การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556
ระเบียบ กค. 56 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ ระเบียบ กค.56 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ภัยพิบัติ เพิ่มภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ข้อ 20 เมื่อภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการประกาศให้ท้องที่นั้น เป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (2) กรณีเกิดในจังหวัดอื่น ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับ ก.ช.ภ.จ. การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินต้องกำหนดพื้นที่และระยะเวลาของการ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัตินั้นด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ในการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในจังหวัดอื่น ๆ หากไม่สามารถ ประชุม ก.ช.ภ.จ. ได้ทันท่วงที และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวง การคลังกำหนด ก็ให้มีอำนาจพิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินไปก่อนได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ช.ภ.จ.
ประกาศกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 1. ประเภทของภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 2. วัน เดือน ปี ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ในกรณีที่สถานการณ์ของภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินยังไม่ยุติ ให้ระบุในประกาศว่า “ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินยังไม่ยุติ” และเมื่อภัยพิบัติดังกล่าวได้ยุติแล้ว ให้ดำเนินการประกาศวันสิ้นสุดของภัยด้วย 3. พื้นที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ให้ระบุเฉพาะพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่เกิดภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากภัยพิบัติส่งผลกระทบเป็นวงกว้างขึ้นก็ให้ประกาศเพิ่มเติม ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และให้ระบุให้ชัดเจนว่า เป็นการประกาศเขตการ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเพิ่มเติม 4. ประเภทความเสียหาย ให้ระบุประเภทความเสียหาย อาทิ ชีวิต ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร หรือสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นต้น 5. เวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามเดือน นับแต่วันที่เกิดภัย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ต่อ) เมื่อได้มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งการประกาศวันสิ้นสุดของภัย ให้ส่งสำเนาประกาศดังกล่าว ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบทันที กรณีไม่สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ภายในระยะเวลา ที่กำหนด ให้ยื่นขอขยายระยะเวลา ก่อนระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยให้ทำเป็นหนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและระบุระยะเวลาที่ขออนุมัติขยาย พร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณา
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ. ศ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2556 ในอำเภอหรือจังหวัด มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นในท้องที่ใด หาก อปท. มีงบประมาณก็สามารถช่วยเหลือโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของ อปท. เมื่องบประมาณไม่เพียงพอหรือเกินขีดความสามารถก็รายงานให้อำเภอทราบ อำเภอจะรายงานเป็นเหตุด่วนให้ ผวจ. ทราบเพื่อพิจารณาให้พื้นที่เป็นเขตการให้ความช่วยเหลือฯ โดย ผวจ.ร่วมกับ ก.ช.ภ.จ. เมื่อ ผวจ. ได้ประกาศเขตแล้ว อำเภอจะประชุม ก.ช.ภ.อ. เพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ที่กำหนด หากอำเภอมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยมากกว่าวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจาก ผวจ. ก็จะขอรับการสนับสนุนโดยตรงต่อจังหวัด
6) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย หากวงเงินทดรองราชการของจังหวัดไม่เพียงพอจังหวัดสามารถขอขยายวงเงินทดรองราชการ ผ่านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เสนอต่อกระทรวงการคลังตามความจำเป็นและเหมาะสม ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันที่เกิดภัย หากไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันภายในกำหนดให้ยื่นขอขยายระยะเวลาฯ ต่อกรมป้องกันฯ การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการดำรงชีพ 2) ด้านสังคมสงเคราะห์ 3) ด้านการแพทย์และ การสาธารณสุข 4) ด้านการเกษตร (พืช ประมง ปศุสัตว์) 5) ด้านบรรเทาสาธารณภัย 6) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อจังหวัดได้ใช้จ่ายเงินทดรองราชการไปแล้วจะต้องรวบรวมใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การจ่ายเงินส่งให้กรมป้องกันฯ ภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงินจากคลัง
ด้วยความขอบคุณ และสวัสดี