Chapter 7 Nursing Care of the Child with Respiratory System Supawadee Lerdsamran MNS.(Pediatric Nursing) Ramathibodi school of nursing, Mahidol University. February 25,2016
หัวข้อการเรียนรู้ตาม test blueprint สภาการพยาบาล การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ การพยาบาลเด็กทีมีปัญหาระบบหายใจ ส่วนบน: Asthma Croup Bronchitis
หัวข้อการเรียนรู้ตาม test blueprint สภาการพยาบาล การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ ส่วนล่าง Pneumonia Bronchiolitis
หัวข้อการเรียนรู้ตาม test blueprint สภาการพยาบาล การดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจด้วย กายภาพบำบัดทรวงอก และออกซิเจน การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็กที่มี ปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้าน
การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจ ปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ พยาธิสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นในโรค หรือกลุ่มอาการ ต่าง ๆ ของระบบหายใจในเด็ก ความร่วมมือจากเด็ก และครอบครัว
การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การสำลักสิ่งแปลกปลอม อาจมีผลต่อการทำงานของระบบหายใจ ประวัติเกี่ยวกับการใช้ยา
โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดลม Asthma (หอบหืด) ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดลม ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงWheeze หรือหอบเหนื่อย
ผ่านทาง MDI with spacer 2-4 puff/ครั้ง ห่างกัน 20-30 นาที การรักษาประกอบด้วย การให้ยาขยายหลอดลม β2-agonist ในกรณีที่อาการหอบรุนแรง ผ่านทาง MDI with spacer 2-4 puff/ครั้ง ห่างกัน 20-30 นาที โดยผสมกับ NSS ให้ได้ปริมาตร 2.5 - 4 มล. โดยเปิด oxygen flow 6 – 8 ลิตร/นาที
การพยาบาล 1.ดูแลติดตามสัญญาณชีพ ตามความรุนแรง 2. วัด SO2 3.ดูแลให้ได้รับยาครบตามแผนการรักษาพร้อมทั้งสังเกตอาการ ข้างเคียงของการได้รับยา 4.ดูแลให้พักผ่อน 5.ดูแลให้รับประทานอาหารและน้ำดื่มเพียงพอในกรณีไม่มีข้อห้าม 6.ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ป้องกันการติดเชื้อ 7.สังเกตอาการและอาการแสดง
ตารางที่ 2 แสดงการใช้อาการและอาการแสดงในการประเมินความรุนแรงของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
ปอดบวม (Pneumonia) ปอดบวมเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอด พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้ประมาณร้อยละ 8-10 ของผู้ป่วยที่มีการ ติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อในเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี
อาการและอาการแสดง ไข้ ไอ อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ อายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป อายุ < 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป อายุ 2 - 12 เดือน มีอาการหายใจลำบาก มี chest wall retraction ฟังเสียงปอดมักจะได้ยินเสียง fine หรือ medium crepitation อัตราการหายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป อายุ 1-5 ปี
การจำแนกกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดบวม โรคปอดบวมไม่รุนแรง ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่มีอัตราการหายใจเร็วตั้งแต่ 50 ครั้ง/นาทีขึ้นไป (เด็กอายุ 2 เดือน ถึง 1 ปี) และ 40 ครั้ง/นาทีขึ้นไป (เด็กอายุ 1 ปี ถึง 5 ปี) โรคปอดบวมรุนแรง รับไว้รักษาในโรงพยาบาล เด็กอายุ 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้ง/นาทีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่มี chest wall retraction ที่บริเวณส่วนล่างของทรวงอก โรคปอดบวมรุนแรงมาก รีบรับไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยด่วน อาการและอาการแสดงของ hypoxemia หอบ ชายโครงบุ๋ม เขียว หยุดหายใจ ซึม ไม่สามารถดื่มน้ำหรือนมได้ มีอาการแสดงของภาวะช็อก
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ประเมินการหายใจ วัดระดับออกซิเจนในเลือด ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา สังเกตอาการแสดงของเด็กเพื่อประเมินอาการและอาการแสดง ของออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ ได้แก่ อาการเขียว หายใจเร็ว (อัตราการหายใจตั้งแต่ 70 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป) หอบชายโครง บุ๋ม กระวนกระวาย หรือซึม
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ดูแลพ่นยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา สังเกตอาการและอาการแสดงของผลข้างเคียงยาขยายหลอดลมใน เด็กร่วมด้วยทุกครั้ง ทำกายภาพบำบัดทรวงอก (chest physical therapy) ได้แก่ การจัดท่าระบายเสมหะและเคาะปอดให้กับเด็กที่มีเสมหะคั่งค้างใน ในผู้ป่วยที่อาการหนักอาจให้เพียงการสั่นสะเทือนบริเวณทรวงอก (vibration) และช่วยดูดเสมหะก็จะช่วยระบายเสมหะที่คั่งค้างใน หลอดลมออกมาได้
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ดูแลเช็ดตัวหากมีไข้ และให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา กรณีติดเชื้อแบคทีเรียดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการ รักษา ดูแลให้เด็กได้รับสารน้ำเพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ มาก ๆ ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ดูแลให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ ยกเว้นในรายที่รุนแรง อาจงด อาหารทางปากในกรณีพิจารณาอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ดูแลตวงน้ำดื่มและตวงปัสสาวะ และลงบันทึกเพื่อประเมินการ ได้รับน้ำในร่างกายเพียงพอ กรณีในผู้ป่วยที่มีภาวะ การหายใจล้มเหลวหรือหยุดหายใจและ ใส่ท่อหลอดลมคอเครื่องช่วยหายใจ ให้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (Intensive care unit)
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็ก ที่มีปัญหาระบบหายใจที่บ้าน การเยี่ยมบ้าน/การติดตามผู้ป่วย ภายหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว ทีมบุคลากรทาง การแพทย์ควรมีการติดตามประเมินผลหลังกลับบ้านโดย การเยี่ยมบ้านและการติดต่อทางโทรศัพท์ แพทย์ควรนัดผู้ป่วยกลับมาตรวจที่โรงพยาบาลตามความ จำเป็น