การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ของนิสิต/นักศึกษาตามกรอบมาตรฐาน TQF

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน
Advertisements

Supreeya Wongtra-ngan,MD.,MHPEd. CLINICAL COMPETENCIES  Factual Knowledge  Technical Skill  Problem Solving Skill  Communication Skill  Manners &
Mind map (From Wikipedia, the free encyclopedia)
What is MEQ Workshop on “MEQ Examination for Preclinical Years”
การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยและความสำคัญของ Learning Outcome Assessment
Orientation for undergraduate students in Food Engineering Food Engineering Program Department of Food Science and Technology Food Engineering – a hot.
Introduction to TKT Test
แนวการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ บรรยายในโครงการสัมมนาพัฒนาหลักสูตรคณะศึกษาศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์
ผู้จัดการโครงงาน และ คณะทำงานโครงงาน The Project Manager and The Project Team Information System Project Management Date 27 June 2008 Time
Establishing a Culture of Achievement: Multiliteracies in the ELT Classroom Session #2: 27 July 2012.
Thai youth in Agriculture Sector Situation: The average age of farmers in Thailand who is also living in agriculture increased. Agricultural sector is.
ธีรนารถ Jan Experiences in GMP Inspection in WHO Vaccine Prequalification Scheme ธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Practice File. Our Executive Coaching Program is proven effective. Our customer survey show ROI of coaching can be as high as 3 times the investment value.
การประเมินผลระหว่างเรียนที่ ส่งเสริมการสอนของครูและ การเรียนรู้ของนักเรียนใน ศตวรรษที่ 21.
ารวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา
สื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ชุดฝึกเขียนสรุป (Writing Summary)
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน
การพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐
Prof.Emeritus Dr.ANURAK PANYANUWAT CAMT, CHIANG MAI UNIVERSITY
รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายการอ้างอิง ในการเขียนบทความ การทำรายงาน ค้นคว้า วิจัย อาจต้องมีการอ้างอิงงานของผู้เขียนท่านอื่น จึงจำเป็นที่จะต้องแสดงความเคารพต่อเจ้าของความคิด เจ้าของผลงานเดิมด้วย.
การออกแบบอีเลิร์นนิง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
Multimedia Production
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย (Instrument)
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
PCT / ระบบสำคัญ : ใช้ Cycle of Learning ในการหมุน PDSA
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Generic View of Process
นวัตกรรมการบริการสารสนเทศ ในยุคประเทศไทย 4.0
รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
หลักการและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพ
การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชา “
การบริหารผลการปฏิบัติงาน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
Comprehensive School Safety
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
Review of the Literature)
โดย ดร.ปราณี คงพิกุล ผอ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
Scholarships Chayooth Theeravithayangkura
การวัดและประเมินผลการศึกษา
สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ.
ดร.ภาสกร พงษ์สิทธากร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เทคนิคการเขียนข้อสอบ
มโนทัศน์การจัดการศึกษา แห่งอนาคตใหม่
การดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
แล้วไงเกี่ยวกับความจริง What About Truth?
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
Medical Communication/Counseling Training for the “Trainers” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ธันวาคม 2558.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหา (Problem Analysis)
กลยุทธ์การทดสอบซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ของนิสิต/นักศึกษาตามกรอบมาตรฐาน TQF รศ.ดร. องอาจ นัยพัฒน์ ภาควิชา การวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 คณะครุศาสตร์ สถาบันพัฒนศิลป

หัวข้อการบรรยาย ทำไมต้องวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาตาม TQF นิยามคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้อง การวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา: ความหมาย แนวคิดและหลักการ กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ กรอบแนวคิดการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในรายวิชาและหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน TQF การวางแผน การลงมือวัดประเมิน (รวบรวมข้อมูลสารสนเทศและตัดสินคุณค่า) การรายงานผลการวัดประเมิน แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังใน TQF การวัดประเมินด้านจิตพิสัย: คุณธรรมจริยธรรม การวัดประเมินด้านด้านพุทธิพิสัยและทักษะพิสัย: ความรู้และทักษะทางปัญญา การวัดประเมินด้านจิตพิสัย: ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ ICT สรุปสาระสำคัญ และตอบคำถามและอภิปราย

ข้อคิด คำคม “การสร้างความเข็มแข็งในการจัดการศึกษาอยู่ที่การวัดและการ ประเมินผลที่มีคุณภาพ และคุณธรรม” ศ. เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย (องคมนตรี) “เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กจะได้รับการศึกษาทั้งโอกาสและคุณภาพ จึง ต้องมีระบบการทดสอบและการประเมินเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา” ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) “การสอบจะกำกับพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน และการสอนของครู” ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) จาก: บทบาทและทิศทางการทดสอบและประเมินระดับชาติต่อคุณภาพการศึกษาไทย-เอกสารครบรอบ 9 ปีของการจัดตั้ง สทศ (3/9/2557)

ทำไมต้องวัดประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาตาม TQF 1. เพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่สังคมไทยและสากลใน คุณภาพและมาตรฐานของคุณวุฒิที่บัณฑิตไทย ได้รับ 2. มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของบัณฑิต ที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ให้ สามารถเทียบเคียงกับสถาบันอุดมศึกษาไทยและ ต่างชาติที่มีคุณภาพ 3. ทำให้คุณวุฒิมีความเป็นปรนัย (เข้าใจง่ายและ ชัดเจน) โดยสะท้อนในรูปมาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามารถ (Ability) และคุณลักษณะพึงประสงค์ อื่นๆ (Other characteristics)-KSAOs ที่มุ่งหวังจาก บัณฑิต (ผู้เรียนรู้) สาระสำคัญใน TQF (1) หมวดที่ ๔. ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและ การประเมินผล * ๑. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา * ๒. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน อธิบายผลการเรียนรู้แต่ละด้าน ตามหัวข้อ ต่อไปนี้ (๑) คำอธิบายทั่วๆ ไปเกี่ยวกับความรู้หรือทักษะ ในหลักสูตรที่ต้องการจะพัฒนา (๒) คำอธิบายเกี่ยวกับกลยุทธ์การสอนที่จะใช้ใน รายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรที่จะพัฒนาความรู้และ ทักษะเหล่านั้น (๓) วิธีการวัดและประเมินผลที่จะใช้ในรายวิชา ต่างๆ ในหลักสูตรที่จะประเมินผลการเรียนรู้ใน กลุ่มที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องวัดประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาตาม TQF (ต่อ) หมวดที่ ๕. หลักเกณฑ์ในการ ประเมินผลนักศึกษา * ๒. กระบวนการทวนสอบมาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบ มาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรือ งานที่มอบหมาย กระบวนการอาจจะ ต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานผลการเรียนรู้ แต่ละด้าน คำตอบ: เหตุผลหลักในการวัดประเมิน (1) เพื่อให้มั่นใจว่า การจัดการเรียนรู้ของผู้สอน (อาจารย์) และการเรียนรู้ของผู้เรียน (นิสิต/ นักศึกษา) มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานผลเรียนรู้ที่ กำหนดไว้ (เนื่องจาก TOF มุ่งเน้นมาตรฐานผล การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ) เพื่อเป็นสารสนเทศย้อนกลับ (Feedback) ไป “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน” : ปรับการเรียนรู้ ของผู้เรียน และ เปลี่ยนการสอน (การจัดการ เรียนรู้) ของผู้สอน (รวมทั้งปรับหลักสูตร) เพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง ระหว่างผู้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน (ใน ภาคเรียน/ปีการศึกษาเดียวกันและต่างกัน) และ ต่างสถาบัน (ในประเทศไทยและต่างประเทศ)

