ประวัติการพิมพ์ออฟเซต ออฟเซต หรือ การพิมพ์พื้นราบ มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์(Alois Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ หรือความเปียกชื้นลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึงหมึกตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึกและผลึกดันน้ำ และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์พอควร กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หินได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา
เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น ได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักร ไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์จากหินเป็นโลหะที่บางเบาสามารถโค้งโอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ์ (plate cylinder)โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder)กับโมกดพิมพ์(imoression cylinder) ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า '''ลิโธกราฟี'' (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน
ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ ''ออฟเซต'' (offset) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า ''ออฟเซตลิโธกราฟี''(offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย วิวัฒนาการด้านการพิมพ์ภาษาไทย คงจะเริ่มมีมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยคณะมิชชันนารี แต่หลักฐานต่างๆ และสิ่งพิมพ์ได้สูญหายไปหมด มีปรากฏแต่เพียงจดหมายเหตุ และเอกสารในต่างประเทศ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีมิชชันนารีอเมริกันริเริ่มหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นในประเทศพม่า และตกทอดมาถึงหมอบรัดเลย์ในที่สุด
ในปีพุทธศักราช ๒๓๘๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ จัดพิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่นขึ้น นับเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ฉบับแรกของ ราชการ นอกจากนี้ หมอบรัดเลย์ยังได้พิมพ์ปฏิทินสุริยคติภาษาไทยเป็นครั้งแรก ในปีพุทธศักราช ๒๓๘๕ นับเป็นการเริ่มต้นการพิมพ์ปฏิทินในประเทศ ในปีพุทธศักราช ๒๓๘๗ โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ในประเทศชื่อ "บางกอกรีดเดอ" นับเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสู่ประชาชนในหลายๆ สาขา เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา การแพทย์ ลมฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์ เป็นต้น
กิจการด้านการพิมพ์ภาษาไทยที่ริเริ่มโดยคนไทย เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ และทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ภาษาไทย เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่พุทธศาสนา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันจันทร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๐๑
หนังสือราชกิจจานุเบกษาจัดพิมพ์ขึ้น เพื่อประกาศเรื่องสำคัญของทางราชการให้ทราบกันทั่วราชอาณาจักร นับเป็นหนังสือทางราชการฉบับแรกของไทย ในครั้งแรกพิมพ์เผยแพร่ได้เพียงหนึ่งปีก็หยุดไป (ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า หนังสือนี้มีประโยชน์ต่อประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาอีกครั้งหนึ่ง ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๗ และยังพิมพ์เผยแพร่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพร่วมกับหมู่ราชการ หน้าโรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งขึ้นขณะทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ประวัติการพิมพ์ offset หรือ การพิมพ์พื้นราบ มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ
