การใช้ราชาศัพท์ โดย นางสาวสุปัญญา ชมจินดา กรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย กรรมการจัดทำหลักเกณฑ์ราชาศัพท์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

นายชิดชัย อังคะ ไวมงคล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ผังเมือง นายมนัส ปรุง ทำนุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ร. อ. ปกรณ์เดช โลหิตหาญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ.
การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
จัดทำโดย นาย พิริยะ รุ่งรอด ปวช.1 แผนก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
ชลบุรี ว่าง นายชิดชัย อังคะไวมงคล
โครงการ “ฟันเทียมพระราชทาน”
งานมุทิตาคารวะและพิธีมอบทุนการศึกษา
ธนาคารออมสิน.
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
กลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนัก อำนวยการ สพฐ.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
การส่งกำลังบำรุงในระดับต่าง ๆ ของ ทบ.
ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
การสัมมนาแนวทางการดำเนินงาน
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
กลุ่มเกษตรกร.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
อำนาจอธิปไตย 1.
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อทราบ
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
รายงานผลการปฏิบัติงาน กศน.อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
ความหมายของเรียงความ
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
รายวิชา การบริหารการศึกษา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
ศาสนาเชน Jainism.
สรุปผลการปฏิบัติงานประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2559
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
“ทิศทางการขับเคลื่อน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ของสำนักงานคณะกรรมการ
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
เพลง ปลุกใจ บ้านเรารู้ได้จักเพลงประเภทนี้ในรูปแบบสากลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ ครูฝึกทหารวังหน้าชาวอังกฤษ.
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ชาวพุทธตัวอย่าง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
“ครอบครัว สุขสันต์ ช่วยกันเก็บออม”
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
อำเภอแก่งคอย จัดทำโดย 1. เด็กชายวีระชัย บัวขำ เลขที่ 1
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การใช้ราชาศัพท์ โดย นางสาวสุปัญญา ชมจินดา กรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย กรรมการจัดทำหลักเกณฑ์ราชาศัพท์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ประวัติวิทยากร นางสาวสุปัญญา ชมจินดา นางสาวสุปัญญา ชมจินดา ตำแหน่ง เลขานุการกรม โฆษกสำนักงานราชบัณฑิตยสภา วุฒิการศึกษา ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การลำดับชั้นของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ แตกต่างจากสมเด็จพระบรมราชินี ที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้รับการสถาปนาขึ้นจากสมเด็จพระบรมราชินี เพราะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ๒ พระองค์ สมเด็จเจ้าฟ้า มีเจ้าฟ้าชั้นพิเศษที่ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น ในรัชกาลปัจจุบันมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้าธรรมดา ในรัชกาลปัจจุบันมี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพ็ชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ข้อสังเกต หากเขียนว่า สมเด็จพระบรมโอรสา- ธิราช สยามมกุฎราชกุมาร หมายถึงระบุตำแหน่ง หากเขียนว่า สมเด็จพระบรมโอรสา- ธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หมายถึงระบุเฉพาะพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในสมัยรัตนโกสินทร์มี ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ฐานันดร ฐานันดรยศ ฐานันดรศักดิ์ ฐานันดรตำแหน่ง ยศเท่ากัน เช่นเกิดมาเป็นพระองค์เจ้าเหมือนกัน แม้ยศเท่ากัน แต่ศักดิ์ไม่เท่ากัน เช่น ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง ลูก หลาน เมื่อมีการมีตำแหน่งด้วย ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นตำแหน่งใด (ก็จะทำให้ไม่เท่ากัน) เช่น น้องถ้ามีตำแหน่งสูงกว่าพี่ก็จะถือว่า สูงกว่า เช่น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เป็นน้องสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี (ประสูติมาเป็นพระองค์เจ้าเหมือนกัน)

ฐานันดรยศ ประกอบด้วย - สกุลยศ - อิสริยยศ

สกุลยศ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า พระยศที่มีมาตั้งแต่ประสูติ

สกุลยศ หม่อมราชนิกุล เช่น หม่อมราโชทัย หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ข้อสังเกต ไม่ใช้ราชาศัพท์แก่ผู้ที่มีสกุลยศ ๓ ชั้นนี้ เพราะถือเป็นสามัญชน หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง เป็นยศที่มีมาตั้งแต่เกิด ส่วน หม่อมราชนิกุล เป็นยศที่สถาปนาภายหลัง (?) เจ้าอื่น ๆ ที่มิใช้พระบรมราชจักรีวงศ์ ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ ผู้ที่ใช้นามสกุล ณ อยุธยา ถือเป็นผู้ที่เนื่องในราชสกุล

สกุลยศ เจ้าฟ้า เจ้าฟ้าชั้นเอก (ลุง, ป้า, อา, น้า, พี่, น้อง) เจ้าฟ้าชั้นเอก (ลุง, ป้า, อา, น้า, พี่, น้อง) เจ้าฟ้าชั้นโท - ลูก เจ้าฟ้าชั้นตรี - หลาน

อิสริยยศ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาแต่งตั้ง สถาปนาสามัญชนขึ้นเป็นเจ้า มีมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สถาปนาพระยศเจ้านาย หม่อมเจ้า พระองค์เจ้า พระองค์เจ้า เจ้าฟ้า ยศที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์

อิสริยยศ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาแต่งตั้ง สถาปนาสามัญชนเป็นเจ้า สามัญชน เจ้า เช่น รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาภราดาร่วมสาบานกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่มีนามว่า เรือง ชาวเมืองชลบุรี เป็นกรมขุนสุนทรภูเบศร์ ซึ่งเป็น ต้นสกุล สุนทรกุล ณ ชลบุรี สามัญชน เป็น เจ้า เช่น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์

เจ้าฟ้าชั้นเอก เจ้าฟ้าชั้นโท เจ้าฟ้าชั้นตรี ฐานันดรยศ สกุลยศ เจ้าฟ้า ลูกเธอ หลานเธอ พี่ยาเธอ, น้องยาเธอ, พี่นางเธอ, น้องนางเธอ เจ้าฟ้าชั้นเอก เจ้าฟ้าชั้นโท เจ้าฟ้าชั้นตรี หม่อมเจ้า พระองค์เจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า พระองค์เจ้า อิสริยยศ พระองค์เจ้า พระองค์เจ้าทรงกรม เจ้าฟ้า

ฐานันดรศักดิ์ ศักดิ์ของความเป็นพระประยูรวงศ์ คำนำพระนามแสดงความเป็นพระประยูร-วงศ์ตามศักดิ์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ข้อควรจำ คำว่า “ยา” ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก เป็น พี่ยา น้องยา ลูกยา หมายถึง เพศชาย

ฐานันดรศักดิ์ คำนำพระนามแสดงความเป็นพระประยูรวงศ์ที่โยงถึงตำแหน่ง เช่น สมเด็จพระอนุชาธิราช

