การทรมานและการประติบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
จรรยาบรรณ ทางวิชาชีพและ เชิงสังคม อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อ การพัฒนาเด็กและ ครอบครัว ม. มหิดล สถาบันแห่งชาติเพื่อ.
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
อำเภอควบคุมยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เข้มแข็ง ปี 2556
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โครงการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ “ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
OPAC Provisions and Scope
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
ความเข้าใจเรื่องกลไกสิทธิมนุษยชน เรื่อง
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สิทธิมนุษยชน.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โปรแกรมระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติคดีของศาลยุติธรรม
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
อำนาจอธิปไตย 1.
สาเหตุที่ต้องมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
SMS News Distribute Service
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ลำปาง นายยรรยง พลสันติกุล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาเชน Jainism.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
“อนาคตการสื่อสารไทย โฉมหน้าใหม่ กสทช. ในร่างรัฐธรรมนูญ”
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การทรมานและการประติบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) พันตำรวจโท สุทธิชัย สงค์อนุกูล อาจารย์ (สบ3) กลุ่มงานอาจารย์ กองบัญชาการศึกษา

ขอบเขตการบรรยาย 1. ความหมายของการทรมาน และการปฏิบัติ หรือลงโทษอื่นฯ 2. ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้อง 3. ข้อห้ามและพันธกรณีอื่นๆ 4. กรณีศึกษาภายในประเทศและภายนอกประเทศ

อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี 2 ต.ค.50 มีผลบังคับใช้ 1พ.ย. 50 (จาก 158 ประเทศ) ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการ ทรมาน การทรมานถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ และถือ เป็นความผิดที่สามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้ การกระทำที่เป็นการทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของ ประเทศไทย ซึ่งผู้กระทำจะมีความผิดอาญา ความรับผิดทางแพ่ง และถูกลงโทษทางวินัย

CAT in Overview ข้อบทที่ 1 : ความหมายของ “ทรมาน” ข้อบทที่ 2 วรรคแรก: รัฐต้องใช้มาตรการป้องกันการทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ วรรคสอง: รัฐไม่อาจอ้างเหตุใดเป็นข้ออ้างการทรมานได้ วรรคสาม: คำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ถือเป็นข้ออ้างในการทำทรมาน ข้อบทที่ 3 : หลักการ Non-refoulment ข้อบทที่ 4 : การบัญญัติให้การทรมาน (พยายาม และผู้ร่วมในการกระทำความผิด) เป็นความผิด และมีระวางโทษที่เหมาะสม

CAT in Overview ข้อบทที่ 5: เขตอำนาจศาล ข้อบทที่ 6: หน้าที่ของรัฐในการควบคุมตัวผู้กระทำทรมาน ข้อบทที่ 7: หน้าที่ของรัฐในการสอบสวนผู้กระทำทรมาน ข้อบทที่ 8: การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ข้อบทที่ 9: ความร่วมมือระหว่างรัฐในคดีทรมาน ข้อบทที่ 10: การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้อบทที่ 11: หน้าที่ของรัฐในการทบทวนกระบวนการคุมขัง

CAT in Overview ข้อบทที่ 12: การสอบสวนโดยพลัน ข้อบทที่ 13: สิทธิของผู้เสียหาย ข้อบทที่ 14: การเยียวยาความเสียหายอย่างเป็นธรรม และเพียงพอ ข้อบทที่ 15: ข้อห้ามในการรับฟังพยานหลักฐาน ข้อบทที่ 16: การป้องกันการกระทำอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือการประติบัติหรือการลงโทษที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

1. ความหมายของการ “ทรมาน” ตามอนุสัญญาฯ 1. ความหมายของการ “ทรมาน” ตามอนุสัญญาฯ การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อ ความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้น หรือจากบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำหรับการกระทำ ซึ่งบุคคลนั้น หรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัว หรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามหรือเพราะเหตุผลใดใด บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความเจ็บปวด หรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำโดย หรือด้วยการยุยง หรือโดยความ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความ ทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการ ลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย”

