งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ วันที่ 3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมรามาร์กาเด้นส์ วรรณทณี ศรีพุ่มไข่ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบและพัฒนา 25-26 สิงหาคม 2561 1

2 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ การเสวนาวิชาการ เรื่อง “ความท้าทายของสหกรณ์สู่การเปลี่ยนผ่านเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานภาคสหกรณ์ ผู้ร่วมเสวนา จาก 3 ภาคส่วน คือ 1. หน่วยงานภาครัฐ : ที่ปรึกษา รมช.กษ. (นายธีระ วงษ์เจริญ) 2. ภาคสหกรณ์ : ผู้แทน ชสท. ชสค. และ ชสอ. 3. นักวิชาการ : ภาควิชาสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเด็นในการเสวนา 2 เรื่อง ได้แก่ 1. ก้าวผ่านเกณฑ์กำกับ สู่ธรรมาภิบาลอย่างสร้างสรรค์ 2. สหกรณ์ไทยในยุคดิจิทัล 2

3 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1. ก้าวผ่านเกณฑ์กำกับ สู่ธรรมาภิบาลอย่างสร้างสรรค์ ผู้เข้าร่วมเสวนาได้มีการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดี และข้อจำกัด รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ในปัจจุบันกรณีหน่วยงานกำกับดูแลออกเกณฑ์กำกับให้สหกรณ์ถือปฏิบัติ ดังนี้ ข้อดี 1) หลักเจตนารมณ์ เจตนาดีในการช่วยป้องกันความเสี่ยง/ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กับสหกรณ์ รวมทั้งสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการสหกรณ์ 2) เกณฑ์การกำกับดูแล จะเป็นตัวชี้วัดว่าคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์บริหารจัดการสหกรณ์บนความเสี่ยงหรือไม่ กรณีไม่เป็นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็น ความเสี่ยง หากเกิดความเสียหายกับสหกรณ์ คณะกรรมการฯ ต้องรับผิดชอบ 3) เกณฑ์การกำกับดูแล โดยเฉพาะการกำหนดคุณสมบัติคณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการสหกรณ์ ถือเป็นผลดีต่อความเข้มแข็งของสหกรณ์ เนื่องจากปัญหาที่เกิดในสหกรณ์ส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลเหล่านี้ขาดอุดมการณ์สหกรณ์ และหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสหกรณ์ 3

4 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1. ก้าวผ่านเกณฑ์กำกับ สู่ธรรมาภิบาลอย่างสร้างสรรค์ ข้อจำกัด/ผลกระทบ ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์ในการกำกับดูแล ได้แก่ 1) ระเบียบ นทส. ว่าด้วยการรับจดทะเบียนข้อบังคับเกี่ยวกับสมาชิกสมทบของสหกรณ์ พ.ศ ซึ่งกำหนดให้สมาชิกสมทบต้องบรรลุนิติภาวะ 2) ระเบียบ นทส. ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ ที่กำหนดให้สหกรณ์วัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ โดยใช้ราคาประเมินของทางราชการ ผู้เข้าร่วมเสวนาเห็นว่า เป็นการลิดรอนสิทธิ์ และไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อสหกรณ์ในวงกว้าง เนื่องจาก  ไม่ให้ข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบ/ความเสียหาย และเหตุผล/ความจำเป็นในการออกระเบียบฯ  ไม่ได้รับฟังความคิดเห็น /ไม่ให้เหตุผลในการไม่รับพิจารณาข้อเสนอของผู้เกี่ยวข้อง  ใช้บังคับกับทุกสหกรณ์  ไม่ได้ผ่อนปรนระยะเวลาให้สหกรณ์เตรียมความพร้อมในการถือปฏิบัติตามระเบียบฯ โดยเฉพาะการกำหนดให้สหกรณ์วัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ ด้วยราคาประเมินของทางราชการ ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง 4

