สึกสูญเสีย (Loss)
ประเภทของการสูญเสียที่ก่อให้เกิดอาการเศร้าโศก ชนิด หรือ ประเภทของการสูญเสียที่ก่อให้เกิดอาการเศร้าโศก สามารถแบ่งได้ตามลักษณะได้ดังนี้ (Videbeck, 2014) 1) การสูญเสียด้านร่างกาย อาทิเช่น สูญเสียแขน หรือขา หรืออวัยวะ จากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย 2) การสูญเสียความรู้สึกปลอดภัยจากการสูญเสียสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ระหว่างคนรัก 3) สูญเสียความมีคุณค่าในตนเอง ซึ่งเกิดจากการรับรู้ตนเองว่าไม่มีคุณค่า ไม่มีความสามารถ
ระดับความรุนแรงของการสูญเสีย ระดับความรุนแรงของการสูญเสียและรูปแบบการแสดงออกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การให้คุณค่า และการให้ความสำคัญต่อสิ่งที่สูญเสีย และรูปแบบการแสดงออกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การให้คุณค่า และการให้ความสำคัญต่อสิ่งที่สูญเสียเพราะความรู้สึกผูกพันทางจิตใจส่งผลต่อความรู้สึกรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับประสบการณ์การเรียนรู้การเผชิญความสูญเสียที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
อาการสำคัญของบุคคลที่มีภาวะเศร้าโศก อาการเศร้าโศก (Grief) มีอาการหลักคล้ายอาการของภาวะซึมเศร้า ได้แก่ หงุดหงิด เบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคมเก็บตัว มีแบบแผนการนอนหลับผิดปกติ มีอาการเบื่ออาหาร นอกจากนี้ในบางรายยังมีอาการรู้สึกผิดในใจ รู้สึกโกรธ รวมถึง ยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับการสูญเสียไม่ได้ ซึ่งสามารถจำแนกได้ว่าเป็นอาการสูญเสียและเศร้าโศก ไม่ใช่อาการซึมเศร้าจากระยะเวลาที่มีอาการ คือ มีอาการน้อยกว่า 2 เดือน รวมถึงไม่มีอาการคิดหมกมุ่นฆ่าตัวตาย คิดหมกมุ่นว่าตนเองไร้ค่า หรือมีความบกพร่องในการทำบทบาทหน้าที่ (ธนิตา หิรัญเทพ และ ธนา นิลชัยโกวิทย์, 2555)
ความโศกเศร้าแสดงออกตามระยะ ระยะช็อก ระยะช็อกเป็นระยะแรกภายหลังเกิดเหตุการณ์บุคคลจะแสดงออกโดยการปฏิเสธความจริง รวมทั้งมีอาการชินชา ร้องไห้คร่ำครวญ รู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง ระยะรู้สึกไม่สบายใจและแยกตัวออกจากสังคม ระยะนี้มีอาการที่แสดงออกทางกายและจิตใจ เช่น คอตีบตัน หายใจไม่ออก ถอนหายใจ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตึงเครียดรู้สึกปวดร้าวในใจ ครุ่นคิดถึงบุคคลที่สูญเสียไป รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ กระวนกระวายขาดแรงจูงใจในการกระทำใดๆ อาการทั้งหมดจะอยู่นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ซึ่งค่อยๆ ลดน้อยลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเป็นปกติ ระยะนี้จะเข้าใจความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความเศร้าโศกเสียใจจะสิ้นสุดลง เปลี่ยนความสนใจมาอยู่กับความรับผิดชอบของตนเอง แสวงหาความสุขและคนที่ตนเองรัก
อาการสำคัญและปฏิกิริยาของบุคคลที่สูญเสีย (Loss) ระยะเฉียบพลัน ระยะเฉียบพลันเป็นระยะแรกภายหลังจากบุคคลรับรู้การสูญเสีย มักอยู่ในช่วง 4-8 สัปดาห์แรก ในระยะนี้บุคคลจะยังไม่สามารถยอมรับการสูญเสียได้ มักจะเริ่มด้วยอาการตกตะลึง ตกใจ มีอาการตัวชา ไม่เชื่อ การปฏิเสธจะช่วยลดความเจ็บปวด การปฏิเสธจะเกิดในช่วง 2-3 ชั่วโมง หรืออาจเป็นวันในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามหากบุคคลมีการปฏิเสธนานเป็นเดือนอาจมีความผิดปกติทางจิตใจ
อาการสำคัญและปฏิกิริยาของบุคคลที่สูญเสีย (Loss) ระยะเผชิญกับการสูญเสีย ระยะนี้เป็นระยะภายหลังเผชิญกับช่วงวิกฤตไปแล้ว เป็นระยะเผชิญความสูญเสียโดยปกติกระบวนการทุกข์โศกจะเกิดขึ้นภายในใจโดยใช้เวลาช่วงนี้ประมาณ 1-2 ปี อาการที่อาจพบได้ในระยะนี้คือ มีความรู้สึกหายใจขัด ลำคอตีบตีน อ่อนแรง ตัวชา หน้ามืด คอแห้ง คลื่นไส้ การรับประทานอาหารผิดปกติ มีความคิดหมกมุ่นอยู่กับของที่เป็นสัญลักษณ์และเป็นตัวแทน เช่น รูปถ่าย เสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ ระยะนี้บุคคลมักแยกตัว รู้สึกหดหู่ หงอยเหงา ว้าเหว่ บางรายรู้สึกเจ็บปวดทรมานมาก กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รู้สึกตนเองไร้คุณค่า ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบในช่วง 20-60 วันแรก เมื่อบุคคลยอมรับความสูญเสียได้ ปรับตัวเข้าหาความจริง กลับคืนสู่การใช้ชีวิตปกติ
