สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
การจัดสรรตำแหน่งและการ คัดเลือก เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้า รับราชการ.
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
ณ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีและ อวกาศภูมิสารสนเทศ ( องค์การ มหาชน )
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โครงการส่งเสริมการหยุดการ เผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2559 กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และ วิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559 เวลา น. ณ ห้องบัญชาการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสา.
โครงการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ “ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย กรมอนามัย.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
การประเมินมาตรฐาน งานระบาดวิทยา ปี 2549
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
ยินดีต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมจังหวัดตาก วันที่ กรกฎาคม 2558.
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ความสำคัญ เหตุผลที่เฝ้าระวัง PM10
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ข้อเสนอ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ปี 2557
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ข้อมูลสถานการณ์ภัยแล้ง
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
การบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือน
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การวิเคราะห์สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง WRF.
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ หมอกควันและไฟป่า ปี 2560 (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำนำ สถานการณ์ปัญหาหมอกควันและไฟป่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มมีความรุนแรงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนรวมทั้งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่ประสบวิกฤติปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “รายงานสถานการณ์หมอกควันและไฟป่า ปี 2560” เพื่อประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ประชาชน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์และวางแนวทางในการเตรียมรับมือ กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กันยายน 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ก

สารบัญ คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญตาราง ค สารบัญภาพ ง บทสรุปผู้บริหาร 1 - 3 1 ความรู้เกี่ยวกับหมอกควันและไฟป่า 4 - 5 2 ข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศ (PM10) ปี 2560 6 - 11 3 สถานการณ์จุดความร้อน (HOTSPOT) ปี 2560 12 - 18 4 สถานการณ์พื้นที่เผาไหม้ (Burnt scar) ปี 2560 19 - 30 5 หมอกควันและทิศทางของหมอกควัน 31 - 34 6 กำหนดช่วงเวลาเสี่ยงต่อการเผา 60 วัน ปี พ.ศ. 2561 35 - 36 7 ผลกระทบต่อสุขภาพและสภาวะเศรษฐกิจ 37 - 43 8 มาตรการและแผนปฏิบัติการป้องกัน 44 - 48 และแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560 9 ผลการดำเนินงานของ สสภ.1 49 - 52 10 (ร่าง) แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไข 53 - 54 ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2561 บรรณานุกรม 55 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ข

สารบัญตาราง ตารางที่ 2-1 แสดงค่า PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 09.00 น. 11 (มคก./ลบ.ม.) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2560 ตารางที่ 3-1 จุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ 13 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2560 ตารางที่ 3-2 จุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ 14 ระหว่างปี 2558 – 2560 ตารางที่ 3-3 จุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ในช่วง 15 60 วันห้ามเผา ตารางที่ 3-4 เปรียบเทียบจุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ 17 ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผา ปี พ.ศ. 2559 – 2560 ตารางที่ 3-5 คาดการณ์จุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ 18 ปี พ.ศ. 2561 ตารางที่ 4-1 สรุปพื้นที่เผาไหม้ 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 20 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ตารางที่ 4-2 เปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้ 4 จังหวัดภาคเหนือ 22 ระหว่าง ปี 2559 และปี 2560 ตารางที่ 4-3 สรุปพื้นที่เผาไหม้รายอำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ 24 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ค

สารบัญตาราง ตารางที่ 4-4 สรุปพื้นที่เผาไหม้รายอำเภอ จังหวัดเชียงราย 26 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 ตารางที่ 4-5 สรุปพื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 28 ตารางที่ 4-6 สรุปพื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดลำพูน 29 ตารางที่ 6-1 ค่าเฉลี่ยจุดความร้อนสะสม 34 ช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 3ระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2560 ตารางที่ 7-1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังผลกระทบ 36 จากสถานการณ์หมอกควัน ปี 2560 ตารางที่ 7-2 จำนวนผู้ป่วยโรคตาอักเสบ ปี 2560 ในพื้นที่ 38 4 จังหวัดภาคเหนือ ตารางที่ 7-3 จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด ปี 2560 39 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ตารางที่ 7-4 จำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจทุกชนิด ปี 2560 40 ตารางที่ 7-5 จำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ ปี 2560 41 ตารางที่ 7-6 การยกเลิกเที่ยวบิน เปรียบเทียบ ปี 2559 และปี 2560 42 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ค

สารบัญภาพ ภาพที่ 1-1 ลักษณะการเกิดหมอกควันในพื้นที่แอ่งกระทะ 4 ภาพที่ 1-2 สาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันในภาคเหนือ 5 ภาพที่ 2-1 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) 6 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 2-2 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน 6 เปรียบเทียบปี 2559-2560 ภาพที่ 2-3 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) 7 2560 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ 2-4 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. 7 ที่เกินค่ามาตรฐานปี 2559-2560 จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ 2-5 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) 8 2560 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 2-6 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. 8 ที่เกินค่ามาตรฐาน ปี 2559-2560 จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 2-7 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) 9 2560 ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาพที่ 2-8 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. 9 ที่เกินค่ามาตรฐาน ปี 2559-2560 จังหวัดแม่ฮ่องสอน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ง

สารบัญภาพ ภาพที่ 2-9 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) 10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่จังหวัดลำพูน ภาพที่ 2-10 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. 10 ที่เกินค่ามาตรฐานปี 2559-2560 จังหวัดลำพูน ภาพที่ 3-1 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ 13 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2560 ภาพที่ 3-2 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ 15 ระหว่างปี 2558 – 2560 ภาพที่ 3-3 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ 16 ในช่วง 60 วันห้ามเผา ภาพที่ 3-4 กราฟเปรียบเทียบจุดความร้อนสะสม 9 จังหวัด 17 ภาคเหนือ ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผาปี พ.ศ. 2559 – 2560 ภาพที่ 3-5 คาดการณ์จุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ 18 ปี พ.ศ. 2561 ภาพที่ 4-1 ภาพการสะท้อนช่วงคลื่นของพืชที่สัมพันธ์ 19 กับลักษณะการเผาไหม้ซึ่งปรากฏบนข้อมูลจากดาวเทียม ภาพที่ 4-2 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ 20 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ภาพที่ 4-3 แผนที่เผาไหม้ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ วิเคราะห์จาก 21 ข้อมูลดาวเทียม LANDSAT-8 ระหว่างเดือน 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ง

