ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 1. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อจัดให้มีการพัฒนาระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงาน และประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์การ โดยใช้วิธีการฝึกอบรม การให้ความรู้และการจัดโปรแกรมการพัฒนาพนักงาน ให้มีโอกาสได้รับความก้าวหน้าในอาชีพ สำหรับในอนาคต
วิวัฒนาการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1.ยุคดึกดำบรรพ์ : มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรู้จักใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม 2.ยุคเริ่มประวัติศาสตร์ : ยุคนี้เป็นยุคที่มนุษย์มีอารยธรรมสูงขึ้น 3. ยุคสมาคมช่าง ( Gild ) : การอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้มีการพัฒนาขึ้นตามวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม
สาเหตุที่ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. ความล้าหลังของพนักงาน เป็นผลสืบเนื่องมาจากพนักงานมีความรู้และความสามารถไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงาน 2. เทคโนโลยีก้าวหน้า การฝึกอบรมพนักงานย่อมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการประเมินผล ความต้องการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต 3. การลาออกของพนักงาน ต้องจัดให้มีโปรแกรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานไว้สำหรับหารปฏิบัติงานทดแทนพนักงานที่ลาออก 4. การแข่งขันการจ้างพนักงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีการใช้พนักงานหญิงเป็นจำนวนมากทดแทนพนักงานชาย เนื่องจากอัตราค่าจ้างค่าตอบแทนต่ำต้องจัดให้มีโปรแกรมการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานหญิงที่เข้ามาทำงานทดแทนพนักงานชาย
การเปลี่ยนแปลงองค์การ การเปลี่ยนแปลงองค์การ คือ การเปลี่ยนแปลงองค์การจากเงื่อนไขหนึ่งไปสู่เงื่อนไขอีกอย่างหนึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลหรือองค์การทั้งหมดความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ มีดังนี้ ทำให้เกิดความมั่นคงถาวรแก่พนักงาน การลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1.การสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยความจริงใจจากผู้บริหาร 2.ความร่วมมือจากการแสดงความคิดเห็นจากหัวหน้าทุกหน่วยงานของบริษัท 3.ขนาดกิจการของบริษัทมีการขยายงานมากขึ้น 4.เทคโนโลยีก้าวหน้า 5.ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะต้องมีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 6.ความรู้สึกมีส่วนสัมพันธ์ของพนักงานต่อบริษัท 7.สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานในการปฏิบัติงาน
การฝึกอบรม การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะของบุคคล เพื่อที่จะปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และทัศนคติอันเหมาะสมสามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและทัศนคติต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปรัชญาการฝึกอบรมและการพัฒนา 1.การยอมรับว่าทุกคนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ 2.การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความรู้ ความสามารถของตนเอง 3.การให้โอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม 4.การเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง 5.การเชื่อว่าทุกคนมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและเกียรติยศ 6.การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานในองค์กร
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงาน (Technical know - how ) อาจจะจัดให้มีการทบทวนเพิ่มเติมให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในองค์กร การพัฒนาทักษะ หรือประสบการณ์ (Skill of experiences) อาจให้พนักงานมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลในหน่วยงานอื่น การพัฒนาทัศนคติ (Attitude) ถ้าพนักงานเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงานหรือเข้าใจสภาพการทำงาน ผลงานก็จะออกมาดี
ความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรม องค์การมุ่งหวังผลผลิตที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ลักษณะงานในองค์การมีความแตกต่างจากความรู้ที่ได้รับจากสถานศึกษา งานในองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอยู่เสมอ บุคคลในองค์การจำเป็นต้องได้นับการพัฒนา
