การเรียนรู้ตามรอยพยุคลบาท และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)
เศรษฐกิจพอเพียง โดย ด.ช.คณิศร ร่มพฤกษา เลขที่ 17 ชั้น ป.4/2.
นายนพดลไชยราช ชั้น ปวช 1 เลขที่ 9 กลุ่ม 2 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
การสร้างความตระหนักในโรงเรียนวิถีพุทธ
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
คนเป็นทรัพย์สินที่มี ค่ายิ่งของหน่วย อ้างอิง : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คน เก่ง คน ดี คน มี ความ สุข เป้าหมายการ พัฒนากำลังพล เพื่อให้ทำงานอย่าง.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
คณะกรรมการปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯ
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก จากต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
คุณธรรมนำชีวิต งานสัมฤทธิ์จิตสำราญ นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
แนวทางการจัดตั้งและพัฒนา สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ระบบเศรษฐกิจ.
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
ณ ห้องประชุมกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
ทฤษฎีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
พนิตตา ลูกบัว นักประชาสัมพันธ์ สพป.นครราชสีมาเขต ๗
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
“Thailand’s Sustainable Business” ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท
การขับเคลื่อน ครอบครัวแกนนำคุณธรรม
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ทดสอบหลังเรียนพระพุทธหน่วย8
การเตรียมการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
บทที่ 3 พิธีกรรม และ ศาสนพิธี ทางศาสนาพุทธ.
นโยบายของรัฐด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ.
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
โครงการ “9,999 ตามรอยเท้าพ่อ”
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การเรียนรู้ตามรอยพยุคลบาท และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้ตามรอยพยุคลบาท และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย... ดร. กริช เกตุเอี่ยม

ประเด็นการนำเสนอ 1. ความหมายของการเรียนรู้ 1. ความหมายของการเรียนรู้ 2. หลัก 10 ประการตามรอยพระยุคลบาท 3. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. บทสรุป

1. การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท 1. การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ความหมาย การเรียนรู้ = การศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ทราบ ตามรอย = การเลียนแบบ หรือเอาอย่าง ไม่ขัด ไม่ฝ่าฝืน พระยุคลบาท = เท้าทั้งคู่ของพระเจ้าอยู่หัว (พ่อหลวง) ในหลวง ตามรอยพระยุคลบาท = การประพฤติ ปฏิบัติตามแบบอย่างของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หลักเบื้องต้นเพื่อมนุษย์มีชีวิตอยู่รอด (Survival) 1. ปรัชญาชีวิต (Philosophy) หลักนำชีวิต , หลักคิด 2. ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องมี 1. สัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย 2. อนิจจัง ทุกข (ทุกข์) อนัตตา ต้องรู้

2. หลัก 10 ประการตามรอยพระยุคลบาท 2. หลัก 10 ประการตามรอยพระยุคลบาท รวบรวมโดยสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติตาม ดังนี้ 2.1 ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 22. ความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ และความถูกต้อง 2.3 ความอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด 2.4 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก 2.5 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.6 มีความตั้งใจจริง และขยันหมั่นเพียร 2.7 มีความสุจริต และความกตัญญู 2.8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดี และคนเก่ง 2.9 รักประชาชน 2.10 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

2.1 ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 2.1 ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทรงรับสั่งว่า “รู้รักสามัคคี” คือจะทำอะไรขอให้เริ่มต้นที่ ความรู้ และ รู้จริงก่อนที่จะนำออกเผยแพร่ หรือขยายความออกไป เช่น ทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง ตั้งชื่อว่า ซุปเปอร์มด ทรงนำไปแข่งจนชนะได้รางวัลเหรียญทอง

2.2 ความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ และความถูกต้อง 2.2 ความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ และความถูกต้อง ทุกชีวิต.... ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ถูกกดดัน เกลียดชัง อิจฉา ทำลาย ต้องอดทน พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา รวมน้ำหนักทั้งสิ้น 220 ตัน ทรงงานหนักประทับอยู่ในป่าในดง มืดค่ำ แมลงบินเข้าหน้าเข้าตา ก็อดทนมุ่งมั่น