สารบัญภาพ ภาพที่ 4-4 เปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้ ระหว่างปี 2559 และปี 2560 23 ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม วิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT-8 ภาพที่ 4-5 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ 25 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 ภาพที่ 4-6 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดเชียงราย 27 ภาพที่ 4-7 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 28 ภาพที่ 4-8 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดลำพูน 29 ภาพที่ 4-9 เปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้รายอำเภอ 4 จังหวัด 30 ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 ภาพที่ 5-1 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่มากกว่า 31 50 เปอร์เซ็นต์ รายอำเภอบริเวณ 9 จังหวัดภาคเหนือ ช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2560 ภาพที่ 5-2 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ 32 จังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 50 % ภาพที่ 5-3 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ 32 จังหวัดเชียงราย มากกว่า 50 % ภาพที่ 5-4 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ 33 จังหวัดแม่ฮ่องสอน มากกว่า 50 % รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ง

สารบัญภาพ ภาพที่ 5-5 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ 33 จังหวัดเชียงราย มากกว่า 50 % ภาพที่ 5-6 การปกคลุมของหมอกควัน และการคาดการณ์ 34 ความเร็วและทิศทางลม วันที่ 8 มีนาคม 2560 ภาพที่ 6-1 ช่วงเวลา 60 วันที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ ปี พ.ศ. 2561 36 วิเคราะห์ด้วยข้อมูลจุดความร้อนสะสม ระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2560 ภาพที่ 7-1 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวัง 37 ผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควัน ปี 2560 ภาพที่ 7-2 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เฝ้าระวัง 38 จากสาเหตุของหมอกควัน ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-3 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เฝ้าระวัง 38 จากสาเหตุของหมอกควัน ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ เปรียบเทียบปี 2559 และปี 2560 ภาพที่ 7-4 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคตาอักเสบ ปี 2560 39 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-5 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด 40 ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-6 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ปี 2560 41 ภาพที่ 7-7 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ ปี 2560 42 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th ง

บทสรุปผู้บริหาร สถานการณ์มลพิษหมอกควันปี 2560 ดีขึ้น กว่าปีที่ผ่านมา สถานการณ์มลพิษหมอกควันปี 2560 ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา วัดได้จากจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เกินมาตรฐานในพื้นที่ 4 จังหวัด เพียงแค่ 19 วัน ซึ่งลดลงจากปี 2559 ที่มากถึง 54 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และสิ้นสุดในวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 และค่าความเข้มข้นของ PM10 มีค่าน้อยกว่าปีที่ผ่านมา หากประมวลสถานการณ์รายจังหวัด พบว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวนวันที่ค่า PM10 เกินค่ามาตรฐานยาวนานที่สุด จำนวน 18 วัน ค่า PM10 สูงสุดคือ 178 มคก./ลบ.ม. รองลงมา ได้แก่ เชียงราย จำนวน 5 วัน ค่า PM10 สูงสุดคือ 168 มคก./ลบ.ม. เชียงใหม่ จำนวน 4 วัน ค่า PM10 153 มคก./ลบ.ม. และลำพูน จำนวน 1 วัน ค่า PM10 สูงสุดคือ 131 มคก./ลบ.ม. จำนวนผู้ป่วยด้วยกลุ่มโรคที่เฝ้าระวังจากสาเหตุของหมอกควัน เพิ่มมากขึ้น สถานการณ์มลพิษหมอกควันที่เกิดขึ้น ในช่วงเดือน มกราคม – เมษายน 2560 ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด จากข้อมูลของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 พบว่า สถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังจากสาเหตุ ของหมอกควัน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ (1) กลุ่มโรคตาอักเสบ (2) กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด (3) กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุก ชนิด และ (4) กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากช่วงเวลาอื่นในรอบปี และ ที่สำคัญในปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วย 529,364 ราย ซึ่งเพิ่มมากขึ้น 12.71 % ของจำนวนผู้ป่วยในปี 2559 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 1

จุดความร้อน (Hotspot) 4 จังหวัด ลดลง 50% โดยจังหวัดพบมากที่สุด คือ แม่ฮ่องสอน จำนวน 1,188 จุด รองลงมาได้แก่ เชียงใหม่ จำนวน 904 จุด ลำพูน จำนวน 333 จุด และเชียงราย จำนวน 210 จุด ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2559 และปี 2560 พบว่า เชียงใหม่ ปี 2560 มีจำนวนจุดความร้อน 904 จุด ปี 2559 มีจำนวนจุดความร้อน 2,083 จุด ถือว่าลดลงจากปี 2559 จำนวน 1,179 จุด หรือคิดเป็นร้อยละ 57 เชียงราย ปี 2560 มีจำนวนจุดความร้อน 210 จุด ปี 2559 มีจำนวนจุดความร้อน 1,487 จุด ถือว่าลดลงจากปี 2559 จำนวน 1,277 จุด หรือคิดเป็นร้อยละ 86 แม่ฮ่องสอน ปี 2560 มีจำนวนจุดความร้อน 1,188 จุด ปี 2559 มีจำนวนจุดความร้อน 1,401 จุด ถือว่าลดลงจากปี 2559 จำนวน 213 จุด หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ลำพูน ปี 2560 มีจำนวนจุดความร้อน 333 จุด ปี 2559 มีจำนวนจุดความร้อน 258 จุด ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2559 จำนวน 75 จุด หรือคิดเป็นร้อยละ 129 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 2

