จรรยาบรรณวิชาชีพครู ETHIC OF PROFESSIONAL TEACHER
หมวดที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ข้อที่ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือ ยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความ เมตตากรุณาอย่างเต็มกำลังความสามารถและเสมอภาค สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็กและเยาวชน และผู้ด้อยโอกาส ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ ศิษย์และผู้รับบริการได้รับการพัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจในแต่ละบุคคล
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วย ตนเองจากสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และ เลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม กับตนเอง เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับ ฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจอย่าง กัลยาณมิตร
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ลงโทษศิษย์อย่างไม่เหมาะสม ไม่สนใจหรือไม่รับรู้ปัญหาของศิษย์หรือผู้รับบริการจนเกิดผล เสียหายต่อศิษย์หรือผู้รับบริการ ดูหมิ่นเหยียดหยามศิษย์หรือผู้รับบริการ เปิดเผยความลับของศิษย์หรือผู้รับบริการเป็นผลให้ได้รับความ อับอายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จูงใจ โน้มน้าว ยุยงส่งเสริมให้ศิษย์หรือผู้รับบริการปฏิบัติขัด ต่อศีลธรรมหรือกฎระเบียบ ชักชวนใช้จ้างวานศิษย์หรือผู้รับบริการให้จัดซื้อ จัดหาสิ่งเสพ ติดหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข เรียกร้องผลตอบแทนจากศิษย์หรือผู้รับบริการในงานตามหน้าที่ ที่ต้องให้บริการ
หมวดที่ 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ข้อที่ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบ อาชีพ มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการ พัฒนาการศึกษา
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบ อาชีพ มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการ พัฒนาการศึกษา ความเสียสละ เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม เป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัว
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบอาชีพ มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการ พัฒนาการศึกษา คำว่า “เอื้อ” หมายถึง เอาใจใส่ มีน้ำใจ เห็นแก่กัน ส่วนคำว่า “อาทร” หมายถึง ความเอื้อเฟื้อ ความเอาใจใส่ ความพะวง รวมคำว่า “เอื้ออาทร” หมายถึง การเอื้อเฟื้อมีน้ำใจให้แก่กัน
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบ อาชีพ มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการ พัฒนาการศึกษา ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางซึ่งกันและกันความสามัคคี มีด้วยกัน 2 ประการ 1. ความสามัคคีทางกาย ได้แก่ การร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน 2. ความสามัคคีทางใจ ได้แก่ การร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบ อาชีพ มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการ พัฒนาการศึกษา คำว่า “ผนึก” หมายถึง ติดให้แน่น, ปิดให้แน่น. คำว่า “กำลัง” หมายถึง อำนาจ. ผนึกกำลัง จึงหมายถึง การรวมอำนาจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทำให้เกิดความ เสียหายต่องานหรือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยตำหนิ ให้ร้ายผู้อื่นในความ บกพร่องที่เกิดขึ้น สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การหรือกลั่นแกล้ง ผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพให้เกิดความเสียหาย
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทำให้เกิดความ เสียหายต่องานหรือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยตำหนิ ให้ร้ายผู้อื่น ในความ บกพร่องที่เกิดขึ้น สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การหรือกลั่นแกล้ง ผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพให้เกิดความเสียหาย คำว่า “ให้ร้ายผู้อื่น” หมายถึง เป็นการเอาเรื่องไม่ดีที่ไม่ดีเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นมาพูดให้บุคคลอื่นรับทราบ
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เจตนาให้ข้อมูลเท็จทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเกิดความ เสียหายต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิด ความเสียหายหรือแตกความสามัคคี
หมวดที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมาเป็นปัจจัยในการจัด การศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คำว่า “ยึดมั่น” หมายถึง ยึดถือ อย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมาเป็นปัจจัยในการจัด การศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คำว่า “สนับสนุน” หมายถึง ส่งเสริม ช่วยเหลือ เกื้อกูล
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนิน ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินชีวิตเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อ ประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่แสดงความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนา สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตนเป็นเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือ สังคม
อ้างอิง คุรุสภา. มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ. 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ksp.or.th/ksp2013. เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2560 มาตรฐานวิชาชีพ ทางการศึกษา. 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก education.dusit.ac.th/QA/articles/doc02.pdf เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2560 มาตรฐานวิชาชีพ. 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.kroobannok.com/21343 เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2560 7ElevenThailand. ครูผู้สอนด้วยหัวใจ (From The Heart) : หนังครู 7- Eleven. 2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=ADIYXltgh6w เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2560
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ รายชื่อสมาชิก นางสาวจินตภาณี ดอนกระโทก 6080116102 นาวสาวชลิดา การเร็ว 6080116103 นางสาวสุนิตา มหามูล 6080116117 นางสาวอารยา ปิ่นกระโทก 6080116122 นายกฤศวัฒน์ ดวงแก้ว 6080116123 นายญาณวุฒิ แสงศิรินาวิน 6080116124 นายธนาคม กางทา 6080116125 เสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