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาต่างๆ เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา สกอ. 5 ปี หลักเกณฑ์การเทียบโอน เกณฑ์/แนวทางอื่น ๆ มหาวิทยาลัย วางแผนปรับปรุง + พัฒนา รายละเอียดของหลักสูตร (Program Specification) ติดตาม การดำเนินการ ตาม TQF รายงานประจำภาค และประจำปีการศึกษา (Semester/Annual Program Report) รายละเอียดของรายวิชาและภาคสนาม/ฝึกงาน (ถ้ามี) (Course + Field Experience Specifications) เผยแพร่หลักสูตรที่ดำเนินการได้มาตรฐาน TQF กระบวนการเรียนการสอน (ที่ทำให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) รายงานรายวิชา (Course Reports) วัดประเมินผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังของนิสิต/บัณฑิต Teaching Unit การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม นิสิต/นักศึกษา/บัณฑิตได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (บัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้จ้างงานและสังคม) ที่มา: ปรับปรุงจาก นิภาพรรณ แก่นคง (20 ต.ค. 52)

ข้อควรคำนึง มาตรฐานและปัจจัยเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาตามกรอบ TQF ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ข้อคิดควรคำนึงเกี่ยวกับ TQF TQF เป็นเพียงเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ของบัณฑิต และเป็นกลไกการประกันคุณภาพ หลักสูตรและรายวิชาเพื่อคุณภาพของบัณฑิตที่ พึงประสงค์ TQF เป็นเพียงกรอบมาตรฐานขั้นต่ำของบัณฑิต ในแต่ละระดับคุณวุฒิเท่านั้น ซึ่ง สถาบันอุดมศึกษานำไปกำหนดรายละเอียดให้ สอดคล้องกับเอกลักษณ์บัณฑิตตามปณิธาน ปรัชญา ค่านิยมและอัตลักษณ์ของ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง TQF คือ สิ่งจำเป็นในการประกันคุณภาพของ บัณฑิต แต่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ (วิจารณ์ พานิช : 2552) มาตรฐานการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตาม กรอบ TQF ต้องเที่ยงตรง (Validity) และเชื่อมั่น (Reliability) ได้ ต้องนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ ต้องเหมาะสมตามหลักจริยธรรม และสอดคล้องกับ วัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาและสังคม ต้องมีความเป็นไปได้ภายใต้ข้อจำกัดด้านเวลา/งบประมาณ ปัจจัยเงื่อนไขที่จำเป็นในการวัดประเมิน ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาจะต้องตระหนัก (สนใจ/ ใส่ใจ) ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มี คุณภาพได้มาตรฐานตามกรอบ TQF อย่างแท้จริง อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนจะต้องเอาใจใส่ การดำเนินงานจัดการเรียนการสอนตามกรอบ TQF นิสิต/นักศึกษาจะต้องให้คุณค่าทางภูมิปัญญาการป็น บัณฑิตที่ภาคภูมิใจ (มากกว่าใบปริญญา/คุณวุฒิที่ เป็นหลักฐานการเรียนจบ)

กระบวนการวัดประเมิน (The assessment process) การวัด (Measurement) เช่น การทดสอบ ไม่ใช่การวัด (Non-measurement) เช่น การสังเกต การสอบถามด้วยวาจา และ/หรือ บวก บวก การประเมิน/ตัดสินคุณค่า (Evaluation/Value Judgments) เช่น ปานกลาง ดี ดีเยี่ยม

นิยามคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้อง การวัด (Measurement) คือ การกำหนดตัวเลขเพื่อบ่งชี้ปริมาณคุณสมบัติหรือลักษณะของวัตถุหรือ เหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจตามกฎเกณฑ์บางประการ การประเมินค่า (Evaluation) คือ การตัดสินคุณค่าและมูลค่าของบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจตามการตีความข้อมูลสารสนเทศ (โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศจากการวัดในรูปตัวเลข) ที่ รวบรวมได้ การวัดประเมิน (Assessment) คือ กระบวนการรวบรวมและใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินค่า บุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจ การวัดประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) คือ กระบวนการรวบรวมและประเมิน ค่าบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจบนฐานข้อมูลสารสนเทศในสภาพการณ์จริง (Real life tasks--i.e. writing a letter, presenting a plan) การวัดประเมินในชั้นเรียน (Classroom Assessment) เป็นกระบวนการที่ครูทำการรวบรวมและ ตีความข้อมูล/สารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และทัศนคติ/ ความเชื่อของนิสิต/นักศึกษา แล้วนำผลการตีความดังกล่าวไปใช้ตัดสินใจในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (นิสิต/นักศึกษา) ตามกรอบมาตรฐาน TQF คือ การวัดประเมิน “ผลผลิตสุดท้าย” ของการเรียนรู้ที่อยู่ในรูปผลลัพธ์ (Outcomes) หรือสมรรถนะ (Competence) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ตามกรอบมาตรฐานคุณภาพในการสัมฤทธิ์ผลที่คาดหวังว่าผู้เรียน (นิสิต/นักศึกษา) จะสามารถบรรลุได้

การวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา: ความหมาย แนวคิดและหลักการ กระบวนการรวบรวม วิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับ การเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาจากหลากหลายแหล่งเพื่อความเข้าใจอย่าง ลุ่มลึกว่านิสิต/นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถและทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อะไรได้บ้างอันเป็นผลจากประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ผ่านมา แนวคิดและหลักการ เป็นไปในลักษณะ “การนั่งเคียงข้าง (Sitting beside)” ตามความหมายของคำว่า “assess” หรือ “assidere” ในภาษาละติน ที่แปลว่า “to sit beside” ดำเนินไปด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ มีการวิเคราะห์/วิพากษ์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ผู้ประเมินวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาด้วยความเมตตา/เอื้ออาทร รวมรวมข้อมูลสารสนเทศจากหลากหลายแหล่ง (ไม่เพียงแต่คะแนนการสอบ) มุ่งเน้นวัดประเมินเพื่อการพัฒนา (มากกว่าตรวจสอบ) การเรียนรู้ Huba & Freed (2000)

การวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา: ความหมาย แนวคิดและหลักการ แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดประเมินการเรียนรู้และองค์ประกอบการเรียนรู้อื่นๆ ที่มา: องอาจ นัยพัฒน์. (กำลังพิมพ์)

การวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา: ความหมาย แนวคิดและหลักการ ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการวัดประเมินความก้าวหน้า และการประเมินผลสรุปตัดสินผลสัมฤทธิ์ จาก: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2557, หน้า 40)

กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ ควรเน้นการวัดประเมินตามสภาพจริง ใช้วิธีการกระตุ้น/ท้าทายนิสิต/นักศึกษาให้ปฏิบัติการหรือแสดงออกในสภาพการณ์จริง (Performance in the field) ว่ามีความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และอารมณ์/ความรู้สึก เพียงใด อย่างไร กำหนดโจทย์ ให้ปฏิบัติหรือแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมหรืองานที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่หลากหลาย รวมทั้งสอดคล้องกับลักษณะผลการเรียนรู้ และบริบทที่ต้องการวัดประเมิน มากยิ่งขึ้น ผลการวัดประเมินทำให้ครูมีสารสนเทศเพื่อใช้ตัดสินใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน มากขึ้น มีกฎเกณฑ์สำหรับใช้ในการวัดประเมิน (assessment rubrics) เน้นให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้และครูสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของตน (self reflection) จากสารสนเทศผลการวัดประเมิน We do not learn from experience. We learn from reflecting on experience. John Dewey

การวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา: ความหมาย แนวคิดและหลักการ หลักการ 10 ประการของการวัดประเมิน: การวัดประเมินเพื่อ การเรียนรู้ การวัดประเมินผู้เรียนขณะเรียนรู้ และการวัดประเมินการเรียนรู้ From: Department of Education and Training, Australia : 2002 , อ้างอิงในสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2557,หน้า 41)