2.3 ความอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด 2.3 ความอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด ทรงประทับนั่งเรียบง่าย ฉลองพระบาทผ้าใบตลอดเวลากว่า 60 ปี ไม่เคยเปลี่ยนยี่ห้อเลยมีอยู่ 3 คู่ เมื่อขาดชำรุดก็ยังเอา ไปซ่อม

2.4 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก 2.4 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ทรงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์ เช่น โครงการตามพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ

2.5 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.5 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง การมองต่างมุมบางครั้งก็เป็นแฟชั่น ควรดูที่เหตุผลที่ถูกต้องมากกว่าเมื่อตกลงเกินได้แล้วก็ต้องเลิกเถียงกัน และลงมือปฏิบัติเลย

2.6 มีความตั้งใจจริง และขยันหมั่นเพียร 2.6 มีความตั้งใจจริง และขยันหมั่นเพียร พระเจ้าอยู่หัวทรงงานอย่างมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรที่สุด การทรงงานไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีเวลากลางวัน กลางคืน ทรงได้รับการฝึกฝนอบรมมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงตั้งใจทำ ก็ตั้งพระทัยแล้วลงมือปฏิบัติจนบรรลุผลสำเร็จ เช่น ทรงดนตรี ทรงเรือใบ ทรงงานด้านการเกษตร การชลประทาน ฝนหลวง กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นต้น

2.7 มีความสุจริต และความกตัญญู 2.7 มีความสุจริต และความกตัญญู ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ยอดกตัญญู สมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี และความกตัญญูต่อแผ่นดินเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนไทยควรยึดถือปฏิบัติตาม

2.8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดี และคนเก่ง 2.8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดี และคนเก่ง ทรงได้รับการฝึกฝนให้ พึ่งตนเอง ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้เป็นวิถีชีวิตแบบไทยๆ เรียบ ง่าย ธรรมดา เดินเส้นทางสายกลาง สนับสนุนส่งเสริมคนดีและคนเก่ง ไม่อิจฉา กลัวว่าเขาจะก้าวล้ำเกินหน้า

9. รักประชาชน พระเจ้าอยู่หัวทรงรักประชาชน ทำงานเพื่อประชาชน ทรงอธิบายว่า พระองค์ท่านมีอาชีพ ข้าราชการ ดังนั้น คนที่มีอาชีพ รับราชการ ถือว่ารับงานจากพระราชามาทำต่อ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องรักประชาชน ทำงานเพื่อประชาชน

2.10 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน 2.10 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า บ้านเมืองเราอยู่รอดมาได้ถึงทุกวันนี้ เพราะคนไทยเราให้กันอยู่ คือ มีการช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทรต่อกันอยู่

สรุปหลักการทรงงาน คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ระเบิดจากข้างใน ปลูกจิตสำนึก เน้นให้พึ่งตนเองได้ คำนึงถึงภูมิสังคม ทำตามลำดับขั้น ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด บริการที่จุดเดียว แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ไม่ติดตำรา ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ การมีส่วนร่วม รู้ รัก สามัคคี มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ปฏิบัติอย่างพอเพียง เป้าหมายคือสังคมพอเพียง

3. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency – Economy) สาเหตุความเป็นมา ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในโลกของเศรษฐกิจ ในระบบทุนนิยม ทำให้เกิด  การแข่งขัน แก่งแย่ง ช่วงชิง ทุกรูปแบบ  ดิ้นรนแสวงหาเงินทองเพื่อความมั่งคั่ง  สังคมบริโภคนิยมสมบูรณ์แบบ  ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ไร้ขีดจำกัด  ชีวิตมีความเครียด เป็นทุกข์ ไม่มีความสุข  เป็นโรคเครียด ซึมเศร้า เป็นโรคจิต  ฆ่าตัวตาย ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเกรงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเกรงว่า  การใช้ชีวิตแบบหรูหรา ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย  ตามแบบอย่างสังคมทุนนิยมตะวันตก  ที่เน้นการบริโภค  จะนำไปสู่การล่มสลายของชีวิต ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ  ทรงริเริ่มมีพระราชดำริ และนำเสนอแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้เป็นรูปธรรม ที่สามารถเรียนรู้ปฏิบัติจริงได้  นำไปใช้ในภาคเกษตรกรรม เรียกว่า “ทฤษฎีใหม่”

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) พระราชดำรัส 19 ก.ค. 2517 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอดี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคง พร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”

พระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ “...ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียง นี้ อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้ พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง....”

