งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การขยายพันธุ์พืช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การขยายพันธุ์พืช."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การขยายพันธุ์พืช

2 การขยายพันธุ์พืชคืออะไร
การขยายพันธุ์พืชหมายถึง การเพิ่มปริมาณต้นพืชจากต้นแม่เพียงต้นเดียว ให้มีจำนวนมากขึ้น โดยต้นพืชที่เกิดขึ้นใหม่ยังคงมีคุณสมบัติ คุณลักษณะเหมือนต้นเดิม การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น2ลักษณะคือ การขยายพันธุ์โดยใช้เพศ และการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ

3 การขยายพันธุ์โดยใช้เพศ คืออะไร
การขยายพันธุ์โดยใช้เพศ คืออะไร คือการนำเมล็ดของพืชไปเพาะหรือปลูกเพื่อให้เกิดเป็นพืชต้นใหม่ หรือที่เรียกว่าการเพาะเมล็ดนั่นเอง 1. การเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ด (Seed) หมายถึง การนำเมล็ดพันธุ์พืชที่ผ่านการคัดคุณภาพมาแล้ว นำมาปลูกไว้ในพื้นที่จำกัดที่เตรียมไว้โดยเฉพาะ เช่น กระบะเฉพาะ แปลงเพาะ หรือภาชนะต่าง ๆ มีการดูแลรักษาเอาใจใส่ เป็นพิเศษ จนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า เหมาะกับพืชพวกข้าว ผักต่างๆยกเว้นผักกาดหัว

4 วัตถุประสงค์ของการเพาะเมล็ด
เพื่อประหยัดหรือไม่ให้เปลืองเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดมีขนาดเล็กเกินไป ไม่ทนทานต่อโรค แมลง และสิ่งแวดล้อม ต้องดูแลเป็นพิเศษ ได้จำนวนต้นพืชในปริมาณตามที่ต้องการ 4. ได้ต้นพืชที่มีอายุและการเจริญเติบโตเท่าๆ กัน

5 วิธีการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ
1. ถ้าหากภาชนะเพาะมีช่องหรือรูขนาดใหญ่อาจจะทำให้ดินเพาะรั่วไหลออกมา ควรใช้วัสดุปิดทับ เช่น ใช้เศษ-กระถางแตกเศษอิฐหักอุดรู ถ้าเป็นภาชนะที่เป็นกระบะพลาสติกหรือลังไม้ ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดทับกระบะ 2. นำดินเพาะใส่ลงในภาชนะให้เกือบเต็ม เกลี่ยผิวดินให้เรียบสม่ำเสมอในระดับเดียวกัน ให้ดินเพาะอยู่ต่ำกว่าขอบภาชนะประมาณ 1-2 นิ้ว การเกลี่ยดินให้เรียบ

6 ดินที่ใช้เพาะควรเป็นดินที่ร่วนซุย โปร่ง มีน้ำหนักเบา ระบายน้ำได้ดี มีแร่ธาตุอาหารพืชบ้างพอสมควร โดยทั่วไปอาจจะใช้ดินร่วนธรรมดาก็ได้ หรืออาจจะใช้ดินที่มีส่วนผสมของวัสดุต่าง ๆ ในอัตราส่วนที่กำหนด เช่น ทรายหยาบ : ขุยมะพร้าวในอัตรา 1:1 ทรายหยาบ : ถ่านแกลบในอัตรา 1:1 หรือ ดิน : ปุ๋ยคอกเก่า : ทรายในอัตรา 2:1:2 ก็ได้

7 3. นำเมล็ดพันธุ์พืชที่ต้องการปลูก หว่านหรือโรยลงบนผิวหน้าดินให้กระจายกัน อย่างทั่วถึง โรยทับด้วยดินเพาะเพียงบาง ๆ พอกลบเมล็ด 4. ปิดทับผิวหน้าดินด้วยฟางแห้งหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ (เพื่อรักษาความชื้นภายในดินเพาะให้สม่ำเสมอไม่ให้ระเหยเร็วเกินไป และยังช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น)

8 การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ
หมายถึงการนำส่วนต่างๆของพืช ไปทำให้เกิดราก เกิดยอด แล้วเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่สามารถให้ผลผลิตต่อไปได้ การขยายพันธุ์พืชโยไม่ใช้เพศทำได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง และ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น