ประเภทและลักษณะของการวัดประเมินการเรียนรู้ (1) ประเภทของการวัดประเมิน (Types of assessment) กระบวนทัศน์ (Paradigm) จุดมุ่งหมายหลัก (Main purpose) จุดมุ่งเน้น (Focus) การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment For Learning): Formative assessment สรรค์สร้างนิยม (Constructivism) เพื่อเข้าใจและปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน (ความแตกต่างระหว่างบุคคล) กระบวนการเรียนรู้ (พัฒนา/ปรับปรุง การเรียนรู้) การวัดประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment As Learning): Formative assessment พุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) เพื่อพัฒนาให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ (Autonomous or independent learners) (ส่วนบุคคล) วิธีการเรียนรู้แบบกำกับตนของผู้เรียน (ส่งเสริมการเรียนรู้แบบกำกับหรือนำตนเอง) การวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment Of Learning): Summative assessment พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เพื่อตรวจสอบการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (แต่ละบุคคล) ผลการเรียนรู้ (ตรวจสอบการเรียนรู้) Berry (2008, pp. 9-11, อ้างอิงในสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2557)

หลักการตั้งคำถามเพื่อวัดประเมินการเรียนรู้ กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ หลักการตั้งคำถามเพื่อวัดประเมินการเรียนรู้ เน้นตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบแบบให้เหตุผล คำถามเชิงวิเคราะห์ คำถามเชิงสังเคราะห์ คำถามเชิงเปรียบเทียบ คำถามเชิงจำแนก คำถามเชิงประเมิน คำถามนิรนัยและอุปนัย เน้นตั้งคำถามที่กระตุ้นการคิดและสนับสนุน การเรียนรู้ คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนตั้งข้อสังเกตและ เรียนรู้ คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนถ่ายโยงการเรียนรู้ คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนยืนยัน/ตรวจสอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ คำถามที่ช่วยทำให้ผู้เรียนกำกับ/ควบคุม ตนเอง เน้นตั้งคำถามแบบลุ่มลึกและเชื่อมโยง สาระเดียวกัน เช่น ตั้งคำถามเกี่ยวกับการอ่าน หนังสือนอกเวลาภาษาอังกฤษ (อ่านเข้าใจเรื่องราวได้มากน้อย เพียงใด มีคำศัพท์ง่ายหรือยากต่อ การเข้าใจบ้าง ผู้เขียนมีกลยุทธ์ใน การเสนอเรื่องราวอย่างไร เรียนรู้ อะไรบ้างจากเรื่องราวที่อ่าน และ โดยภาพรวมแล้วชอบเรื่องที่อ่าน หรือไม่ อย่างไร) กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามด้วยตนเอง เพื่อสะท้อนกลับความคิดของตนเอง

กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ (4) การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในโลกศัตวรรษที่ 21 บริบทหรือเงื่อนไขการวัดประเมินผันแปรได้ (มากกว่าการอยู่ภายใต้เพียงมาตรฐานเดียว) สภาพการประเมินสอดคล้องกับ “โลกความเป็นจริง” (Real world situation) เน้นการวัดประเมินกระบวนการและผลผลิตของการทำโครงการ (Projects) หรืองาน (Tasks) ที่กำหนดให้ปฏิบัติ (Project/Task-Based learning) เน้นนำผลการวัดประเมินเป็นสารสนเทศป้อนกลับไปสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งของผู้เรียน และผู้สอน เน้นวัดประเมินและรายงานผลการประเมินการเรียนรู้ในรูปทีมงาน (Team results) (มากกว่ารายบุคคลรายบุคคล) เปิดเผยขอบข่ายเนื้อหาและเกณฑ์การวัดประเมินกว้างๆ ให้ผู้เรียนทราบ (มากกว่าปกปิดไว้ เป็นความลับ) สนับสนุนให้ผู้เรียนประเมินกระบวนการและผลการเรียนรู้ของตนเอง (Self-assessment) (Reeves, 2010; Shepard et. al., 2005)

ดร. องอาจ นัพัฒน์ (สงวนลิขสิทธิ์) 7/21/2019 หมายเหตุ: เรียนรู้ (Learn) เข้าใจ (Understand) สร้างสรรค์ (Create) สำรวจ (Explore) และแบ่งปัน (Share) สำรวจ เรียนรู้อะไรนอกเหนือจากบทเรียนบ้าง มีสิ่งใดที่ทำผิดและเรียนรู้จาก สิ่งผิดนั้นอย่างไร แบ่งปัน ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อช่วยเหลือบุคคล ชั้นเรียน ชุมชนหรือ โลกอย่างไรบ้าง สร้างสรรค์ มีแนวคิด ความรู้ หรือความเข้าใจใหม่อะไรบ้าง ที่สามารถนำเสนอได้ การวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 เข้าใจ หลักฐานอะไรที่สามารถประยุกต์การเรียนรู้ในขอบเขตการรู้คิดหนึ่งไปยังที่คล้ายๆ กัน เรียนรู้ รู้อะไร และสามารถทำอะไร ทำอะไรได้บ้าง กรอบแนวคิดการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ที่มา: อ้างอิงจาก Reeves, 2010, p.312)

กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน กระบวนการวัดประเมินในชั้นเรียน แผนภาพกระบวนการวัดประเมินในชั้นเรียน วางแผน ทำความเข้าใจบริบทการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน กำหนดจุดมุ่งหมายการวัดประเมินและใช้ผลการวัด ประเมิน กำหนดผลการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน เลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ลงมือวัดประเมิน (รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ) ลงมือรวบรวม (ตระหนักต่อจรรยาบรรณ) รายงานผล วิเคราะห์และตีความข้อมูลสารสนเทศ รายงานผลและพัฒนาการเรียนการสอน http://www.utexas.edu/academic/diia/assessment/iar/teaching/

ขั้นการวางแผน (Planning) ทำความเข้าใจบริบทการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน ลักษณะของสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ สภาวะแวดล้อมของชั้นเรียนและคณะ/มหาวิทยาลัย นิสิต/นักศึกษา (ความรู้เดิม ความต้องการจำเป็น ฯลฯ) กำหนดจุดมุ่งหมายการวัดประเมินและใช้ผลการวัดประเมิน มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา และการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ ใช้ผลเพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (ประมาณ ๑ ครั้งต่อเดือน) กำหนดผลการเรียนรู้ (Learning outcomes) ที่จะวัดประเมิน วิเคราะห์สาระและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตาม TQF เลือกผลการเรียนรู้ที่จะวัดประเมินอย่างถูกต้องและเหมาะสมตาม TQF เลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดประเมิน เลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ กำหนดเกณฑ์และมาตรฐานสำหรับวัดประเมิน (Criteria and standards) http://www.utexas.edu/academic/diia/assessment/iar/teaching/

รู้คิดและปฏิบัติ มีทักษะสังคมและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติระดับอุดมศึกษาของไทย: TQF บัณฑิตที่เป็นคนดี ๑. ด้านคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตใน ความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและ สังคม ๒. ด้านความรู้ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิด และการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนก ข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ๓. ด้านทักษะทางปัญญา หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้ คาดคิดมาก่อน ๔. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึงภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของ ตนเอง ๕. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความสามารถใน การวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การ เขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Note: บางสาขาวิชาอาจเพิ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills) หรือบางสาขาวิชาต้องการให้บัณฑิต ของสาขาวิชามีมาตรฐานผลการเรียนรู้มากกว่าหรือพิเศษกว่าบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น (ก็สามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ บัณฑิตที่เป็นคนเก่ง รู้คิดและปฏิบัติ มีทักษะสังคมและสื่อสาร

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตร สู่รายวิชา (Curriculum mapping) ที่มา: นิภาพรรณ แก่นคง (20 ต.ค. 52) ความรับผิดชอบหลัก ความรับผิดชอบรอง

การเลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ แบบสร้างคำตอบ ผลผลิต แบบเลือกคำตอบ แบบสร้างคำตอบ ผลผลิต การปฏิบัติ แบบเลือกตอบ (มีมากกว่า 2 ตัวเลือก) แบบถูก-ผิด แบบจับคู่ แบบเติมคำ เขียนบทความ/ทำงานสร้างสรรค์ เขียนรายงานสะท้อนการเรียนรู้ เขียนตอบแบบสั้นๆ ทำตาราง/แผนภูมิ/กราฟ แสดงนิทรรศการ แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้ ทำโครงงาน/โครงการ การนำเสนอด้วยวาจา การอ่านร้อยกรอง การโต้วาที/การอภิปราย การแสดงละคร/เต้นรำ การแสดงดนตรี/กีฬา การวาดภาพ/การสาธิต การตั้งคำถาม การสังเกตอย่างเป็นทางการ/ไม่เป็นทางการ การพูดคุย/สอบถามระหว่างอาจารย์กับนิสิต/นักศึกษา A Teacher ’ Guide To Classroom Assessment