ฐานันดรตำแหน่ง วังหลวง เช่น วังหลวง วังหน้า, มหาอุปราช, สมเด็จพระบรม-โอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร วังหลัง วังหลวงคือ สายของพระมหากษัตริย์ วังหน้า เทียบได้กับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

ฐานันดรตำแหน่ง พระอัครมเหสี มี ๑ ตำแหน่ง – สมเด็จพระราชินี – สมเด็จพระบรมราชินี – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระอัครมเหสี มีเพียง ๑ ตำแหน่ง ข้อสังเกต สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คือ สมเด็จพระ บรมราชินีที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระมหากษัตริย์

ฐานันดรตำแหน่ง มเหสี – สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี – พระนางเจ้า พระราชเทวี – พระนางเธอ – พระอัครชายาเธอ – พระราชชายา สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี - พระนางเจ้า พระราชเทวี เช่น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี - พระนางเธอ เช่น ลักษณีลาวัณย์ - พระอัครชายาเธอ - พระราชชายาเธอ เช่น เจ้าดารารัศมี ข้อสังเกต ตำแหน่งที่มีคำว่า “เจ้า” แสดงว่า สูงกว่าตำแหน่งที่มีคำว่า “เธอ”

ฐานันดรตำแหน่ง เจ้าฟ้าทรงกรม พระองค์เจ้าทรงกรม

พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์ พระบรมวงศ์ หมายถึง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงพระองค์เจ้าที่เป็น พระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ พระอนุวงศ์ หมายถึง พระองค์เจ้าที่ไม่ใช่ พระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และหม่อมเจ้า หมายเหตุ คุณชาย- พระบรมวงศ์ หมายถึง เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในพระราชวงศ์ ในชั้นลุงป้าน้าอาพี่น้อง จนถึงพระองค์เจ้าลูกเธอ ในรัชกาลปัจจุบัน ไม่มีพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดา เหตุที่พระราชโอรสพระราชธิดาเป็นพระองค์เจ้า เพราะมีพระมารดาเป็นสามัญชน

การเขียนพระนาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หากใช้โดยทั่วไป ใช้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มักพบในคำขึ้นต้นของการประกาศสถาปนา หากใช้โดยทั่วไป ใช้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้อควรจำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่มีเครื่องหมาย ฯ การระบุว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ก็ทราบได้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใดโดยพิจารณาจากปีที่พิมพ์หนังสือนั้น ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (มักใช้ในการกล่าวครั้งแรก)

การใช้ราชาศัพท์แก่เจ้านาย ที่มีชั้นยศแตกต่างกัน

ราชาศัพท์ที่มีคำว่า “บรม” ใช้แก่พระมหากษัตริย์ เช่น พระบรมราโชวาท พระบรม-ราชวโรกาส พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมราชวินิจฉัย ไม่ใช่ว่าราชาศัพท์ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ทุกคำต้องมีคำว่า “บรม” มีคำว่า “พระราช” ก็มี คำว่า “บรม” เป็นคำที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ไทยเท่านั้น ไม่ใช้แก่กษัตริย์ต่างประเทศ เช่น พระบรมมหาราชวัง พระราชวังบักกิงแฮม

ราชาศัพท์ที่มีคำว่า “พระราช-” ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรม- ราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราช-กุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตัวอย่างคำนามราชาศัพท์ พระราชดำรัส, พระราชดำริ, พระราชกรณียกิจ, ลายพระราชหัตถ์, พระราชหัตถเลขา, พระราชกุศล, พระราชอัธยาศัย คำว่า “พระราชดำรัส” หมายถึง คำพูด คำว่า “พระราชดำริ” หมายถึง ความคิด คำว่า “ลายพระราชหัตถ์” หมายถึง ลายมือที่ใช้ในการเขียนหนังสือ รวมถึงหนังสือที่เขียนด้วยลายมือ คำว่า “พระราชหัตถเลขา” หมายถึง จดหมาย

ตัวอย่างคำกริยาราชาศัพท์ เสด็จพระราชดำเนิน, มีพระราช-ดำริ หรือ ทรงพระราชดำริ, ทรงพระราชนิพนธ์, สนพระราช-หฤทัย, มีพระราชปฏิสันถาร หรือ ทรงพระราชปฏิสันถาร

ราชาศัพท์ที่มีคำว่า “พระ” มักใช้หน้าคำนาม เพื่อทำให้คำนั้นเป็นคำนามราชาศัพท์ มีทั้งที่ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงพระองค์เจ้า ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงหม่อมเจ้า ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระองค์เจ้า ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงพระองค์เจ้า เช่น มักเป็นราชาศัพท์ที่เป็นอวัยวะ พระหัตถ์, พระเกศา, พระพักตร์ พระวรกาย, พระเนตร, พระชานุ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนหม่อมเจ้า เช่น พระเก้าอี้ ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระองค์เจ้า เช่น

การใช้คำว่า “ทรง”

คำว่า “ทรง” เป็นคำที่นำหรือตามคำเพื่อให้เป็น ราชาศัพท์ ใช้ในกรณีต่อไปนี้ ๑. ใช้นำหน้าคำนาม ซึ่งมีความหมายแปรไปตามคำที่ตามมา เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ ทรงเปียโน ว่า เล่นเปียโน ทรงเรือใบ ว่า แล่นเรือใบ ทรงกีฬา ว่า เล่นกีฬา ตามชนิดของกีฬานั้น ๆ เช่น ทรงแบดมินตัน ว่า เล่นแบดมินตัน

คำว่า “ทรง” เป็นคำที่นำหรือตามคำเพื่อให้เป็น ราชาศัพท์ ใช้ในกรณีต่อไปนี้ ๒. ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ ทรงเป็นประธาน ทรงเป็นประมุข มีผู้สอบถามว่า ทรงเห็น ทรงดู ใช้ได้หรือไม่ น่าจะใช้ได้ในกรณีที่ไม่เป็นทางการ

คำว่า “ทรง” เป็นคำที่นำหรือตามคำเพื่อให้เป็น ราชาศัพท์ ใช้ในกรณีต่อไปนี้ ๓. ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระผนวช ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน

คำว่า “ทรง” เป็นคำที่นำหรือตามคำเพื่อให้เป็น ราชาศัพท์ ใช้ในกรณีต่อไปนี้ ๔. ใช้ตามหลังคำนาม เช่น เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง ข้อสังเกต ถ้าเป็นรูปปฏิเสธมักวาง คำว่า “ไม่” หน้าคำว่า “ทรง” เช่น ไม่เคยทรงยกกองทัพไปตีเมือง

คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย ในการกราบ บังคมทูล กราบทูล และทูล คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย ในการกราบ บังคมทูล กราบทูล และทูล ดูหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ประกอบ หน้า ๑๐๐-๑๐๖ คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย ในการกราบบังคมทูล กราบทูล และทูล มี ๒ ลักษณะ คือ ใช้ในการเขียนหนังสือกราบบังคมทูล กราบทูล ทูล และ ใช้การกราบบังคมทูล กราบทูล และทูล ด้วยวาจา ดูได้จากหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๐๐-๑๐๖

คำขึ้นต้นและสรรพนามราชาศัพท์ ในคำขึ้นต้นจะมีสรรพนามราชาศัพท์ปรากฏอยู่ด้วย เช่น ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ปกกระหม่อม สไลด์ที่ ๓๕-๓๙ เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับคำขึ้นต้นและสรรพนามราชาศัพท์ แต่แตกต่างตรงที่ สรรพนามราชาศัพท์ที่ปรากฏในคำขึ้นต้นจะไม่มีคำว่า “ใต้”

ตัวอย่างคำขึ้นต้นและสรรพนามราชาศัพท์ สรรพนามราชาศัพท์ บุรุษที่ ๒ ใช้แก่ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ขอพระราชทานกราบทูล ทราบฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าพระบาท สมเด็จเจ้าฟ้า

สรรพนามราชาศัพท์ สรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ ๒ คำว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใช้แก่พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

สรรพนามราชาศัพท์ สรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ ๒ คำว่า ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใช้แก่ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรม-โอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คำว่า ใต้ฝ่าพระบาท ใช้แก่พระบรมวงศ์

สรรพนามราชาศัพท์ คำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” เป็นสรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ ๑ แทนผู้พูด ใช้เมื่อกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ จนถึงกราบทูลพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า

คำลงท้าย (ด้วยวาจา) “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ” คำลงท้ายที่มีคำว่า “ขอเดชะ” ใช้แก่พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งใช้ว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ” ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม (เว้นวรรค) ขอเดชะ

“ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” คำลงท้าย (ด้วยวาจา) คำลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ใช้แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่วนลำดับชั้นอื่น ๆ ดูในหน้า ๑๐๕-๑๐๖

คำลงท้าย (ด้วยวาจา) คำลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม” หรือ “ควรมิควรสุดแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ใช้แก่พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ส่วนลำดับชั้นอื่น ๆ ดูในหน้า ๑๐๕-๑๐๖

การระบุชื่อของผู้พูดในคำลงท้าย (เพื่อการเผยแพร่ในสื่อ) การระบุชื่อของผู้พูดในคำลงท้าย (เพื่อการเผยแพร่ในสื่อ) ระบุคำลงท้ายตามลำดับชั้นยศ ระบุสรรพนามราชาศัพท์แทนผู้พูด ระบุชื่อบุคคล หรือชื่อตำแหน่ง หรือชื่อคณะบุคคล โดยระบุชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือระบุชื่อตำแหน่งพร้อมชื่อคณะบุคคลก็ได้ ดูในเอกสารเรื่อง คำลงท้ายในการถวายพระพรพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในกรณีที่ออกอากาศทางวิทยุ โทรทัศน์ และถวายพระพรทางป้ายประชาสัมพันธ์ ประกอบ

ตัวอย่าง ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้ากระหม่อม คณะครูและนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา คำลงท้ายที่ ๑ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ คำลงท้ายที่ ๒ ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คำลงท้ายที่ ๓ ใช้แก่พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า

การใช้ราชาศัพท์และ คำที่เกี่ยวเนื่องกับราชาศัพท์

“เสด็จพระราชดำเนิน” และ “เสด็จ” เสด็จพระราชดำเนิน ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรม- ราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราช-กุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

“เสด็จพระราชดำเนิน” และ “เสด็จ” เสด็จพระราชดำเนิน ใช้ย่อเป็น เสด็จฯ มักใช้ในการกล่าวถึงเป็นครั้งที่ ๒ หรือพาดหัวข่าว เมื่ออ่านรูปย่อต้องอ่านเต็ม ทุกครั้งว่า เสด็จพระราชดำเนิน

“เสด็จพระราชดำเนิน” และ “เสด็จ” เสด็จ ใช้แก่พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

“เสด็จพระราชดำเนิน” และ “เสด็จ” เป็นคำกริยาราชาศัพท์ที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ มักมีคำว่า ไป มา ขึ้น ลง เข้า ออก กลับ ฯลฯประกอบอยู่ด้วย เช่น เสด็จพระราชดำเนินไป เสด็จพระราชดำเนินกลับ เสด็จไป เสด็จกลับ เมื่อมีคำกริยาตามหลัง ต้องทำให้คำกริยานั้น เป็นราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร เสด็จไปทรงเป็นประธาน

ข้อควรสังเกต บางครั้งพบการใช้คำว่า “เสด็จ” แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า เพราะเป็นคำที่มีความหมายเฉพาะ

ข้อควรสังเกต เสด็จขึ้น หมายถึง เสร็จสิ้นพระราช-ภารกิจ เสด็จขึ้น หมายถึง เสร็จสิ้นพระราช-ภารกิจ เสด็จเข้า หมายถึง เข้าในที่ส่วนพระองค์ เสด็จลง หมายถึง ลงมาให้เฝ้า เสด็จออก หมายถึง ออกมาให้เฝ้า

“รับเสด็จ”, “ส่งเสด็จ”, “ตามเสด็จ”, “โดยเสด็จ” รับเสด็จ หมายถึง รับ ใช้แก่พระมหา กษัตริย์ จนถึงหม่อมเจ้า ส่งเสด็จ หมายถึง ส่ง ใช้แก่พระมหา กษัตริย์ จนถึงหม่อมเจ้า

“รับเสด็จ”, “ส่งเสด็จ”, “ตามเสด็จ”, “โดยเสด็จ” ตามเสด็จ หมายถึง ติดตามพระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศ์ พระอนุวงศ์ และสามัญชน โดยเสด็จ หมายถึง ร่วมไปในขบวนหรือคณะของพระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้ร่วมไปในขบวนมีทั้งที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ และสามัญชน คุณสมลักษณ์ วงศ์งามขำ ได้เคยให้ข้อมูลว่า คำว่า “ตามเสด็จ” และ “โดยเสด็จ” ทางสำนักราชเลขาธิการเห็นว่าทั้ง ๒ คำนี้หมายถึง ติดตาม แต่แยกการใช้คำตามผู้ที่ติดตามกล่าวคือ คำว่า “ตามเสด็จ” ผู้ติดตามจะเป็นสามัญชน คำว่า “โดยเสด็จ” ผู้ติดตามจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ คำว่า “โดยเสด็จ” ยังใช้ในความหมายว่า “ร่วมด้วย” เช่น โดยเสด็จพระราชกุศล โดยเสด็จพระกุศล

ตัวอย่างการใช้คำ ประชาชนเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ทั้งสองข้างทาง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารี ทรงพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จ