สาเหตุการเกิดภาวะเศร้าโศก สูญเสีย สาเหตุการเกิดภาวะเศร้าโศกเกิดจากการคาดการณ์ว่าจะเกิดการสูญเสีย และเกิดสูญเสีย การสูญเสียที่พบได้บ่อยในระบบสุขภาพ คือ การสูญเสียอวัยวะและการเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก ความเศร้าโศกจากการคาดการณ์ว่าจะเกิดการสูญเสีย เรียกว่า “ Anticipatory grief” เกิดขึ้นจากการที่บุคคลประสบกับกระบวนการสูญเสียหรือการตายที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ จากความเจ็บป่วย หรือการเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งการสูญเสียประเภทนี้ทำให้มีการลดน้อยลงของปฏิกิริยาต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงในเวลาต่อมา
สาเหตุการเกิดภาวะเศร้าโศก สูญเสีย การเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสียหรือการตายผิดปกติ เรียกว่า “Complicated bereavement”เป็นความเศร้าโศกที่มีผลรบกวนต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง ซึ่งสาเหตุของการสูญเสียประเภทนี้เกิดจากเหตุการณ์ที่กะทันหัน ไม่คาดคิด อาการที่พบบ่อยคือ อาการขมขื่น ยึดถือกับภาพของบุคคลที่สูญเสียมักพบในสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น (ธนิตา หิรัญเทพ และ ธนา นิลชัยโกวิทย์, 2555)
กระบวนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก การประเมินภาวะสุขภาพ พยาบาลจะประเมินถึงปฏิกิริยาการแสดงออก ซึ่งแต่ละบุคคลมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไปในแต่ละระยะ ซึ่งในช่วงแรกของการสูญเสียจะพบอาการช็อค ตกใจ ปฏิเสธ โวยวาย ไม่ยอมรับความจริง ร้องไห้ โวยวาย รำพัน อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วยได้แก่ การตัดสินใจไม่ดี ตกใจง่าย ผุดลุกผุดนั่ง และเมื่อผ่านระยะช็อคแล้วเข้าสู่ระยะของการยอมรับจะพบอาการซึมเศร้าจากการสูญเสีย ซึ่งผู้รับบริการจะแสดงอาการหดหู่ ร้องไห้ แยกตัว พูดหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง
กระบวนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก การวินิจฉัยทางการพยาบาล 1) ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล: การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ ภาษาอังกฤษ Nursing diagnosis: Individual coping, Ineffective 2) ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล: เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง ภาษาอังกฤษ Nursing diagnosis: Risk for violence: Self directed
กระบวนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก การวางแผนการพยาบาลตามความสำคัญของปัญหาทางการพยาบาล พยาบาลจะต้องวางแผนโดยมีการกำหนดเป้าหมายตามระยะของการสูญเสีย เพื่อให้บุคคลสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาและจัดการกับอารมณ์โกรธของตนเองได้ และเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการได้ตรงตามระยะ เป้าหมายทางการพยาบาลระยะสั้นพยาบาลควรเน้นเรื่องของการป้องกันการทำร้ายตนเอง ให้ความช่วยเหลือประคับประคองในระยะแรก โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยเสียใจจนขาดสติ เน้นการระบายความในใจ การเผชิญปัญหา ฝึกทักษะการเผชิญปัญหา เป้าหมายทางการพยาบาลระยะยาว พยาบาลควรเน้นเรื่องของการทำความเข้าใจกับปัญหา การสร้างคุณค่าในตนเอง และการตั้งเป้าหมายในชีวิต
กระบวนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก กิจกรรมพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเศร้าโศก สูญเสีย การวางแผนการพยาบาลผู้ที่มีความเศร้าโศกมีเป้าหมายหลักคือพยายามให้บุคคลได้มีการระบายออกและประคับประคองอารมณ์เศร้าให้ลดลง เพื่อเตรียมรับความจริงและกลับเข้าสู่สังคมโดยเร็ว (ฉวีวรรณ สัตยธรรม, 2554) กิจกรรมการพยาบาลจะมีเป้าหมายในระยะสั้นให้ความช่วยเหลือประคับประคองให้ผู้รับบริการคลายความทุกข์โศกลงไปกิจกรรมการพยาบาลในการส่งเสริมให้ลดความเศร้า และเสริมสร้างกำลังใจ(เอกสารประกอบการสอนหน้า 10)
กระบวนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก การประเมินผลจากเป้าหมายระยะสั้น ประเมินจากการสังเกต การใช้คำถามเพื่อประเมินอาการ ประเมินจากท่าทางการแสดงออกการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประเมินการปรับตัวต่อการสูญเสีย การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและที่สำคัญคือการประเมินความคิดทำร้ายตนเองว่ามีอยู่หรือไม่ การประเมินผลจากเป้าหมายระยะยาว ประเมินเป้าหมายระยะยาว พยาบาลควรประเมินความเข้าใจกับปัญหาของผู้รับบริการ ประเมินการมองตนเองและแนวทางการสร้างคุณค่าในตนเอง รวมถึงแนวทางการตั้งเป้าหมายในชีวิตของบุคคล
คำถามทบทวน จงอธิบายความหมายของอาการเศร้าโศก จงอธิบายความหมายของความรู้สึกสูญเสีย ลักษณะของการเศร้าโศกสามารถแยกจากภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร ความโศกเศร้าเสียใจของบุคคลจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาซึ่งทำให้บุคคลแสดงออกตามระยะอย่างไรจงอธิบายพอสังเขป ในระยะช็อกของการเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลจะแสดงออกอย่างไร จงยกตัวอย่างเครื่องมือในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในบุคคลที่นิยมใช้ในประเทศไทย จงยกตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในผู้ที่มีภาวะเศร้าโศกสูญเสีย
เอกสารอ้างอิง กรมสุขภาพจิต(2556) จำนวนและอัตราผู้ป่วยสุขภาพจิตปี 55 http://www.dmh.go.th/report /report1.asp. จิราพร รักการ (2554) เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลจิตเวช. ฉวีวรรณ สัตยธรรม. (2554). ประเด็นปัญหาด้านจิตสังคมและการช่วยเหลือ. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. เยาวลักษณ์ มหาสิทธิวัฒน์ (2556). การดูแลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตสังคม ใน ฉวีวรรณ สัตยธรรม,แผ จันทร์สุขและศุกร์ใจ เจริญสุข (บรรณาธิการ). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 1. ธนาเพรส จำกัด. ธนิตา หิรัญเทพ และ ธนา นิลชัยโกวิทย์ (2555). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและการสูญเสีย ใน มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์ (บรรณาธิการ). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. นพพร ว่องสิริมาศและคณะ (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าในมารดา เพศ และ ภาวะ ซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย. http://www.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=5007 พิชัย อิฏฐสกุล (2555). โรคอารมณ์ผิดปกติใน มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์ (บรรณาธิการ). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. สมภพ เรืองตระกูล (2548). ความเศร้าโศกเสียใจ. ตำราจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). โรงพิมพ์ เรือนแก้วการพิมพ์. กรุงเทพ. Boyd, M. A. (2012). Psychiatric nursing: Contemporary practice (5th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams . Pryjmachuk, S. (2011). Mental Health Nursing : An Evidence-Based Introduction. London: Sage Publication Ltd. Shives, L. R. (2012). Basic concepts of psychiatric-mental health nursing (8th ed.) Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health | Lippincott Williams & Wilkins. Varcarolis, M.E.(2013). Caring for patients experiencing psychiatric emergency. Essentials of psychiatric mental health nursing a communication approach to evidence-based care. Saunders, an imprint of Elsevier Inc. Videbeck, S.L. (2014). Grief and loss. Psychiatric-mental health nursing (6th ed.)