Visual Communication for Advertising Week10-12
การผลิตภาพร่างและต้นแบบในการผลิตงานโฆษณา 2 - การออกแบบตราสินค้า - การออกแบบสื่อ สิ่งพิมพ์ธุรกิจ
ตัวอักษรกับการออกแบบงานนิเทศศิลป์เพื่อการโฆษณา บทบาทหน้าที่ตัวอักษรในการออกแบบ ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา ที่ทำการสื่อสารจากข้อความที่มีความหมายที่มีอยู่ทั้งในรูปแบบการเขียนเพื่ออ่านเป็นสำคัญและในแบบการออกแบบก็สามารถผลิตงานที่สื่อสารทั้งการใช้ข้อความสีและรูปทรงได้ สามารถสื่อสารในเรื่องของอารมณ์ ที่ส่งผลถึงการรับรู้ในรูปแบบของงานที่ทำการออกแบบได้กับกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสาร เช่น ตัวอักษรในโปสเตอร์ภาพยนตร์ตัวอักษรบนปกหนังสือและตัวอักษรพาดหัวต่างๆในงานโฆษณา นอกจากนั้นการออกแบบตัวอักษรนอกจากการให้ข้อมูลอย่างส่งผลต่อการบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันได้ Autopbahn Utrecht,nL , jeanette Abbink &Emily CM Anderson (2010)Mark Batty Publisher,ney Yok
สามารถสร้างการกระตุ้นและเกิดการดึงดูความสนใจ ให้เกิดขึ้นทั้งรูปแบบการเขียนเพื่ออ่านและรูปแบบงานออกแบบด้วยการใช้การเล่นคำ การใช้รูปแบบขนาดและสีสันความหมายทีมาจากการจัดองค์ประกอบศิลป์ในการออกแบบและจัดวาง
รูปแบบตัวอักษรที่นำมาใช้ในการออกแบบนิเทศศิลป์ ประเภทของตัวอักษรลักษณะเด่นชัดของตัวอักษรที่ทำให้มีรูปลักษณ์หลากหลายรูปแบบ เนื่องมาจากการออกแบบเพื่อให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน การประดิษฐ์ให้เกิดรูปแบบตัวอักษรใหม่ๆเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ การสร้างเครื่องมือที่ใช้เขียนตัวอักษร การประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้เฉพาะงาน การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่สนับสนุนให้การออกแบบทำได้อย่างสะดวกและมีความประณีต สวยงามมากยิ่งขึ้น เราสามารถแบ่งตัวอักษรได้ตามรูปลักษณ์ที่ต่างกัน ตัวพิมพ์แบบตัวคัดลายมือ (Text Letters or Blackletter Typefaces) ตัวพิมพ์แบบตัวเขียน (Script or cursive Typefaces) ตัวพิมพ์แบบมีเชิง (มีฐาน) Serif (Serif Typefaces) ตัวพิมพ์แบบไม่มีฐานหรือติ่ง San-Serif (San-Serif Typefaces) ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่ง (Display Typefaces)
ขั้นตอนการออกแบบตัวอักษรเพื่อนำมาใช้ หลักการในการออกแบบง่าย ที่เน้นการออกแบบตัวอักษรแบบตกแต่ง โดยแนวงานอาจมาจากแบบงานตัดทอนบางส่วนของตัวอักษรที่มี หรือออกแบบใหม่ตามหลักภาษาก็ได้คิดง่าย คือข้อความมาจากภาพ ข้อความมาจากพฤติกรรมมนุษย์ หรือ ตัวอักษรภาพที่เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย เพื่อนำไปใช้ในการทำงานด้านกราฟฟิก ด้านโฆษณาและด้านศิลปะและการออกแบบต่างๆ ลูกค้าให้เราออกแบบอะไร วัตถุประสงค์ คืออย่างไร รูปแบบงานเป็นแบบไหน นั่นคงเป็นสิ่งที่เราเรียกว่าส่วนข้อมูล เราต้องกำหนดแนวคิดว่าอยากได้แนวไหน สีอะไรส่งผลกับงานมากน้อยแค่ไหนและทำการร่างภาพแบบถอดไอเดียเก็บไว้มากๆเพื่อทำการคิดเลือก การร่างแบบตามแนวคิดเพื่อนำเสนอความต้องการผู้ว่าจ้างในการออกแบบ จนกว่าจะพอใจ และสามารถสื่อสารได้กับการทำงาน แบบร่างมาทำการออกแบบจริงด้วยเทคนิคต่างๆเช่นการเขียนมือการทำด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เทคนิค อื่นๆในการสร้างสรรค์งาน ก็ตาม ทั้งนี้สิ่งที่กล่าวมาก็สามารถให้นักออกแบบมีความเข้าใจกระบวนการต่างๆในการออกแบบตัวอักษรได้ดีมากขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบได้จริงต่อไปในอนาคต
