มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งท่อน้ำดีคืออะไร? โรคมะเร็งท่อน้ำดี หมายถึง มะเร็งท่อน้ำดี หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเยื่อบุของท่อน้ำดีทั้งภายในและภายนอกตับ และถูกแบ่งเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในเนื้อตับ (intrahepatic cholangiocarcinoma) และมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ (extrahepatic cholangiocarcinoma) โดยมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ แบ่งเป็นส่วนที่อยู่ระดับขั้วตับ (hilar), ส่วนกลางท่อน้ำดี (middle) และท่อน้ำดีส่วนล่าง (distal common bile duct)
มะเร็งท่อน้ำดี
ภาพแสดงมะเร็งท่อน้ำดีชนิด perihilar cholangiocacinoma และแสดงให้เห็นท่อน้ำดีที่มีการหนาตัว (periductal fibrosis) จากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งในภาพมีพยาธิใบไม้ตับอาศัย อยู่ในท่อน้ำดีดังกล่าวด้วย
อัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงแค่ไหน ทั่วโลก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ค่อนข้างน้อย ทุกปีจะมีการเกิด โรคใหม่ของมะเร็งท่อน้ำดีประมาณ 2000 – 3000 ราย ทุกๆหนึ่งแสนคนจะมีประมาณ 0.01% - 0.46% คน เป็นมะเร็งท่อน้ำดี บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง อัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เพศชายจะมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง อัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีแนวโน้มสูงขึ้น ประเทศไทย คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่วยและตายด้วยมะเร็งท่อน้ำดีมากที่สุด ทุกปีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้กว่า 14,000 คน ประมาณ 6 ล้านคนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีอะไรบ้าง การอักเสบเรื้อรังของท่อทางเดินน้ำดีเป็นมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งได้มีได้หลายสาเหตุ โดยในโลกตะวันตกปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุดคือการเป็นโรคน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ (primary sclerosing cholangitis - PSC) ส่วนในประเทศโลกตะวันออกการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี โดยการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิด Clonorchis sinensis ซึ่งพบในญี่ปุ่น เกาหลีและเวียดนาม แต่ในประเทศไทยการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini อันเนื่องมาจากการรับประทานปลาเกล็ดขาววงศ์ปลาตะเพียนแบบดิบๆ หรือสุกๆดิบๆ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ส่วนการมีนิ่วในถุงน้ำดีนั้นยังไม่ชัดเจนว่าเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีหรือไม่
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี ภาพพยาธิใบไม้ตับระยะติดต่อ (metacercariae) ที่พบในปลาเกล็ดขาววงศ์ปลาตะเพียน
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี
อาการของโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีอะไรบ้าง? โดยหากพิจารณาจากตำแหน่งการเกิดของมะเร็งท่อน้ำดีที่มีทั้งในเนื้อตับและนอกตับแล้ว จะสามารถแบ่งกลุ่มอาการได้เป็น 2 แบบ คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำดีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะพบกับคนที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดีชนิดนอกตับ (Extrahepatic CCA) โดยเฉพาะที่เป็นอยู่บริเวณขั้วตับ (Perihilar CCA) ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการ อุดตันของท่อน้ำดีเพราะก้อนมะเร็ง ไปขัดขวางการไหลของท่อน้ำออกสู่ลำไส้เล็ก ทำให้น้ำดีมีการท้นไปเข้ากระแสเลือดเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลืองขึ้นได้ นอกจากนี้น้ำดีที่ซึมออกทางผิวหนังยังทำให้เกิดอาการคัน ตามร่างกาย และถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่า อุจจาระมีสีซีดลงและปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นอีกด้วย ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้บ่งบอกได้ถึงภาวะที่มีการอุดตันของ ท่อน้ำดีด้วยก้อนมะเร็งนั่นเอง นอกจากกลุ่มอาการข้างต้นแล้ว โรคมะเร็งท่อน้ำดียังมีกลุ่มอาการทั่วๆไป ที่ไม่เฉพาะเจาะจงอย่างเช่น การมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ จากการตอบสนองต่อมะเร็ง ปวดท้องใต้ชายโครงขวาและปวดร้าวไปถึงหลังหรือไหล่ ซึ่งเป็นผลมาจากการลุกลามของมะเร็งไปที่กล้ามเนื้อหลังและกระบังลม นอกจากนี้ยังสามารถคลำหน้าท้องแล้วเจอตับที่โตผิดปกติหรือแม้กระทั่งการเบื่ออาหาร และผอมลง ซึ่งทั้งหมดนี้มักพบกับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีทุกราย โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดีชนิดในตับ (Intrahepatic CCA) ซึ่งก้อนมะเร็งไม่ได้ไปอุดตันท่อทางเดินน้ำดีขนาดใหญ่เหมือนกลุ่มแรก
อาการของโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีอะไรบ้าง? 1. ตัวเหลือง ตาเหลือง ( ดีซ่าน ) : เนื่องจากน้ำดืที่มีสีเหลืองไม่สามารถ ไหลลงสู่ลำไส้เล็กจึงล้นเข้าสู่กระแสเลือดและมาสะสมอยู่ใต้ผิวหนังทั่วร่างกายตามเยื่อบุต่างๆ และตาขาว 2. ปวดบริเวณท้อง : หลังจากรับประทานอาหารแล้วจะรู้สึกไม่สบายบริเวณ ท้องด้านบนเล็กน้อยหรือปวดเสียดใต้ลิ้นปี่หรือปวดบริเวณหลังหรือ ปวดเค้นบริเวณท้องด้านขวาบนซึ่งเป็นอาการของเส้นประสาทถูกก้อนมะเร็ง ลุกลาม 3. ไข้ : ก้อนมะเร็งอุดตันถึงท่อน้ำดี ทำให้ภายในท่อน้ำดีเกิดอาการอักเสบ ทำให้มีอาการไข้ แต่อัตราการเกิดค่อนข้างต่ำ
อาการตาเหลือง
อาการของโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีอะไรบ้าง? (ต่อ) 4. คันบริเวณผิวหนัง : อาการคันที่ผิวหนังจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการเป็นดีซ่าน เพราะบิลิรูบิน ( bilirubin ) ที่อยู่ในเลือดมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงกระตุ้นให้ปลายประสาท ผิวหนังเกิดอาการคันนี้ขึ้น 5. คลำหน้าท้องพบตับโต มะเร็งลุกลามไปที่กล้ามเนื้อตับมีขนาดโตผิดปกติ จนสามารถคลำได้ 6. อุจจาระสีซีด จากน้ำดีที่ไม่ผ่านสู่ลำไส้เล็กจะไม่ปะปนออกมาสู่อุจจาระ ปัสสาวะสีเข้ม จากน้ำดีที่ล้นเข้าสู่กระแสเลือดจะถูกกำจัดออกทางระบบทางเดินปัสสาวะทำให้ ปัสสาวะเข้ม 7. อาการอื่นๆ : จะมีอาการร่วม เช่น ไม่อยากอาหาร เบื่ออาหารมันๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
ศรีนรินทร์เวชสาร2548;20(3):143-9.) วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีมีอะไรบ้าง การตรวจคัดกรองที่สำคัญในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง คือ การใช้อัลตราซาวด์ และ Alkaline phosphatase อย่างน้อยปีละครั้งซึ่งราคาถูกและมีความแม่นยำสูง การใช้ CT และ MRI จะใช้ในรายที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการรักษาและการผ่าตัดหรือในรายที่สงสัยว่ามะเร็งลุกลามเข้าไปในอวัยวะที่สำคัญ เช่น เส้นเลือดดำที่มาเลี้ยงตับ (Portal vein) หรือเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงตับ (Hepatic artery) เป็นต้น (ณรงค์ ขันตีแก้ว. โรคมะเร็งท่อน้ำดี. ศรีนรินทร์เวชสาร2548;20(3):143-9.)
ขอบคุณภาพ จากโครงการ CASCAP การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ ขอบคุณภาพ จากโครงการ CASCAP
วิธีการรักษามะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดีสามารถรักษาให้หายได้ โดยการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก จากการรายงานล่าสุดของทีมศัลยแพทย์ สังกัดภาควิชาศัลยศาสตร์ และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่าผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้ทั้งหมด (R0 resection) มีอัตรารอดชีพ 5 ปีถึง 47% (Outcome of curative resection for perihilar cholangiocarcinoma in Northeast Thailand. Titapun A, Pugkhem A, Luvira V, Srisuk T, Somintara O, Saeseow OT, Sripanuskul A, Nimboriboonporn A, Thinkhamrop B, Khuntikeo N.World J Gastrointest Oncol. 2015 Dec 15;7(12):503-12. )
วิธีการรักษามะเร็งท่อน้ำดี ด้วยการผ่าตัด ขอขอบคุณภาพจาก โครงการ CASCAP
วิธีการดูแลพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมีอะไรบ้าง ดูแลด้านการดำเนินชีวิต 1. ไปตรวจร่างกายซ้ำที่โรงพยาบาลตามกำหนด 2. ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบ ระมัดระวังการใช้แรงและพักผ่อนให้เพียงพอ 3. ออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น เดินเล่น ฝึกชี่กง ดูแลด้านโภชนาการ 1. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการต้านมะเร็งท่อน้ำดี เช่น ลูกเดือย กากเต้าหู้ 2. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการต้านมะเร็งและต้านการติดเชื้อ เช่น ถั่วเขียว ผักกวางตุ้ง มะระ 3. ควรรับประทานอาหารที่สามารถช่วยขับถ่ายและขับน้ำดี เช่น มะเดื่อ วอลนัต งา ปลิงทะแล
วิธีการรักษามะเร็งท่อน้ำดีที่เหมาะสม ต้องใช้ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมผ่าตัด ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งแบบบาดแผลเล็กและพยาบาลผู้ดูแล แผนกมะเร็ง และดูแลประคับประคองซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการรักษา โดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อวางแผนการตรวจวินิจฉัย การรักษาและการควบคุมอาการ ยกระดับผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขอบคุณภาพ จาก โครงการ CASCAP
สวัสดีครับ