5 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1. ก้าวผ่านเกณฑ์กำกับ สู่ธรรมาภิบาลอย่างสร้างสรรค์ สรุปข้อเสนอของผู้เข้าร่วมเสวนา 1) ปัญหาในระบบสหกรณ์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม การแก้ไขปัญหาสหกรณ์ต้องใช้กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์ และจิตวิทยาประกอบกันจึงจะเป็นผลดี ทั้งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลต้องใช้มาตรการเยียวยาและ ช่วยเหลือไปพร้อมกับการบังคับใช้กฎหมาย 2) กระบวนการกำหนดเกณฑ์การกำกับดูแล ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความรู้ และเข้าใจปัญหาของสหกรณ์ เกณฑ์การกำกับดูแลที่เข้มงวด ควรใช้กับสหกรณ์ที่มีปัญหาเท่านั้น การบังคับใช้ ต้องมีระยะเวลาให้สหกรณ์เตรียมความพร้อมด้วย เช่น การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ โดยใช้ราคาประเมินของทางราชการ อาจผ่อนปรนระยะเวลาให้สหกรณ์ดำเนินการตามระเบียบฯ ภายในเวลา 5 ปี และไม่บังคับใช้กับที่ดินซึ่งเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก่อนที่ระเบียบนี้ถือใช้ เป็นต้น 3) เสนอให้หน่วยงานกำกับดูแลที่รับผิดชอบพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เหมาะสม ตลอดจนต้องให้ข้อมูล การวิเคราะห์ผลกระทบและความเสียหาย รวมทั้งชี้แจงเหตุผลในการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้สหกรณ์รับทราบ 4) ควรมีการจัดระดับสหกรณ์ โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ประกอบกับวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ แต่ละประเภท เพื่อประโยชน์ในการใช้มาตรการกำกับดูแล เช่น สหกรณ์ระดับดี (AA, A) ให้สหกรณ์ดูแลตัวเอง สหกรณ์ระดับปานกลาง (BB, B) เน้นให้ความช่วยเหลือและกำกับดูแลที่เข้มงวด เป็นต้น 5

6 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 2. สหกรณ์ไทยในยุคดิจิทัล สหกรณ์จะต้องปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด และบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลอย่างไรให้ปลอดภัย ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างมากและรวดเร็ว 1) ปัจจุบันเป็นยุคของดิจิทัลเทคโนโลยี สหกรณ์จำเป็นต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีการนำดิจิทัลมาใช้ในสหกรณ์ อาทิ ใช้ในการบริหารจัดการสหกรณ์ การทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E - Commerce) เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดแก่สมาชิก เช่น สหกรณ์การเกษตรให้บริการสมาชิกโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ชสก. ทำการตลาดสินค้าสหกรณ์ออนไลน์ (Co-op Click) การใช้บริการธนาคารผ่านระบบ Corporate Online เป็นต้น 2) ประโยชน์และความเสี่ยงของดิจิทัลเทคโนโลยี ประโยชน์ อาทิ ลดการทุจริต เนื่องจากการทำธุรกรรมมีแนวโน้มใช้เงินสดลดลง ลดค่าใช้จ่าย ในการจัดการเงิน รวมทั้งทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ความเสี่ยง อาจก่อให้เกิดความเสียหาย/ผลกระทบกับสหกรณ์ หากรู้ไม่เท่าทัน ขาดความระมัดระวัง เนื่องจาก ดิจิทัลเทคโนโลยีมีผลให้ความเป็นส่วนตัวของสมาชิกหมดไป มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้ง เพิ่มโอกาสให้สมาชิกขาดวินัยทางการเงินมากขึ้นด้วยเหตุที่ระบบดิจิทัลทำให้สมาชิกสามารถใช้จ่ายง่ายขึ้น 6

7 ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 2. สหกรณ์ไทยในยุคดิจิทัล 3) แนวทางการปรับตัวและบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลของสหกรณ์ สหกรณ์ต้องพิจารณาความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้รับ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงประโยชน์และผลกระทบให้กับบุคลากรและสมาชิก สหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สร้างพันธมิตรด้านดิจิทัล เช่น จ้างสหกรณ์ในมหาวิทยาลัยซึ่งมีสมาชิกที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้ เป็นผู้สร้างหรือพัฒนา รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำด้านดิจิทัลเทคโนโลยีกับสหกรณ์ แทนการจ้างบริษัทเอกชน เป็นต้น 7