“ทรมาน” ตาม(ร่าง) พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ มาตรา 3 (1) การกระทำที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมาน อย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อที่จะให้ได้มา ซึ่งข้อมูลหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม เพื่อการลงโทษ บุคคลนั้นสำหรับการกระทำซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามได้กระทำหรือถูก สงสัยว่าได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อข่มขู่หรือขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือ บุคคลที่สาม หรือเพราะเหตุผลอื่นใดบนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติ โดย การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือโดยการยุยง โดยความยินยอม หรือโดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือของ บุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความ ทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรือสืบเนื่องมาจากการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย”

องค์ประกอบของการทรมาน การกระทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือความทุกข์ทรมาน อย่างสาหัส 2. กระทำโดยเจตนา โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 3. กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของ เจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ใน ตำแหน่งทางการ

อันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา อย่างสาหัสตามอนุสัญญา 1. “อย่างสาหัส” อันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา อย่างสาหัสตามอนุสัญญา มาตรา 297 (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน มีความหมายกว้าง และเคร่งครัดน้อยกว่าประมวลกฎหมายอาญา โดยจำกัดเพียงแค่ต้องเป็นความเจ็บปวด หรือทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรง โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆได้แก่ (1) ระยะเวลาในการประติบัติ (2) ผลที่เกิดขึ้นต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้เสียหาย (3) เพศ อายุ และสุขภาพของผู้เสียหาย การกระทำที่เข้าองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 297 (1) – (6) ย่อมเป็นการทรมานโดยสภาพ แต่แม้ความรุนแรงไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็เป็นการทรมานได้ แม้ไม่เกิดบาดแผลฟกช้ำ หรือมีโลหิตไหลก็ตาม

2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 2.1) เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำ สารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม เช่น การซ้อมเพื่อให้ รับสารภาพ ซัดทอด หรือข้อมูลอันอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ ในการขยายผลการสอบสวน เป็นต้น 2.2) เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษบุคคลหรือบุคคลที่สาม สำหรับการกระทำหรือการถูกสงสัยว่าได้กระทำการอย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น การลงโทษผู้ต้องขังด้วยการเฆี่ยนตี ขังห้องมืด เนื่องด้วยการทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง

2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 2.3) เพื่อความมุ่งประสงค์ข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญ บุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม 2.4) เนื่องมาจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม หรือบนพื้นฐานของการเลือก ประติบัติ เช่นการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆ นอกจากมูลเหตุชักจูงใจที่กำหนดไว้ทั้ง 4 ประการ หากเป็น การกระทำโดยมูลเหตุชักจูงใจอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันก็อาจ เป็นการทรมานได้

เงื่อนไขในข้อสองนี้มีเพื่อจำกัดขอบเขตของการทรมานให้อยู่ ในกรอบที่กำหนด เพื่อไม่ให้การกระทำของหน่วยงานรัฐที่ เป็นการสร้างอันตราย หรือความเจ็บปวดแก่ประชาชนมีผล เป็นการทรมานทั้งหมด ดังนั้น กรณีที่เรือนจำต่างๆ มีสภาพ ต่ำกว่ามาตรฐานสากลอาจไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน หากรัฐ ไม่ได้กระทำไปเพื่อต้องการลงโทษผู้ต้องหาให้อยู่ในสภาพ ดังกล่าวแต่เป็นไปเพราะข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ หรือ บุคลากร

3. ผู้กระทำความผิด การทรมานต้องเป็น กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของ เจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ใน ตำแหน่งทางการ

4. ผู้เสียหาย (มาตรา 3 (5)) ผู้เสียหายจากการทรมาน บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการทรมาน ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภรรยาของบุคคลดังกล่าว รวมทั้ง บุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย

ตัวอย่างของการทรมาน การใช้ไฟฟ้า หรือบุหรี่จี้ที่อวัยวะเพศ หรืออวัยวะอื่นๆ

ตัวอย่างของการทรมาน คดี"ช็อตไข่"บานปลาย เหยื่อสีกากีโหดโผล่เพียบแห่แจ้งจับ พฤติการณ์โฉดของตำรวจ สภ.อุทัย จว.พระนครศรีอยุธยา ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย (รุมซ้อมและใช้ ไฟฟ้าช็อตอวัยวะเพศ) นายเอกวัฒน์ ศรีมันตะ อายุ 21 ปี นายอเนก ยิ่งนึก อายุ 24 ปี ในข้อหาปล้นทรัพย์ระหว่าง ถูกควบคุมตัว ผู้ต้องหาถูกตำรวจทำร้ายร่างกายด้วยการใช้ ถุงคลุมหัวแล้วเตะ จับกดน้ำ ใช้กระแสไฟฟ้าช็อตตาม ร่างกาย จนมีอาการทางประสาทและขณะนี้ถูกควบคุมตัว อยู่ในเรือนจำ

ตัวอย่างของการทรมาน ผบก.สส.ภ.8 สั่งสอบตำรวจยัดยาช๊อตไฟฟ้าผู้ต้องหา กรณีสองสามีภรรยาเมืองคอน บุกแจ้งความถูกกลุ่ม ชายฉกรรจ์อ้างเป็นตำรวจปราบปรามยาเสพติดค้นบ้าน และจับตัวลูกชายไปทรมานด้วยการใช้ช็อตไฟฟ้า ก่อนส่ง ดำเนินคดีพร้อมยาบ้า 25 เม็ด ขณะที่ผลแพทย์ชี้เหยื่อ ได้รับความบอบช้ำภายในจากการถูกเครื่องช๊อตไฟฟ้า ช๊อตตามร่างกายจริง

ตัวอย่างของการทรมาน

ตัวอย่างของการทรมาน เม็กซิโกดำเนินคดีทหารและตำรวจข้อหาซ้อมทรมาน เผยมีคลิป วิดีโอตำรวจใช้ถุงพลาสติกคลุมหัวผู้ต้องหาให้ขาดอากาศหายใจ จ่อปืนใส่หัวขณะซักถาม ภาพวิดีโอที่ถูกนำมาเผยแพร่ทาง โซเชียลมีเดียจนเป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อช่วงต้นเดือนเผยให้เห็น เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้หญิงคนหนึ่ง นำถุงพลาสติกไปคลุมศีรษะของ ผู้ต้องหาหญิงที่ถูกจับใส่กุญแจมือ พร้อมกับใช้ปืนไรเฟิลจ่อที่ ศีรษะให้ผู้ต้องหายอมให้ปากคำ และเมื่อผู้ต้องหาทำท่าจะหมด สติจากการขาดอากาศหายใจ เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงก็เรียกบอก ว่าผู้หญิงคนดังกล่าวเป็น “ยายแก่จอมมารยา”

ตัวอย่างของการทรมาน นอกเหนือจากคดีนี้ ทางการเม็กซิโกยังได้ตัดสินจำคุกทหารยศนาย พลคนหนึ่งเป็นเวลา 52 ปี จากความผิดฐานซ้อมทรมานผู้ต้องหา ด้วยการจับมัดร่างกายแล้วใช้ไฟฟ้าช็อตจนถึงแก่ความตายเมื่อเดือน ก.ค.ปี 2551 ที่ผ่านมาองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประณามกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่าย ความมั่นคงของเม็กซิโกมักใช้วิธีการซ้อมทรมานเพื่อรีดข้อมูลจาก ผู้ต้องหา โดยรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อปี 2557 ระบุว่ามีการร้องเรียนกรณีถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานเพิ่มขึ้น 600% ในช่วงปี 2546-2556 และ 64% ของชาวเม็กซิโกต่างกลัวว่าจะถูก ซ้อมทรมานหากพวกเขาถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัว

