ระเบียบวิธีการศึกษาคติชนวิทยา
ระเบียบวิธีการศึกษาคติชนวิทยา การค้นหาจุดกำเนิดของคติชนวิทยา การค้นหารูปแบบและโครงสร้างของคติชนวิทยา การศึกษาสัญลักษณ์ในคติชนวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบในคติชนวิทยา การศึกษากระบวนการถ่ายทอดของคติชนวิทยา
การค้นหาจุดกำเนิดของคติชนวิทยา แนวทางที่เห็นว่าคติชนที่เหมือน ๆ กัน หรือคล้ายกัน อาจ เกิดขึ้นได้พร้อมกันในสถานที่หลายแห่งและหลายช่วงสมัย เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีวิญญาณ ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำ ท่วมโลก แนวทางที่เห็นว่าคติชนเกิดขึ้นในแหล่งเดียวกันแล้ว แพร่กระจายไปยังแหล่งอื่น เช่น การแพร่กระจายของนิทาน พื้นบ้าน
การค้นหารูปแบบและโครงสร้างของคติชนวิทยา คติชนจะมีลักษณะสำคัญประการหนึ่งคือ จะมีรูปแบบและ โครงสร้างที่แน่นอน แม้จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน เช่น รูปแบบของนิทาน ปริศนาคำทาย การศึกษาวิธีนี้จะทำให้สามารถจำแนกรูปแบบและโครงสร้างได้ เช่น การศึกษานิทานพื้นบ้าน แบ่งประเภทเป็น นิทานวีรบุรุษ นิทานสัตว์ นิทานมุขตลก
การศึกษาสัญลักษณ์ในคติชนวิทยา การศึกษาสัญลักษณ์เป็นวิธีการใช้แนวความคิดหนึ่งหรือสิ่งใด สิ่งหนึ่งแทนแนวความคิดอื่นหรือสิ่งอื่น ซึ่งไม่อาจกล่าวอย่าง ตรงไปตรงมาได้ การศึกษาวิธีนี้จะศึกษาความหมายสัญลักษณ์ที่ชาวบ้านใช้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของชาวบ้าน สัญลักษณ์ที่ปรากฏมักอยู่ในนิทาน เพลงพื้นบ้าน ความฝัน
การศึกษาเปรียบเทียบในคติชนวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบทางคติชนวิทยา ต้องอาศัยความ ร่วมมือกัน แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
การศึกษากระบวนการถ่ายทอดของคติชนวิทยา การศึกษากระบวนการถ่ายทอดของคติชนวิทยาเป็นการศึกษา เรื่องราวที่ถ่ายทอดทางมุขปาฐะ อาจถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่ง ไปยังบุคคลหนึ่ง หรือจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรม หนึ่ง
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ
วิธีการศึกษา ศึกษาจากข้อมูลภาคสนาม ศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ศึกษาจากพิพิธภัณฑ์คติชน