การเลือกเครื่องมือ/วิธีการวัดประเมินการเรียนรู้

http://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.html

การวัดประเมินด้านจิตพิสัย: คุณธรรมจริยธรรม แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย มีความประพฤติอย่างมีคุณธรรม/ จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและ ส่วนรวม/สังคม มีความสามารถปรับตนท่ามกลางความ ขัดแย้งทางค่านิยม มีการพัฒนานิสัยและปฏิบัติตนตาม ศีลธรรม มีการแสดงถึงภาวะผู้นำ มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม เครื่องมือ/วิธีการ การสังเกตของอาจารย์ แบบมีโครงสร้าง แบบไม่มีโครงสร้าง การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน สังคมมิติ (Sociometric approach) การทายชื่อคุณลักษณะ/พฤติกรรมของ บุคคล (Guess-Who approach) การรายงานตนเองของนิสิต/นักศึกษา แบบสอบถาม มาตรประมาณค่า (Rating scale) การใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment)

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การสังเกตพฤติกรรม (การวัดประเมินทางตรง) (1) อาจารย์ตั้งกฎกติกาการ เรียนรู้ภายในชั้นเรียน ดังนี้ นำวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) เครื่องเขียน หนังสือเรียน มาทุกครั้ง อ่านหนังสือเรียน/เอกสารที่ กำหนดให้มาก่อนล่วงหน้า ทำการบ้านหรืองานที่ มอบหมายให้ทำอย่างครบถ้วน แต่งกายถูกตามระเบียบของ มหาวิทยาลัย ไม่ทิ้งขยะหรือนำเครื่องดื่ม/ อาหารเข้ามาในห้องเรียน เวลาเรียน ระยะเวลา 15 สัปดาห์ ผู้วัดประเมิน คือ อาจารย์ ผู้สอนประจำรายวิชา โดยใช้ การสังเกตแบบมีโครงสร้าง รวบรวมข้อมูล ที่   พฤติกรรมความมีวินัย ครั้งที่ 1 ครั้งที่... รวม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ 1 เข้าเรียนตรงเวลา 2 นำหนังสือมาเรียนด้วยทุกครั้ง 3 ทำแบบฝึกหัดและงานที่กำหนดให้ครบถ้วน 4 จัดเก้าอี้/โต๊ะที่นั่งให้อยู่เป็นแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยทุกครั้ง 5 ไม่พูดคุยส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนในขณะเล่าเรียน

คุณธรรมจริยธรรม (พฤติกรรมบ่งชี้) วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การสังเกตพฤติกรรม (การวัดประเมินทางตรง) (2) คุณธรรมจริยธรรม (พฤติกรรมบ่งชี้) ผลการประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 1. มีวินัย (มีความตรงต่อเวลา ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขต กฎ ระเบียบข้อบังคับของคณะ มหาวิทยาลัย สถาบัน องค์กร โดยยินดีปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจและตั้งใจ มีวินัยทั้งต่อตนเอง ชุมชนและสังคม)   2. ซื่อสัตย์ (มีพฤติกรรมอย่างตรงไปตรงมา ไม่พูดปด/บิดเบือน กล่าวตรงกับความเป็นจริงทั้งต่อหน้าและลับหลัง ซื่อตรงต่อหน้าที่และวิชาชีพ รับรู้หน้าที่ของตนเอง และประพฤติปฏิบัติตนอย่างเต็มที่และถูกต้อง) 3. ใฝ่เรียนรู้ (ใจจดจ่อ/ขยันหมั่นเพียรเรียนรู้ ควบคุม/กำกับตนในการเรียนรู้ต่อเนื่อง ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง เลือกแหล่งความรู้/ตัวแบบอย่างที่ดี และนำความรู้มาประยุกต์ใช้พัฒนางานที่รับผิดชอบ )

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การสังเกตพฤติกรรม (การวัดประเมินทางตรง) (3)  คุณธรรมจริยธรรม ผลการประเมิน มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) 1. มีวินัย สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีด้านตรงต่อเวลา ประพฤติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร โดยยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ มีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม ตรงต่อเวลา ประพฤติตนอยู่ในขอบเขต กฎ ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร โดยยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ มีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร แต่ปฏิบัติตามอย่างไม่เต็มใจและไม่ตั้งใจนัก ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขต กฎ ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร แต่ปฏิบัติตามอย่างไม่เต็มใจและไม่ตั้งใจ ไม่มีความตรงต่อเวลา และกล่าวบิดเบือน ไม่มีความตรงต่อเวลา กล่าวบิดเบือนบ่อยครั้งและไม่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขต กฎ ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร 2. ซื่อสัตย์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการการปฏิบัติตรงตามความเป็นจริงทั้งต่อเวลา หน้าที่ และต่อวิชาชีพ รับรู้หน้าที่ของตนและปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง มีประพฤติกรรมตรงไปตรงมาไม่พูดปดและบิดเบือน ปฏิบัติตรงตามความเป็นจริงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง แสดงประพฤติกรรมที่ตรงไปตรงมาไม่บิดเบือน ตรงตามความเป็นจริง ตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ แต่ขาดการรับรู้ในหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติได้ไม่เต็มที่เป็นบางครั้ง แสดงประพฤติกรรมที่ตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือน ตรงตามความเป็นจริง ตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ แต่ขาดการรับรู้ในหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ แสดงประพฤติกรรมที่บิดเบือน ไม่ตรงตามความเป็นจริง

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การใช้แบบวัด เหตุผลทางจริยธรรม (การวัดประเมินทางอ้อม) (1) การให้เหตุผลทางจริยธรรม (Ethical reasoning) คือ การที่ บุคคลให้เหตุผลเลือกจะกระทำ หรือไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง โดยมีมูลเหตุจูงใจอยู่ เบื้องหลังการกระทำตามแนวทาง ต่างๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การที่บุคคลมีระดับเหตุผลทาง จริยธรรมแตกต่างกันไป ทำให้มี แนวโน้มต่อการตัดสินใจแสดง พฤติกรรมหรือการกระทำ แตกต่างกันไป ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg (Moral Development Theory) ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional Level) ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ สังคม (Conventional Level) ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการ ด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์ สังคม (Post-Conventional Level

ระดับคุณธรรมจริยธรรม วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การใช้แบบวัด เหตุผลทางจริยธรรม (การวัดประเมินทางอ้อม) (2) ที่มา : ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520 ; อ้างอิงจาก Kohlberg, 1976) ระดับคุณธรรมจริยธรรม การแสดงพฤติกรรม ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional Level) - ระดับต่ำ (อายุ 2-10 ปี) ขั้นที่ 1 ขั้นกลัวการลงโทษและชอบการเชื่อฟัง (อายุ 2-7 ปี) (Punishment and Obedience Orientation) ขั้นที่ 2 ขั้นการทำตามกฎเกณฑ์เพื่อประโยชน์ของตน (อายุ 7-10 ปี)(Instrumental Relativist Orientation) ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ สังคม (Conventional Level) - ระดับกลาง (อายุ 10-16 ปี) ขั้นที่ 3 ขั้นทำตามความคาดหวังและการยอมรับของ สังคม(อายุ10-13 ปี) (Interpersonal Concordance of “Good boy, Nice girl” Orientation) ขั้นที่ 4 ขั้นทำตามระเบียบ (อายุ 13-16 ปี) (“Law-and- Order” Orientation) ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการ ด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์ สังคม (Post-Conventional Level) - ระดับสูง (อายุ 16 ปีขึ้นไป) ขั้นที่ 5 ขั้นทำตามสัญญาประชาคมหรือหลักการตาม มั่นสัญญา (อายุ 16 ปี ขึ้นไป) (Social Contract Orientation) ขั้นที่ 6 ขั้นทำตามหลักคุณธรรมสากล (วัยผู้ใหญ่) (Universal Ethical Principle Orientation)