การใช้ภาพในการออกแบบงานนิเทศศิลป์เพื่องานโฆษณา การใช้ภาพในการออกแบบงานนิเทศศิลป์เพื่องานโฆษณา หลัการในการคัดเลือกภาพ ภาพนั้นสื่อสารได้หรือไม่ ความหมายโดยตรงอาจมีความหมายแบบต้องตีความเช่น การเปรียบเทียบตัวอย่างเช่นต้องการภาพสุนัขมาใช้ในการออกกแบบภาพโปสเตอร์ เราควรคิดให้ได้ว่าภาพสุนัขแบบไหนที่สื่อสารได้ดีที่สุดกับกิจกรรม ภาพที่ดีต้องสวยงามมีความน่าสนใจ ด้วยกระบวนการออกแบบที่มากกว่าภาพ ธรรมดา คือ เป็นที่ดึงดูดให้จดจำ ด้วยการใช้ รูปทรง สี องค์ประกอบศิลป์ แสงและอารมณ์ภาพ ทั้งนี้ภาพอาจอยู่ในแนวคิดของนักออกแบบตั้งแต่แรก รูปแบบของภาพก็มีผลกับการนำไปใช้ในการออกแบบ ด้วยเช่นกัน เช่นหากเราต้องการจะทำงานเกี่ยวกับเด็กเราอาจต้องใช้ภาพวาดการ์ตูนในการสื่อสาร หากเราต้องการนำเสนอภาพกับการขายสินค้าการใช้ภาพถ่ายอาจเป็นการใช้ภาพในการสื่อสารที่น่าเชื่อถือมากว่า ดังนั้นรูปแบบของภาพอาจมีผลต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เช่นกัน คุณภาพของภาพในการนำมาใช้ ก็มีผลต่อการนำภาพต่างๆไปใช้ในการผลิต เช่นภาพวาดในกระดาษที่ไม่ดีส่งผลต่อสี ภาพถ่ายที่ถ่ายมาไม่ดีก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ภาพจากคอมพิวเตอร์ความละเอียดน้อยก็ไม่สามารถนำไปใช้ในงานขนาดใหญ่เช่นงานโปสเตอร์หรือโฆษณาในนิตยสารได้
หลักในการออกแบบภาพเพื่อใช้ในงานออกแบบนิเทศศิลป์ กระบวนในการออกแบบต้องอาศัยแนวคิดในการออกแบบ หลักจิตวิทยา ความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อให้ภาพนั้นสามารถสื่อสารได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุดด้วยรูปแบบของภาพที่หลากหลายอาจมีเพียงหนึ่งแบบที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ดังนั้นนักออกแบบควรเข้าใจแนวคิดและกระบวนการในการออกแบบให้ได้มากที่สุดในการ ตามหลักการโฆษณา C.Bove e and W.aren นักโฆษณา ได้กล่าว การใช้ภาพประกอบในการสื่อสารให้สำเร็จควรคำนึงถึงพื้นฐาน ความงาม ความรวดเร็ว มีความประหยัดและมีเป้าหมาย ทั้งนี้ภาษาภาพที่จะสื่อความหมายได้ดีต้องมีการจัดวางองค์ประกอบลงในพื้นที่ว่าง ที่อาจใช้การจัดวางได้หลายรูปแบบโดยมีการกำหนดจุดเด่นทีมีความชัดเจนในการนำสายตา ด้วยภาพและสีโดย ทั้งนี้หลักแนวคิดในการจัดภาพตามภาพด้วยหลักแนวคิดภาพกับ ดังนั้นหลักในการออกแบบภาพประกอบ จึงต้องมีขั้นตอนในการทำงาน ได้แก่ 1. ต้องมีความเข้าใจในโจทย์ในการผลิตภาพว่า ผลิตภาพไปเพื่อใช้กับงานอะไร แบบไหน เมื่อไหร่ 2. กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร และจะผลิตภาพแนวไหน เพื่อให้เข้าถึงการจดจำและการรับรู้ได้มากที่สุด 3. ทำการหาข้อมูลเพื่อใช้ในการผลิตภาพตลอดจนกำหนดมุมมองของภาพที่ทำให้ เกิดรูปแบบใหม่ๆ และมีความเกี่ยวข้องกับงานมากที่สุด 4. ทำการร่างแนวคิดออกมาเป็นภาพ แบบหยาบๆเพื่อเตรียมไว้ในการผลิตภาพหรือค้นหาภาพที่นำมาใช้ในการทำงาน 5. การผลิตภาพจริงซึ่งหลายๆครั้งอาจจะเป็นเพียงวัสดุของการออกแบบ เช่น การใช้ภาพในการออกแบบสื่อโฆษณา การออกแบบภาพในการทำโปสเตอร์เพื่อใช้ในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ภาพที่ได้อาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งขององค์ประกอบงาน
ขันตอนในการออกแบบLOGO
Production 1.การออกแบบการตัวอักษรเป็นภาษามา1ชุด 2.ฝึกออกแบบตัวอักษร 3. การคัดภาพ 4.การออกแบบภาพ
homework homework10 .ให้นักศึกษาออกแบบตัวอักษรมา1ชุด homework11 ออกแบบภาพมา1ชุด