พื้นที่เผาไหม้...4 จังหวัดภาคเหนือ ลดลง 1.4% พื้นที่เผาไหม้ (Burnt scar) หรือร่องรอยการเผาไหม้ เป็นหลักฐานบ่งชี้พื้นที่เสี่ยงในการเกิดปัญหาในระดับพื้นที่ที่ GISTDA ได้ประมวลผลข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นร่องรอยการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พบพื้นที่เผาไหม้รวมทั้งสิ้น 3,598,216 ไร่ ป่าอนุรักษ์ เป็นพื้นที่ที่มีการเผาไหม้มากที่สุด จำนวน 1,778,071 ไร่ รองลงมาคือ พื้นที่ป่าสงวน 1,443,297 ไร่ พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 135,264 ไร่ พื้นที่ริมทางหลวง 118,595 ไร่ พื้นที่เกษตร 78,478 ไร่ และพื้นที่เขต สปก. 44,149 ไร่ แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุด จำนวน 2,109,828 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.41 ของพื้นที่จังหวัด รองลงมา คือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 810,733 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.89 ของพื้นที่จังหวัด จังหวัดลำพูน จำนวน 561,384 ไร่ หรือคิดเป็น ร้อยละ 20.06 ของพื้นที่จังหวัด และจังหวัดเชียงราย จำนวน 116,271 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.61 ของพื้นที่จังหวัด แต่หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา (ปี 2559) พบว่า 4 จังหวัดภาคเหนือ มีพื้นที่เผาไหม้ลดลง จำนวน 126,398 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.4 โดยจำแนกรายละเอียด ดังนี้ จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่เผาไหม้ลดลง ร้อยละ 78.54 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เผาไหม้ลดลง ร้อยละ 42.66 และมี 2 จังหวัดที่มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 108.97 จังหวัดลำพูน มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.82 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 3

1 ความรู้เกี่ยวกับหมอกควันและไฟป่า 1.1 หมอกควัน หมายถึง การสะสมของควันหรือฝุ่น ในอากาศจัดเป็นมลพิษทางอากาศอย่างหนึ่งในบรรดาสารต่างๆ ที่ปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ เมื่อเกิดการสะสมของมลพิษประจวบกับความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่มาปกคลุม อุณหภูมิและความชื้นทำให้เกิดหมอกในตอนเช้า เมื่อหยดน้ำในอากาศรวมตัวกับฝุ่นละอองและสารมลพิษในอากาศจึงเกิด หมอกควันหรือSmog (smoke + fog) ขึ้นทำให้เกิดสภาพฟ้าหลัวเหมือนมีหมอกควันปกคลุมไปทั้งเมือง ภาพที่ 1-1 ลักษณะการเกิดหมอกควันในพื้นที่แอ่งกระทะ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 4

ภาพที่ 1-2 สาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันในภาคเหนือ 2.2 ไฟป่า ไฟป่าเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่มากับความแห้งแล้งของอากาศ ไฟป่าจะมี 2 สาเหตุด้วยกัน คือ จากธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์สำนักงานป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า กล่าวว่าจากการเก็บสถิติไฟป่าในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2528-2542 สาเหตุไฟป่าที่เกิดจากธรรมชาติมีเพียงแค่ 0.004% เท่านั้น นอกนั้นอีก 99.996% มาจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 5 ภาพที่ 1-2 สาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันในภาคเหนือ

ภาพที่ 2-2 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน เปรียบเทียบปี 2559-2560 ข้อมูลสถานการณ์ คุณภาพอากาศ (PM10) ปี 2560 2.1 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 ที่เกินค่ามาตรฐาน >> ภาคเหนือ 4 จังหวัด จำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เกินมาตรฐาน 19 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ณ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และสิ้นสุดในวันที่ 4 พฤษภาคม ณ อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งมีค่าความเข้มข้นของ PM10 น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ภาพที่ 2-1 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 2-2 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน เปรียบเทียบปี 2559-2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 6

2.1.1 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน >> จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ 2-4 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. ที่เกินค่ามาตรฐาน ปี 2559-2560 จังหวัดเชียงใหม่ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 7

2.1.2 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน >> จังหวัดเชียงราย วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 2-6 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. ที่เกินค่ามาตรฐาน ปี 2559-2560 จังหวัดเชียงราย รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 8

2.1.3 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน >> จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาพที่ 2-8 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. ที่เกินค่ามาตรฐาน ปี 2559-2560 จังหวัดแม่ฮ่องสอน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 9

2.1.4 จำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐาน >> จังหวัดลำพูน วันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่จังหวัดลำพูน ภาพที่ 2-10 จำนวนวันที่ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ 09.00 น. ที่เกินค่ามาตรฐาน ปี 2559-2560 จังหวัดลำพูน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 10

2.2 ค่า PM10 รายวัน >> ปี 2560 แหล่งข้อมูล: กรมควบคุมมลพิษ http://aqnis.pcd.go.th/ ตารางที่ 2-1 แสดงค่า PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 09.00 น. (มคก./ลบ.ม.) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 11

3 สถานการณ์จุดความร้อน (HOTSPOT) ปี 2560 แหล่งข้อมูล : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. (GISTDA) http://fire.gistda.or.th GISTDA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำข้อมูลดาวเทียมระบบ MODIS ซึ่งเป็นเครื่องมือถ่ายภาพที่ได้รับการติดตั้งบนดาวเทียม TERRA และ AQUA พัฒนาโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronatic and Space Administration: NASA) จะมีแถบการถ่ายภาพครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยและสามารถถ่ายภาพได้วันละ 4 ช่วงเวลาได้แก่ดาวเทียม TERRA (เวลา 01.00-02.00 และ 10.00-11.00 น.) ดาวเทียม AQUA (เวลา 13.00-14.00 และ 22.00-23.00 น.) โดยใช้ข้อมูลในช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง (MIR band) แบนด์ 21 22 และช่วงคลื่นความร้อน (Thermal band) แบนด์ 31 เพื่อประมวลผลตำแหน่งจุดความร้อน โดยใช้โมเดล MOD14 ร่วมกับข้อมูลอ้างอิงพิกัดตำแหน่งใน MOD03 และได้มีการจำแนกแหล่งที่เกิดจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้ที่ดินไว้ 6 ประเภท ได้แก่ ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ริมทางหลวง (250 เมตร)และชุมชน-อื่นๆ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 12

