งานทะเบียนและประสานการแพทย์ บรรยายโดย นางพิสมัย บุตรสามบ่อ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น
งานทะเบียนและประสานการแพทย์ **จะดูแลในเรื่องการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนการบันทึกข้อมูลผู้ประกันตน,การออกบัตรรับรองสิทธิรักษาพยาบาล,การแจ้งเข้า/แจ้งออก ของผู้ประกันตน**
ยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนเมื่อใด ? นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เพื่อเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อ มีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ ภายใน 30 วัน เช่นกัน นับแต่วันที่มีลูกจ้าง
ความหมายคำว่าลูกจ้าง “ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้าง โดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรแต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย”
ลูกจ้างบางประเภทที่ไม่ต้องเป็นผู้ประกันตน ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวันและรายชั่วโมงของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างขอรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำงานในต่างประเทศ ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ลูกจ้างบางประเภทที่ไม่ต้องเป็นผู้ประกันตน นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษาหรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ ลูกจ้างของเนติบัณฑิตยสภา ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ลูกจ้างสภากาชาดไทย ลูกจ้างของกิจการรัฐวิสาหกิจ ตามพ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
ลูกจ้างบางประเภทที่ไม่ต้องเป็นผู้ประกันตน ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดทั้งปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือเป็นไปตามฤดูกาล ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้น มิได้ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบธุรกิจการค้าเร่หรือค้าแผงลอย
คุณสมบัติการเป็นผู้ประกันตน ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังคงทำงานในสถานประกอบการเดิมอยู่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ประกันตนต่อไป แม้ว่าจะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน นายจ้างมีหน้าที่รวบรวมแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน แบบ สปส. 1-03 (ในกรณีที่ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อน) แบบ สปส. 1-03/1 (ในกรณีที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาแล้ว) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน หลักฐานการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีคนไทย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีคนต่างด้าว ใช้สำเนาใบอนุญาตทำงาน และสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาหนังสือแสดงตัวแทน
แบบฟอร์ม สปส.1-03 แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อ สำนักงานประกันสังคม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน
แบบฟอร์ม สปส.1-03/1
การแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ลูกจ้างออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่ลูกจ้างออกจากงาน ใช้แบบฟอร์ม สปส. 6-09 ระบุสาเหตุการออกจากงาน ( ข้อ 1 - 6 ข้อ )
แจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แบบฟอร์ม สปส.6-09 แจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน(สปส.6-10) กรณีเปลี่ยน คำนำหน้านาม ชื่อ ชื่อสกุล สถานภาพ บุตร ใช้แบบฟอร์ม สปส. 6-10 เอกสารแนบ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ลงชื่อผู้มีอำนาจลงนาม (นายจ้าง/ผู้รับมอบอำนาจ)
บทกำหนดโทษ กรณีมีลูกจ้าง/ผู้ประกันตนออกจากงาน ให้แจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามแบบ สปส. 6-09 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากที่มีการเปลี่ยนแปลง หากไม่แจ้งภายในกำหนด จะมีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 96)
บทกำหนดโทษ (ต่อ) การยื่นแบบ สปส. 1-03 , 1-03/1 (แบบแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน) กรณีนายจ้างมีลูกจ้างแต่ไม่แจ้งขึ้นทะเบียนฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน จะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
การจัดทำทะเบียนผู้ประกันตน สปส.6-07 ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนผู้ประกันตนตามแบบ สปส. 6-07 เพื่อประโยชน์และควบคุม การเข้า/ออก ของลูกจ้าง เก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ บทกำหนดโทษ นายจ้างผู้ใดมีเจตนาไม่จัดทำทะเบียนตามแบบ สปส.6-07 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ปัญหา คำนำหน้านาม ชื่อ- สกุลไม่ถูกต้อง เลขชั่วคราว สาเหตุ ไม่แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน คำนำหน้านาม ชื่อ- สกุลไม่ถูกต้อง ผล – ไม่พบข้อมูลการนำส่งเงินสมทบ ตัดสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนอัตโนมัติ บัตรรับรองสิทธิฯถูกยกเลิก