หรือความเปียกชื้นลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึงหมึกตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึกและผลึกดันน้ำ และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์ พอควร กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หินได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น
ได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์จากหินเป็นโลหะที่บางเบาสามารถโค้ง โอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ์(plate cylinder) โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder) กับโมกดพิมพ์ ์(imoression cylinder)
ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า '''ลิโธกราฟี'' (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ ''ออฟเซต'' (offset) ซึ่งหมายถึง การพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า ''ออฟเซตลิโธกราฟี''(offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ
หลักการการพิมพ์ออฟเซต การพิมพ์วิธีแผ่นแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบนแต่นำมายึดติดกับลุกโมแม่พิมพ์ (Plate cylinder) จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่นแม่พิมพ์ก่อนลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่าลูกนี้ (Water roller) หรือ (dampening roller) แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์หมึกที่เกาะติดแม่พิมพ์นี้จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง (Rubber cylinder) ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลม แต่ถูกหุ้มไว้ด้วยแผ่นยาง โดยทำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้วก็จะนำไปพิมพ์ติดบนแผ่นกระดาษซึ่ง จะมีลูกโมแรงกด (impression cylinder) อีกลูกโมหนึ่ง จับกระดาษมากดกับลูกโมยางและรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบนกระดาษก็จะได้ชิ้นพิมพ์ตามต้องการ
ระบบการพิมพ์ออฟเซตจึงจะต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่าๆ กัน หมุนพิมพ์กระดาษออกมาแต่ละครั้งในเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์หมึกนั้นไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์มาพิมพ์แผ่นกระดาษโดยตรง แต่ถ่ายทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นตัวพิมพ์ก็ดี ภาพก็ดี ที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์จึงเป็นตัวหนังสือที่อ่านได้ตามปกติ ภาพก็เป็นภาพที่ตรงกับภาพที่พิมพ์ออกมา เมื่อแม่พิมพ์พิมพ์ตัวหนังสือลงบนยาง
ตัวหนังสือบนลูกโมยางจะกลับซ้ายเป็นขวา และขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ตัวหนังสือและภาพเป็นปกติเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ การพิมพ์ออฟเซตเป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่มากในขณะนี้ เพราะสามารถพิมพ์ภาพได้ชัดเจนสวยงามและต้นทุนไม่แพงมากนัก แท่นพิมพ์ออฟเซตชนิดพิมพ์มากสี และพิมพ์สองหน้าพร้อมกัน และชนิดป้อนด้วยกระดาษม้วนได้มีการผลิตออกมาจำหน่ายมาก
หลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้ง2ส่วน คือ บริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพพก็จเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก
หน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์ 1. ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำจะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรือือความชื้นและละผลักดันหมึกให้ออกนอกบริเวณ 2. ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึกและผลักดันน้ำมัน ออกกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ๆ แตกต่างกัน
หลักในการถ่ายทอดภาพของเครื่องพิมพ์ออฟเซต ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปในระบบ 3 โม คือ โมแม่พิมพ์ โมผ้ายาง โมแรงกด
พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แกแม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อนไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือความชื้นแล้วจึงหมุนไปรับน้ำ แล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพแล้วจะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายาง แล้วจึงถ่านลงวัสดุพิมพ์ โดยมีโมกดพิมพ์รองรับอยู่เป็นระบบการพิมพ์ทางอ้อม
ประโยชน์ของการพิมพ์ทางอ้อม ในการพิมพ์ภาพลงสู่ผ้ายาง ผิวของผ้ายางมีความอ่อนนุ่มจึงสามารถแนบกระชับกับผิว ของของการดาษที่เป็นแอ่ง และขรุขระได้ดีกว่าการใช้แม่พิมพ์โดยตรง ผ้ายางจะไม่ทำให้ตัวของแม่พิมพ์ชำรุด เหมือนกับการพิมพ์ทางตรง สะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ และข้อความบนแม่พิมพ์เพราะเป็นตัวตรง ไม่ใช่ตัวกลับอย่าง เลตเตอร์เพลส ซึ่งตรวจสอบได้ยาก
ขั้นตอนกระบวนการพิมพ์ออฟเซต งานพิมพ์ประกอบด้วยงานเตรียมพร้อมพิมพ์และงานพิมพ์ งานพิมพ์มีหลายประเภท สามารถแบ่งได้ตามระบบการพิมพ์ งานหลังพิมพ์มี 2 ประเภท คือ งานแปรรูปและงานทำสำเร็จ งานหลังพิมพ์เริ่มภายหลังจากงานพิมพ์สิ้นสุด ตั้งแต่การพับแผ่นกระบวนการพิมพ์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์งานก่อนพิมพ์ประกอบด้วยการทำงานหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเรียงพิมพ์จนถึงการทำแม่พิมพ์งานก่อนพิมพ์ในกระบวนการพิมพ์สมัยใหม่ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถลดขั้นตอนของงานได้มาก ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และประหยัด พิมพ์ การตัด การเก็บเล่ม การเข้าเล่ม การเข้าปก การเจียน และการตกแต่งสิ่งพิมพ์เพื่อเพิ่มคุณค่า ความสวยงาม ความน่าสนใจ ความคงทน และอื่นๆ
กระบวนการของงานก่อนพิมพ์ งานก่อนพิมพ์ในกระบวนการผลิตแบบเดิมประกอบด้วยขั้นตอนหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเรียงพิมพ์จนถึงการทำแม่พิมพ์ ส่วนงานก่อนพิมพ์ในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมการทำงาน สามารถลดขั้นตอนงานก่อนพิมพ์ได้มาก การทำงานก่อนพิมพ์จึงเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และประหยัดมากกว่าเดิม
กระบวนการของงานพิมพ์ 1.ก่อนเริ่มงานพิมพ์ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของแม่พิมพ์ตั้งแต่ประเภท ตำแหน่งภาพและข้อความ การฉายแสงและการล้าง รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องพิมพ์ การติดตั้งแม่พิมพ์ อุปกรณ์จ่ายหมึก อุปกรณ์ป้อน และส่งกระดาษที่พิมพ์แล้วไปยังหน่วยรับ ทั้งการพิมพ์ป้อนแผ่นและป้อนม้วน