ตัวอย่างของการทรมาน

ตัวอย่างของการทรมาน การบังคับให้ผู้ต้องขังเปลือยกาย กระทำการ หรือแสดง ลักษณะในทางเพศ

ตัวอย่างของการทรมาน

ตัวอย่างของการทรมาน การตัดอวัยวะสำคัญ ถอนฟัน ดึงเล็บ

ตัวอย่างของการทรมาน การจับผู้ต้องขังมัดไว้กับกระดาน คลุมหน้าผู้ต้องขังไว้ด้วยผ้า และเทน้ำลงไปเพื่อให้ผู้ต้องขังสำลัก (Waterboarding)

ตัวอย่างของการทรมาน

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้ยกตัวอย่างของการ ทรมาน เช่น การซ้อมตามเนื้อตัวร่างกายด้วยการทุบตี ตบ เตะ ต่อย ใช้พานท้ายปืนกระแทก ใช้ไฟฟ้าหรือบุหรี่จี้ที่อวัยวะเพศ การปัสสาวะ ใส่ปาก การคลุมศีรษะด้วยถุงพลาสติกให้ขาดอากาศหายใจเป็นระยะๆ การใส่กุญแจมือผูกกับเฮลิคอปเตอร์ขณะทำการบิน การบังคับถอด เสื้อผ้าให้อยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำเป็นระยะเวลานาน การกดศีรษะ ลงน้ำ ให้อดอาหาร บังคับให้รับประทานสิ่งที่ปกติไม่พึงรับประทาน การโรยพริกลงบนบาดแผล การกระทำชำเราหรือล่วงละเมิดทางเพศ การตัดอวัยวะสำคัญ ถอนฟัน ดึงเล็บ บังคับให้ตากแดดเป็นเวลานาน บังคับใช้ยากล่อมหรือหลอนประสาท ให้เปลือยกายในที่สาธารณะ หรือการกระทำต่อความเชื่อทางศาสนา เช่น การให้คนมุสลิมดื่มสุรา นอนในบริเวณที่มีสุนัข เป็นต้น

การประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี การประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ ย่ำยีศักดิ์ศรี (CID) เป็นข้อห้ามเช่นเดียวกับการทรมาน เพียงแต่ระดับของการกระทำมีความรุนแรงน้อยกว่าการทรมาน อนุสัญญาฯ ไม่ได้นิยามศัพท์ CID ไว้ และในการตีความตาม กฎหมายระหว่างประเทศก็ยังไม่มีคำจำกัดความโดยเฉพาะ แต่ตามกฎหมายไทยนั้นไม่ได้มีการแยกระหว่างการกระทำทั้ง สองประเภท ระวางโทษจึงไม่มีความแตกต่างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ฐานความผิด

ความหมาย “การกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี” (มาตรา 3 (2)) การกระทำที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจต่อบุคคล หนึ่งบุคคลใดที่มิใช่การกระทำทรมาน โดยการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำโดยจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือโดยการยุยง โดยความ ยินยอม หรือโดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือของ บุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งนี้ไม่รวมอันตรายจากการ ลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย

ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 1) คณะกรรมการต่อต้านการทรมานเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยูโกสลาเวียนิ่งเฉย และไม่กระทำการใดที่เหมาะสมใน สถานการณ์ที่ชาว Romani ถูกชาวมอนเตรเนโกร ทำร้ายกว่า 200 คน เนื่องจากโกรธแค้นที่ชายชาว Romani คนหนึ่งข่มขืน กระทำชำเราเด็กหญิงชาวมอนเตรเนโกร เป็นการกระทำที่เป็น การ ประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ ย่ำยีศักดิ์ศรี

ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 2) ผู้พิพากษาระดับสูงประจำศาลอุทธรณ์กลางแห่งสหรัฐอเมริกา ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอัยการสูงสุด ได้ทำบันทึก ข้อความในนามของคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งความเห็นไปยัง นาย Alberto Gonzales ที่ปรึกษาประธานาธิบดี George W. Bush ว่าการกระทำที่จะถึงขั้นเป็นการทรมานนั้นต้องเป็นการ ทำอันตรายทางกายภายถึงขั้นที่อาจทำให้ตาย หรือทำให้การ ทำงานของอวัยวะล้มเหลว หรือกระทำต่อจิตใจที่ก่อให้เกิด อันตรายต่อระบบประสาทอย่างยาวนาน ซึ่งต่อมารัฐบาลของ ประธานาธิบดี Barack Obama ได้ยกเลิกความเห็นดังกล่าว

ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 3) ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการใช้เทคนิคการสอบสวน ห้าประการเป็นการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม   Wall-Standing - การบังคับให้ผู้ต้องหายืนข้างกำแพงแยกมือ ขึ้นเหนือศีรษะ กางขาออก และยืนด้วยนิ้วเท้าเป็นระยะเวลานาน Hooding - การให้ผู้ต้องหาแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากไว้บน ศีรษะตลอดเวลา Subjection to Noise - การให้ผู้ต้องหาอยู่ในห้องที่มีเสียงดัง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน Deprivation of Sleep - การบังคับให้อดนอน Deprivation of Food and Drink - การบังคับให้อดน้ำและ อาหาร

ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID เป็นเพียงการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม แต่ไม่ถึงขั้นเป็นการ ทรมาน โดยอธิบายว่า “ทรมาน” นั้นต้องเป็นการกระทำที่ไร้ มนุษยธรรมอันเป็นการสร้างตราบาปโดยมีการไตร่ตรองไว้ ก่อน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรง และโหดร้ายอย่าง มาก ดังนั้นแม้เทคนิคการสอบสวนทั้งห้าประการนั้นจะ กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ ชื่อ หรือข้อมูลใดๆ และ ถึงแม้จะกระทำอย่างเป็นระบบแต่การกระทำดังกล่าวหาได้ ก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่ถึงระดับความรุนแรง และโหดร้าย ที่จะเป็นการทรมานแต่อย่างใด

การยกเว้นความรับผิด 1. ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 1. การลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็น การทรมาน 2. ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.2 ห้ามยกอ้างพฤติการณ์พิเศษ ไม่ว่าจะเป็น สงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศมาเป็น เหตุแห่งการทรมาน 3. ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.3 คำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือทางการไม่ สามารถยกขึ้นอ้างได้

2. ความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย 2. ความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 4. กำหนดให้รัฐภาคีต้องรับประกันว่า การทำทรมานทั้งปวงเป็นความผิดอาญา และกำหนดระวาง โทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำเหล่านั้น ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย “เฉพาะ” เอาผิดกับการ ทรมาน แต่กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพกำลังดำเนินการอยู่ ประเทศศรีลังกากำหนดระวางโทษสำหรับการทำทรมานไว้ที่ จำคุก 7-10 ปี ซึ่งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานฯ ให้ความเห็น ว่าเป็นโทษที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์กำหนด ระวางโทษลดหลั่นตามความรุนแรงของการกระทำและผล โดยระวางโทษไว้สูงสุดที่โทษจำคุก 40 ปี

2. ความผิดทางอาญา ตาม(ร่าง) พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ม.5 เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำทรมาน“จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท” หากกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน18 ปี, หญิงมีครรภ์, ผู้สูงอายุ, ผู้พิการทางร่างกายหรือจิตใจ หรือผู้ไม่อาจพึ่งตนเองได้ “จำคุก ตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึง สี่แสนบาท”

2. ความผิดทางอาญา ตาม(ร่าง) พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน รับอันตรายสาหัส “จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้ง แต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท” ถึงแก่ความตาย “จำคุกสิบห้าปีถึงสามสิบปี หรือจำคุกตลอด ชีวิต และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท” ผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำทรมานโดยยุยง ยินยอม รู้เห็นเป็นใจจากเจ้าหน้าที่รัฐ “ระวางโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ

3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ 1) รัฐต้องไม่ผลักดันบุคคลออกไปยังรัฐอื่นที่อาจทำให้บุคคลนั้นตกอยู่ภายใต้การทรมาน (Non-refoulement) ข้อบทที่ 3 ของอนุสัญญาได้กำหนดให้ประเทศไทย “ต้องไม่ ขับไล่ ส่งกลับ (ผลักดันกลับออกไป) หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้าย ข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน”

ดังนั้นตามพันธกรณีในข้อดังกล่าวประเทศไทยจึงพึงต้อง ตรวจสอบผลของการขับไล่ (expel) ส่งกลับ (return) หรือส่ง บุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง (extradite) ว่าจะเป็น ผลให้บุคคลที่ถูกกระทำดังกล่าวได้รับการทรมานหรือไม่ การตรวจสอบก่อนส่งตัวดังกล่าวนั้นอย่างน้อยจะต้องพิจารณา ถึงสภาพแวดล้อมของรัฐ รวมถึงปัจจัยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ มนุษยชนของรัฐที่จะส่งตัวกลับ ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุ อันควรเชื่อเช่นนั้น ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องไม่ส่งตัว บุคคลกลับ หรือผลักดันออกไป

ซึ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่ารัฐภาคีมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมป้องกัน ไม่ให้เกิดการทรมานขึ้น และรัฐภาคีจะต้องไม่มีส่วนร่วม หรือ เกี่ยวข้องในการทำทรมานไม่ว่าจะเป็นในฐานะ หรือส่วนใดก็ ตาม

แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะได้รับการจับตามองจากนานาชาติ เรื่องการผลักดันคนกลับออกไปอย่างเช่นในกรณี เดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยผลักดันกลุ่มผู้ลี้ภัยชาว กะเหรี่ยง ซึ่งลี้ภัยมาจากรัฐกะเหรี่ยง และได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบแม่ลาหลวง อ.แม่ สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ให้ข้ามแม่น้ำสาละวินกลับไป หรือปัญหา การผลักดันผู้แสวงหาที่พักพิง หรือผู้อพยพชาวโรฮิงยาออกสู่ น่านน้ำสากล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 รวมทั้งปัญหาการผลักดันผู้ อพยพชาวม้งลาวกลับลาวเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552

แต่เนื่องด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พนักงานอัยการ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความรู้ความเข้าใจใน หลักการ Non-refoulement ที่จะไม่ส่งคนหรือผลักดันคนชาติ อื่นออกนอกประเทศ หากมีข้อมูลที่เชื่อได้ว่าบุคคลที่จะผลักดัน ออกไปนั้นอาจได้รับอันตราย หรือถูกทรมาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานของไทยจะสอบถามถึงความ ยินยอมของผู้ที่จะถูกส่งออกไป ถ้าผู้นั้นไม่ยินยอมที่จะกลับไป ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย โดยหลักเจ้าพนักงานไทยก็จะ ไม่ส่งออกไป เพราะตระหนักดีว่าหลักการดังกล่าวเป็นหลัก กฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยพึงเคารพ นอกจากนี้ การส่งกลับคนออกนอกประเทศนั้น นอกจากนี้เจ้าพนักงาน ไทยจะตรวจสอบถึงช่องทางที่ส่งบุคคลออกไปว่ามีความ ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งการดำเนินงานของเจ้าพนักงานไทยตาม มาตรการดังกล่าวเป็นที่ชื่นชมจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ต่างๆ รวมทั้ง UNHCR ด้วย