3.1 จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ >>> ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2560 จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ พบว่ามีจำนวน Hotspot รวมทั้งสิ้น 2,635 จุด  เกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มากที่สุด จำนวน 1,203 จุด รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1,051 จุด ชุมชนและอื่นๆ จำนวน 136 จุด พื้นที่ริมทางหลวง (250 เมตร) จำนวน 119 จุด พื้นที่เกษตร จำนวน 82 จุด และเขต สปก. จำนวน44 จุด  โดยจังหวัดพบมากที่สุด คือ แม่ฮ่องสอน จำนวน 1,188 จุด รองลงมาได้แก่ เชียงใหม่ จำนวน 904 จุด ลำพูน จำนวน 333 จุด และเชียงราย จำนวน 210 จุด ตามลำดับ ตารางที่ 3-1 จุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 13 ภาพที่ 3-1 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2560

3.2 จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ >>> ย้อนหลัง 3 ปี ระหว่างปี 2558 – 2560 การติดตามสถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ภาคเหนือ (รายเดือน) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม เปรียบเทียบกับข้อมูลในช่วงเดียวกันของปี 2558 - 2560 ด้วยข้อมูลดาวเทียม Terra และ Aqua ระบบ MODIS พบจุดความร้อน สะสม ดังนี้  ปี 2558 พบว่า จุดความร้อนสะสมสูงสุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 2,349 จุด รองลงมาคือจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2,068 จุด จังหวัดลำพูน จำนวน 780 จุด และจังหวัดเชียงราย จำนวน 246 จุด รวม 5,443 จุด  ปี 2559 พบว่า จุดความร้อนสะสมสูงสุดในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2,083 จุด รองลงมาคือจังหวัดเชียงราย จำนวน 1,487 จุด จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1,401 จุด และจังหวัดลำพูน จำนวน 258 จุด รวม 5,229 จุด  ปี 2560 พบว่า จุดความร้อนสะสมสูงสุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1,188 จุด รองลงมาคือจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 904 จุด จังหวัดลำพูน จำนวน 333 จุด และจังหวัดเชียงราย จำนวน 210 จุด รวม 2,635 จุด รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 14 ตารางที่ 3-2 จุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างปี 2558 – 2560

3.3 จุดความร้อนสะสม >>> ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผา ภาพที่ 3-2 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างปี 2558 – 2560 3.3 จุดความร้อนสะสม >>> ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผา สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ช่วงประกาศห้ามเผา 60 วันห้ามเผา ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ พบว่ามีจำนวน จุดความร้อนสะสม รวมทั้งสิ้น 1,891 จุด คือ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 965 จุด รองลงมาคือ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 711 จุด ชุมชนและอื่นๆ จำนวน 85 จุด พื้นที่ริมทางหลวง (250 เมตร) จำนวน 79 จุด พื้นที่เกษตร จำนวน 36 จุด และ เขต สปก. จำนวน 15 จุด ตามลำดับ โดยพบมากที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 973 จุด รองลงมาคือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 609 จุด จังหวัดลำพูน จำนวน 290 จุด และเชียงราย จำนวน 19 จุด ตามลำดับ ตารางที่ 3-3 จุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ในช่วง 60 วันห้ามเผา รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 15

ภาพที่ 3-3 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ในช่วง 60 วันห้ามเผา 3.3 จุดความร้อนสะสม >>> ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผา เปรียบเทียบ ปี 2559 - 2560 เมื่อเปรียบเทียบจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผา ระหว่าง ปี 2559 และปี 2560 พบว่า ปี 2559 มีจุดความร้อนสะสม จำนวน 3,234 จุด และปี 2560 มีจุดความร้อนสะสม จำนวน 1,891 จุด โดยมีจุดความร้อนสะสมลดลง 1,343 จุด คิดเป็นร้อยละ 42 สามารถอธิบายได้ ดังนี้ จังหวัดที่มีจุดความร้อนสะสมลดลง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จุดความร้อนสะสมลดลงร้อยละ 97.94 จังหวัดเชียงใหม่ จุดความร้อนสะสมลดลงร้อยละ 38.92 จังหวัดแม่ฮ่องสอน จุดความร้อนสะสมลดลงร้อยละ 19.19 จังหวัดที่มีจุดความร้อนสะสมเพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดลำพูน จุดความร้อนสะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 158.93 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 16

ตารางที่ 3-4 เปรียบเทียบจุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผา ปี พ.ศ. 2559 - 2560 ภาพที่ 3-4 กราฟเปรียบเทียบจุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ ช่วงประกาศ 60 วันห้ามเผาปี พ.ศ. 2559 - 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 17

3.4 คาดการณ์จุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2561 จากสถิติข้อมูลจุดความร้อนสะสมย้อนหลัง 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2560 บริเวณ 4 จังหวัดภาคเหนือ สามารถคาดการณ์จุดความร้อนสะสม ในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2561 โดยคาดการณ์ว่าจุดความร้อนสะสมในปี พ.ศ. 2561 จะลดลงเหลือ 2,516 จุด เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2560 น่าจะลดลง ร้อยละ 4.5 หากจำแนกรายจังหวัด จะคาดการณ์ได้ว่า จังหวัดลำพูน น่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 179 จังหวัดเชียงใหม่ น่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 101.9 จังหวัดเชียงราย น่าจะลดลง ร้อยละ 57.6 และจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าจะลดลง ร้อยละ 23.4 ตารางที่ 3-5 คาดการณ์จุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2561 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 18 ภาพที่ 3-5 คาดการณ์จุดความร้อนสะสม 9 จังหวัดภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2561