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรม (Training office ) ต้องมีความคล่องตัวและมีมนุษยสัมพันธ์สูง ผู้รับการฝึกอบรม (Trainee) ต้องมีความพร้อม และมีความสามารถที่จะรับความรู้ใหม่ๆ วิทยากร (Guest Speaker) มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยาย อุปกรณ์ในการฝึกอบรม (Training facilities) เป็นสิ่งกระตุ้นจูงใจให้ผู้รับการอบรมสนใจ งบประมาณในการฝึกอบรม (Training budget) ต้องนำพนักงานมาฝึกอบรม อุปกรณ์ เอกสารต่างๆ สถานที่ที่จัดในการฝึกอบรม (Place) ควรพิจารณาถึงความปลอดภัย ความร่มรื่น
ประเภทของการฝึกอบรม 1.แบ่งตามลักษณะของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1.1การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation) เพื่อรู้จักคน 1.2 ฝึกไปในงาน ( On -the - job training -OJT) คือทำงานไปเรียนรู้ไป 1.3 ฝึกอบรมในห้องทดลองปฏิบัติงาน (Lab. Or Workshop) เพื่อทดสอบและสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ 1.4การฝึกหัดช่างฝีมือ (Apprenticeship training) แบบเรียนรู้งานตั้งแต่ขั้นตอนแรก 1.5การกลับมาฝึกงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ (Internship training) สำหรับผู้ใกล้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 1.6การศึกษาอบรมพิเศษ เช่น การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้บริหาร
ประเภทของการฝึกอบรม 2.แบ่งตามลักษณะงาน 2.1 ฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน (Pre– service training ) เช่น การฝึกอบรมในตำแหน่งงานที่ทำ 2.2 เรียนรู้งานโดยทำงานไปด้วย (OJT) ในกรณีที่มีผู้ฝึกงานหรือเตรียมบรรจุน้อยราย โดยที่ลักษณะงานนั้นเป็นงานประจำ 2.3 ฝึกอบรมเพิ่มความรู้ความชำนาญ (In-service training ) เป็นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนายกระดับฝีมือแรงงาน 2.4 ส่งบุคลากรออกไปศึกษาดูงานภายนอกที่ทำงาน (Off – the – job training ) เพื่อได้รู้ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ
ขั้นตอนการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ขั้นที่ รายการ 1 ทำการวิเคราะห์สิ่งที่เป็นปัญหา 2 จัดลำดับความสำคัญของงานที่มีปัญหา 3 กำหนดหัวข้อวิชาการฝึกอบรม 4 กำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อในการฝึกอบรม 5 กำหนดแนวทางฝึกอบรม 6 กำหนดวิธีการฝึกอบรม 7 การกำหนดระยะเวลาของแต่ละหัวข้อ 8 การเตรียมตารางการฝึกอบรม 9 การเตรียมข้อแนะนำโดยทั่วไป 10 การดำเนินการ 11 การวัดผลการเรียนรู้ 12 การประเมินการฝึกอบรม
กระบวนการในการฝึกอบรม ระยะก่อนการฝึกอบรม : ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตั้งความคาดหวังว่าจะได้อะไรจากการฝึกอบรม ระยะการอบรม : ระยะของการอบรมนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ระยะหลังการอบรม : เมื่อการอบรมสิ้นสุดลง ผู้เข้ารับการ อบรมต้องแยกย้ายกันไปปฏิบัติงาน และนำสิ่งที่เรียนรู้จากการฝึกอบรมติดตัวไปด้วย
วิธีการฝึกอบรม 1.การบรรยาย ประกอบการใช้สื่อต่างๆ 2.การประชุมอภิปรายหรือการสัมมนา (Panel and seminar) 3.เข้าร่วมฟังบรรยายสรุปผลงานหรือผลงานวิจัย (Symposium) 4.กรณีศึกษาตัวอย่าง (Case - study) เสนอเหตุการณ์จำลองของจริงให้แสดงความคิดเห็น 5.การแสดงบทบาท (Role playing) มีการสังเกตประเมินและอภิปรายพฤติกรรม 6.การสาธิต (Demonstration) แสดงกระบวนการทำงาน 7.โดยวิธีให้ทำงาน
ยุทธศาสตร์ในการจัดการฝึกอบรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเชื่อมโยงกิจกรรมในการฝึกอบรมให้ตรงกับงาน ควรจัดกิจกรรมการฝึกอบรมให้มีสภาพคล้ายคลึงหรือตรงกับสภาพการณ์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ควรกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้นำหลักการไปใช้ในการทำงาน ระวังอย่าทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการต่อต้าน
ประโยชน์ของการฝึกอบรม การฝึกอบรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การฝึกอบรมช่วยส่งเสริมให้เกิดการประหยัด การฝึกอบรมช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้งาน การฝึกอบรมช่วยลดภาระหน้าที่ของหัวหน้างาน การฝึกอบรมช่วยกระตุ้นพนักงานให้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้า ของคน