2.ในการพิมพ์ป้อนม้วน การตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องพิมพ์ต้องตรวจอุปกรณ์ปรับแรงตึงของม้วนด้วย แผ่นพิมพ์ที่ออกจากหน่วยพิมพ์อาจตัดเป็นแผ่นหรือม้วนกลับ 3.ก่อนเริ่มงานพิมพ์ยังต้องมีการเตรียมพร้อมพิมพ์ โดยปรับสภาพของเครื่องให้พร้อมทำงานพิมพ์และปรู๊ฟงานก่อนเริ่มพิมพ์งานตามจำนวนที่ต้องการ เพื่อลดเวลาการใช้เครื่องและให้ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ในระหว่างพิมพ์งานต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของภาพพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ
กระบวนการของงานหลังพิมพ์ งานหลังพิมพ์เริ่มภายหลังจากงานพิมพ์สิ้นสุด ตั้งแต่การพับจนได้สิ่งพิมพ์สำเร็จเป็นรูปเล่ม ตามต้องการ งานหลังพิมพ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ งานแปรรูปและงานทำสำเร็จ งานแปรรูป ได้แก่ การตัด การพับ การเข้าเล่ม การเย็บเล่ม การเจียนและการเข้าปก ส่วนงานทำสำเร็จนั้นมักเป็นความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า โดยอาจทำหรือไม่ก็ได้ งานทำสำเร็จมีหลายประเภท เช่น การทำให้เกิดลวดลายสีทองหรือสีต่างๆ บนสิ่งพิมพ์ การทำให้เป็นรอยนูน การอาบมันและการเคลือบ การพิมพ์นูนด้วยความร้อน การตัดรูปหรือขึ้นรูป และการหุ้มเล่มพลาสติก งานพิมพ์แต่ละประเภทไม่จำเป็นต้องผ่านงานหลังพิมพ์ทุกประเภทและทุกขั้นตอน
กระบวนการพิมพ์ออฟเซต เป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นแบนอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แม่พิมพ์ทำด้วยแผ่นโลหะอลูมิเนียม หรือเป็นแผ่นสังกะสี หรืออาจทำจากกระดาษ หรือเป็นแผ่นพลาสติกก็ได้ การเลือกใช้แผ่นแม่พิมพ์ชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนในการพิมพ์ แม่พิมพ์โลหะ สามารถพิมพ์ได้เป็นจำนวนมากเป็นหมื่นๆ แผ่น การพิมพ์แบบออฟเซตมีลักษณะที่พิเศษแตกต่าง จากวิธีการอื่น คือมีลูกโมทรงกระบอกอย่างน้อย 3 ลูก ทำหน้าที่ดังนี้
ลูกโมใช้หุ้มแผ่นแม่พิมพ์ อาจเป็นแผ่นโลหะหรือกระดาษก็ได้ เรียกว่า โมแม่พิมพ์ (Plate Cylinder) ลูกโมแม่พิมพ์ จะมีลักษณะกลมเหมือนท่อโลหะขนาดใหญ่ มีขอเกี่ยวแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลทให้ตรึงแน่นไม่เคลื่อนที่ติดกับลูกดม เพราะแผ่นเพลทจะต้องถูกับลูกกลิ้งหมึกและลูกกลิ้งน้ำอยู่ตลอดเวลา ถ้าเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อย ตำแหน่งของภาพจะเคลื่อนไปจะมีปัญหากับการพิมพ์สอดสีหรือการพิมพ์หลายเพลท
ทำหน้าที่รับภาพจากแผ่นแม่พิมพ์ เรียกว่าลูกโมยาง (Blanket Cylinder) 2.ทำหน้าที่กดกระดาษให้แนบกับลูกโมยาง เพื่อให้หมึกติดเป็นภาพลงบนกระดาษ (Impression cylinder)
การพิมพ์ออฟเซตชนิดม้วน วัตถุประสงค์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซต ก็เหมือนอุดมการณ์ที่เป็นทฤษฎีของการพิมพ์ระบบอื่นว่า สามารถปรับแต่งและพิมพ์ได้ดี ด้วยความสะดวกและสะอาด มีความคมชัดเมื่อดูด้วยตาเปล่าจนถึงแว่นขยายส่องแต่การเกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน มีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ หลักคือเพื่อลดเวลาการผลิตหรือให้ได้ปริมาณการผลิตมากกว่าการพิมพ์ป้อนแผ่นในช่วงระยะเวลาเท่ากัน ยิ่งกว่านั้นความแตกต่างทางกลศาสตร์ ยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้การพิมพ์ป้อนม้วนที่มีคุณค่าสูงเด่นในระดับหนึ่งความแตกต่างทางรูปลักษณ์กับเครื่องพิมพ์ป้อนม้วนที่สำคัญประการแรก ได้แก่ การยกเลิกแม่พิมพ์และใช้โมยางอีกลูกหนึ่งเพิ่มเข้าไปทำหน้าที่กดพิมพ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเพิ่มโมแม่พิมพ์และโมยาง