4 สถานการณ์พื้นที่เผาไหม้ (Burnt scar) ปี 2560 แหล่งข้อมูล : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. (GISTDA) http://fire.gistda.or.th สทอภ. ได้วิเคราะห์และคำนวณพื้นที่เผาไหม้ที่เกิดไฟป่า ด้วยการใช้ค่าความแตกต่างดัชนีการเผาไหม้ (Difference Normalized Burn Ratio; DifNBR) ที่คำนวณจากภาพดาวเทียม Landsat-8 ที่บันทึกหลายช่วงเวลา (1 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2560) โดยใช้ภาพต่างช่วงเวลา คือ ภาพก่อนเกิดไฟป่า และภาพเมื่อเกิดไฟป่าจากความสัมพันธ์ของค่าการสะท้อนแสงของพื้นที่เกิดไฟป่า ดังภาพที่ 4-1 ภาพที่ 4-1 ภาพการสะท้อนช่วงคลื่นของพืชที่สัมพันธ์กับลักษณะการเผาไหม้ซึ่งปรากฏบนข้อมูลจากดาวเทียม รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 19

4.1 พื้นที่เผาไหม้ ใน 4 จังหวัดภาคเหนือ >>> ปี 2560 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560) ผลการวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้จากการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม LANDSAT-8 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 พบว่า มีพื้นที่เผาไหม้ รวมทั้งสิ้น 3,598,216 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุด ดังนี้ • อันดับ 1 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2,109,828 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.41 ของพื้นที่จังหวัด • อันดับ 2 จังหวัดเชียงใหม่ 810,733 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.89 ของพื้นที่จังหวัด • อันดับ 3 จังหวัดลำพูน 561,384 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.06 ของพื้นที่จังหวัด • อันดับ 4 จังหวัดเชียงราย 116,271 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.61 ของพื้นที่จังหวัด ตารางที่ 4-1 สรุปพื้นที่เผาไหม้ 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 20 ภาพที่ 4-2 กราฟแสดงจุดความร้อนสะสม 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560

ภาพที่ 4-3 แผนที่เผาไหม้ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ วิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT-8 ระหว่างเดือน 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 21

4.2 พื้นที่เผาไหม้ ใน 4 จังหวัดภาคเหนือ >>> เปรียบเทียบ ปี 2559 -2560 การเปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้ระหว่างปี 2559 กับ ปี 2560 จากการแปลตีความด้วยภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-8 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม พบว่า ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือมีพื้นที่เผาไหม้ลดลง 126,398 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.41 โดยมี 2 จังหวัดที่มีพื้นที่เผาไหม้ลดลง ได้แก่  อันดับ 1 จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่เผาไหม้ลดลง ร้อยละ 78.54  อันดับ 2 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เผาไหม้ลดลง ร้อยละ 42.66 และมี 2 จังหวัดที่มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น ได้แก่  อันดับ 1 จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 108.97  อันดับ 2 จังหวัดลำพูน มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.82 ตารางที่ 4-2 เปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้ 4 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่าง ปี 2559 และปี 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 22

ภาพที่ 4-4 เปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้ ระหว่างปี 2559 และปี 2560 ระหว่างเดือน มกราคม – พฤษภาคม วิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT-8 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 23

4.3 พื้นที่เผาไหม้ ปี 2560 >>> รายจังหวัด 4.3.1 พื้นที่เผาไหม้ ปี 2560 >>> จังหวัดเชียงใหม่ การประเมินพื้นที่เผาไหม้ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ที่บันทึกข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 6 พฤษภาคม 2560 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า อำเภอที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุด คือ อำเภอแม่แจ่ม 183,915 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอฮอด 129,916 ไร่ และอำเภออมก๋อย 104,675 ไร่ ตามลำดับ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 24 ตารางที่ 4-3 สรุปพื้นที่เผาไหม้รายอำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560

25 ภาพที่ 4-5 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 25

4.3.2 พื้นที่เผาไหม้ ปี 2560 >>> จังหวัดเชียงราย การประเมินพื้นที่เผาไหม้ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ที่บันทึกข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 6 พฤษภาคม 2559 จังหวัดเชียงราย พบว่า อำเภอที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุด คือ อำเภอแม่สรวย 19,828 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอเวียงป่าเป้า 18,629 ไร่ และอำเภอเทิง 13,676 ไร่ ตามลำดับ ตารางที่ 4-4 สรุปพื้นที่เผาไหม้รายอำเภอ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 26

27 ภาพที่ 4-6 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 27

4.3.3 พื้นที่เผาไหม้ ปี 2560 >>> จังหวัดแม่ฮ่องสอน การประเมินพื้นที่เผาไหม้ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ที่บันทึกข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 6 พฤษภาคม 2560 จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า อำเภอที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุดคือ อำเภอแม่สะเรียง 634,918 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 377,229 ไร่ และอำเภอปาย 369,669 ไร่ ตามลำดับ ตารางที่ 4-5 สรุปพื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 28 ภาพที่ 4-7 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560

4.3.4 พื้นที่เผาไหม้ ปี 2560 >>> จังหวัดลำพูน การประเมินพื้นที่เผาไหม้ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ที่บันทึกข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 6 พฤษภาคม 2560 จังหวัดลำพูน พบว่าอำเภอที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุดคือ อำเภอลี้ 325,715 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอบ้้านโฮ่ง 99,600 ไร่ และอำเภอแม่ทา 73,258 ไร่ ตามลำดับ ตารางที่ 4-6 สรุปพื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 29 ภาพที่ 4-8 พื้นที่เผาไหม้ (ไร่) รายอำเภอ จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560