9 การขยายพันธุ์พืชโดยการปักชำ
การปักชำ คือ การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน ลำต้น หรือราก ออกจากต้นเดิมไปเก็บไว้ในที่ที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ส่วนต่างๆ ของพืชดังกล่าวจะออกรากและแตกยอดเจริญเติบโตเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป ขั้นตอนการปักชำ 1) ตัดกิ่งให้มีความยาวประมาณ 6 – 10 นิ้ว (ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช) ตัดให้เป็นแผลทำมุมเฉียง 450 – 600 ด้านล่างของกิ่งต่ำกว่าข้อเล็กน้อย

10 2) การปักชำกิ่ง นำส่วนของโคนกิ่งปักลงไปในวัตถุปักชำให้ลึกประมาณ ของความยาวของกิ่ง โดยให้รอยแผลตัดด้านปลายของกิ่งเป็นแนวตั้งตรงเพื่อ ป้องกันไม่ให้น้ำขังบริเวณรอยแผล ซึ่งจะช่วยลดการเน่าของกิ่งได้ การปักกิ่ง ควรจัดระยะให้ห่างกันพอประมาณอย่า ให้ชิด หรือแน่นเกินไป จะทำให้กิ่งเน่าได้ การดูแลรักษา ในระยะแรกๆ ที่กิ่งยังไม่ออกรากจำเป็นต้องรักษาความชื้นในบริเวณที่ปักชำให้สูงมากๆ เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของใบให้มากที่สุด โดยการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ ครั้ง

11 การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ ข้อดีของการตอนกิ่ง 1. คงสภาพลักษณะพันธุ์เดิมทุกประการ 2. การตอนจะแตกรากในปริมาณมากกว่าการปักชำ 3. เมื่อนำไปปลูกอัตราการรอดตายมากกว่าการปักชำ 4. ทรงพุ่มเตี้ย สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษา 5. ขนาดของกิ่งตอนใหญ่กว่ากิ่งปักชำ ให้ผลผลิตที่เร็วกว่า

12 ข้อเสียของการตอนกิ่ง
1. ไม่มีระบบรากแก้ว จึงทำให้กิ่งตอนโค่นล้มได้ง่าย 2. กิ่งตอนมีขนาดใหญ่ การเคลื่อนย้ายไปปลูกทำได้ลำบาก 3. จำนวนกิ่งพันธุ์ที่ได้ต่อต้นน้อยกว่าการปักชำ 4. การตอนกิ่งมีวิธีการที่ยุ่งยากกว่าการปักชำ 5. ต้องใช้แรงงานมากและการดูแลมากยิ่งขึ้น เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตอนกิ่ง 1) มีดตอนกิ่ง มีดตอนกิ่งจะต้องมี ขนาดพอเหมาะเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ มีดขยายพันธุ์พืช มีพับ และ คัทเตอร์ เป็นต้น

13 2) วัสดุที่ใช้ในการตอนหรือวัตถุหุ้มกิ่ง เพื่อให้กิ่งตอนได้รับความชื้นที่สูงพอเหมาะสม่ำเสมอตลอดจนป้องกันแสงสว่าง วัสดุที่ ใช้ในการหุ้มกิ่งตอนจะต้องมีคุณสมบัติ อุ้มความชื้นได้ดี สะอาด ไม่เป็นพิษแก่พืช เช่น ดินร่วน กาบมะพร้าว ขุยมะพร้าว 3) ฮอร์โมนหรือสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นการออกรากของกิ่ง กิ่งพืชบางชนิดออกรากได้ยากและใช้เวลานาน การใช้ฮอร์โมนหรือสารเคมีบางชนิดทาบริเวณเหนือรอยแผลหรือรอยควั่น จะช่วยกระตุ้นให้กิ่งออกรากได้เร็วขึ้น

14 ขั้นตอนในการตอนกิ่ง 1) การเลือกกิ่งตอน ควรเลือกกิ่งที่มีอายุไม่มากหรือไม่แก่จนเกินไป เพราะจะทำให้ออกรากได้เร็วขึ้น ซึ่งสังเกตได้โดยกิ่งจะมีสีเขียวปนน้ำตาล 2) การทำแผลหรือการควั่นกิ่ง การควั่นกิ่ง เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติมากที่สุดและเหมาะสมกับพืชทุกชนิดโดยเฉพาะพืชที่ออกรากได้ยาก การควั่นกิ่งแล้วลอกเปลือกออก เป็นการตัดท่อลำเลียงอาหารของพืช

