ภาพพจน์ วิชาการเขียน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
Advertisements

การเขียนโครงร่างวิจัย
ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร.
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
เทคนิคการเขียนข่าว การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์เบื้องต้น มีโครงสร้างการเขียนข่าว ประกอบด้วย 1.พาดหัวข่าว (Headline) 2.ความนำ (Lead) 3.ส่วนเชื่อม (Neck/Bridge)
Mind Mapping อ. พิมพ์ชนก หาคำ 23 เมษายน 2556.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
โดย.....นายมานะ ครุธาโรจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลมณีราษฎร์คณาลัย ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต”
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
อยากให้เธออยู่ตรงนี้
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน้าที่ของประโยค. ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนา ของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้
หน้าที่ของประโยค. ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนา ของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้
Content Team: คู่มือการป้องกันสินค้าลอกเลียนแบบ 9 July 2015
ลายผ้าของแม่ โดย มัณฑนา สันติคุณากร.
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
ระดับความเสี่ยง (QQR)
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
โดย ครูสมจินตนา เทียมวิไล
พื้นฐานการออกแบบ กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมาย ด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรง.
สถานการณ์การเมืองของไทย
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
มงคลชีวิต อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา
เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
ความหมายของเรียงความ
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
เงื่อนไขความเข้าใจความหมาย
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
ระเบียบวิธีการศึกษาคติชนวิทยา
บทที่ ๑ การพูดและการนำสนอเพื่องานนิเทศศาสตร์
การออกแบบและนำเสนอบทเรียน
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
ค่ารูรับแสง - F/Stop ค่ารูรับแสงที่มีค่าตัวเลขต่ำใกล้เคียง 1 มากเท่าไหร่ ค่าของรูรับแสงนั้นก็ยิ่งมีความกว้างมาก เพราะเราเปรียบเทียบค่าความสว่างที่ 1:1.
มัคคุเทศก์เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในฐานะเป็นผู้เชื่อมโยง ความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นระหว่างนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวหรือสิ่งที่เขาสนใจ.
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
เล่าเรื่องอย่างผู้นำ Coaching by story
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
หลักการเขียนข่าว เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
เครื่องขุดหลุมปลูกยาสูบ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ภาพพจน์ วิชาการเขียน

ความหมายของภาพพจน์ พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม: ภาพพจน์ โวหาร และ กลการประพันธ์ กล่าวถึง “ภาพพจน์” ไว้ว่า “สำนวน ภาษารูปแบบหนึ่ง เกิดจากการเรียบเรียงถ้อยคำด้วย วิธีการต่างๆ ให้ผิดแผกไปจากการเรียงลำดับคำหรือ ความหมายของคำตามปรกติ เพื่อให้เกิดภาพหรือให้มี ความหมายพิเศษ”

ความหมายของภาพพจน์ ดวงมน จิตร์จำนง กล่าวถึงความเปรียบ (image หรือ figures of speech) ว่า “คือ ลักษณะต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ จงใจสร้างขึ้นให้ผิดแผกจากโครงสร้าง ความหมาย หรือ การเรียงลำดับของภาษาโดยปกติ จุดประสงค์ของการใช้ ความเปรียบคือการให้พลังและความสดใหม่แก่การ แสดงออก และเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการสร้าง จินตภาพ

ความหมายของภาพพจน์ สรุปได้ว่า ภาพพจน์ หมายถึง การเรียบเรียงข้อความ อย่างมีศิลปะด้วยการเลือกสรรถ้อยคำ สำนวนโวหาร เพื่อถ่ายทอดความคิด อารมณ์ และจินตนาการของ ผู้เขียนไปกระทบใจผู้อ่านจนทำให้เกิดภาพ หรือ จินตนาการขึ้นในใจ

ประเภทของภาพพจน์ ๑. อุปมา (simile) เป็นการเปรียบเทียบว่าของสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่ง หนึ่ง เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งมักเป็นการเปรียบเทียบกับสิ่งที่ รู้จัก เพื่อให้เห็นภาพของสิ่งนั้น การเปรียบเทียบแบบอุปมามักจะปรากฏคำเชื่อมว่า เหมือน ราวกับ ดุจ ดัง ประดุจ ประดุจดัง เพียง คล้าย เฉก เช่นเดียวกับ ฯลฯ

ตัวอย่าง การใช้ภาพพจน์ อุปมา นางนั้นมีหน้าเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ มีผมดังเมฆสีนิล โลหิตซึ่งอุ้มฝนห้อยย้อยอยู่ในฟ้า มีผิวซึ่งเย้ยดอกมะลิให้ได้ อาย มีตาเหมือนเนื้อทรายซึ่งระแวงภัย ริมฝีปากเหมือนดอก ทับทิม (คัดจาก นิทานเวตาล พระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ)

ประเภทของภาพพจน์ ๒. อุปลักษณ์ (metaphor) เป็นการเปรียบเพื่อแสดงลักษณะ หรือภาพรวมของสิ่งใดสิ่ง หนึ่งโดยกล่าวถึงอีกสิ่งหนึ่งแทน มักจะปรากฏคำว่า เป็น หรือคำว่า คือ ผู้อ่านจินตนาการได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าการใช้อุปมา ก. เขากินเหมือนหมู (อุปมา) เปรียบเฉพาะท่าทางการกิน อย่างเดียว ข. เขาจะเป็นหมูอยู่แล้ว (อุปลักษณ์) นอกจากผู้อ่านจะได้ ภาพอาการกินเหมือนหมูแล้ว ผู้อ่านยังจินตนาการได้มากกว่านั้น เช่น ความอ้วน การเดินต้วมเตี้ยม ขาสั้นของหมู ฯลฯ