8 ข้อเสนอ การสร้างความรับรู้ให้กับบุคลากรเกี่ยวกับ การตรวจสอบบัญชีและเตรียมรับมือกับสหกรณ์ยุคดิจิทัล
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สหกรณ์ 1. มีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมและการดำเนินงานในยุคดิจิทัล เช่น e - Commerce, EDC, e- filing , e-Tax Invoice , e-Payment , Corporate Online 2. ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 3. การควบคุมภายในและระบบบัญชี (1) ระเบียบ นทส. ว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำในการควบคุมภายในและการรักษาความปลอดภัยสำหรับสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรที่ใช้โปรแกรมระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ฯ (2) เอกสารหลักฐาน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” (3) การรับรู้รายได้ (4) การรับรู้รายการทางบัญชี (Cut off 24 ช.ม. x 7 วัน) (5) แก้ไขระเบียบของสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบ ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน ระเบียบว่าด้วยการจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ระเบียบว่าด้วยการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับการทำธุรกรรมดิจิทัล 8

9 ข้อเสนอ การสร้างความรับรู้ให้กับบุคลากรเกี่ยวกับ การตรวจสอบบัญชีและเตรียมรับมือกับสหกรณ์ยุคดิจิทัล
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี 1. ศึกษาเกี่ยวกับการทำธุรกรรมดิจิทัลของสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบบัญชี ให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบ นทส. (1) การรับรู้รายได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี (2) ความรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่ม พิจารณาจากเหตุการณ์ใด ต่อไปนี้ เกิดก่อน 1) ส่งมอบสินค้า 2) ชำระเงิน ค่าสินค้า หรือ บริการ 3) ออกใบกำกับภาษี ชำระด้วยบัตรเครดิต (ขาย เมื่อส่งมอบสินค้า, บริการ เมื่อออกหลักฐานการใช้บัตรฯ) เว้นแต่ มีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือออกใบกำกับภาษีก่อน 2. การประเมินความเสี่ยง ความเชื่อถือได้ และความปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 3. ขอบเขตการตรวจสอบการรับรู้รายการทางบัญชี (Cut off 24 ช.ม. x 7 วัน) 4. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการตรวจสอบบัญชี 5. เทคนิคและวิธีที่ใช้ในการสอบบัญชีมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การยืนยันยอดเงินฝากธนาคารจากอดีต ขอยืนยันยอดจากธนาคารโดยแยกแต่ละสาขา เป็นยืนยันจากสำนักงานใหญ่ 9

10 ผลการศึกษาการวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษาการวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ 1010

11 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1.ข้อแตกต่างของราคาประเมินของทางราชการ กับ มูลค่ายุติธรรม 1.1 วัตถุประสงค์ (1) ราคาประเมินของทางราชการ เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี (2) มูลค่ายุติธรรม (หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือจ่าย ชำระหนี้กัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้ เต็มใจ และต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระ) เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ 1.2 การบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงิน (1) พ.ร.บ. สหกรณ์ ม.65 และ ม. 66 กำหนดให้สหกรณ์จัดทำบัญชี...ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และจัดทำงบดุลตามแบบที่ นทส.กำหนด ระเบียบ นทส. ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ กำหนดให้ การจัดทำบัญชีและ งบการเงินของสหกรณ์เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและมาตรฐานการบัญชี เป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน งบการเงินต้องมีลักษณะเชิงคุณภาพ ที่สำคัญ คือ ข้อ 10.3 ความเชื่อถือได้ (2) การแสดงเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ และ ข้อ 13 เกณฑ์การวัดมูลค่ารายการสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่าย 3 วิธี คือ ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม และมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ 1111