15 3) การใช้ฮอร์โมนหรือสารเร่งการออกรากทากิ่งตอน เพื่อกระตุ้นให้กิ่งออกรากได้เร็วและมากขึ้น ควรจะต้องใช้ฮอร์โมนหรือสารเร่งรากทารอบๆ เหนือบริเวณรอยควั่นด้านบนและหลังจากฮอร์โมนที่ทาแห้งดีแล้ว จึงค่อยหุ้มกิ่งตอน 4) นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล

16 5.) วิธีการหุ้มกิ่ง นำตุ้มตอนไปหุ้มบริเวณรอยควั่นโดยเฉพาะให้เหนือบริเวณรอยควั่นด้านบน พยายามดันกิ่งตอนให้เข้าไปอยู่กลางถุงให้มากที่สุด ดึงชายถุงพลาสติกที่ผ่าให้ซ้อนทับกัน มัดให้แน่นด้วยเชือกฟาง 4.) เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้ .

17 การทาบกิ่ง คือ การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืชสองต้น ซึ่งมีระบบรากและส่วนยอดมาเชื่อมให้เป็นต้นเดียว โดยมีเซลล์เนื้อเยื่อเป็นตัวเชื่อมประสาน ประโยชน์ของการทาบกิ่ง 1. ช่วยเปลี่ยนพันธุ์ที่มีลักษณะไม่ดีให้เป็นพันธุ์ที่ดี 2. ได้พันธุ์พืชที่มีคุณภาพดีไปปลูก 3. ใช้กับพืชที่ขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล 4. สามารถได้ต้นตอที่มีระบบรากแข็งแรง หาอาหารเก่ง และทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

18 ขั้นตอนการทาบกิ่ง 1. การเตรียมต้นตอ 1.1 เลือกต้นตออายุประมาณ 1ปี ตัดให้สูงจากโคนประมาณ6นิ้ว แล้วเฉือนต้นตอเป็นปากฉลามยาวประมาณ 2 นิ้ว 1.2 เฉือนปลายต้นตอ ให้เป็นรูปลิ่ม

19 การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
2.1 เลือกกิ่งพันธุ์ดีที่สมบูรณ์ แข็งแรง 2.2 เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เข้าเนื้อไม้ เฉียงขึ้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ตัดส่วนเปลือกที่เฉือนไว้ให้เหลือลิ้นที่ปลายเล็กน้อย

20 3. การประกบกิ่งพันธุ์ดีเข้ากับต้นตอ
3.1 สอดปลายกิ่งต้นตอที่เฉือนเตรียมไว้ให้เนื้อเยื่อเจริญตรงกับกิ่งพันธุ์ดี 3.2 พันด้วยแผ่นพลาสติกให้แน่น 3.3 ใช้เชือกผูกปากถุงตรึงกับโคนกิ่งพันธุ์ให้แน่น

21 4. ประมาณ สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้ 5. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลัก ค้ำยันต้น เพื่อป้องกันต้นล้ม

22 การติดตา อุปกรณ์ติดตา
การติดตา คือการขยายพันธุ์พืชที่นำแผ่นตาเพียงตาเดียวจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดกับต้นตอในพืชประเภทเดียวกัน เพื่อให้ตานั้นเจริญเติบโตเป็นยอดอ่อน และกิ่งพันธุ์ดีต่อไป ซึ่งวิธีการนี้ มีลักษณะคล้ายกับวิธีการต่อกิ่ง แต่มีข้อดีกว่าคือ ทำได้ง่ายกว่า ได้ต้นพันธุ์ดีมากกว่า และมีความเสี่ยงต่ำ อุปกรณ์ติดตา มีดติดตา แถบพลาสติก