ตัวอย่าง การใช้ภาพพจน์ อุปลักษณ์ ลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจพ่อแม่ เธอคือแสงสว่างในชีวิตของฉัน นอกจากคำว่า เป็น และ คือ แล้ว อุปลักษณ์ยังอาจใช้คำ หรือ ความที่ต้องการเปรียบเทียบแทนได้ เช่น ดวงตาสวรรค์ส่องแสงระยิบระยับในท้องฟ้า ดวงตาสวรรค์ หมายถึง ดวงดาว

ประเภทของภาพพจน์ ๓. บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต (personification) เป็นการสมมติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่คน เช่น เมฆ น้ำ ต้นไม้ ฯลฯ แสดงกิริยาอาการ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ได้เหมือนคน เช่น เมฆคร่ำครวญ แม่น้ำยิ้มเยาะ ต้นไม้เหงา ตัวอย่าง เนื่องจากฉันมีโอ่งเพียงไม่กี่ใบ ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักทีไร โอ่งที่ บ้านฉันเป็นต้องสำลักน้ำทุกที พระอาทิตย์โบกมืออำลาฉันด้วยท่าทางรีบร้อน ในขณะที่ดวง จันทร์วันเพ็ญค่อยๆ กรีดกรายมาโดดเด่นอยู่บนท้องฟ้าสีคราม

ประเภทของภาพพจน์ ๔. อติพจน์ (hyperbole) เป็นการเปรียบเทียบที่เกินจริง เพื่อให้เห็นถึงความไม่น่าจะ เป็นไปได้ของสิ่งที่กล่าวถึง หรือเกินความหมายที่ต้องการจะกล่าว เพื่อตอกย้ำหรือเน้นอารมณ์ ความรู้สึก ตัวอย่าง แสงศรค้นหาคนรักแทบพลิกแผ่นดิน ฉันจะสอยดาวและเดือนมาเป็นเพื่อนเธอยามเหงา

ประเภทของภาพพจน์ ๕. สัญลักษณ์ (symbol) เป็นการใช้คำแทนสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม และ คำแทนนั้นมักจะเป็นสากลที่ผู้อ่านผู้ฟังทราบความหมายกัน แล้ว ตัวอย่าง วิทยาให้กุหลาบแดงแก่ฉันในวันแห่งความรัก ตามปรกติดอกไม้กับแมลงย่อมอยู่ใกล้ชิดกันไม่ได้

ประเภทของภาพพจน์ ๖. อาวัตพากย์ (synesthesia) เป็นการใช้คำขยาย หรือคำแสดงผลสัมผัสที่ผิดไปจาก ธรรมดาที่ควรใช้หรือควรจะเป็น ตัวอย่าง วันนี้เจ้านายอารมณ์บูดตั้งแต่เช้า (บูด เป็นคำขยายอาหารที่เสียแล้ว และสัมผัสได้ด้วยลิ้น แต่ในที่นี้ใช้คำว่า บูด ขยายอารมณ์ซึ่งควรสัมผัสได้ด้วยใจ) พูดถึง F ทีไร ใจฉันเหี่ยวทุกที

ประเภทของภาพพจน์ ๗. ปฏิปุจฉา (rhetorical question) เป็นการตั้งคำถามโดยมิได้ต้องการคำตอบ เพราะ ผู้เขียนหรือผู้ฟังทราบคำตอบอยู่แล้ว ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ย้ำเน้นข้อความให้มีน้ำหนักดึงดูดความสนใจและให้ข้อคิด ตัวอย่าง ใครหนอรักเราเท่าชีวัน ใครหนอ ใครกันให้เราขี่คอ รู้ แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ ใครใครก็ไม่รักผม ขนาดพัดลมยังส่ายหน้าเลย

ประเภทของภาพพจน์ ๘. สัทพจน์ (onomatopoeia) เป็นการถ่ายทอดเสียงหรือเลียนเสียงที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เสียงน้ำไหล เสียง ร้องไห้ ฯลฯ เพื่อเพิ่มอารมณ์และจินตนาการแก่ผู้อ่านผู้ฟัง ตัวอย่าง แม่ปริก รีบไปในห้องเร็วๆ เสียงคุณหนูร้อง อุแว้ อุแว้ ดังลั่นแล้ว ปิดน้ำหรือยัง ทำไมแม่ยังได้ยินเสียงดังจ๊อก จ๊อก อยู่

ประเภทของภาพพจน์ ๙. การซ้ำคำ (reduplication) เป็นการนำคำที่มีเสียงเหมือนกัน มีความหมาย เหมือนกัน หรือต่างกันมาใกล้ๆ กัน เพื่อให้ได้ความหมายที่ ชัดเจน และหนักแน่นมากขึ้น ตัวอย่าง ตอนนี้ข้าวขึ้นราคา แกงขึ้นราคา เสื้อผ้าขึ้นราคา แต่สิ่ง เดียวที่ไม่ขึ้นราคา ก็คือ เงินเดือน เมียมีเมียพี่ต้องมา ที่เมียไม่มาก็เพราะว่าเมียไม่มี

แบบฝึกหัด จงเขียนงานสร้างสรรค์จากภาพต่อไปนี้ โดย เลือกใช้ภาพพจน์อย่างน้อย ๔ ภาพพจน์ พร้อมทั้งตั้งชื่อเรื่องและขีดเส้นใต้ส่วนที่เป็น ภาพพจน์ด้วย