3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ (ต่อ) 2) ในเรื่องเขตอำนาจศาลนั้นอนุสัญญาฯกำหนดว่าศาลภายใน ประเทศต้องมีเขตอำนาจดำเนินคดีอาญาทรมานในกรณีต่อไปนี้ 2.1 เมื่อความผิดเหล่านั้นเกิดขึ้นในอาณาเขตใดที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตน หรือบนเรือหรืออากาศยาน ที่จดทะเบียนในรัฐนั้น 2.2 เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นคนชาติของรัฐนั้น 2.3 เมื่อผู้เสียหายเป็นคนชาติของรัฐนั้น หากรัฐนั้นเห็นเป็นการสมควร ยังมีปัญหาไม่สามารถทำได้ครบถ้วน เพราะกรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 มีเงื่อนไขกำหนด

3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ (ต่อ) 3) ต้องจัดการอบรมบุคลากรที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับ ข้อห้ามการทรมาน 4) ทบทวนกฎเกณฑ์ คำสั่ง วิธีการ และแนวทางในการไต่สวน การควบคุมตัว ตลอดจนการจับและการกักขังเพื่อป้องกันการ ทรมาน 5) ผู้เสียหายต้องได้รับการเยียวยาอย่างเพียงพอและเป็นธรรม 6) หลักฐานที่ได้จากการทรมานไม่สามารถใช้ในการดำเนินคดีได้

กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ Magnus GÄFGEN

กรณีศึกษา Magnus GÄFGEN ในเยอรมนีการกระทำโดยจำเป็น แยกเป็นความจำเป็นที่ชอบ ด้วยกฎหมายซึ่งเป็นเหตุยกเว้นความผิด และความจำเป็นที่กฎหมาย ให้อภัยซึ่งเป็นเหตุยกเว้นโทษ การใช้กำลังหาใช่วิธีการเดียวที่จะทำให้รู้ที่อยู่ของผู้เสียหาย ตำรวจอาจเลือกใช้วิธีอื่นได้ การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังเป็นการทำร้ายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของผู้ต้องหา ซึ่งได้รับรองไว้ทั้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่อาจนำมาชั่งคุณธรรมทาง กฎหมายได้

กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ ไม่มีกรณีการถูกทรมานของประเทศไทยที่มีการดำเนินคดีกับ เจ้าหน้าที่รัฐและมีกรณีให้เห็นอย่างชัดเจน แต่มีกรณีที่เกี่ยวข้อง ใกล้เคียงดังนี้ กรณีการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม เช่น ใน 3 จังหวัด ภาคใต้ มีการคุมขังชาวมุสลิมกับสุนัขซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามของ ชาวมุสลิมหรือกักขังในที่คุมขังที่มีสภาพแออัด ตีตรวน กรณีที่จังหวัดกาฬสินธุ์ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่อุ้มหายไป เมื่อ ญาติไปถาม เจ้าหน้าที่กลับบอกว่าปล่อยตัวไปแล้ว ต่อมาพบ ศพผู้ตาย มีร่องรอยถูกทำร้าย หลังสูญหายไป 2 – 3 วัน

กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ มีกรณีร้องเรียนว่ามีการทรมาน เมื่อสำนวนถูกส่งไปที่ DSI แล้วถูกส่งต่อไปที่ ป.ป.ช. แต่ ป.ป.ช.กลับพิจารณาว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ ผู้ร้องจึงถูกดำเนินคดีกลับฐานแจ้งความเท็จ ซึ่งเป็นปัญหาอีกมุมหนึ่งของผู้เสียหาย กรณีเกิดในประเทศเยอรมัน ที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ทรมานผู้ต้องหาคนหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของตัวประกันเพื่อจะช่วยเหลือตัวประกันวัย 11 ขวบ ให้รอดพ้นจากความตาย เมื่อผู้ต้องหาฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลตัดสินว่าการที่ตำรวจไปข่มขู่ว่าจะทรมานผู้ต้องหาอย่างนั้นเป็นการกระทำที่เรียกว่า CID เพราะฉะนั้นประเทศเยอรมันต้องถูกปรับเงิน 3,000 ยูโร

Crime control and Human Rights Law Enforcement act ? Due Process

Q & A