เครื่องพิมพ์ชนิดป้อนม้วน มักประกอบขึ้นด้วย 2 หน่วยพิมพ์ ขึ้นไปจนถึง 10 หน่วยในแถวหนึ่ง (one line) และปริมาณการผลิตต่อชั่วโมงยังแตกต่างกันตามขนาด และวัตถุประสงค์ของสิ่งพิมพ์ เช่น การพิมพ์โปสเตอร์ การพิมพ์หนังสือเล่ม การพิมพ์หนังสือพิมพ์ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ฯลฯ วัตถุประสงค์ทางการพิมพ์เหล่านี้ จะเป็นสิ่งกำหนดขนาดตัดตามยาว (cut-off) ของม้วนกระดาษ ซึ่งเกิดจากเส้นรอบวงของโมแม่พิมพ์โมยาง และโมตัด (cutting cylinder) เพราะการพิมพ์บางชนิดตัดสองด้านหรือด้านเดียวโดยไม่ต้องพับ เช่น โปสเตอร์ บางชนิดต้องพับสองหรือสามครั้งจากหน่วยส่งออกใน
เครื่องพิมพ์เป็นยกพิมพ์ และตัดเจียนสามด้าน เช่น หนังสือเล่ม และบางชนิดไม่ต้องนำไปตัดเจียนอีกภายหลังที่พับและตัดเป็นฉบับหนังสือพิมพ์แล้ว หรือในบางกรณีที่นอกจากพิมพ์หนังสือพิมพ์ด้วยจำนวนหน้าตามจำนวนม้วนกระดาษเท่ากับหน่วยพิมพ์ คือ หน่วยพิมพ์ละสองหน้า ถ้าพิมพ์ยี่สิบหน้า ต้องใช้กระดาษ 5 ม้วน พิมพ์ด้วย 5 หน่วยพิมพ์ เป็นวิธีพิมพ์ที่เรียกว่าพิมพ์เรียงเดี่ยว (straight run) แต่อาจพิมพ์จำนวนหน้าได้มากกว่าหน่วยพิมพ์ โดยแยกเป็นปึกแล้วรวมกันเข้าเป็นฉบับ เป็นวิธีพิมพ์ที่เรียกว่าพิมพ์สอด (collect run)
การนำกระดาษเข้า การนำกระดาษจากม้วนเข้าเครื่องพิมพ์ป้อนม้วนมี 2 ลักษณะ ทำให้ลักษณะทางกลศาสตร์ของเครื่องพิมพ์ป้อนม้วนแตกต่างกัน การนำกระดาษเข้าทางแนวนอน (horizontal web lead) ม้วนกระดาษอาจวางบนเครื่องป้อนในระดับพื้นเดียวกันกับหน่วยพิมพ์ หรือป้อนขึ้นจากใต้พื้นหน่วยพิมพ์ การนำกระดาษเข้าทางแนวตั้ง (vertical web lead) ม้วนกระดาษอาจวางบนเครื่องป้อนในระดับพื้นเดียวกันกับหน่วยพิมพ์ หรือป้อนขึ้นจากใต้ท้องหน่วยพิมพ์
ออฟเซตเล็ก เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก พิมพ์กระดาษได้ขนาด 10 *15 นิ้ว ถึงขนาด 13 *17 นิ้วโดยประมาณ เครื่องชนิดนี้มีอุปกรณ์ประกอบในการทำงานน้อยไม่ยุ่งยาก ใช้ง่าย เหมาะสำหรับงานพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น หัวจดหมาย หนังสือเวียนแผ่น โฆษณาเผยแพร่เล็กๆ ไม่เหมาะสำหรับงานพิมพ์สอดสี หรือ สี่สี เพราะระบบฉากยังไม่มีความเที่ยงตรงดีพอ
ขนาดตัดสี่ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ ขนาดใหญ่กว่าออฟเซตเล็กสามารถพิมพ์ได้ขนาดประมาณ15 *21 นิ้ว หรือ 18 * 25 นิ้ว มีอุปกรณีช่วยในการพิมพ์มากขึ้นและระบบน้ำดีขึ้นกว่าสามารถพิมพ์งานได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีเดียวหรือหลายสีก็ตาม เหมาะสำหรับพิมพ์หนังสือยกเป็นเล่ม ภาพโปสเตอร์ขนาดกลาง งานพิมพ์ทั่วไป และงานพิมพ์ทีที่มีจำนวนพิมพ์ไม่มากนัก เช่น ครั้งละไม่เกิน 5,000 ชุด ถ้าเป็นการพิมพ์จำนวนมากๆแล้วจะเป็นการเสียเวลา เพราะมีขนาดเล็ก
ไม่สามารถลงพิมพ์ได้คราวละหลายๆแบบได้ เครื่องพิมพ์ขาดนี้นิยมใช้ทั่วไปในท้องตลาด ถ้าพิมพ์หนังสือ ยก จะพิมพ์ขนาด 8 หน้ายก ได้ แล้วแต่ขนาดของเครื่องพิมพ์ การที่เรียกเครื่องพิมพ์ขนาดตัดสี่นั้น เพราะใช้กระดาษขนาด 15.5 -*1.5 นิ้ว ที่เกิดจากการแบ่งกระดาษขนาดใหญ่ 31 *43 นิ้ว เป็นสี่ส่วนได้พอดี ซึ่งเมื่อนำกระดาษขนาด นี้ไปพิมพ์และพับเป็นเล่มแล้ว จะได้หนังสือที่มีขนาดเล็กเรียกว่า 8 หน้ายก
