โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559
ทำไมจึงต้องมีโครงการฯ นี้เกิดขึ้น การผลิตสุกรในประเทศไทย เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยประมาณ 5-10 % ส่วนใหญ่จะเป็นระบบแบบไม่ครบวงจร ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้จะประสบปัญหาการผลิตบ่อยครั้ง จากปัญหาเหล่านี้ - ขาดความรู้ความเข้าใจการจัดการฟาร์มและระบบป้องกันโรคที่ถูกต้อง - ต้นทุนการผลิตที่สูง - ปัญหาความสูญเสียที่เกิดจากโรคระบาดต่างๆ เข่น PRRS
โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อ..... 1. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันและควบคุมโรคตามรูปแบบการเลี้ยงสุกรตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดการเกิดโรคและลดต้นทุนการผลิต 2. กรมปศุสัตว์สามารถประเมินสถานภาพโรค PRRS ของฝูงสุกร โดยวิเคราะห์ปัญหาจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค PRRS
เป้าหมายของโครงการนี้ 1. ในพื้นที่ที่มีเกษตรกรรายย่อย จำนวน 69 จังหวัด (ยกเว้น กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ภูเก็ต และยะลาตาม ฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรปี 2558 ของศูนย์ฯสารสนเทศ กรมปศุสัตว์ 2. เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ไม่เกิน 30 ตัว และ/หรือเลี้ยง สุกรขุน ไม่เกิน 100 ตัว จังหวัดละ 10 ราย
2. การประเมินสภาพโรค PRRS ดำเนินการอย่างไร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. การปรับระบบการเลี้ยง 2. การประเมินสภาพโรค PRRS
1. การปรับระบบการเลี้ยง 1.1 การคัดเลือกเกษตรกรเป้าหมายและสำรวจความต้องการของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยคัดเลือกจาก - เกษตรกรใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการฯ แต่ได้รับการรับรอง การขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว - เกษตรกรที่ยังไม่ได้จัดตั้งกลุ่ม แต่มีความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่ม - เกษตรกรที่ไม่สามารถจัดตั้งกลุ่ม แต่มีความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่ม
การปรับระบบการเลี้ยง (ต่อ) 1.2 ฝึกอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เรื่องโรคที่สำคัญ การป้องกันโรคตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ การทำทะเบียนสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ การบันทึกข้อมูลฟาร์ม ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกลุ่มเกษตรกร 1.3 ติดตามและให้คำแนะนำเกษตรกรหัวข้อความปลอดภัยทางชีวภาพในเรื่อง - สถานที่เลี้ยงสุกร - การเลี้ยงสุกร(การจัดการ) 1.4 ตรวจเยี่ยมเกษตรกร อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ
2. การประเมินสถานภาพโรค 2.1 เก็บตัวอย่างเลือดสุกรของเกษตรกรจังหวัดละ 30 ตัวอย่าง โดยพ่อพันธุ์ให้เก็บทุกตัวที่เหลือเป็นของแม่พันธุ์ 2.2 ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโรค PRRS ด้วยวิธี ELISA หากพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกให้ยืนยันผลด้วยวิธี PCR หากผลการตรวจยังคงเป็นบวกให้จว.ทำการสอบสวนโรคและรายงานสคบ.ต่อไป 2.3 สรุปผลการประเมินโรค PRRS และสรุปวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานใดบ้างที่รับผิดชอบ 1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด 69 จังหวัด 2. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ 3. สำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9 4. สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
สิ่งที่จะได้รับจากโครงการฯนี้ 1. เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีอาชีพเลี้ยงสุกรได้อย่างยั่งยืน 2. สร้างความเชื่อมั้นในการบริโภคเนื้อสุกรปลอดโรคกับผู้บริโภค 3. ได้ต้นแบบในการดำเนินการปรับระบบการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายย่อย 4. อัตราการเกิดโรค PRRS ของสุกรในประเทศไทยลดลง 5. ลดต้นทุนการผลิตสุกรของเกษตรกรรายย่อย
Thank YOU