ตัวอย่าง: สภาวการณ์ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Dilemmas) (2) วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การใช้แบบวัดเหตุผลทางจริยธรรม (การวัดประเมินทางอ้อม) (3) ตัวอย่าง: สภาวการณ์ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Dilemmas) (2) ลอกการบ้าน จ้างทำรายงาน ผลงานวิชาการ และ วิทยานิพนธ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกทุก ชีวิตในขณะนี้ กลายเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกชีวิตวัย เรียนของใครหลายคนไปด้วย กับการใช้ "โซเซียลมีเดีย" และ "ทุนทรัพย์บุพการี" เอื้ออำนวยให้การทำการบ้าน รายงานในรั้ว มหาวิทยาลัยและการศึกษาระดับอุดมศึกษาง่ายดายและสะดวก ทันใจมากยิ่งขึ้น...การใช้ "ตัวช่วย" ทำการบ้าน ทำรายงานที่ อาจารย์สั่งนั้น สามารถสร้างรายได้ และเงินหมุนเวียนเชิงธุรกิจ จำนวนมาก... ...ลอกการบ้าน จ้างทำรายงาน เพราะคิดว่า "ไม่เห็นเป็นไร ใครๆ เขา ก็ทำกัน [ลอก-คัด-ตัด-แปะ]" คงไม่ใช่สิ่งที่จะปล่อยปละ ละเลยอีก และมองข้ามอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องต้องตระหนักและ ร่วมมือกันแก้ไข เพราะคุณค่าของการทำงานไม่ได้อยู่ที่แค่ ผลลัพธ์ที่ทำให้หายเหนื่อย การทุ่มเทแรงกายแรงใจ แรงสมอง เพื่อผลิตผลงานออกมานั่น คือ บททดสอบและเป็นครูที่มีค่าแก่ การเติบโตและเรียนรู้จำลองการทำงานในรั้วมหาวิทยาลัยของทุก คนได้เช่นกัน พร้อมเปิดใจ เตรียมสมอง สองมือ ลงมือทำงานทุก ชิ้นด้วยตัวเอง และสร้างคุณค่าให้ตัวเองหรือยัง?.

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การใช้แบบวัดเหตุผลทางจริยธรรม (การวัดประเมินทางอ้อม) (4) ตัวอย่างการวัดจริยธรรมทางวิชาชีพผ่านรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ A: “ผมคิดว่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีทัศนะเชิงอุดมคติ ไม่อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง และมองเรื่องนี้ในทางเลวร้ายเกินไป...ทั้งที่ความจริง แล้วถ้าไม่พูดแบบ “โลกสวย” [พูดไม่ตรงความจริง อาจเป็นด้วยต้องการให้ดูดีในสายตาผู้อื่น] ใครๆ ก็ทำกันทั้งนั้น เพราะองค์ความรู้ เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่มีใครเป็นเจ้าขององค์ความรู้อย่างแท้จริง มวลมนุษยชาติทั่วทุกมุมโลกอาจศึกษาวิจัยและพบองค์ความรู้เดียวกันในเวลา พร้อมๆ กัน หรืออาจมีบางคนพบก่อนเสียด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ หรือตีพิมพ์ในภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษลงในฐานข้อมูลนานาชาติ การ กล่าวหาว่าใครคัดลอกใครบางทีไม่ชัดเจน เผลอๆ เจ้าของผลงานที่ตีพิมพ์คัดลอกคนอื่นๆ มา...แต่ก็จับไม่ได้ ...หรือเจ้าของความคิดไม่อยาก ฟ้องร้อง คิดว่าในโลกยุคดิจิทอลไร้พรหมแดนเช่นนี้ ไม่มีใครมานั่งหวงแหนองค์ความรู้กันอย่างมากมายหรอก ก็อย่างที่บอกความรู้ เปลี่ยนแปลงเร็วตามโลกที่ “หมุนไว” พรมแดนความรู้ก็เบลอๆ [ไม่แบ่งแยกชัดเจน] ยิ่งไปกว่านั้น ต้องยอมรับความจริงว่าทุกวันนี้เราอยู่ในโลก แห่งการแข่งขัน ทุกคนต้องเร่งรีบ....รีบเรียน....รีบจบ...รีบหางานทำแข่งกับคนอื่น...ใครเรียนจบช้าต้นทุนทางชีวิตจะสูง...เพราะขาดทุนด้าน สูญเสียโอกาสการทำงานหาเงิน มานั่งเรียนและทำรายงานที่อาจารย์แต่ละคนสั่งให้ทำมากมายในแต่ละภาคเรียน...เกือบไม่มีนักศึกษาคนใดทำ รายงานอย่างทุ่มเทด้วยความคิดตนเองทั้งหมดได้เสร็จได้ทันเวลาอย่างมีคุณภาพ และก็ไม่รู้ว่าอาจารย์มีเวลาตรวจ มีเวลาอ่านละเอียดหรือเปล่า ส่วนวิทยานิพนธ์ที่ดีๆ ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครนำไปใช้สักกี่คน เห็นเก่าๆ มีคนยืมอ่านน้อยมากอยู่บนชั้นหนังสือในห้องสมุด สังคมบ้านเราคนส่วน ใหญ่ให้คุณค่าด้านความบันเทิงมากกว่าความเคร่งเครียดที่จะต้องมานั่งบรรจงทำงานวิชาการโดยไม่รู้ว่าจะมีใครสักกี่คนมานั่งอ่านหรือชื่นชม ผลงานนั้นบ้าง” B: (ถ้าท่านเป็น B และสนทนากับ A ในเรื่องนี้แล้ว ..ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อทัศนะ/มุมมองของ A เพราะอะไร ท่านจึงคิดเช่นนั้น ................................................................................................................................................................

สภาวการณ์ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Dilemmas) (2) วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม: การใช้แบบวัด เหตุผลทางจริยธรรม (การวัดประเมินทางอ้อม) (5) สภาวการณ์ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Dilemmas) (2) มีสาระสำคัญตรงกับประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรมที่ประสงค์จะทำการวัดประเมินผู้เรียน มีเนื้อหาสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน มีความ เป็นไปได้และมีความหมายเกี่ยวพันกับการเรียนรู้ ของผู้เรียน สร้างสภาวะกดดันทางอารมณ์ให้ผู้เรียนรู้สึกขัดแย้ง ในตนระหว่างคุณธรรม จริยธรรมและผลประโยชน์ ส่วนตนและพวกพ้อง ซึ่งจะต้องตัดสินใจเลือกอย่าง ใดอย่างหนึ่ง อาจเป็นเรื่องเล่าหรือบรรยายความ รูปภาพนิ่งหรือ รูปภาพเคลื่อนไหว กรณีตัวอย่าง และบทบาทสมมุติ เนื้อหาสาระมีความเหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ของ ผู้เรียนและบริบททางสังคมวัฒนธรรมโดยรอบ เนื้อหาสาระจะต้องกะทัดรัดชัดเจน ไม่วกวนสับสน โดย เรียบเรียงหรือนำเสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง เพื่อ ง่ายต่อการเข้าใจและเร้าใจต่อการติดตามอ่านหรือชม มีสาระเป็นแบบอย่างที่ดี (ไม่ใช่เป็นเรื่องราวที่มีนัยแฝงเร้น ไปในทางกระตุ้นให้ผู้เรียนประพฤติหรือมีพฤติกรรมผิด ศีลธรรม) เช่น พฤติกรรมทางเพศ หรืออบายมุข ยาเสพย์ติด หรือการก่อการร้าย เป็นต้น