ตัวอย่างการใช้คำ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเครื่องบินพระที่นั่งพิเศษ ... ถึงสนามบินธากา สาธารณรัฐบังคลาเทศ ณ ที่นั้น ด๊อกเตอร์ บาครุดโดซา โกว์ดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ...พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ... รวมทั้งเจ้าหน้าที่การบินไทย เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ...” เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทคำนี้ เขียนย่อเป็น เฝ้าฯ รับเสด็จ

ข้อควรสังเกต ในกรณีที่พบการใช้คำว่า เฝ้ารับเสด็จ และ เฝ้าฯ รับเสด็จ แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ข้อควรสังเกต คำว่า “เฝ้า” ในคำว่า “เฝ้ารับเสด็จ” เป็นคำสามัญ หมายถึง เฝ้ารอรับ คำว่า “เฝ้าฯ” ในคำว่า “เฝ้าฯ รับเสด็จ” มาจากคำว่า “เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ” หรือ “เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ” หมายถึง เข้าพบ

“พระราชทาน”, “ประทาน” พระราชทาน ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า ประทาน ใช้แก่พระองค์เจ้า จนถึงหม่อมเจ้า เดิมคำว่า ประทาน ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าด้วย เดิมกรณีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ถ้าพระองค์ “ให้” ของแก่ผู้อื่น ใช้ว่า ประทาน เช่น ถ้วยประทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี แต่ถ้าเราขอให้พระองค์ “ให้” ของแก่เรา ใช้ว่า ขอพระราชทาน เช่น ขอพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ

ทูลเกล้าฯ ถวาย, น้อมเกล้าฯ ถวาย, ถวาย คำทั้ง ๓ คำ หมายถึง “ให้” ... แด่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หมายถึง ให้สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราช-สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” นาย ก. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโฉนดที่ดินจำนวน ๓ ไร่แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” นาย ก. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินจำนวน...บาท แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หมายถึง ให้สิ่งของใหญ่หรือของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราช- สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” นาย ก. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินจำนวน ๓ ไร่แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” ตัวอย่างการใช้คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” นาย ก. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายชุดยาสามัญประจำบ้าน จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด แด่สมเด็จพระเทพรัตน- ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงใช้ในกิจการของสภากาชาด

การย่อคำ “ทูลเกล้าฯ ถวาย” และ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” การย่อคำ “ทูลเกล้าฯ ถวาย” และ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” การเขียนคำทั้ง ๒ คำในครั้งแรกต้องเขียนเต็มว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” และ “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย”

การย่อคำ “ทูลเกล้าฯ ถวาย” และ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” การย่อคำ “ทูลเกล้าฯ ถวาย” และ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” เมื่อเขียนในครั้งต่อ ๆ มา เขียนย่อว่า “ทูลเกล้าฯ ถวาย” และ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” แต่เมื่ออ่านต้องอ่านอย่างคำเต็มเสมอ ไม่ใช้ว่า ทูลเกล้า หรือ น้อมเกล้า เฉย ต้องมีคำว่า “ถวาย” ประกอบอยู่ด้วยเสมอ

ถวาย “ให้” (สิ่งของเล็กหรือใหญ่) แด่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า ให้ (สิ่งที่เป็นนามธรรม) แด่พระมหากษัตริย์ จนถึงหม่อมเจ้า มี ๒ ความหมาย กล่าวคือให้สิ่งที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม โดยใช้ไปตามลำดับชั้น ถวาย ที่หมายถึง ให้แด่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า ของที่ให้นั้นเป็นได้ทั้งสิ่งของเล็กหรือสิ่งของที่ยกได้ และสิ่งของใหญ่หรือสิ่งของที่ยกไม่ได้ และสิ่งที่เป็นนามธรรม ถวาย สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ชีวิต คำอธิบาย อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นนามธรรมใดที่ให้กันมิได้ แต่ใช้การแสดงออกต่อกัน จะไม่ใช้คำว่า “ถวาย” เช่น แสดงความจงรักภักดี ไม่ใช้ว่า ถวายความจงรักภักดี

ข้อควรจำ สิ่งที่เป็นนามธรรมใดที่ให้แก่กันมิได้ แต่ใช้การแสดงออกต่อกัน จะไม่ใช้คำว่า “ถวาย” เช่น แสดงความจงรักภักดี ไม่ใช้ว่า ถวายความจงรักภักดี แสดงความอาลัย ไม่ใช้ว่า ถวายความอาลัย

ตัวอย่างการใช้คำว่า “ถวาย” นาย ก. ถวายชุดเครื่องกีฬาจำนวน ๒,๐๐๐ ชุด แด่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ เพื่อทรงใช้ในกิจการของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก

ตัวอย่างการใช้คำว่า “ถวาย” ประชาชนร่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา คำว่า “ถวายพระพรชัยมงคล” นั้น จะแนะนำการใช้คำว่า ถวายพระพร, ถวายพระพรชัยมงคล, ถวายชัยมงคล

ถวายพระพร, ถวายชัยมงคล, ถวายพระพรชัยมงคล ถวายพระพร, ถวายชัยมงคล, ถวายพระพรชัยมงคล ทั้ง ๓ คำ หมายถึงให้พรแด่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย แต่แตกต่างกันที่ผู้ให้พร

ถวายพระพร, ถวายชัยมงคล, ถวายพระพรชัยมงคล ถวายพระพร, ถวายชัยมงคล, ถวายพระพรชัยมงคล ราชาศัพท์ ผู้ถวาย “พร” หมายเหตุ ถวายพระพร พระภิกษุสงฆ์ เป็นการใช้อย่างปัจจุบัน ถวายชัยมงคล ฆราวาส ปัจจุบันไม่ใช้ ถวายพระพรชัยมงคล ถวายพระพร เดิมใช้เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ปัจจุบันผู้ถวายพระพรเป็นคนทั่วไปได้ นอกจากนี้คำว่า “ถวายพระพร” ยังเป็นคำเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับพระมหากษัตริย์และเจ้านาย “ขอถวายพระพร” คำลงท้ายที่พระสงฆ์พูดกับพระมหากษัตริย์และเจ้านาย ข้อมูลแต่เดิมมีใช้ตามข้อมูลใน ๒ ช่องบน ปัจจุบันสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังคงใช้ว่า “ถวายชัยมงคล” แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เมื่อมีการใช้ลักลั่นกันจึงมีการกราบบังคมทูลว่าควรใช้อย่างไร สุดท้ายใช้ว่า ถวายพระพรชัยมงคล พระจะไม่มาใช้คำว่า “ถวายพระพรชัยมงคล” เช่นเดียวกับฆราวาส

ตัวอย่างคำถวายพระพร ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุ ยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์ ทรงพระเกษมสำราญ สถิตเป็นมิ่งขวัญแก่ประเทศชาติและประชาชนสืบไป