12 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1.2 การบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงิน (2) มาตรฐานการบัญชี ที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1) ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์ (หมายถึง ที่ดิน หรืออาคาร หรือส่วนของอาคาร หรือทั้งที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง โดยมิได้มีไว้ เพื่อใช้ หรือให้บริการ หรือบริหารงาน หรือขายตามปกติธุรกิจ หรือถือครองไว้ในปัจจุบันโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์การใช้ในอนาคต ให้จัดเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ให้วัดมูลค่าเริ่มแรกด้วยราคาทุน (มูลค่ายุติธรรมเริ่มแรก ณ เวลาที่ได้ทรัพย์สินมา) และ ณ วันสิ้นรอบบัญชีสามารถเลือกรับรู้ด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม หรือวิธีราคาทุน หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม และผลขาดทุนจากการด้อยค่า 2) ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง สินค้าคงเหลือ กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ เพื่อขายตามปกติธุรกิจ ให้วัดมูลค่าเริ่มแรกด้วยราคาทุน (มูลค่ายุติธรรมเริ่มแรก ณ เวลาที่ได้ทรัพย์สินมา) และ ณ วันสิ้นรอบบัญชีรับรู้ด้วยราคาทุน หรือ มูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า 1212

13 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ ราคาประเมินของทางราชการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1.3 ผลกระทบ รายการ ราคาประเมินของทางราชการ มูลค่ายุติธรรม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นธรรมกับลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ ไม่ยินยอม (เป็นช่องว่างให้เจ้าหนี้เอาเปรียบลูกหนี้ได้) เป็นธรรม เนื่องจากเป็นการตกลงจ่ายชำระหนี้กันด้วยความเต็มใจ การแสดงรายการ ในงบการเงิน เป็นราคาขั้นต่ำ เพื่อจัดเก็บภาษี ซึ่งต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมมาก จึงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และทำให้ผู้ใช้งบการเงินอาจตัดสินใจผิดพลาด เป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาด ทำให้ราคาทรัพย์สินที่แสดงในงบการเงินสะท้อนมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นปี จึงเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ค่าใช้จ่าย มีค่าใช้จ่ายน้อย (จ่ายให้ส่วนราชการที่ออกใบรับรองการประเมิน/ดูทาง Website ของส่วนราชการนั้น) มีภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ประเมินราคา ที่มีใบอนุญาต และมีความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยงในสอบบัญชี มีหลักฐานอ้างอิงของทางราชการ จึงมีความเสี่ยงในการสอบบัญชีต่ำ ต้องใช้ดุลยพินิจในการตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของผู้ประเมินราคาและเกณฑ์การประเมินราคา จึงมีความเสี่ยง ในการสอบบัญชีสูง 1313

14 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ 2. การประเมินราคาทรัพย์สิน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 2. การประเมินราคาทรัพย์สิน การประเมินราคาทรัพย์สินต้องเป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ในประเทศไทย โดยกำหนดคำนิยาม ดังนี้ “ทรัพย์สิน” หมายถึง ที่ดิน ส่วนปรับปรุงที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งรวมถึง งานระบบภายในอาคาร และสิ่งปลูกสร้างถือเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบลิฟท์ และระบบปรับอากาศ เป็นต้น “ผู้ประเมิน” หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ทางวิชาชีพอันเหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากสมาคมวิชาชีพและ/หรือหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลผู้ประเมิน ซึ่งโดยทั่วไปมีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับ มูลค่าตลาดของทรัพย์สินภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดและสถานการณ์ของตลาดทรัพย์สิน ณ เวลานั้น ผู้ประเมินราคา มี 3 ระดับ ดังนี้ (1) ชั้นวิสามัญ (ชั้นต้น) : ทรัพย์สินที่ประเมินมีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท (2) ชั้นสามัญ (ชั้นกลาง) : ทรัพย์สินที่ประเมินมีมูลค่าไม่เกิน 400 ล้านบาท (3) ชั้นวุฒิ (ชั้นสูง) : ไม่จำกัดมูลค่าทรัพย์สินที่ประเมิน ผู้ประเมินราคา แต่ละระดับ ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมวิชาชีพกำหนด รวมทั้ง ต้องผ่านการสอบวัดความรู้ “การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” หมายถึง การให้ความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าของทรัพย์สินโดยผู้ประเมิน 1414