ปัญหา/ผลกระทบที่มีต่อผู้ประกันตน กรณีนายจ้างไม่แจ้งแบบ สปส. 1-03,1-03/1 ไม่ได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ หรือได้รับล่าช้า ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย กรณีข้อมูลเงินสมทบ มีเงินสมทบ แต่ไม่มีฐานว่าจ้าง นายจ้างนำส่งเงินสมทบผิดราย
ปัญหา/ผลกระทบต่อผู้ประกันตน(ต่อ) กรณีผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบแต่มีสถานะA ส่งรายงานให้นายจ้างตรวจสอบ หากลูกจ้างออกจากงานให้แจ้ง ตามแบบ สปส.6-09 กรณีขาดส่งเงินสมทบระบบตัดสิ้นสภาพ(R0) บัตรรับรองสิทธิฯถูกยกเลิก รับประโยชน์ทดแทนไม่ได้
ปัญหา/ผลกระทบที่มีต่อผู้ประกันตน ( ต่อ ) กรณีไม่แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน(สปส. 6-09) ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานล่าช้า ได้รับเงินกรณีสงเคราะห์บุตรเกินสิทธิ จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลเกินสิทธิ
เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วผู้ประกันตนจะได้อะไร ? ผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนและจ่ายส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน จะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ประกันตนเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารักษาเอง สำนักงานฯ จะส่งบัตรรับรองสิทธิฯ ไปให้นายจ้าง
หลักเกณฑ์บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล การเลือกสถานพยาบาล สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่ผู้ปะกันตนประจำทำงาน หรือเขต จังหวัดรอยต่อ การเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาล การเปลี่ยนประจำปี ได้ปีละ 1 ครั้ง ตามระยะเวลาที่สำนักงานฯกำหนด การเปลี่ยนสถานพยาบาล ในระหว่างปี กรณีย้ายที่ประจำทำงานใหม่ หมายเหตุ การเลือกสถานพยาบาลหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลขณะผู้ประกันตนนอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ไม่สามารถเปลี่ยนได้จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาในครั้งนั้นก่อน
หลักเกณฑ์บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล(ต่อ) การกำหนดวันออกบัตรรับรองสิทธิ คือ วันออกบัตรเป็นวันที่ 1 และ วันที่ 16 ของแต่ละเดือน บัตรรับรองสิทธิ มีอายุ 2 ปี (ม. 33 และ ม. 39) ยกเว้นบัตรรับรองสิทธิที่ออกให้บุคคลตามม. 38 การรับบริการทางการแพทย์ เป็นโรงพยาบาลที่ปรากฏชื่อในบัตรรับรองสิทธิฯ รวมทั้งสถานพยาบาลเครือข่ายของโรงพยาบาลที่ปรากฏชื่อในบัตรรับรองสิทธิ
สถานพยาบาลในจังหวัดขอนแก่น สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ในจังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ไม่รับเพิ่ม) โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลชุมแพ หมายเหตุ โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยทุกแห่งในจังหวัดขอนแก่น เป็นเครือข่าย
แบบ สปส. 9-02
บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ปี 2557 ผู้ประกันตนมีความประสงค์จะเปลี่ยนบัตรรับรองสิทธิฯ ยื่นคำขอตามแบบ สปส. 9-02 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2557 ถึง 31 มีนาคม 2557
การให้บริการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน www.sso.go.th(e-Services)
ฟังก์ชันการทำงานของระบบ 1 2 3 7 4 5 6
เรามาดูกันว่า จะเข้าใช้ระบบอย่างไร แต่ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของแต่ละ ฟังก์ชันกันก่อนนะครับ เริ่มที่ฟังก์ชันแรก ขอทำ ธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตโดย ผู้ใช้ขอมี User ID และ Password เพื่อจะสามารถ login เพื่อเข้าไปทำธุรกรรม ต่างๆ
การทำธุรกรรมงานทะเบียน ได้แก่ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03), แจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส. 1-03/1), แจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09), แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน (สปส. 6-10), และส่งข้อมูลทะเบียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (สปส. 1-04) ภายใต้สถานประกอบการที่ผู้ใช้มีสิทธิ์
การทำธุรกรรมการส่งข้อมูลเงินสมทบ โดย สามารถเลือกส่งแบบแยกยื่น (สปส การทำธุรกรรมการส่งข้อมูลเงินสมทบ โดย สามารถเลือกส่งแบบแยกยื่น (สปส.1-10) และส่งเงินสมทบแบบยื่นรวมสาขา (สปส.1-10/1) ภายใต้สถานประกอบการที่ผู้ใช้มีสิทธิ์
การสอบถามข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สอบถามข้อมูล เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
การตรวจสอบสถานะในการทำธุรกรรม ผู้ใช้สามารถค้นหาธุรกรรมที่ได้ การตรวจสอบสถานะในการทำธุรกรรม ผู้ใช้สามารถค้นหาธุรกรรมที่ได้ ทำไป ซึ่งระบบจะแสดงรายละเอียดของธุรกรรม และสถานะของธุรกรรมที่ผู้ ใช้ได้ทำในระบบ ผู้ใช้สามารถยกเลิกธุรกรรมได้
ข้อมูลผู้ใช้ ระบบแสดงรายละเอียดข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้ทำการ login เข้ามาในระบบ ซึ่งจะสามารถเปลี่ยน password หรือแก้ไขข้อมูลผู้ใช้งานได้
ฟังก์ชั่นสุดท้ายคือ การเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการทำธุรกรรม ผู้ใช้สามารถขอเปลี่ยนแปลงสิทธิ์การทำรายการของสำนักงานประกันสังคมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ดังนี้ คือ การขอเพิ่มสาขาในการทำธุรกรรม และการขอยกเลิกสาขาในการทำธุรกรรม