พระราชดำรัส “...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้จะได้ไม่ครึ่งอาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้ การแก้ไขต้องใช้เวลาไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อน เพราะเดือดร้อน แต่ว่า ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...” “...ต้องทำแบบคนจน เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เพราะเราเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก ก็จะมีแต่ถอยหลัง ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะมีแต่ถอยหลัง แต่ถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเริ่มการบริหารที่เรียกว่า แบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างสามัคคี แน่แหละคือเมตตากัน ก็จะอยู่รอดตลอดไป...”

วิกฤตเศรษฐกิจไทย ปี 2540  จากปี 2517-2539 คนไทยไม่สนใจกระแสกระราชดำรัสฯ  จากปี 2540 (ฟองสบู่แตก) คนไทยตกงาน ตกระกำลำบาก  หันมาพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มสนใจ พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  เริ่มมีนักคิด นักวิชาการ นักบริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งกลุ่ม ตั้งวงคิด วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ สังเคราะห์เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกันมากขึ้น  สภาพัฒน์ฯ จัดสังเคราะห์องค์ความรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และได้รับ พระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่ได้เมื่อ 22 ต.ค. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัส แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวทางปฏิบัติ 1 2 3 4 5

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) บทความพระราชทาน “เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในด้านการพัฒนาประเทศ และการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์”

ความพอเพียง (Sufficiency) บทความพระราชทาน ความหมาย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง ความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมควรและพร้อมต่อการรองรับกาสรเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกได้เป็นองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยพื้นฐานวิถีชีวิตของสังคมไทย 2. คุณลักษณะ นำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ เน้นทางสายกลาง 3. คำนิยม ความพอเพียง มี 3 องค์ประกอบพร้อมกัน คือ 1) ความพอประมาณ ความพอดี ที่ไม่น้อยไป ไม่มากไป 2) ความมีเหตุผล ตัดสินใจ มีเหตุผล อธิบายได้ 3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต 4. เงื่อนไข 1) เงื่อนไขความรู้ 2) เงื่อนไขคุณธรรม 5. แนวทางปฏิบัติ ประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy) ความหมาย ปรัชญา วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้ และความจริง การแสวงหาความรู้ความจริง เศรษฐกิจ งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภค ใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน พอเพียง ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอเพียงแล้ว

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดหลัก เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ สมดุล / มั่นคง / /ยั่งยืน / พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม เป้าหมาย มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี นำสู่ หลักการ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี พอประมาณ เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน ทางสายกลาง เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม) จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ

นิยามของความพอเพียง  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับ พอประมาณ  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้ง ใกล้และไกล

เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้พอเพียงต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางการวิเคราะห์ความพอเพียง สัปปุริสธรรม ๗ ๑. รู้เหตุ ๒. รู้ผล ๓. รู้ตน ๔. รู้ประมาณ ๕. รู้กาล ๖. รู้บุคคล ๗. รู้ชุมชน ความมีเหตุผล ความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

หลักสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญา ที่เน้น “การพึ่งตนเอง” เป็นหลัก เน้นความสงบ เรียบง่าย ประหยัด เน้น ความพอมี พอกิน พออยู่ พอใช้ “อุ้มชูตัวเองได้” ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

คุณลักษณะของ คน/กิจกรรมที่ปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ พอเหมาะกับสภาพ ของตน / ความจำเป็น พอควรกับสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ /สังคม (ไม่โลภจนเบียดเบียน ตัวเองและผู้อื่น / ไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อม) ความมีเหตุมีผล ไม่ประมาท มีวินัย (รอบรู้/มีสติ) รู้สาเหตุ – ทำไม รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้ผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นในด้านต่างๆ มีภูมิคุ้มกันที่ดี สุขภาพดี พร้อมรับความเสี่ยงต่างๆ (วางแผน/เงินออม/ประกัน) ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น สังคม (แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) เรียนรู้ /พัฒนาตน อย่างต่อเนื่อง สามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ในที่สุด