ประโยชน์ของการฝึกอบรม ทำให้สมรรถนะของพนักงานดีขึ้น และสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เป็นกรรมวิธีป้องกันปัญหาและปรับปรุงคุณภาพการทำงานให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น สร้างขวัญกำลังใจพนักงาน ให้มีส่วนร่วมในการทำงาน
การอบรมและพัฒนาบุคคล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) คือหน้าที่หลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไม่เพียงแต่การฝึกอบรมเท่านั้น ยังรวมไปถึงการพัฒนาสายอาชีพ และพัฒนาองค์กร การประเมินงาน และการฝึกอบรม เป็นหัวใจในการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน การฝึกอบรม หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานให้พร้อมใช้งานในปัจจุบันและอนาคต การพัฒนา เป็นการฝึกอบรมในระยะยาวเพื่อช่วยในการพัฒนาศักยภาพพนักงานหารสำรวจความจำเป็นของการฝึกงาน
การจัดลำดับความจำเป็นของการฝึกอบรม ความจำเป็นเฉพาะบุคคล เกิดจากความต้องการ ความก้าวหน้า ที่จะพัฒนาตนเอง ความจำเป็นที่พบทันที เช่น อุบัติเหตุ ขาดงาน ผลผลิตตกต่ำ ความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เทคโนโลยีสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการเตรียมพนักงานให้สอดคล้องเป็นการลดต้นทุนอย่างหนึ่ง การเพิ่มศักยภาพพนักงานต่อการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความกระตือลือล้นให้พนักงาน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝึกอบรม การสนับสนุนของฝ่ายบริหารสูงสุด ข้อผูกพันจากผู้เชี่ยวชาญและผู้เชี่ยวชาญทั่วไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความซับซ้อนขององค์กร การเรียนรู้
วิธีการฝึกอบรมและพัฒนา โปรแกรมในห้องเรียน เป็นที่นิยมในการพัฒนาผู้อบรมมีโอกาสได้รับเนื้อหาอย่างเต็มที่และใช้เวลาน้อย การแนะนำปรึกษาและการสอน เน้นความรับผิดชอบของการเป็นหัวหน้าที่พร้อมจะให้คำแนะนำ กรณีศึกษา ศึกษาข้อมูลตัวอย่างและตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลดังกล่าว ฝึกด้วยวีดีโอเทป เป็นที่นิยมในธุรกิจขนาดย่อม สามารถแสดงลักษณะพิเศษและหน้าที่ต่างๆของผู้จัดการ การแสดงบทบาทสมมุติ ใช้ในทักษะการสัมภาษณ์ แก้ไขความไม่พอใจการวิเคราะห์รูปแบบการเป็นผู้นำ
วิธีการฝึกอบรมและพัฒนา การอบรมช่างฝีมือ เป็นการผสมผสานระหว่างการอบรมในงานและการเรียนในห้องเรียน เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความชำนาญ การฝึกอบรมในห้องทดลอง ผู้อบรมจะได้ทดลองทำจริง การจำลองสถานการณ์ โดยใช้กระดาษ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ จัดทำข้อมูลการอบรม การอบรมแบบเกมธุรกิจ ทำให้เกิดการตัดสินใจด้านต่างๆเทียบกับสถานการณ์จริง การจำลองวิเคราะห์งานจากตัวอย่าง ผู้รับการฝึกจะได้รับหมอบหมายถึงสถานการณ์ตามลำดับก่อนหลังที่จะทำการตัดสินใจใดๆ
การประเมินการฝึกอบรมและการพัฒนา ความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม ใช้ข้อมูลย้อนหลังจากผู้เข้าอบรม ขอบเขตของการเรียนรู้ อาจทำก่อนหรือหลังการฝึกอบรม ผลที่ได้รับจะบอกถึงคุณค่าของการประเมิน การเปลี่ยนพฤติกรรม การทดสอบอาจบอกได้เฉพาะการเรียนจากการฝึกอบรม ไม่อาจเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานได้ ผู้จัดดารควรรู้เทคนิคในการประยุกต์ใช้ ความสำเร็จของวัตถุประสงค์การฝึกและการพัฒนา การเปรียบเทียบการทำงานกับบริษัทอื่นที่ดีกว่า เพื่อนำมาประเมินผลและฝึกอบรมให้ดียิ่งขึ้น การประเมินผลการพิจารณาเป็นเรื่องยากแต่จำเป็น
การวางแผนพัฒนาอาชีพ อาชีพ คือ งานที่บุคคลทำโดยใช้ความรู้ความสามารถของตน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวางแผนอาชีพ คือ ขบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บุคคลไปสู่จุดมุ่งหมายจองอาชีพและประสบความสำเร็จ การวางแผนพัฒนาองค์การ คือการวางแผนขององค์การเพื่อให้งานสำเร็จโดยการพัฒนาคน และเพิ่มประสิทธิภาพของคนงาน
สรุป ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยกลยุทธ์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ วิธีการไปสู่เป้าหมาย การฝึกอบรม เครื่องมือที่ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งแนวคิดกลยุทธ์ที่จะทำให้องค์การสามารถแข่งขัน ได้แก่ การฝึกอบรม กลยุทธ์การได้เปรียบทางการแข่งขัน กลยุทธ์มุ่งเน้นสมรรถนะ
Thank you