23 ประเภทของการติดตา การติดตาแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ 1. การติดตาแบบตัวที ( T budding) การติดตาแบบตัวที (T) เป็นวิธีที่นิยมใช้กับพวกไม้ดอก ได้แก่ กุหลาบ และไม้ผลบางชนิด เช่น ส้ม พุทรา 2. การติดตาแบบเพลต (Plate budding) การติดตาแบบเพลตใช้ขยายพันธุ์กับพืชที่มีเปลือกหนาและเหนียว หรือวิธีนี้มักใช้กับพืชที่มีน้ำยางมาก เช่น ยางพารา มะม่วง ขนุน หรือพืชที่เกิดการเชื่อมต่อช้ากว่าปกติ เช่นมะขาม

24 3. การติดตาแบบแพตช์ (Patch budding)
การติดตาแบบแพตช์ คือ วิธีการติดตาที่ทำการแกะเปลือกต้นตอออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วใช้เปลือกตาของกิ่งพันธุ์ดีที่มีขนาดเท่ากันมาประกบแทนที่เปลือกของต้นตอ การติดตาแบบวิธีนี้มักจะใช้กับพืชที่เปลือกหนา เช่นมะม่วง ยางพารา เป็นต้น 4. การติดตาแบบชิป (Chip budding) การติดตาแบบวิธีนี้มักทำกับพันธุ์ไม้ที่ลอกเปลือกออกได้ยาก และใช้ได้ผลดี กับไม้ผลบางชนิด เช่น องุ่น เงาะ เป็นต้น

25 ขั้นตอนการติดตาแบบตัวทีมีดังนี้
1. การเตรียมต้นตอ วิธีการกรีดต้นตอควรกรีดตามความยาวของ ต้นตอก่อน แล้วจึงกรีดตามขวางเป็นรูปตัวที (T) พร้อมกับพลิกใบมีดเล็กน้อยเพื่อเผยอเปลือกออกจากเนื้อไม้ 2. การเตรียมแผ่นตา แผ่นตา คือ ส่วนของแผ่นเปลือกซึ่งมีตาพันธุ์ดีเพียง 1 ตา การเฉือนควรเฉือนแผ่นตาจากปลายแผ่นตาไปหาโคนแผ่นตาให้มีความยาว 3-4 เซนติเมตร

26 3. การประกบแผ่นตา ให้สอดแผ่นตาอยู่ใต้เปลือกของต้นตอ โดยให้ตาอยู่ตรงกึ่งกลางของรอยแผล 4. การพันแผ่นตา วัสดุที่ใช้ คือ แผ่นพลาสติกใส การพันจะต้องพันจากล่างขึ้นบนให้กระชับติดกับต้นตอ คือพันไม่ให้แน่นหรือหลวมเกิดไป จนกว่าเนื้อเยื่อเจริญของตาพันธุ์กับตอจะเชื่อมติดกันดี แล้วค่อยแกะแผ่นพลาสติกออก

27 การต่อกิ่ง Grafting การต่อกิ่ง คือการนำกิ่งพันธุ์ดีไปต่อบนต้นตอของพืชอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดเป็นยอดและกิ่งพันธุ์ดีต่อไป ขั้นตอนการต่อกิ่ง 1. ก่อนต่อกิ่งต้องตัดแต่งกิ่งต้นตอให้โปร่งเพื่อความสะดวกในการทำงาน

28 2. การตัดกิ่งพันธุ์ดี ตัดกิ่งพันธุ์ดีที่สมบุรณ์ให้มีตาติดไปด้วย 3-4 ตา 3. การเตรียมต้นตอ กรีดเปลือกต้นตอให้ขนานกันตามแนวยาวของกิ่ง ให้ยาวประมาณ2-3นิ้วแล้วใช้มีกรีดตัดด้านบน การกรีดต้นตอ ตัดขวางรอยกรีด ลอกเปลือกออก

29 การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
1. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปลิ่ม เฉือนด้านหน้า รอยเฉือนด้านหลัง เฉือนด้านหลัง

30 การประกบกิ่งพันธุ์ดี
นำกิ่งพันธุ์ดีประกบลงบนแผลของต้นตอ โดยให้เปลือกชิดด้านใดด้านหนึ่ง แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น โดยควรพันจากด้านล่างขึ้นด้านบน เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้า การประกบรอยแผล การพันด้วยแถบพลาสติก

31 ยอดที่เกิดใหม่จากการต่อกิ่ง


ดาวน์โหลด ppt การขยายพันธุ์พืช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google