การวัดประเมินด้านจิตพิสัย: ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ การสังเกตของครู ข้อดี : เป็นธรรมชาติ /เห็นอวัจนภาษา ข้อจำกัด: อาจลำเอียง/ใช้เวลามาก การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน ข้อดี : ง่ายต่อการดำเนินการ ข้อจำกัด: อาจลำเอียง/ยากต่อการให้ คะแนนและแปลความหมาย การรายงานตนเองของนิสิต/นักศึกษา ข้อดี : ง่ายต่อการดำเนินการและให้ คะแนน /ง่ายต่อการเก็บเป็นความลับ ข้อจำกัด: อาจลำเอียง/ตอบตามความ คาดหวังของสังคม/อาจไม่ตั้งใจตอบ ตัวอย่าง: แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่มโดยเพื่อนสมาชิก

From: ดัดแปลงจาก Sallee (2012, June) Cognitive Domain Higher- order Thinking Skills Advanced Reasoning Basic From: ดัดแปลงจาก Sallee (2012, June) http://suzanne-sallee-iachieve.blogspot.com/2011/08/mobile-learning-and-blooms-taxonomy.html

http://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.html

การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย: ความรู้และทักษะทางปัญญา แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑) มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย/ทักษะ พิสัย มีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และจำแนก ข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี และ กระบวนการต่างๆ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และ กระบวนการต่างๆ ในการแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้เทคนิค ทางคณิตศาสตร์และสถิติ สามารถสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือ/วิธีการ แบบทดสอบ แบบเลือกตอบ (Multiple-choice test) แบบความเรียง (Essay test) การวัดประเมินภาคปฏิบัติ (Performance assessments) กำหนดงาน/กิจกรรมและบริบทเงื่อนไข กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring rubrics) เป็นแบบองค์รวม (Holistic) หรือ แบบวิเคราะห์ (Analytic) ใช้วิธีการสังเกตร่วมกับมาตรประมาณค่า (Rating scale) และ/หรือ ใช้แบบตรวจสอบรายการ (Check-lists) การใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้ (Portfolio assessment)

การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย: ความรู้และทักษะทางปัญญา แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๒) เครื่องมือ/วิธีการ แบบทดสอบ (แบบเลือกตอบ) ข้อดี : เป็นปรนัย/ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ ต้องการวัดประเมิน/ตรวจง่าย ข้อจำกัด: สร้าง (ให้มีคุณภาพดี) ทำได้ยากและ ใช้เวลามาก/เหมาะกับการวัดประเมินความรู้ ความเข้าใจ/อาจเดาได้ถูกโดยไม่มีความรู้/ แบบทดสอบ (แบบความเรียง) ข้อดี : เหมาะกับการวัดประเมินความคิด ระดับสูง/เดาถูกได้ยากถ้าไม่มีความรู้ ข้อจำกัด: มักเป็นอัตนัย/ตรวจยาก เครื่องมือ/วิธีการ (ต่อ) การวัดประเมินภาคปฏิบัติ ข้อดี : สอดคล้องกับสภาพจริง/บูรณาการกับการ จัดการเรียนรู้/เหมาะกับการวัดทักษะหรือ ประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหา ข้อจำกัด: มักเป็นอัตนัย/ผลการวัดประเมินไม่คง เส้นคงวา ณ จุดเวลาต่างๆ (ความเที่ยงต่ำ)/ใช้ เวลามากในการวางแผนและทำการวัดประเมิน การใช้แฟ้มสะสมงาน ข้อดี : ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาวัดประเมินการ เรียนรู้ของตนเองและร่วมมือกับอาจารย์ในการ วัดประเมิน/ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้/ สอดคล้องกับสภาพจริง/ ข้อจำกัด: อาจลำเอียง/ตรวจยาก/มักมีความเที่ยง ต่ำ/ใช้เวลามากในการพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนน

การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย: ความรู้และทักษะทางปัญญา แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๓) ตัวอย่าง: ข้อสอบวัดความสามารถในการ แก้ปัญหา (Problem solving) (0). สมพรต้องการนำโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด เท่ากันที่นั่งได้ 4 คน มาจัดเรียงต่อกันเป็นแถวยาว เพื่อให้เพื่อนจำนวน 34 คน รับประทานอาหารที่ บ้าน อยากทราบว่าสมพรต้องใช้โต๊ะ จำนวนกี่ตัว ก. 14 ตัว ข. 15 ตัว ค. 16 ตัว ง. 17 ตัว จ. 18 ตัว ตัวอย่าง: ข้อสอบวัดความสามารถในการใช้ ความรู้ความเข้าใจในหลักการประเมินค่าการ กระทำ (00). ถ้ายึดตามหลักการประชาธิปไตย การที่ นางรจนาตัดสินใจเลือกเจ้าเงาะเป็นคู่ครองถือ ว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ก. เหมาะสม เพราะรจนาบูชาในความรัก ข. เหมาะสม เพราะรจนาทำตามเสรีภาพ ค. ไม่เหมาะสม เพราะรจนาไม่เชื่อฟังบุพการี ง. ไม่เหมาะสม เพราะเจ้าเงาะมีฐานันดรที่ต่ำ กว่า KEY: N = (T-2)/2 = 16 KEY หมายเหตุ: เฉลย (ข) เนื่องจากตามหลักการประชาธิปไตย รจนาสามารถมีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกคู่ครอง แม้ว่าอาจจะไม่ถูกใจบุพการี (โดยเฉพาะท้าวสามล) โต๊ะ KEY

การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย: ความรู้และทักษะทางปัญญา แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๔) ตัวอย่าง: ข้อสอบวัดความสามารถในการ วิเคราะห์ความเพียงพอของข้อมูล (Data sufficiency) ก. เพียงข้อความ (1) เท่านั้นที่เพียงพอ ข. เพียงข้อความ (2) เท่านั้นที่เพียงพอ ค. ทั้ง 2 ข้อความร่วมกันจึงจะ เพียงพอ ง. ข้อความใดข้อความ หนึ่งก็เพียงพอ จ. ทั้ง 2 ข้อความร่วมกันก็ยังไม่เพียงพอ (000). พื้นที่ผิวน้ำในตู้ปลารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 25 ตารางเซ็นติเมตรเลี้ยงปลาได้ 1 ตัว ตู้ปลานี้สามารถเลี้ยง ปลาได้มากที่สุดกี่ตัว (1). ขอบของตู้ปลามีความยาว 50, 32, และ 20 ซ.ม. (2). ตู้ปลานี้สามารถบรรจุน้ำได้สูงถึง 30 ซ.ม. ตัวอย่าง: ข้อสอบวัดสามารถวิเคราะห์เชิง ตัวเลขและสถิติ (0000). ถ้าค่าเฉลี่ย (Arithmetic mean) ของ t และ t+ 2 คือ x และค่าเฉลี่ยของ t และ t - 2 คือ y แล้ว ค่าเฉลี่ยของ x และ y มีค่าเท่าไร ก. 1 ข. t/2 ค. t ง. t + t/2 จ. 2t หมายเหตุ: เฉลย (จ) เนื่องจากไม่ทราบความกว้าง x ยาว ที่แน่ชัด เพราะพื้นที่ผิวต่อปลา 1 ตัว อาจเป็น (50 x 20) หรือ (32 x 20) ทั้งนี้การทราบ (2) ระบุน้ำเติมในตู้ได้สูง 30 ซ.ม. ดังนั้น ความลึกจะต้องไม่ใช่ 20 ซ.ม. และทราบ (1) ความยาว 3 ด้าน ไม่เพียงพอต่อการตอบคำถาม หมายเหตุ: เฉลย (ค) เนื่องจาก Mean = 𝑿 𝑵 ;𝒙=𝒕+𝟐 และ 𝒚=𝒕−𝟐 ดังนั้น 𝑴𝒆𝒂𝒏 xy = 2t/2 = t KEY KEY

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๕) แบบประเมินการนำเสนอและอภิปรายผลงานวิจัยในที่ประชุม ตัวอย่าง: แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร (การพูดและเขียน) แบบประเมินการเขียนรายงานการทดลองในห้องปฏิบัติการ ที่มา: Brown wth Bull & Pendlebury (1997, p.105, 159)