4.4 พื้นที่เผาไหม้ ปี 2560 >>> เปรียบเทียบรายอำเภอของ 4 จังหวัดภาคเหนือ การประเมินพื้นที่เผาไหม้ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ที่บันทึกข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 6 พฤษภาคม 2560 ของอำเภอใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และลำพูน ที่มีพื้นที่เผาไหม้ตั้งแต่ 10,000 ไร่ขึ้นไป เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 30 ภาพที่ 4-9 เปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้รายอำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 6 พฤษภาคม 2560

5 หมอกควันและทิศทางของหมอกควัน แหล่งข้อมูล : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. (GISTDA) http://fire.gistda.or.th สทอภ. ได้ดาเนินการวิเคราะห์พื้นที่และติดตามการกระจายตัวของหมอกควันไฟรายวัน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 จากภาพสีผสมจริงของข้อมูลดาวเทียม Aqua ระบบ MODISบันทึกภาพในช่วงเวลาประมาณ 14.00 น. ด้วยการวิเคราะห์เชิงวัตถุ (Object Oriented Analysis) โดยการแปลตีความกลุ่มหมอกควันไฟไม่ได้มีการแบ่งระดับความรุนแรง พบว่า มี 2 อำเภอ ที่มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่มากกว่า 7 วัน ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอ แม่อายจังหวัดเชียงใหม่ 0 วัน 1-3 วัน 4-7 วัน มากกว่า 7 วัน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 31 ภาพที่ 5-1 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ รายอำเภอบริเวณ 9 จังหวัดภาคเหนือ ช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2560

5.1 การปกคลุมของหมอกควัน >>> จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่พบอำเภอที่มีจำนวนวันของหมอกควัน ปกคลุมพื้นที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดคือ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 9 วัน โดยส่วนใหญ่หมอกควันมีการกระจายตัวมากในเดือนมีนาคม ภาพที่ 5-2 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 50 % 5.2 การปกคลุมของหมอกควัน >>> จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบอำเภอที่มีจำนวนวันของหมอกควัน ปกคลุมพื้นที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดคือ อำเภอแม่ลาว จำนวน 4 วัน โดยส่วนใหญ่หมอกควันมีการกระจายตัวมากในเดือนมีนาคม รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 32 ภาพที่ 5-3 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ จังหวัดเชียงราย มากกว่า 50 %

5.3 การปกคลุมของหมอกควัน >>> จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนพบอำเภอที่มีจำนวนวันของหมอกควันปกคลุมพื้นที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดคือ อำเภอขุนยวม จำนวน 7 วัน โดยส่วนใหญ่หมอกควันมีการกระจายตัวมากในเดือนมีนาคม ภาพที่ 5-4 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มากกว่า 50 % 5.4 การปกคลุมของหมอกควัน >>> จังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูนพบอำเภอที่มีจำนวนวันของหมอกควัน ปกคลุมพื้นที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดคือ อำเภอป่าซาง จำนวน 6 วัน โดยส่วนใหญ่หมอกควันมีการกระจายตัวมากในเดือนมีนาคม รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 33 ภาพที่ 5-5 จำนวนวันที่หมอกควันปกคลุมพื้นที่อำเภอ จังหวัดเชียงราย มากกว่า 50 %

34 ภาพที่ 5-6 การปกคลุมของหมอกควัน และการคาดการณ์ความเร็วและทิศทางลม วันที่ 8 มีนาคม 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 34

กำหนดช่วงเวลาเสี่ยงต่อการเผา 60 วัน ปี 2561 กำหนดช่วงเวลาเสี่ยงต่อการเผา 60 วัน ปี 2561 แหล่งข้อมูล : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. (GISTDA) http://fire.gistda.or.th สทอภ. ได้นำข้อมูลจุดความร้อนสะสมย้อนหลัง 10 ปี ในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน ระหว่างปี 2551 - 2560 มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดเป็นช่วงห้ามเผา ประมาณ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน ซึ่งมีโอกาสเกิดจุดความร้อนสะสมสูง ในปี 2561 ดังแสดงในตารางที่ 6-1 และภาพที่ 6-1 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางที่ 6-1 ค่าเฉลี่ยจุดความร้อนสะสม ช่วงเดือนมกราคม – เมษายน ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2560 จังหวัดเชียงราย มีช่วง 60 วัน อยู่ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 23 เมษายน จังหวัดเชียงใหม่ มีช่วง 60 วัน อยู่ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ - 19 เมษายน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีช่วง 60 วัน อยู่ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ - 18 เมษายน จังหวัดลำพูน มีช่วง 60 วัน อยู่ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 28 มีนาคม รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 35

36 ภาพที่ 6-1 ช่วงเวลา 60 วันที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ ปี พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ด้วยข้อมูลจุดความร้อนสะสม ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2560 29 ม.ค.-28 มี.ค. 5 ก.พ.-4 เม.ย. 13 ก.พ.-12 เม.ย. 19-21 ก.พ.-18-20 เม.ย. 24 ก.พ.-23 เม.ย ช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการเผา รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 36

ผลกระทบต่อสุขภาพ และสภาวะเศรษฐกิจ 7 ผลกระทบต่อสุขภาพ และสภาวะเศรษฐกิจ แหล่งข้อมูล : กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 1 กรมควบคุมโรค 7.1 ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย สถานการณ์มลพิษหมอกควันที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2560 (รวม 17 สัปดาห์) ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือ โดยพบว่า สถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังจากสาเหตุของหมอกควัน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ (1) กลุ่มโรคตาอักเสบ (2) กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด (3) กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด และ (4) กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากช่วงเวลาอื่นในรอบปี และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 12.71 % จากปี 2559 ตารางที่ 7-1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควัน ปี 2560 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 37 ภาพที่ 7-1 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวัง ผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควัน ปี 2560