ตัวอย่างคำถวายพระพร ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร/ทรงหายจากอาการพระประชวร มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ สถิตเป็นมิ่งขวัญแก่ประเทศชาติและประชาชนสืบไป

ไม่เขียนว่า ฑีฆายุโก, ฑีฆายุกา ตัวอย่างคำถวายพระพร ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา หมายถึง ขอให้...มีอายุยืนยาว ไม่เขียนว่า ฑีฆายุโก, ฑีฆายุกา ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ใช้แก่สมเด็จพระสังฆราชา ให้อ.จำนงค์ อธิบายก็ได้ว่า แต่ละส่วนมีความหมายว่าอะไร ทีฆ หมายถึง ยาว สมาสกับคำว่า อายุ คำว่า ทีฆ ไม่เขียนว่า ฑีฆ

ถวายอดิเรก หมายถึง ให้พรพิเศษแด่พระมหากษัตริย์ ผู้ถวายอดิเรก คือ “พระราชาคณะ” ความหมายของพร “ขอจงทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนานเกิน ๑๐๐ ปี” อ.จำนงค์ให้ข้อมูล

ตัวอย่างคำถวายพระพร ขอจงทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง ราชาศัพท์ ของ พระบรมรูปเขียน, พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์, พระบรมสาทิส- ลักษณ์ พระมหากษัตริย์ พระรูปเขียน, พระฉายาสาทิส- ลักษณ์, พระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระรูปเขียน สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า สาทิส หมายถึง เหมือนกัน, คล้ายกัน, เช่นกัน.

รูปถ่าย ราชาศัพท์ ของ พระบรมฉายาลักษณ์, พระบรมรูป พระมหากษัตริย์ พระบรมฉายาลักษณ์, พระบรมรูป พระมหากษัตริย์ พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระรูป สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า รูปถ่ายของพระมหากษัตริย์ โบราณใช้ว่า พระบรมรูปถ่าย ก็มี

รูปปั้น, รูปหล่อ ราชาศัพท์ ของ พระบรมรูปปั้น, พระบรมรูปหล่อ พระมหากษัตริย์ พระรูปปั้น, พระรูปหล่อ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า

ข้อสังเกต ราชาศัพท์ว่า “พระบรมรูป” หรือ “พระรูป” เป็นคำที่มีความหมายกลาง ๆ ว่า รูป ใช้แก่รูปเขียน รูปถ่าย รูปปั้น รูปหล่อ ก็ได้ โดยใช้ตามลำดับชั้นของเจ้านาย เช่น ภาพในคอมพิวเตอร์ ภาพครอสติส ภาพที่เป็นหินประดับ กล่าวคือ พระบรมรูป ของพระมหากษัตริย์ พระรูป ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงหม่อมเจ้า

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป, ถ่ายภาพ” การใช้แบ่งเป็น ๓ กรณี สามัญชนถ่ายภาพพระมหากษัตริย์และเจ้านาย พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายถ่ายภาพเจ้านาย พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายถ่ายภาพ ดูในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๒๒-๑๒๓ ประกอบ

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป, ถ่ายภาพ” สามัญชนถ่ายภาพพระมหากษัตริย์และเจ้านาย ฉาย + ราชาศัพท์ของคำว่า “รูปถ่าย” ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายตามลำดับชั้น ข้อควรจำ “ถ่ายรูป” พระมหากษัตริย์ ใช้ว่า ฉายพระ บรมฉายาลักษณ์, ฉายพระรูป ไม่มีการใช้ว่า ฉายพระบรมรูป ดูในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๒๓ ประกอบ ในสมัยโบราณไม่ว่าเจ้านายจะทรงเป็นผู้ถ่ายรูปเองหรือมีช่างภาพถ่ายรูปให้ ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์, ทรงฉายพระรูป หรือ ทรงฉาย ก็มี ปัจจุบัน หากพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างภาพถ่ายรูปให้หรือประทับถ่ายรูปร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ หรือบุคคลอื่น ๆ ราชาศัพท์ใช้ว่า ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ หรือ ฉายพระรูป ในกรณีเดียวกัน ราชาศัพท์ที่ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า ฉายพระฉายาลักษณ์ หรือ ฉายพระรูป และสำหรับพระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า ฉายพระรูป

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป, ถ่ายภาพ” พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายถ่ายภาพเจ้านาย ทรงฉาย + ราชาศัพท์ของคำว่า “รูปถ่าย” ของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย ตามลำดับชั้น ข้อควรจำ เจ้านาย “ถ่ายรูป” พระมหากษัตริย์ ใช้ว่า ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์, ทรงฉายพระรูป ไม่มีการใช้ว่า ทรงฉายพระบรมรูป ดูในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๒๒ ประกอบ

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป, ถ่ายภาพ” พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายถ่ายภาพ เช่น สามัญชน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ ทรงฉาย ทรงถ่ายรูป... ข้อควรจำ ราชาศัพท์ว่า “ทรงฉาย” มักใช้ในข้อความ เช่น รูป...ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉาย ดูในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๒๒ ประกอบ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายรูปทองแดง

โปรด, โปรดให้ , โปรดเกล้าฯ โปรด หมายถึง ชอบ, รัก, เอ็นดู โปรดให้ เป็นคำโบราณ หมายถึง สั่งให้ทำ, อนุญาตให้ทำ, เห็นชอบให้ทำ, ใช้แก่พระมหากษัตริย์ เช่น โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม.

โปรด, โปรดเกล้าฯ , โปรดให้ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม หมายถึง เห็นชอบ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ก็ได้

ตัวอย่างของคำว่า “โปรดเกล้าฯ” โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวม พระราชหัตถเลขาครั้งเสด็จประพาส แหลมมลายู ๔ คราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือพระราชทานในงานพระเมรุพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา

ตัวอย่างของคำว่า “โปรดเกล้าฯ” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธ-มหามณีรัตนปฏิมากร

คำว่า “หัวใจ” ราชาศัพท์ของ “หัวใจ” ที่หมายถึงอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายใช้ว่า “พระหทัย” ใช้แก่พระมหากษัตริย์จนถึงหม่อมเจ้า

ราชาศัพท์ของคำเกี่ยวกับ “จิตใจ” หรือ “ใจ” ไม่มีคำว่า “ทรง” อยู่ข้างหน้า มีคำว่า “พระราชหฤทัย” ประกอบอยู่ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีคำว่า “พระทัย” ประกอบอยู่ ใช้แก่สมเด็จ เจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า คำเหล่านี้ถือเป็นคำหนึ่งคำ เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์จึงไม่ต้องมีคำว่า “ทรง” ประกอบอยู่ข้างหน้า ส่วนคำว่า “ใจ” ที่ประกอบอยู่ท้ายคำก็เปลี่ยนไปตามลำดับชั้นของเจ้านาย อย่างไรก็ดี มีราชาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับใจหรือจิตใจบางคำที่มิได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้างต้น อย่างราชาศัพท์ของคำว่า “ตกใจ” ใช้ว่า “ตกพระทัย” ซึ่งใช้ได้แก่พระมหากษัตริย์จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

ตัวอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราช-หฤทัยเรื่องการถ่ายภาพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารีพอพระราชหฤทัยการแสดงดนตรีในสวน

ตัวอย่าง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ เอาพระทัยใส่ในการฝึกซ้อมกีฬาแข่งม้า น้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น้ำพระทัยของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ทรงเจริญพระชนมพรรษา...พรรษา, เจริญพระชนมายุ...พรรษา ทั้ง ๒ คำ หมายถึง มีอายุ...ปี ใช้แก่พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ข้อควรจำ เจริญพระชนมายุ...พรรษา ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ เจริญพระชนมายุ...พรรษา เป็นสำนวนที่ใช้กันอย่างแบบแผน ทรงเจริญพระชนมพรรษา...พรรษา เป็นสำนวนที่ใช้เฉพาะรัชกาล เจ้านายใช้อื่น ๆ ใช้ลดหลั่นตามใช้ ดูในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๓๓

เจริญพระชันษา...ปี, มีพระชันษา...ปี ใช้แก่พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า เจริญพระชนมายุ...พรรษา เป็นสำนวนที่ใช้กันอย่างแบบแผน ทรงเจริญพระชนมพรรษา...พรรษา เป็นสำนวนที่ใช้เฉพาะรัชกาล เจ้านายใช้อื่น ๆ ใช้ลดหลั่นตามใช้ ดูในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๓๓

ราชาศัพท์ของคำว่า ตาย สวรรคต, เสด็จสวรรคต ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราช- กุมาร พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ทรง พระเศวตฉัตร ๗ ชั้น ราชาศัพท์ของคำว่า “ตาย” นั้นขึ้นอยู่กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากระหม่อมให้ใช้อย่างไร ให้ดูตามหมายกำหนดการที่ประกาศจากสำนักพระราชวัง

ราชาศัพท์ของคำว่า ตาย ทิวงคต ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าที่ได้รับการเฉลิม พระยศพิเศษ สิ้นพระชนม์ ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึง พระองค์เจ้า ถึงชีพิตักษัย, สิ้นชีพตักษัย ใช้แก่หม่อมเจ้า คำว่า “ตาย” ที่ใช้แก่เจ้านายนั้น สุดแต่พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม โดยตรวจสอบจากประกาศสำนักพระราชวัง พระเมรุมาศ ใช้แก่ พระมหากษัตริย์พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น พระเมรุ ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า (?) ถวายเพลิงพระศพ ใช้แก่เจ้านายที่มีพระอิสริยยศที่ต่ำกว่าเจ้านายที่สิ้นพระชนม์ พระราชทานเพลิงพระศพ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ และเจ้านายที่มีพระอิสริยยศที่สูงกว่าเจ้านายที่สิ้นพระชนม์

ราชาศัพท์ของคำว่า “ลงชื่อ” ทรงลงพระปรมาภิไธย ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ข้อสังเกต ปรม + อภิไธย ปรม คือ บรม คำนี้อ่านว่า ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท พระปรมาภิไธย หมายถึง ชื่อ

ราชาศัพท์ของคำว่า “ลงชื่อ” ทรงลงพระนามาภิไธย ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ราชาศัพท์ของคำว่า “ลงชื่อ” ทรงลงพระนาม ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึง หม่อมเจ้า

อักษรชื่อ อักษรพระปรมาภิไธย อักษรพระนามาภิไธย อักษรพระนาม หมายเหตุ ใช้ตามลำดับชั้นเช่นเดียวกับ ราชาศัพท์ของคำว่า “ลงชื่อ”

ตัวอย่างอักษรชื่อ อักษรพระปรมาภิไธย ภอ อักษรพระนามาภิไธย สก อักษรพระนามาภิไธย สธ อักษรพระนาม กว ข้อสังเกต ที่อักษรไม่มีจุด เพราะไม่ใช่อักษรย่อ แต่เป็นอักษรชื่อ ภอ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สธ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กว คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางครั้งก็พบว่ามีจุดบ้าง ไม่มีจุดบ้าง แต่เมื่อมีการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธยหรือขอพระราชทานพระราชานุญาตเชิญพระนามาภิไธย ไปประดิษฐานบนอาคาร จะไม่มีจุด รวมทั้งมีหลักฐานครั้งงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรส ซึ่งมีของชำร่วยเป็นหีบบุหรี่พระราชทาน มีอักษรพระปรมาภิไธยและอักษรพระนามาภิไธย ภอ สก ซึ่งไม่มีจุด

ทรงเป็นประธาน ใช้ว่า ทรงเป็นประธาน ไม่ใช้ว่า ทรงเป็นองค์ประธาน ใช้ว่า ทรงเป็นประธาน ไม่ใช้ว่า ทรงเป็นองค์ประธาน เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระ ราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน งานการกุศล เพราะคำว่า “ประธาน” เป็นคำสามัญและคำว่า องค์ประธาน ไม่ใช้ในบริบทนี้ แต่ใช้ในคำที่ไม่เป็นทางการ เช่น คำเรียกในการประชุม โดยปรกติประธานเป็นสามัญชน เราเรียกว่า ประธาน เมื่อประธานเป็นเจ้านาย เราเรียกว่า องค์ประธาน

ทรงเป็นประธาน อาจใช้ว่า เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน, เสด็จไปทรงเปิดงาน ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ว่า เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดงาน, เสด็จไปทรงเป็นประธานเปิดงาน เพราะเป็นประโยคฟุ่มเฟือย ประธานมีหน้าที่เปิดงานอยู่แล้ว

ตามพระราชอัธยาศัย ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อทรงใช้สอยตามพระราช-อัธยาศัย หมายถึง ให้เงินเพื่อให้ใช้สอยส่วนตัว ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย หมายถึง ร่วมทำบุญ โดยให้นำเงินนั้นไปทำบุญใด ก็ได้ตามอัธยาศัย เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายเงินมักมีสำนวนที่ตามมา หากให้เงินเพื่อทำบุญในกิจการหรืองานใดงานหนึ่ง ใช้ว่า ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลใน... ส่วนคำว่า อัธยาศัย ก็เปลี่ยนไปตามลำดับชั้นตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กล่าวคือ พระราชอัธยาศัย ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระอัธยาศัย ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า

พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร, ถวายเลี้ยงพระกระยาหาร พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร, ถวายเลี้ยงพระกระยาหาร พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร ใช้ในกรณีต่อไปนี้ พระมหากษัตริย์ทรงเลี้ยงอาหารเจ้านายต่างประเทศในระดับรองลงมา กษัตริย์ต่างประเทศทรงเลี้ยงอาหารเจ้านายไทยในระดับรองลงมา พระมหากษัตริย์หรือกษัตริย์ทรงเลี้ยงอาหารสามัญชนเป็นต้นว่าผู้นำประเทศ

พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร, ถวายเลี้ยงพระกระยาหาร พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร, ถวายเลี้ยงพระกระยาหาร ถวายเลี้ยงพระกระยาหาร ใช้ในกรณีต่อไปนี้ ใช้ในกรณีพระมหากษัตริย์ทรงเลี้ยงอาหารกษัตริย์ต่างประเทศ กษัตริย์ต่างประเทศทรงเลี้ยงอาหารพระมหากษัตริย์ไทย เจ้านายทั้งของไทยและของต่างประเทศหรือสามัญชน ถวายเลี้ยงอาหารพระมหากษัตริย์

พระบรมราโชวาท และ พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท เป็นราชาศัพท์ของคำว่า "โอวาท" ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ส่วน พระราชดำรัส เป็นราชาศัพท์ของคำว่า "คำพูด" ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต้องตรวจสอบข้อความที่คัดมาว่าเป็น “พระบรม-ราโชวาท” หรือเป็น “พระราชดำรัส และพระราชทานไว้เมื่อใด ดูราชาศัพท์ของคำว่า “โอวาท” จากหนังสือราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ... ราชาศัพท์ของคำว่า “คำพูด” จากหนังสือราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ... สิ่งที่เหมือนกันคือ พระบรมราโชวาท ถือเป็นพระราชดำรัสเช่นกัน ถ้าเห็นแต่ข้อความก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น พระราชดำรัส หรือ พระบรมราโชวาท แต่จะทราบได้ต่อเมื่อทราบว่าข้อความที่คัดลอกมาหรือตัดตอนมาเป็นพระบรมราโชวาทหรือพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้เมื่อใด ต้องดูว่าคัดลอกมาจากอะไร ส่วนใหญ่ที่พบเห็นการใช้ราชาศัพท์ว่า พระบรมราโชวาท จะพบในการพระราชทานปริญญา พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในวันข้าราชการพลเรือน แต่ถ้าเป็น "คำพูด" ที่พระราชทานในวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี จะเป็นพระราชดำรัส

พระบรมราโชวาท และ พระราชดำรัส เช่น พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในวันข้าราชการพลเรือน แต่ถ้าเป็น "คำพูด" ที่พระราชทานในวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ใช้ว่า “พระราชดำรัส” สำนักราชเลขาธิการได้รวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส จัดพิมพ์ไว้ สอบค้นจากห้องสมุดหรือเว็บไซต์ของสำนักราชเลขาธิการได้

สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ, สำนึกในพระกรุณาธิคุณ, สำนึกในพระกรุณา สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ, สำนึกในพระกรุณาธิคุณ, สำนึกในพระกรุณา เป็นคำที่ใช้แสดงความสำนึกในความกรุณาของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มักใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สำนึกในพระกรุณาธิคุณ มักใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้า สำนึกในพระกรุณา มักใช้แก่พระองค์เจ้า ซึ่งถ้าเป็นคนทั่วไปก็ใช้ว่า ขอบคุณ แต่กับเจ้านาย เราใช้ถ้อยคำว่า สำนึกใน... บางครั้งนำไปปรับใช้เป็นข้อความอื่น ๆ เช่น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ยานพาหนะ+ ...พระที่นั่ง, ...ที่นั่ง ยานพาหนะ + พระที่นั่ง ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า เช่น รถยนต์พระที่นั่ง เครื่องบินพระที่นั่ง ยานพาหนะ + ที่นั่ง ใช้แก่พระองค์เจ้า เช่น รถยนต์ที่นั่ง เครื่องบินที่นั่ง

การใช้ราชาศัพท์แก่พระมหากษัตริย์และเจ้านายต่างประเทศ ราชาศัพท์ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ ใช้เทียบเท่าพระมหากษัตริย์ไทย แต่จะไม่ใช้คำว่า “บรม”, “กราบบังคมทูลพระกรุณา” ราชาศัพท์ที่ใช้แก่เจ้านายต่างประเทศ เทียบใช้ตามลำดับชั้นของเจ้านายไทย เหมือนใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

คำราชาศัพท์อื่น ๆ ชื่อพระราชวงศ์ “จักรี” ใช้ว่า “พระบรมราชจักรีวงศ์” พระมหากษัตริย์ในอดีต ใช้ว่า “สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า” ทำงานให้พระมหากษัตริย์และเจ้านาย “ปฏิบัติราชการถวาย” ใช้แก่ผู้ปฏิบัติที่เป็นข้าราชการ “ปฏิบัติงานถวาย” ใช้แก่ผู้ปฏิบัติที่ไม่ได้รับราชการ ไม่ใช้ว่า “ถวายงาน” ส่วนมหาดเล็กที่ปฏิบัติงานแก่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย จะใช้ว่า ถวายอยู่งาน หรือ อยู่งาน หรือ อยู่งานถวาย งานประวัติศาสตร์ไทยของราชบัณฑิตยสถาน ใช้ว่า พระบรมราชวงศ์จักรี

คำราชาศัพท์อื่น ๆ ใช้ว่า อาการพระประชวร หรือ พระอาการประชวร ก็ได้ ประชวรพระนาภี เป็นสำนวนเฉพาะ หมายถึง ปวดท้อง ไม่ใช้ว่า ประชวรพระอุทร พระนาภี หมายถึง สะดือ พระอุทร หมายถึง ท้อง

คำราชาศัพท์อื่น ๆ เข่า ราชาศัพท์ใช้ว่า พระชานุ แข้ง ” พระชงฆ์ คุกเข่า ” คุกพระชงฆ์ ไม่ใช้ว่า คุกพระชานุ

คำราชาศัพท์อื่น ๆ การแสดงเฉพาะพระพักตร์ หรือการแสดงหน้าที่นั่ง ไม่ใช้ว่า การแสดงหน้าพระที่นั่ง ใช้ว่า ลงนามถวายพระพร ไม่ใช้ว่า “ลงนามถวายพระพรชัยมงคล”

คำราชาศัพท์อื่น ๆ หากสามัญชนต้องการทำบุญให้พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตหรือเจ้านายที่สิ้นพระชนม์แล้ว ใช้ว่า บำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย... หรือ เพื่ออุทิศถวาย... เช่น ไถ่ชีวิตโคกระบือเพื่ออุทิศถวาย... ข้อควรจำ - หลังคำว่า “ถวาย” จะมีคำว่า “แด่” ก็ได้ - ไม่ใช้ว่า บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศ... หรือ บำเพ็ญพระกุศลอุทิศ...