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๖) มาตรประเมินค่าการกล่าวสุนทรพจน์/คำบรรยาย/คำปราศรัย คำชี้แจง: โปรดประเมินความสามารถการกล่าวสุนทรพจน์ โดยทำเครื่องหมาย ที่จุดใดๆ บนช่วงแสดง ลักษณะของการกล่าวสุนทรพจน์ พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดในช่องคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมการกล่าวสุนทรพจน์ของนิสิต/นักศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก.ด้านเนื้อหาสาระและการลำดับความ 1. การกล่าวเปิดประเด็น ไม่เหมาะสม กล่าว เป็นปกติธรรมดา ปลุกเร้านำเข้าสู่ ออกนอกประเด็น ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจเป็นพิเศษ ประเด็นได้อย่างน่าสนใจยิ่ง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม: .......................................................................................................................... ข.ด้านการนำเสนอ 2. ท่าทาง/การแสดงออก ราบเรียบ ระดับเดียว ประหม่าและ ส่วนใหญ่ตรงประเด็น มีความมั่นใจ เป็นธรรมชาติ แสดงความสับสน/วกวนบ่อยครั้ง มีบางครั้งแสดงความสับสน สอดคล้องตามถ้อยคำกล่าวเน้น

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๗) คำนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Body) สรุป (Conclusion) ภาษา (Language) (ดีเลิศ) (Exemplary) Contains a well-developed thesis statement that outlines the development of the essay Body paragraphs provide clear details that develop the thesis; transitions are used throughout Extends the thesis in some way Language is consistently clear with few, if any errors; contains variety in sentence patterns and control of verb tenses. พอใช้ (Acceptable) Contains a thesis statement; may lack a controlling idea or organizing pattern Body paragraphs contain details; use of transitions may be sporadic. Restates the thesis but may not offer concluding question or extension. Language is comprehensible; errors do not distract reader; may lack sentence variety; control of verb tenses may be inconsistent ต้องปรับปรุง (Unacceptable) Thesis statement may be vague or missing Details may be missing, vague, or irrelevant; few transitions are used No conclusion evident; student stops writing without coming to a conclusion May contain frequent or serious errors that distract reader; sentence patterns may not vary; control of verb tenses may be weak. มิติ/เกณฑ์ สเกล

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๘)

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๙) ที่มา: https://www.ets.org/Media/Tests/TOEFL/pdf/Writing_Rubrics.pdf

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑๐) แบบประเมินคุณภาพ (กระบวนการและผลผลิต)การทำวิจัยในชั้นเรียน

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑๑) แบบประเมินกระบวนการและผลผลิตการทำวิจัยในชั้นเรียน (ต่อ)

การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑๒) แบบประเมินกระบวนการและผลผลิตการทำวิจัยในชั้นเรียน (ต่อ)

การให้ค่าแฟ้มสะสมผลงาน (2) การวัดประเมินทักษะพิสัย: ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ ICT แนวทางการวัดประเมินโดยใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้ (Portfolio assessment) การเลือกตัวอย่างงาน/กิจกรรมการเรียนรู้และการทดสอบด้วยวาจาเพื่อประเมินค่าแฟ้มสะสมงาน การให้ค่าแฟ้มสะสมผลงาน (2) ตัวอย่าง: เกณฑ์/มาตรฐาน การพิจารณาแฟ้ม คณะกรรมการจะทำการประเมินแฟ้ม ด้วยเกณฑ์ 4 ข้อ (ข้อละ 5 คะแนน) รวม 20 คะแนน โดยแต่ละคนต่างพิจารณาแล้วนำคะแนนมาสรุปร่วมกัน โดยมีเกณฑ์การตัดสิน คือ คะแนน 18 - 20 หมายถึง ดีเลิศ คะแนน 15 - 17 หมายถึง พอใจ คะแนน 12 - 14 หมายถึง ค่อนข้างพอใจ คะแนนต่ำกว่า 12 หมายถึง ปรับปรุง สาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมหลัก จำนวนมาก จะต้องสุ่มหรือเจาะจงเลือกมา เป็นตัวอย่างเพื่อทำการวัดประเมิน สาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมหลัก ที่ทำการวัดประเมินจะต้องเป็นตัวแทนที่ดี ของมวลสาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือ กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่นิสิต/นักศึกษา ต้องเรียนรู้ การสอบปากเปล่าแฟ้มสะสมงาน นิสิต/ นักศึกษาผู้รับการประเมินเลือกแฟ้มที่ตน พอใจประมาณครึ่งหนึ่งของแฟ้มทั้งหมดมา ใช้ในการทดสอบด้วยวาจา โดยมีขั้นตอนการ นำเสนอ ดังนี้ 1. ผู้เรียนนำเสนอ 5 - 7 นาที 2. คณะกรรมการทดสอบซักถาม 3. ผู้ถูกประเมินออกจากห้องทดสอบ 4. คณะกรรมการทดสอบอภิปรายและ ปรึกษาเกี่ยวกับผลการทดสอบปากเปล่า Criteria 1 2 3 Number of Sources 1-4 5-9 10-12 Historical Accuracy Lots of historical inaccuracies Few inaccuracies No apparent inaccuracies Organization Can not tell from which source information came Can tell with difficulty where information came from Can easily tell which sources info was drawn from Bibliography Bibliography contains very little information Bibliography contains most relevant information All relevant information is included ที่มา: ดัดแปลงจาก jfmueller.faculty.noctrl.edu/toolbox/rubrics.htm

สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม (1) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 1. การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2. การวัดประเมินขณะเรียนรู้ 1. ความรู้ 2. ความเข้าใจ 3. ทัศนคติ และ 4. พฤติกรรมการมีคุณธรรม จริยธรรม 5. ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. แบบประเมินผลงาน อาศัยหลักการวัดประเมินที่เชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของของการเรียนการสอน (การจัดการเรียนรู้) โดยใช้การสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน (นิสิต/นักศึกษา) ที่ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการปฏิบัติงาน และผลงานจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย

สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 3. การวัดประเมิน ผลการเรียนรู้ 1. พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม2. การประพฤติตนตามกฎระเบียบของหน่วยงาน กฎหมายของบ้านเมือง และ จรรยาบรรณของวิชาชีพฯ 1. แบบสำรวจคุณภาพของบัณฑิตที่ประเมิน และ 2. การสนทนากลุ่มหรือการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน/วิชาชีพ และผู้รับบริการ 3. แบบประเมินตนเอง 1. สร้างและพัฒนาแบบสำรวจคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. อาศัยวิธีการไม่ใช้การวัด เช่น พ็อตโฟลิโอ การสังเกต

สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (1) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 1. การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2. การวัดประเมินขณะเรียนรู้ 1. ความรู้ 2. ความเข้าใจ (ขึ้นอยู่กับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรกรอบมาตรฐานคุณวุฒิด้านความรู้) 3. ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. แบบทดสอบย่อย(แบบเลือกตอบต่างๆ เช่น แบบเลือกตอบ ถูกผิด จับคู่ และแบบเติมคำ) 2. แบบฝึกหัด 3. รายงานการศึกษาค้นคว้า อาศัยหลักการวัดประเมินที่เชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของของการเรียนการสอน (การจัดการเรียนรู้) โดยมุ่งวัดประเมินความรู้ความเข้าใจตามกรอบมาตรฐานด้านความรู้

สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (2) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 3. การวัดประเมิน ผลการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางด้านความรู้และความเข้าใจในแต่ละรายวิชา แบบทดสอบ (เช่น แบบเลือกตอบ และแบบเติมคำ) มุ่งวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (1) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 1. การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2. การวัดประเมินขณะเรียนรู้ 1. ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ 2. ความเข้าใจแบบลึกซึ้ง 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการคิดแบบมีวิจารณญาณ 5. วิธีการเรียนรู้ของนักศึกษา 1. แบบวัดภาคปฏิบัติ (โดยกำหนดโครงการให้ปฏิบัติ) 2. การสอบถามด้วยวาจา(Oral questioning) 3. การทำแบบฝึกหัด 4. การทำารายงานการค้นคว้า 1. แบบทดสอบแบบเสนอคำตอบ (แบบความเรียง) อาศัยหลักการวัดประเมินที่เชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของของการเรียนการสอน โดยใช้เรื่องมือ/วิธีการวัดประเมินความสามารถในการประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในแนวคิด และหลักการ รวมทั้งทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนการสอน

สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (2) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 3. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ 1. ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ 2. ความเข้าใจแบบลึกซึ้ง 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการคิดแบบมีวิจารณญาณ 1. แบบทดสอบแบบเสนอคำตอบ โดยเฉพาะแบบความเรียง (Essay test) เน้นวัดประเมินความสามารถในการประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในแนวคิด และหลักการ รวมทั้งทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา

เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (1) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 1. การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2. การวัดประเมินขณะเรียนรู้ 1. ความสามารถทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม 2. การมีภาวะผู้นำ 3. ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 4. ความสามารถในการวางแผน 5. ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 1. การสังเกต 2. การวัดประเมินภาคปฏิบัติ (ผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ การทำกิจกรรมกลุ่ม หรือโครงงาน เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสอน ) มุ่งเน้นวัดประเมินพฤติกรรมที่แสดงถึงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบขณะการเรียนการสอนดำเนินอยู่

เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (2) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 3. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1. การสอบถามด้วยวาจา2. มาตรประเมิน 3. แบบตรวจสอบรายการ (ผู้บังคับบัญชา หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นประจักษ์พยานการเรียนรู้) มุ่งเน้นวัดประเมินประจักษ์พยานการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 1. การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2. การวัดประเมินขณะเรียนรู้ 1.ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข 2.ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ 3.ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน 4.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.แบบทดสอบแบบเสนอคำตอบ (แบบเติมคำและแบบความเรียง) 2.การสอบถามด้วยวาจา 3.การวัดประเมินภาคปฏิบัติ 4.การสังเกต เน้นใช้เครื่องมือ/วิธีการวัดและประเมินที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการสอน ซึ่งดำเนินการวัดประเมินขณะการเรียนการสอนดำเนินอยู่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างทันท่วงที

เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน สรุปการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ประเภทการ วัดประเมิน สรรถนะ ที่วัดประเมิน เครื่องมือ/วิธีการ วัดประเมิน แนวทางการวัดประเมิน 3. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ 1.ความสามารถในการสื่อสาร: การใช้ภาษาไทยและการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2. ความสามารถในการใช้ตัวเลข (คณิตศาสตร์)ในชีวิตประจำวัน 3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดาเนินชีวิต 1. แบบทดสอบมาตรฐาน (การฟัง พูด อ่านและเขียน) เช่น SWUSAT-(Verbal), CU-TTP, CUTEP TOEFL, IELTS 2. แบบทดสอบมาตรฐาน SWUSAT (Number), SAT, GRE, GMAT 3. การวัดภาคปฏิบัติ มุ่งเน้นวัดประเมินด้วยการใช้แบบทดสอบมาตรฐานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ลงมือวัดประเมิน (การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ) กระทำด้วยความตระหนักถึงจรรยาบรรณครู เก็บรักษาข้อมูลสารสนเทศเป็นความลับ เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กระทำด้วยความรักและความเมตตาต่อศิษย์ ป้องกันความลำเอียงที่เกิดจากอคติส่วนตัว ใช้หลักการเชื่อมโยงสามเส้า (Triangulation) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ตรงกับ ผลการเรียนรู้และครอบคลุมขอบข่ายบริบทการ เรียนรู้ http://www.utexas.edu/academic/diia/assessment/iar/teaching/

ความตรง (Validity) ของการวัดประเมิน ความหมาย คุณสมบัติของเครื่องมือ/วิธีการวัดประเมิน ที่สามารถวัดประเมินได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ครอบคลุม ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาสาระ และสอดคล้อง ตรงตามความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการวัด (APA, 1985; Messick, 1994; Miller, Linn & Gronlund, 1995) โดยพิจารณาความตรง (ความเที่ยงตรง) ประเด็นต่อไปนี้ ความเหมาะสม (appropriateness) ความหมาย (meaningfulness) และ ประโยชน์ (usefulness) ของข้อสรุปเฉพาะที่ ได้มาจากผลของการวัดประเมิน ดังนั้น ความตรงหรือไม่ตรงของการวัดไม่ได้อยู่ที่เครื่องมือ แต่ขึ้นอยู่กับข้อสรุปเฉพาะที่เป็นผลมาจากค่าที่ได้จากการ วัดด้วยเครื่องมือ ความเที่ยง (Reliability) ของการวัดประเมิน ความหมาย คุณสมบัติของการวัดที่แสดงให้ทราบว่าค่าของคะแนนที่เป็นผลมาจากการวัดด้วยเครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่มีความคงเส้นคงวา (Consistency) หรือคงตัว (Stability) หรือไม่ เพียงใด วิธีการประมาณค่าความเที่ยง (ความเชื่อมั่น) การทดสอบซ้ำ (Test–Retest Method) การใช้เครื่องมือวัดที่มีความคล้ายคลึง (Equivalent–Form Method) การหาค่าความคงตัวภายในเครื่องมือวัด (Internal Consistency Method)

รายงานผลการวัดประเมิน ควรสื่อสารง่ายต่อการเข้าใจของนิสิต/นักศึกษา เป็นความลับเฉพาะของนิสิต/นักศึกษา แต่ละบุคคล มีการรายงานทั้งในรูปตัวเลขและข้อความ สะท้อนคุณภาพการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษา อย่างละเอียดและชัดเจน ส่วนท้ายของใบรายงานผลควรมีพื้นที่ว่างระบุ ให้นิสิต/นักศึกษาสะท้อนกลับเกี่ยวกับผลการ เรียนรู้ของตนเอง http://www.utexas.edu/academic/diia/assessment/iar/teaching/

เอกสารอ้างอิง ดวงเดือน พันธุมนาวิน และ เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. 2520. จริยธรรมของเยาวชนไทย รายงานการวิจัย, 21. กรุงเทพ: สถาบันการวิจัยพฤติกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.นิภาพรรณ แก่นคง (20 ตุลาคม 2552). TQF กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาตามกรอบ TQF: HEd.” ณ ห้องประชุม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2557). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ใน องอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัยสถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต (หน้า 37-50), กรุงเทพฯ: บริษัทวงตะวัน จำกัด. องอาจ นัยพัฒน์ (2553). การวัดประเมินในชั้นเรียน: วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา 2(3), 1-12. องอาจ นัยพัฒน์ (2557). กระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต: บันทึกสรุปและการปรับเปลี่ยนที่ท้าทาย ใน องอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัย สถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต (หน้า 105-120), กรุงเทพฯ: บริษัทวงตะวัน จำกัด. Airasian, P.W. (2000). Assessment in the classroom: A concise approach (5th ed.). New York: Mc-Graw Hill. American Psychological Association, American Educational Research Association, & National Council on Measurement in Education. (1985). Standards for educational and psychological testing. Washington, D.C.: American Psychological Association. Brown, G., Bull, J. & Pendlebury, M. (1997). Assessing student learning in higher education. New York: Routledge. McMillan, J.H. (2004). Classroom assessment: Principles and practice for effective instruction (3rd ed.). Singapore: Pearson Education. Messick, S. (1994). The interplay of evidence and consequences in the validation of performance assessments. Educational Research, 23(2), 13-23. Miller, M.D., Linn, R. L., & Grondlund, N. E. (2009). Measurement and assessment in teaching (10th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Merrill. Reeves, D. (2010). A framework for assessing 21st century skills. In J. Bellanca & R. Brandt (Eds.). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press. Stiggins, R.J. & Chappuis, J. (2012). Student-Involved Assessment FOR Learning (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

สวัสดี รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ ong-art@swu.ac.th