ภาพที่ 7-2 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เฝ้าระวังจากสาเหตุของหมอกควัน ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-3 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เฝ้าระวังจากสาเหตุของหมอกควัน ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ เปรียบเทียบปี 2559 และปี 2560 ปี 2560 พบผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เฝ้าระวังจากสาเหตุของหมอกควัน ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 529,364 ราย ส่วนปี 2559 จำนวน 469,687 ราย เพิ่มขึ้น 59,677 ราย หรือ 12.7 % รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 38

ตารางที่ 7-2 จำนวนผู้ป่วยโรคตาอักเสบ ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-4 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคตาอักเสบ ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 39

ตารางที่ 7-3 จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-5 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 40

ตารางที่ 7-4 จำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจทุกชนิด ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-6 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 41

ตารางที่ 7-5 จำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ภาพที่ 7-7 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ ปี 2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 42

7.2 ผลกระทบต่อการคมนาคมทางอากาศ จากปัญหาหมอกควันที่ปกคลุมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ในบางช่วงบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น ท่าให้ทัศนวิสัยต่ำกว่าเกณฑ์ที่ปลอดภัย อาจเป็นอันตรายต่อการจราจรทางอากาศได้ โดยเกณฑ์สภาพอากาศ ที่กำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติการบินและควบคุมการบิน ภายใต้ในระเบียบข้อบังคับขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า “ทัศนวิสัยมากกว่า 8 กิโลเมตร มักไม่มีลักษณะอากาศเลวร้าย ที่จะท่าให้เกิดอันตรายต่อการบิน แต่หากทัศนวิสัยอยู่ระหว่าง 2-8 กิโลเมตร อาจจะมีลักษณะอากาศเลวร้าย เป็นอันตรายต่อการบินได้” ซึ่งจากข้อมูลผลกระทบต่อการคมนาคมทางอากาศ อันเนื่องมาจากสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ พบว่าด้วยสาเหตุจากทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสม ทำให้บางสายการบินมีความจำเป็นต้องปรับเลื่อนเวลาเที่ยวบิน เที่ยวบินล่าช้า (Flight Delay) หรือบางกรณีมีการยกเลิกเที่ยวบิน (Flight Cancel) รอจนกว่าสถานการณ์หมอกควันจะคลี่คลาย จึงสามารถให้บริการตามปกติได้ ทำให้ความเชื่อมั่นในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ลดลงไป และสร้างความเสียหายเป็นเงินจำนวนมหาศาล รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 43 ตารางที่ 7-6 การยกเลิกเที่ยวบิน เปรียบเทียบ ปี 2559 และปี 2560

มาตรการและแผนปฏิบัติการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560 8 มาตรการและแผนปฏิบัติการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560 8.1 แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560 รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ห่วงใยสถานการณ์ ไฟป่าและหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 เห็นชอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา-หมอกควันภาคเหนือ ปี พ.ศ.2560 ตามกรอบแนวคิดที่เน้นกลไก-ประชารัฐและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการควบคุมการเผา การระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังและป้องกันการเผาในพื้นที่เสี่ยง ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้เพื่อสร้างความตระหนัก พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ลักลอบเผา ภายใต้ระบบศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อบูรณาการเตรียมพร้อมรับมือไฟป่าหมอกควันล่วงหน้าและแก้ไขปัญหาในมิติเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัย รวมถึงบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้กำหนดมาตรการสำคัญ “3 มาตรการเชิงพื้นที่ 4 มาตรการบริหารจัดการ” ดังนี้ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 44

45 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 45

1) ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เป้าหมาย 1) ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ 2) พื้นที่ป่าที่ผ่อนผันให้ราษฎรทำกิน/พื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 46

4) พื้นที่อื่นๆ (ริมทางและชุมชน) 3) พื้นที่เกษตร 4) พื้นที่อื่นๆ (ริมทางและชุมชน) 5) ภูมิภาคอาเซียน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 47

8.2 แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันระดับจังหวัด ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันระดับจังหวัด และออกประกาศเรื่อง การกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด อย่างเด็ดขาดในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ดังนี้ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 48

ผลการดำเนินงานของ สสภ.1 9 ผลการดำเนินงานของ สสภ.1 รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 49

อากาศบ้านเฮา คือ ช่องทางในการรายงานแจ้งเตือนและคาดการณ์ สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ ประจำวันผ่านทาง Facebook และ Application Line ในช่วงที่สถานการณ์หมอกควันเริ่มเข้าสู่ ระดับรุนแรง คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2560 ซึ่งได้จัดทำเป็นรายงานฉบับภาพรวมภาคเหนือและรายจังหวัด จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน ตาก โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-4 (ภาคเหนือ) เพื่อเผยแพร่ให้แก่คณะทำงานหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัด หน่วยงานในระดับพื้นที่ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และใช้เป็นแนวทางในการป้องกัน เฝ้าระวัง เตรียมความพร้อมในการรับมือแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น และใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ช่วงที่มีสถานการณ์เริ่มมีความรุนแรง คือเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมาจนกว่าสถานการณ์จนกลับสู่สภาวะปกติ ภาพที่ 9-1 ตัวอย่างรายงานแจ้งเตือนและคาดการณ์สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 50

