พอลิเมอร์ (Polymer) พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยพื้นฐานเล็กๆ ของพอลิเมอร์
ประเภทของพอลิเมอร์ ; แบ่งตามการเกิด 1. พอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ยางธรรมชาติ 2. พอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก ไนลอน ดาครอน และลูไซต์
ประเภทของพอลิเมอร์ ; แบ่งตามโครงสร้าง 1. พอลิเมอร์เอกพันธุ์ (Homopolymer) ; PVC 2. พอลิเมอร์วิวิธพันธุ์ (Copolymer) ; ไนลอน-6,6
ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ 1. ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น (Condensation polymerization) เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ จะได้สารโมเลกุลเล็กเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย เช่น น้ำ เมทานอล
การเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 1. พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET, PETE) มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ ไดเมทิลเทเรเฟทาเลต + เอทิลีนไกลคอล แข็ง ง่ายต่อการย้อมสี ทนความชื้น เหนียว ทนต่อการขัดถู เส้นใย เอ็น แห อวน เชือก ด้าย เส้นเทปวิดีโอ เทปเพลง ขวดน้ำอัดลม และขวดน้ำดื่มชนิดแข็ง และใส สารเคลือบรูปภาพ หินอ่อนเทียม แก้วเทียม
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 2. พอลิเอไมด์ (PA) ; ไนลอน-6,6) มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ เฮกซะเมทิลีนไดเอมีน + กรดอะดิปิก เหนียว ผิวเรียบ ทำความสะอาดง่ายและแห้งเร็ว ยืดหดได้ ทนต่อการขัดถู ไม่ทนต่อการใช้นอกอาคาร เชือก เส้นด้าย ถุงน่อง ชุดชั้นใน ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น เกียร์ เฟือง ปลอกหุ้มสายไฟฟ้า
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 3. พอลิคาร์บอเนต (PC) มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ บิสฟีนอลเอ + ฟอสจีน เหนียว ใส ทนความร้อน ทนแรงกระแทก ไม่ชื้นง่าย ติดไฟแล้วดับเอง กล่องบรรจุเครื่องมือ เครื่องโทรศัพท์ ขวดบรรจุน้ำดื่มขนาดใหญ่ ขวดนมเด็ก ภาชนะใสที่ใช้ทดแทนเครื่องแก้ว หลังคา ไฟหน้ารถ กระจกกันกระสุน เลนส์แว่นตา แผ่น DVD, Blu-ray
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 4. พอลิยูรีเทน (PU) มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ 1,4-บิวเทนไดออล + เฮกซะเมทิลีนไดไอโซไซยาเนต ยืดหยุ่น ทนการขีดข่วนได้ดี ทนต่อตัวทำละลาย ทนแรงกระแทก เส้นใยทำชุดว่ายน้ำ ล้อรถเข็น น้ำยาเคลือบผิว โฟมบุเก้าอี้
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 5. พอลิฟอร์มาดีไฮด์ (PF) ; เบเคอไลต์ มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ ฟีนอล + ฟอร์มาดีไฮด์ แข็ง เปราะ ทนความร้อนที่อุณหภูมิสูง ทนสารเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้า กาว แผงวงจรไฟฟ้า หูหม้อ หูกระทะ ด้ามภาชนะเครื่องครัว
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 6. พอลิยูเรียฟอร์มาดีไฮด์ (UF) มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ ยูเรีย + ฟอร์มาดีไฮด์ แข็ง เปราะ ทนความร้อนที่อุณหภูมิสูง ทนสารเคมี แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กาว โฟม
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น 7. พอลิเมลามีนฟอร์มาดีไฮด์ (MF) มอนอเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ เมลามีน + ฟอร์มาดีไฮด์ ทนสารเคมี กันน้ำได้ดี ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แผงวงจร เส้นใยผ้าเพื่อกันน้ำ ถ้วย จาน
ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ 2. ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม (Addition polymerization) เกิดจากโมเลกุลของมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน เช่น เอทิลีน โพรพิลีน ไวนิลคลอไรด์ และสไตรีน เกิดปฏิกิริยาการเติมที่ตำแหน่งพันธะคู่