หลักการพึ่งตนเอง ยึดหลัก เส้นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ในการดำรงชีวิตให้สามารถพึ่งตนเองได้ 5 ประการ คือ T ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม (ภูมิสังคม) /พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านเองก่อน /ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก E ด้านเศรษฐกิจ เดิมมุ่งเพิ่มรายได้ แต่ ไม่ลดรายจ่าย กลับทิศทางใหม่ มุ่ง ลดรายจ่าย โดยยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง R ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ /เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด / ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด M ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ /มีจิตสำนึกที่ดี /เอื้ออาทรประนีประนอม /นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก S ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน /รู้รักสามัคคี /สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน การพึ่งตนเอง

การดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการพื้นฐานก็คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลัก การทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง การสร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสมดุลใน แต่ละสัดส่วนแต่ละระดับบุคคล/ครอบครัว /ชุมชน/รัฐ ครอบคลุมทั้งทางด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจ

4. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างวิธีคิดประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว ฉาย CD บ้านคำปลาไหล

ตัวอย่างวิธีคิดประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ในระดับบุคคลและครอบครัว ตัวอย่างการใช้จ่ายอย่างพอเพียง พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ มีเหตุมีผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล /มีความจำเป็น /ไม่ใช้สิ่งของเกินฐานะ /ใช้ของอย่างคุ้มค่าประหยัด มีภูมิคุ้มกัน : มีเงินออม /แบ่งปันผู้อื่น /ทำบุญ ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ตัวเลขแสดงรายได้และภาวะหนี้สินคนไทย พ.ศ. จำนวนครัวเรือน รายได้ครัวเรือน/บาท หนี้สินต่อ รายได้ประชาชาติ/ ต่อเดือน ต่อปี ครัวเรือน/ปี/บาท คน/ปี/บาท 2545 17,882,700 13,736 164,832 82,485 171,658 2546 - 186,348 2547 18,905,400 14,963 179,556 104,571 206,660 2548 223,875 2549 19,582,845 17,787 213,444 116,585 232,143 ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ : 2550

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหาความยากจน สาเหตุที่มาของปัญหาความยากจน เดิม “โง่” – จน – เจ็บ” (ไร้การศึกษา – ยากจน – สุขอนามัยไม่ดี) ปัจจุบัน โลกาภิวัตน์ (Globalization) พาจน เพราะ  ค่านิยม ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเกินตัว (เห่อไปตามกระแส)  วัฒนธรรม ประเพณี หน้าใหญ่ใจโต กระเป๋าแฟบ  อบายมุข เหล้า บุหรี่ หวย เทียวกลางคืน (ต้องลด ละ เลิก) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน  ลดรายจ่าย ประหยัด เรียบง่าย เก็บออม  เพิ่มรายได้ ขยัน หมั่นเพียร มานะอดทน  ขยายโอกาส แสวงหาความรู้ เพิ่มเติมทักษะ เรียบรู้ตลอดชีวิต ไม่หยุดนิ่ง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศ  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-7 (2504-2535) มุ่งเพิ่มรายได้ เน้นการเจริญเติบโตของ G.D.P. พัฒนาประเทศให้เป็น “NICS” แต่เกิดปัญหา “รวยกระจุก จนกระจาย” และ “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน”  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 (2540-2554) มุ่งเน้นการพัฒนา “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสู่เป้าหมาย “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

องค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระดาษสา 40 ปี เครือซีเมนต์ไทย 90 ปี ความเป็นสากลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง BMW 90 ปี Nordstrom 100 ปี

ข้อสังเกตุทางทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนายาวนานบนบริบทของกระแสความคิดทางเลือกของการพัฒนา แนวคิดและวิถีปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของโลกทัศน์แบบองค์รวม / เป็นศาสตร์แบบบูรณาการ ความรู้ของชุมชนไทยในภาคชนบท/เกษตร เรื่องความพอเพียง ดำรงอยู่แล้วในวิถีชีวิต / การผลิต การดำรงชีวิต (ความรู้ / ประสบการณ์ / ภูมิปัญญา) ของผู้คนในภาคเกษตร หรือที่ต้องพึ่งระบบนิเวศน์ธรรมชาติ และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาฯ

สถานภาพทางวิชาการและองค์ความรู้ของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อสรุปองค์ความรู้ 1) เป็นอุดมการณ์ (Ideology) 2) เป็นปรัชญา (Philosophy) 3) เป็นฐานคติ (Assumption) 4) เป็นแนวคิด (Concept) 5) เป็นทฤษฎี (Theory) 6) เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา (Development Strategy) 7) เป็นกรอบกระบวนทัศน์ในการ พัฒนา แบบใหม่ (New Development Paradigm) 1) เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 2) ไม่มีปรากฏอยู่ในตำราตะวันตกมาก่อน 3) เป็นการสรุป รวบรวม ค้นคว้า ทดลอง วิจัย ติดตามผลปรับปรุงแก้ไข และสั่งสมความรู้ไม่น้อยกว่า 30 ปี 4) เป็นการใช้ความรู้จากศาสตร์หลายสาขา (Interdisciplinary Approach) 5) เป็นการมองปัญหาการพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic) 6) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายสาขางานอาชีพ 7) มีตัวอย่างที่ใช้กับภาคการเกษตร คือ “ทฤษฎีใหม่” 8) เชื่อว่าสามารถพัฒนาเป็นทฤษฎีการพัฒนา (Development Theory)

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภาคเกษตร เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ (New Theory) เป็นการประยุกต์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตร เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของธรรมชาติที่เรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” เพราะ 1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินออกเป็นส่วนชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน 2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี 3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น (ขั้นที่หนึ่ง) จัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนเลี้ยงสัตว์น้ำ และพืช น้ำต่างๆ พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อเป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ สมุนไพร เป็น อาหารประจำวัน ถ้าเหลือจากการบริโภค ขายเป็นรายได้ พื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ

ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า (ขั้นที่สอง) เมื่อเกษตรกรเข้าใจและปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งจนได้ผลแล้ว ก็สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอก เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต้องทำตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไป ทฤษฎีขั้นที่สอง เกษตรกรรวมพลังกันในรูปของกลุ่มสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น 1) การผลิต จัดหาพันธุ์พืช เตรียมดิน จัดหาน้ำ ปุ๋ย ฯลฯ 2) การตลาด เตรียมลานตากข้าวร่วมกัน ยุ้ง ฉาง เครื่องสีข้าว และขายให้ได้ราคาดี 3) การเป็นอยู่ จัดหาปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดี อาหารการกิน เครื่องใช้ 4) สวัสดิการ มีกองทุนให้กู้ยืม มีบริการตรวจดูแลสุขภาพยามป่วยไข้ 5) การศึกษา ส่งเสริมการศึกษา มีโรงเรียนและทุนการศึกษาให้เด็ก 6) สังคมและศาสนา พัฒนาสังคมและจิตใจโดยมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยว

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม จัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุน และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน คือ เกษตรกร ขายข้าวได้ราคาสูง ไม่ถูกกดราคา ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ราคาถูก เมื่อรวมกันซื้อจำนวนมาก ธนาคาร / ห้างร้าน บริษัท ซื้อข้าว ผลผลิต ดยตรงจากเกษตรได้ราคาต่ำ กระจายบุคลากร เพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

5. บทสรุป การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประพฤติ ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระเจ้าอยู่หัว - ยึดหลัก 10 ประการตามรอยพระพุทธบาทและหลักการทรงงาน 2. การดำรงชีวิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3 ห่วง 2 เงื่อนไข) 3. คิดใหม่ ทำใหม่ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น - เดินทีละก้าว - ขาดทุนคือกำไร - กินข้าวทีละคำ - ยิ่งให้ ยิ่งมี - ทำทีละอย่าง - ระเบิดจากข้างใน - คิดถึงทานก่อน - หากัลยาณมิตร - ทำแล้วต้องบอกคนอื่นต่อ 4. มีปรัชญาชีวิต ขยัน - ประหยัด - มานะอดทน - มีสติปัญญา

โครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ได้ประยุกต์และปฏิบัติตามจนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัล แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” นั่นคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ด้วย และสมบูรณ์ที่สุด รัฐบาลจึงกำหนดเป็นนโยบายสำคัญ ในการพัฒนาประเทศไทยโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้ง 63 ล้านคน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้คนดี คนเก่งไปพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ชีวิตนี้มีสุขได้... ด้วยความพอเพียง