ชุมชนปลอดการเผา เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและสร้างเครือข่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เห็นความสำคัญในการส่งเสริมชุมชนปลอดการเผา เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ย่อมรู้บริบทพื้นที่ สาเหตุและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง แนวทางจัดการปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงน่าจะมีบทบาทหลักในการดำเนินงาน จึงได้จัดทำ “โครงการชุมชนปลอดการเผา ปี 2560” โดยเน้นดำเนินการในพื้นที่ชุมชนติดเขตป่าเพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเผามากที่สุด ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย และแม่อ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่เป้าหมาย จำนวน 35 ชุมชนติดเขตป่าในอำเภอขุนยวม มีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ 35 ชุมชน ดังนี้ - ตำบลเมืองปอน จำนวน 10 ชุมชน - ตำบลแม่อูคอ จำนวน 5 ชุมชน - ตำบลแม่กิ๊ จำนวน 4 ชุมชน - ตำบลแม่เงา จำนวน 8 ชุมชน - ตำบลแม่ยวมน้อย จำนวน 8 ชุมชน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 51

>>> อำเภอแม่สรวย มีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ 17 ชุมชน ดังนี้ จังหวัดเชียงราย พื้นที่เป้าหมาย จำนวน 52 ชุมชนติดเขตป่าในอำเภอแม่สรวยและอำเภอเวียงป่าเป้า มีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ 38 ชุมชน ดังนี้ >>> อำเภอแม่สรวย มีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ 17 ชุมชน ดังนี้ - ตำบลวาวี จำนวน 6 ชุมชน - ตำบลแม่พริก จำนวน 1 ชุมชน - ตำบลป่าแดด จำนวน 1 ชุมชน - ตำบลศรีถ้อย จำนวน 3 ชุมชน - ตำบลแม่สรวย จำนวน 3 ชุมชน - ตำบลท่าก๊อ จำนวน 3 ชุมชน >>> อำเภอเวียงป่าเป้า มีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ 21 ชุมชน ดังนี้ - ตำบลเวียงกาหลง จำนวน 4 ชุมชน - ตำบลเวียง จำนวน 1 ชุมชน - ตำบลสันสลี จำนวน 1 ชุมชน - ตำบลป่างิ้ว จำนวน 5 ชุมชน/หย่อมบ้าน - ตำบลแม่เจดีย์ จำนวน 4 ชุมชน - ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ จำนวน 6 ชุมชน รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 52

10 (ร่าง) แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไข ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2561 แหล่งข้อมูล : จากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ (After Action Review: AAR) ปี 2561 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ณ จังหวัดใหม่ แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2561 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียน (After Action Review: AAR) เพื่อทบทวนผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่ผ่านมา ในแง่มุมต่างๆ ทั้งความสำเร็จและล้มเหลว รวมถึงการวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน ข้อเสนอแนะ และช่วยกันระดมสมอง บอกกล่าวประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ บูรณาการทุกหน่วยงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนและสร้างความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรการ/การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันในปี 2560 ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับปี 2561 กระทรวงหมาดไทยจะเป็นเจ้าภาพหลักบูรณาการสั่งการและการจัดสรรงบประมาณให้ 9 จังหวัดภาคเหนือ เน้นมาตการป้องกันที่เข้าถึงคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเผาซ้ำซาก Single Command โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ เครือข่ายภาคประชาชน ชุมชน หมู่บ้าน เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงไม่ให้เกิดไฟ และให้จังหวัดบริหารจัดการเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลา รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 53

แนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2561 ดังนี้           1. ระดมมาตรการเพื่อป้องกันก่อนเกิดไฟเพื่อควบคุมไม่ให้ คนจุดไฟ และป้องกันก่อนลุกลามจนยากต่อการควบคุม           2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งคนจุดไฟและเครือข่าย เฝ้าระวัง ด้วยการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน และร่วมดับไฟ ภายใต้แนวคิด "ประชารัฐร่วมใจ เพื่อฟ้าใสไร้หมอกควัน”           3. ช่วยกันประณามคนจุดไฟเผาป่า และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดับไฟในพื้นที่           4. แก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันด้วยความตั้งใจจริง เพื่อนำไปสู่การคืนอากาศบริสุทธิ์ให้พี่น้อง 9 จังหวัดภาคเหนือ           5. มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและตามสมควร           6. การทำงานร่วมกันโดยไร้เส้นแบ่ง ไม่เลือกปฏิบัติ           7. ใช้บทเรียนที่พบเห็นและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นองค์ความรู้ รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 54

บรรณานุกรม สถานการณ์ไฟป่าจากภาพดาวเทียม. สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ปี 2560.วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2560, จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เวปไซต์ http://fire.gistda.or.th สถานการณ์ไฟป่าจากภาพดาวเทียม. สถานการณ์พื้นที่เผาไหม้ (Burnt scar) ปี 2560.วันที่ค้นข้อมูล 12 มิถุนายน 2560, จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เวปไซต์ http://fire.gistda.or.th สถานการณ์ไฟป่าจากภาพดาวเทียม. การวิเคราะห์พื้นที่และติดตามการกระจายตัวของหมอกควันไฟ ปี 2560. วันที่ค้นข้อมูล 22 สิงหาคม 2560, จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เวปไซต์ http://fire.gistda.or.th สถานการณ์ไฟป่าจากภาพดาวเทียม. การคาดการณ์ช่วงเวลาเสี่ยงต่อการเกิดจุดความร้อนปี 2560. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2560, จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เวปไซต์ http://fire.gistda.or.th สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. สถานการณ์คุณภาพอากาศ ปี 2560. วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2560, จากกรมควบคุมมลพิษ เวปไซต์ http://aqnis.pcd.go.th รายงานสถานการณ์์หมอกควันไฟป่่าภาคเหนือ ปีี 2560 สำนักงานสิ่งแวดล้้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่่) www.reo01.go.th 55

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่) ที่อยู่ 118/4 ม.2 ถ.อนุสาวรีย์สิงห์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : (053) 218032-4 โทรสาร : (053) 218032-4 ต่อ 102 Email : reo01.org@mnre.mail.go.th