การเกิดพอลิเมอร์แบบเติม
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 1. พอลิเอทิลีน (PE) มอนอเมอร์ เอทิลีน พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ ป้องกันการผ่านของไอน้ำได้ดี แต่ยอมให้อากาศผ่านได้เล็กน้อย เป็นแผ่นฟิล์มใส เหนียว ทนสารเคมี ทนกรดและเบส ภาชนะบรรจุอาหารถุงพลาสติกชนิดใส่ของเย็น แผ่นพลาสติกบางที่ใช้ห่อผักและผลไม้ ถุงขยะ เครื่องใช้ในบ้าน ของเล่น ท่อน้ำ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า เคลือบกล่องกระดาษใส่นม ถุงซิบใส่ยา
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 2. พอลิโพรพิลีน (PP) มอนอเมอร์ โพรพิลีน พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ คล้ายพอลิเอทิลีน แต่แข็งแรงกว่า ใส เหนียว แข็งแรง และผิวเป็นมันวาว น้ำหนักเบา ทนต่อแรงดึง ทนต่อการขีดข่วน ทนความร้อน ไม่ว่องไวต่อสารเคมีแต่ทนน้ำ ภาชนะบรรจุสารเคมี เช่น หม้อแบตเตอรี่ หุ้มสายไฟฟ้า กระเป๋าเดินทาง พรม เชือก เครื่องมือแพทย์ เช่น ตัวกระบอกฉีดยา และเครื่องมือในห้องทดลอง ถุงพลาสติกร้อน/เย็น กล่องข้าวที่ใส่ไมโครเวฟได้
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 3. พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มอนอเมอร์ ไวนิลคลอไรด์ พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ แข็งและคงรูป ทนต่อความชื้น ทนต่อสารเคมี และการขัดถู ทนต่อการกัดแทะของแมลง และไม่เป็นเชื้อรา ไม่ทนความร้อนและแสง กระเบื้องยางปูพื้น ท่อน้ำ หนังเทียม เสื้อกันฝน บัตรเครดิต ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า แผ่นเสียง
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 4. พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE = Teflon) มอนอเมอร์ TFE พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ เหนียว ทนสารเคมีดีทุกช่วงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ดี ไม่นำไฟฟ้า ผิวลื่น ทนต่อแรงกระแทก เคลือบผิวภาชนะหุงต้มเพื่อไม่ให้อาหารติดภาชนะ ฉนวนไฟฟ้า ปะเก็น วงแหวนลูกสูบ และลูกปืนในเครื่องยนต์ เคลือบสายเคเบิลสายไฟฟ้า
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 5. พอลิสไตรีน (PS) มอนอเมอร์ สไตรีน พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ แข็งมากแต่เปราะ และแตกหักง่าย ไม่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์แต่ทนต่อกรด และเบส ใส โปร่งแสง ผิวเรียบ ไม่นำไฟฟ้า ภาชนะบรรจุสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง ชิ้นส่วนของตู้เย็น เครื่องเรือน ตลับเทป กล่องใสใส่ขนม โฟมบรรจุอาหาร สำหรับอาหารที่ไม่ร้อน และไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ ฉนวนสำหรับกระติกน้ำร้อน น้ำเย็น วัสดุลอยน้ำ
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 6. พอลิเมทิลเมทาคริเลต (PMMA) มอนอเมอร์ MMA พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ ใส โปร่งแสง ทนต่อแรงกระแทก ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ทนต่อการขีดข่วนได้น้อยกว่าแก้ว กระจกครอบไฟฟ้าท้ายรถยนต์ เลนส์แว่นตา เลนส์สัมผัส ไม้บรรทัดชนิดใส วัสดุทันตกรรม
ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบเติม 7. พอลิอะคริโลไนไตรล์ (PAN) มอนอเมอร์ อะคริโลไนไตรล์ พอลิเมอร์ สมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์ แข็ง เหนียว ทนต่อความชื้น สารเคมีและเชื้อรา ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ทนต่อการขีดข่วน ผ้าโอรอน ด้ายสำหรับถักพรม ถุงเท้า เสื้อผ้าเด็ก เสื้อกันหนาว