คำราชาศัพท์อื่น ๆ หากสามัญชนต้องการทำบุญให้พระมหากษัตริย์เจ้านายที่ยังทรงพระชนมชีพ ใช้ว่า เพื่อถวายพระราชกุศล หรือ เพื่อถวายพระกุศล ตามลำดับชั้นยศ เช่น ไถ่ชีวิตโคกระบือเพื่อถวายพระราชกุศล เพราะผู้ทำบุญเป็นสามัญชน มิใช่เจ้านาย หากเป็นเจ้านายทำบุญให้ใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้น เช่น บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศ... ใช้แก่พระมหากษัตริย์ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บำเพ็ญพระกุศลอุทิศ... ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงหม่อมเจ้า

คำราชาศัพท์อื่น ๆ ราชาศัพท์ของคำว่า “ต้อนรับ” ใช้ว่า รับเสด็จ ไม่ใช้ว่า ถวายการต้อนรับ ยืน ใช้ว่า ทรงยืน ไม่ใช้ว่า ประทับยืน ใช้ว่า “เป็นพระประมุข” หรือใช้ว่า “ทรงเป็นประมุข” ไม่ใช้ว่า “ทรงเป็นพระประมุข”

คำราชาศัพท์อื่น ๆ ใช้ว่า พระราชทานพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ๓ วัน ไม่ใช้ว่า พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ๓ วัน เบิก เช่น พระราชทานพระบรมราชานุญาตเบิก ... เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ไม่ใช้ว่า พระราชทานพระบรมราชานุญาตเบิกตัว ... เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระราชทานพระราชานุญาตเบิก ... เข้าเฝ้า ไม่ใช้ว่า พระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัว ... เข้าเฝ้า

คำราชาศัพท์อื่น ๆ ราชาศัพท์ของคำว่า “รายงาน” เช่น กราบบังคมทูลรายงาน ไม่ใช้ว่า กราบบังคมทูลถวายรายงาน ใช้ว่า พระปรีชาสามารถ, พระปรีชา เช่น พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพ

ข้อควรจำอื่น ๆ งานที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน หรือพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปทรงเป็นประธาน ไม่สมควรขออนุญาตใช้คำสามัญในการดำเนิน การรายการ

ข้อควรจำอื่น ๆ เช่น “ขออนุญาต” พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา ดำเนินรายการ ขอประทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม นาย... ขอประทานพระอนุญาตดำเนินรายการ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ถ้าขออนุญาตเท่ากับใช้ราชาศัพท์กับเจ้านายอยู่เป็นประจำ

“หมายกำหนดการ” และ “กำหนดการ” หมายกำหนดการ คือ เอกสารแจ้งกําหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราช-โองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า” เสมอไป

“หมายกำหนดการ” และ “กำหนดการ” กำหนดการ คือ ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงานที่จะต้องทําตามลําดับ

ข้อสังเกตของหมายกำหนดการ เป็นกำหนดการขั้นตอนพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่มีพระบรมราช-โองการสั่งให้ทำ หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงปฏิบัติเอง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้แทน

ข้อสังเกตของหมายกำหนดการ กรณีมีผู้แทนพระองค์ ถ้าเป็นเจ้านาย ใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้น เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรม-โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราช-ดำเนินแทนพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์

ข้อสังเกตของหมายกำหนดการ กรณีมีผู้แทนพระองค์ ถ้าเป็นสามัญ ใช้คำอย่างสามัญ เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปเป็นประธานในงาน... (หรือไปเปิดงาน...)

ข้อสังเกตของกำหนดการ ลำดับขั้นตอนงานทั่วไป ซึ่งเป็นงานของเจ้านายหรือสามัญชนก็ได้

หมายรับสั่ง หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายใน หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งให้ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ ว่าต้องทำสิ่งใด ตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า “ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ”

วโรกาส และ โอกาส “วโรกาส” เป็นส่วนหนึ่งของราชาศัพท์ของคำว่า “ขอโอกาส” และ “ให้โอกาส” ดังนี้

วโรกาส และ โอกาส “ขอโอกาส” ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ขอพระราชทานพระวโรกาส ขอประทานพระวโรกาส ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานพระวโรกาส ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า ขอประทานพระวโรกาส ใช้แก่พระองค์เจ้า จนถึงหม่อมเจ้า เมื่อเจ้านายให้โอกาส ก็ใช้ราชาศัพท์เช่นเดียวกัน แต่ตัดคำว่า “ขอ” ออก

วโรกาส และ โอกาส โอกาส เช่น ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ

เชิญ และ อัญเชิญ เชิญ ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระบรมฉายาลักษณ์ไปประดิษฐานในห้องประชุม ความหมายตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุความหมายของคำว่า “เชิญ” ว่า “ก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทานอาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าวอนุญาตให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.” ซึ่งความหมายที่มักนำมาใช้ในสำนวนที่เกี่ยวข้องกับราชาศัพท์มักเป็นความหมายที่ ๒ ว่า “ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพ“

เชิญ และ อัญเชิญ อัญเชิญ เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระอุโบสถ. ความหมายนี้ คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยได้ปรับแก้ไข จากบทนิยามของคำว่า “อัญเชิญ” ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุความหมายของคำว่า “อัญเชิญ” ว่า “ก. เชิญด้วยความเคารพนับถือ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระอุโบสถ. (ข. อญฺเชิญ).“

ใน และ ของ นำหน้านามที่เป็นผู้ครอบครองในประโยคราชาศัพท์ ตามแบบแผนแต่เดิมคำว่า “ใน” ใช้แก่ “ลูก” หรือ “เมีย” ของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย ปัจจุบันมีการใช้ทั้งคำว่า “ใน” และ “ของ” นำหน้านามที่เป็นผู้ครอบครองในประโยคราชาศัพท์ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม หมายเหตุ มีบางบริบทที่ใช้ได้เฉพาะคำว่า “ของ” เช่น วังของเจ้าฟ้า... สุนัขทรงเลี้ยงของพระองค์เจ้า... ที่ดินของหม่อมเจ้า... อย่างไรก็ดี ในส่วนของราชสำนักยึดตามแบบแผนแต่เดิม คือ คำว่า “ใน” ใช้แก่ “ลูก” หรือ “เมีย” ของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย และใช้คำว่า “ของ” นำหน้านามที่เป็นผู้ครอบครองในประโยคราชาศัพท์ เช่น พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวอย่าง หม่อมเจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ เป็นหม่อมห้ามในพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจเขียนโดยย่อว่า หม่อมราชวงศ์โตในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็ได้

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐, ๐๘ ๙๕๒๐ ๖๕๒๒ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๑ www.royin.go.th e-mail address ripub@royin.go.th