15 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หน่วยงานกำกับดูแล สมาคมที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลสมาชิกที่ประกอบวิชาชีพ ประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ มาตรฐานและจรรยาบรรณในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน รวมทั้ง ออกใบอนุญาตผู้ประเมินราคาทรัพย์สินในประเทศไทย ได้แก่ 1. สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (THE VALUERS ASSOCIATION OF THAILAND : VAT) 2. สมาคมนักประเมินอิสระไทย (THAI VALUERS ASSOCIATION : TVA) การประเมินราคาทรัพย์สินของธนาคารของภาครัฐ ธนาคารภาครัฐ ได้แก่ 1. ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ. พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 2. ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธกส. 3. ธ.ออมสิน ธ. เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 4. ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารลำดับที่ 1 – 5 ใช้บริการผู้ประเมินราคาอิสระ 1515

16 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ วิธีกำหนดราคาประเมิน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ วิธีกำหนดราคาประเมิน ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน มี 3 วิธี ดังนี้ 1. วิธีต้นทุนทดแทนหรือวิธีต้นทุน มูลค่าทรัพย์สินที่ควรจะเป็น เท่ากับต้นทุนในการก่อสร้าง หรือต้นทุนในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน หักด้วยมูลค่าการเสื่อมสภาพของทรัพย์สิน หรือค่าเสื่อมราคา (Depreciation) วิธีนี้นิยมใช้กันมากสำหรับ การปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในเมือง และใช้ในการประเมินทรัพย์สินประเภทที่มีการซื้อขายน้อย ไม่สามารถวิเคราะห์ โดยเปรียบเทียบราคาตลาดได้ 2. วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการประเมินหลักทรัพย์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ ชุมชนหนาแน่น โครงการจัดสรรเพื่อที่อยู่อาศัย วิธีการประเมินนี้ใช้ได้ดีกับบ้านในบริเวณที่มีการ ซื้อขายมากรายในระยะเวลาที่ผ่านมา และยิ่งมีบ้านมาเปรียบเทียบมากแค่ไหนมูลค่าที่ได้ก็จะยิ่งน่าเชื่อถือมากเพียงนั้น 3. วิธีรายได้ ใช้สำหรับทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ ในแง่การลงทุน เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สำนักงานให้เช่า โรงพยาบาล ฯลฯ 1616

17 ค่าธรรมเนียมการประเมินทรัพย์สิน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย ได้กำหนดอัตราค่าบริการ ขั้นต่ำงานประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ยกตัวอย่างเฉพาะที่ดินและอาคาร 1717

18 การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ค่าธรรมเนียมการประเมินทรัพย์สิน (ต่อ) 1818

19 ข้อเสนอ หลักเกณฑ์การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้
ข้อเสนอ หลักเกณฑ์การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1. การวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ กำหนดให้สหกรณ์ สามารถวัดมูลค่าที่ดินแทนการชำระหนี้ ได้ 2 วิธี ดังนี้ 1.1 ใช้ราคาประเมินของทางราชการ ให้ใช้ในกรณีที่สหกรณ์ และลูกหนี้ตกลงเห็นชอบทั้ง 2 ฝ่าย เท่านั้น 1.2 ใช้มูลค่ายุติธรรม ซึ่งหมายถึง ราคาประเมินของผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ (2) บริษัทประเมินมูลค่าหลักทรัพย์อิสระ (3) ผู้ประเมินราคาอิสระ ที่มีใบอนุญาตประเมินราคาทรัพย์สินในประเทศไทย (สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย) ทั้งนี้ สหกรณ์ต้องจัดให้ผู้ประเมินราคาตามข้อ 1.2 รับรองตนเองเกี่ยวกับความเป็นอิสระและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ มาตรฐานและจรรยาบรรณในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน 2. กรมฯ ควรศึกษาข้อมูล/สถิติ หรือทำการวิจัย เพื่อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 1919


ดาวน์โหลด ppt ผลการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสวนาวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google