ขนาดตัดสอง เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดตัดสี่เกือบเท่าตัว กล่าวคือ สามารถพิมพ์ได้ 25 * 36 นิ้ว หรือบางแม่พิมพ์ สามรถพิมพ์ขนาด 28 * 40 นิ้วได้ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์งานทางการค้าทั่วไป เช่น หนังสือยกโปสเตอร์ขนาดใหญ่ แผ่นโฆษณา และงานพิมพ์ทุกชนิด เนื่องสามารถพิมพ์ได้ขนาดใหญ่ จึงสามารถลงแบที่จะพิมพ์ได้คราวละหลายๆแบบ และสามารถตัดซอยเป็นแบบที่ต้องการได้ภายหลัง ทำให้ประหยัดเวลาในการพิมพ์ เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไป มีอุปกรณ์ประกอบในการช่วยพิมพ์ดีฉากพิมพ์แม่นยำ และความเร็วสูง
ขนาดตัดหนึ่ง เป็นเครื่องพิมพ์ ชนิดป้อนแผ่นขนาดใหญ่ที่สามารถพิมพ์กระดาษ 30 * 40 นิ้ว หรือโตกว่าได้ มีอุปกรณ์ช่วยในการพิมพ์มากขึ้น ส่วนมากใช้ในการพิมพ์หนังสือ โปสเตอร์และบรรจุภัณฑ์ ที่มีปริมาณการพิมพ์มากๆ มีใช้น้อยกว่าขนาด สี่ตัด และขนาดสองตัด ในปัจจุบัน จัดได้ว่าระบบการพิมพ์ ออฟเซต เป็นระบบงานพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้คุณภาพของงานพิมพ์ที่สูง และราคาไม่สูงมาก เหมาะสำหรับใช้พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ทั้งหนังสือที่ต้องการสีเดียวและสี่สี
การพิมพ์ออฟเซต ชนิดแผ่น การพิมพ์ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเลตเตอร์เพรส กราวัวร์ หรือออฟเซต ในอุตสาหกรรมการพิมพ์มักจะแบ่งเครื่องพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดหนึ่งตัดกระดาษเป็นแผ่นให้ได้กับขนาดของเครื่องพิมพ์และชนิดของงาน แล้วปริ้นเข้าเครื่องพิมพ์และพิมพ์ออกมาได้ด้านเดียวหรือสองด้านเป็นยกพิมพ์หนังสือเล่มหรือเป็นแผ่นโปสเตอร์ ด้วยความเร็วสูงสุดทางการผลิตจะได้ไม่เกิน 9,000 -10,000 แผ่นต่อชั่วโมง ทั้งที่เครื่องพิมพ์นั้นสามารถผลิตได้ถึง 11,000แผ่นต่อชั่วโมงแต่ไม่มีเจ้าของเครื่องพิมพ์ใด ใช้ความเร็วสูงสูงสุดตามนั้น เพราะจะเป็นเหตุให้เครื่องพิมพ์เสื่อมโทรมเร็วกว่าปกติ อีกชนิดหนึ่งเป็นเครื่องป้อนม้วน
สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ออฟเซต 1. มีจำนวนพิมพ์ตั้งแต่ 3,000 ชุด ขึ้นไป 2. มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟ มาก 3. ต้องการความรวดเร็วในการจัดพิมพ์ 4. ต้องการความประณีต สวยงาม 5. เป็นการพิมพ์ หลายสี หรือภาพ สี่สีที่ต้องการความสวยงามมากๆ 6. มีงานอาร์ตเวิร์คที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก 7. มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ
ระบบออฟเซตสามารถให้งานพิมพ์ที่คุณภาพดีได้เพราะ 1. การถ่ายทอดภาพกระทำโดยการถ่ายทอดลงบนผ้ายางแบลงเกตก่อนแล้วจึงถ่ายทอด ลงบนกระดาษ ทำให้การถ่ายทอดหมึกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ 2. สามารถใช้สกรีนที่มีความละเอียดมากๆ ถึง 175 -200 เส้น/นิ้วได้ทำให้ภาพที่ออก มามีความละเอียดสวยงาม 3. การพิมพ์ภาพสี่สีทำได้สะดวก เพราะสามารถปรับตำแหน่งของแม่พิมพ์และกระดาษ ให้ลงในตำแหน่งที่ตรงกันของแต่ละสีได้ง่าย 4.สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษได้เกือบทุกชนิด
ข้อดีของการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต มีดังนี้ 1.พิมพ์สีพื้นทึบบริเวณภาพที่กว้างใหญ่ได้สีที่เรียบ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ 2. ใช้เวลาน้อยในงานเตรียมพิมพ์สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการควบคุมเครื่อง 3. การเก็บและจัดหาพื้นที่เก็บแม่พิมพ์ค่อนข้างเป็นไปได้ง่ายเพราะเป็นแผ่นแบนราบ 4. ความนุ่มของผ้ายางทำให้สามารถพิมพ์บนวัสดุสิ่งพิมพ์ที่มีพื้นผิวหยาบได้ 5. จุดบริการผลิตสิ่งพิมพ์มีแพร่หลายจึงหาแหล่งผลิตงานได้ไม่ยาก 6. เป็นงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูงมาก หากมีการควบคุมคุณภาพที่ดี จะได้งานพิมพ์ที่เหมือนจริงมาก