กลไกการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะ และแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Advertisements

ศักยภาพของคนไทยในการผลิตและวิจัยวัคซีนใหม่
Hereditary Spherocytosis (HS)
ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
การติดเชื้อในผู้สูงอายุ
Viral Multiplication ดร. ยิ่งมณี ตระกูลพัว.
Immunity against viral infection ดร. ยิ่งมณี ตระกูลพัว.
โดย นางธนาวลัย อรัญญิก
Wound classification Wound Healing.
(blood group) หมู่เลือด B+ AB- O- A+ B- AB+ O+ A-
Lymphatic drainage of the head and neck
แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
สาขา 13 รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และ 20 มิถุนายน 2560
ความคืบหน้าการจัดทำ ร่าง-ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Seasonal Flu Vaccine.
Intern Kittipos Wongnisanatakul
ระบบของร่างกายที่มีกลไกการป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพในร่างกาย เรื่อง การลำเลียงสารในร่างกายคน
โดย อาจารย์วิภาดา ศรีเจริญ
จัดทำข้อมูลวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การแพ้ยา
บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพในร่างกาย เรื่อง ระบบน้ำเหลือง
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell Compositions)
เอมอร ราษฎร์จำเริญสุข
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ. ศ เวลา น
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
การยกเลิกใช้งานอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
แนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์เรียนรู้
การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
แนวทางการให้บริการวัคซีนโปลิโอ
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
โดย ภญ. ปิยะนาถ เชื้อนาค สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๒ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต Dr. Bualak Naksongkaew.
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
ข้อสอบ O – NET : การเขียนเรียงความ ปี ๖๐, ๕๙
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
การเคลื่อนที่ของพวกโพรติสต์
การสอบสวน ป้องกัน และควบคุม โรคไข้เลือดออก
โครงสร้างของพืชดอก (ลำต้น)
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
รางจืด สมุนไพรล้างพิษ 21/1/58
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การจัดทำรายงาน ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ อาจารย์ ณัฐเสกข์ เทพหัสดิน
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2
Systemic multilineage engraftment in mice after in utero transplantation with human hematopoietic stem cells by Russell G. Witt, Emily M. Kreger, Laura.
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กลไกการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะ และแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ธีริศรา แสงมั่ง E-mail: s.teerisara@gmail.com

กลไกการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะ และแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม จุดประสงค์การเรียนรู้ อธิบายกลไกการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะและแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมของร่างกายได้ เขียนแผนผังเกี่ยวกับการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะและแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมของร่างกายได้

เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธีใดบ้าง

กลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม ด่านแรก: ผิวหนัง เยื่อบุเซลล์ในระบบหายใจ และระบบย่อยอาหาร ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไปที่ตอบสนองสิ่งแปลกปลอมด้วยการอักเสบ เซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ ด่านที่สาม: หน่วยรบพิเศษ ระบบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะเจาะจง เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์

ด่านแรก : ผิวหนัง เยื่อบุเซลล์ในระบบหายใจ และระบบย่อยอาหาร ผิวหนัง มีแนวป้องกัน คือ สารเคมีที่สร้างขึ้นแล้วขับออกมาทางรูเปิดของขุมขน และรูเปิดของต่อมต่าง ๆ เช่น เหงื่อ น้ำมัน น้ำมูก น้ำตา ซึ่งสารเหล่านี้มีเกลือปนอยู่ หรือมีสภาวะความเป็นกรดอ่อน ๆ สามารถทำลายหรือชะล้างเชื้อโรคบางชนิดที่อยู่ตามผิวหนังได้

ด่านแรก : ผิวหนัง เยื่อบุเซลล์ในระบบหายใจ และระบบย่อยอาหาร เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ จะถูกดักจับด้วยเยื่อเมือกเหนียว ๆ ที่เซลล์เยื่อบุผิวขับออกมาเพื่อดักจับเชื้อโรค และถูกพัดโบกโดยขนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ซิเลีย (cilia) ที่บริเวณเยื่อบุผิวหนังของระบบทางเดินหายใจตั้งแต่รูจมูกเข้าไปในหลอดลม ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองลำคอ และเกิดการไอหรือจาม เพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย ในขณะเดียวกัน สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณหลอดลมก็สามารถเข้าไปสู่หลอดอาหาร ลงสู่กระเพาะอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด เชื้อโรคจึงถูกทำลายได้

Key words แอนติเจน (antigen) : ส่วนประกอบที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่อยู่บริเวณพื้นผิวของเซลล์เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม แอนติบอดี (antibody) : โปรตีนที่ทำหน้าที่ต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ฟาโกไซต์ (phagocyte) : เซลล์เม็ดเลือดขาวหลายรูปแบบ ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคด้วยการล้อมและกลืนกิน ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) : เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตรวจจับชนิดของแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายก่อน จึงจะผลิตแอนติบอดีที่จำเพาะขึ้น วัคซีน (Vaccine) : แอนติเจนของเชื้อโรคที่ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายภูมิคุ้มกันของร่างกาย

เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมสร้างจากไขกระดูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของแกรนูล (granule) ซึ่งเป็นถุงสำหรับบรรจุสารภายในเซลล์ ดังนี้ มีแกรนูล ไม่มีแกรนูล

เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่คอยทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แบ่งตามหน้าที่ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้ ฟาโกไซต์ (phagocyte) หรือ เซลล์กลืนกิน เป็นจอมเขมือบเชื้อโรค 2. ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) หลั่งแอนติบอดีมาต่อสู้กับเชื้อโรค เซลล์ที (T-cell) เซลล์บี (B-cell)

ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไป โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไป โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ เชื้อโรคที่สามารถเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายและทำอันตรายต่อเซลล์ภายในได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความรุนแรงของเชื้อโรคเอง ร่างกายอ่อนแอ หรือการมีบาดแผล เซลล์ที่ได้รับอันตรายจะขับสารเคมีเพื่อส่งสัญญาณกระตุ้นการตอบสนองทำให้เกิดอาการอักเสบ (inflammation) ขึ้น การอักเสบจึงเปรียบเสมือนด่านสกัดกั้นชั้นที่สองของร่างกาย ช่วยป้องกันเชื้อโรคทุกชนิดโดยไม่จำเพาะเจาะจง

ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไป โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไป โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ ฟาโกไซต์ (phagocyte) หรือ เซลล์กลืนกิน ถูกสร้างจากไขกระดูก ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคด้วยการล้อมและกลืนกิน โดยยื่นส่วนที่เรียกว่า เท้าเทียม (pseudopodium) เข้าโอบล้อมเชื้อโรค จากนั้นเชื้อโรคจะไหลเข้าสู่ถุงอาหารภายในเซลล์และถูกย่อยโดยเอนไซม์ เรียกกระบวนการนี้ว่า ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis)

ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไป โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ ด่านที่สอง: แนวป้องกันโรคทั่วไป โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ บริเวณที่เกิดการอักเสบจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีลักษณะบวมแดงและอาจมีหนอง ถ้าสัมผัสจะรู้สึกว่าบริเวณบาดแผลที่บวมแดงร้อนกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากร่างกายสร้างสารเคมีขึ้นมา แล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคถูกทำลายและเพิ่มจำนวนได้ช้า และถูกฟาโกไซต์จับกินได้ง่าย หนอง คือ ซากของเซลล์เม็ดเลือดขาวและเชื้อโรคที่ถูกร่างกายกำจัดออกมาร่วมกับเซลล์ที่ติดเชื่อจนเสื่อสภาพแล้ว

เพราะเหตุใด การวัดอุณหภูมิทุกครั้งที่มีการตรวจร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น คำถามชวนคิด! เพราะเหตุใด การวัดอุณหภูมิทุกครั้งที่มีการตรวจร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ด่านที่สาม: หน่วยรบพิเศษ ระบบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะเจาะจง เชื้อโรคบางชนิดจะมีสารจำพวกโปรตีนอยู่ที่ผิวเซลล์ เรียกว่า แอนติเจน (antigen) เมื่อเชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายคน เซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์จะจับกับเชื้อโรคนั้น ทำให้แอนติเจนของเชื้อโรคปรากฏอยู่บนผิวของฟาโกไซต์ และไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (lymphocyte) ซึ่งถูกสร้างจากไขกระดูก มีหน้าที่ตรวจจับชนิดของแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายก่อน แล้วจะผลิตเซลล์ที่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ 1. ลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphocyte) หรือ เซลล์ที (T-cell) สร้างจากต่อมไทมัส มีบทบาทเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันและอาการแพ้ต่าง ๆ ในร่างกาย แบ่งเซลล์ทีตามหน้าที่ได้ดังนี้ เซลล์ทีผู้ช่วย (Helper T-cell) ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์บีสร้างแอนติบอดีจำเพาะขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทีชนิดอื่น เซลล์ทีทำลายสิ่งแปลกปลอม (Cytotoxic T-cell or Killer T-cell ) ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม

ลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphocyte)

ด่านที่สาม: หน่วยรบพิเศษ ระบบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะเจาะจง ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) 2. ลิมโฟไซต์ชนิดบี (B-lymphocyte) หรือ เซลล์บี (B-cell) พบมากในปุ่มน้ำเหลือง (lymph node) ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี (antibody) เพื่อต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แอนติเจนและเซลล์ทีผู้ช่วย จะไปกระตุ้นเซลล์บีให้เกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์พลาสมา (plasma cell) ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีที่จำเพาะเพื่อทำลายแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกาย และเซลล์จดจำ (memory cell) ทำหน้าที่จดจำแอนติเจน ถ้าแอนติเจนชนิดเดิมเข้าสู่ร่างกาย เซลล์บีแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้เร็วขึ้น

ลิมโฟไซต์ชนิดบี (B-lymphocyte)

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน 1. ไขกระดูก (Bone marrow) เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวทุกชนิดรวมทั้งเม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด 2. ระบบน้ำเหลือง น้ำเหลือง (lymph) ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) อวัยวะน้ำเหลือง (lymphatic organ)

ระบบน้ำเหลืองในร่างกาย 1. น้ำเหลือง (lymph) เป็นของเหลวที่ช่วยลำเลียงสารต่าง ๆ กลับสู่หลอดเลือดในระบบไหลเวียนเลือด โดยไหลซึมผ่านท่อน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย 2. ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) น้ำเหลืองจะไหลซึมเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองฝอยแล้วเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ ซึ่งภายในจะมีลิ้นกั้นไม่ให้น้ำเหลืองไหลกลับ และไม่ไหลปนไปกับเลือดในระบบไหลเวียนโลหิต ระบบน้ำเหลืองในร่างกาย

กลุ่มของปุ่มน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และระบบน้ำเหลืองในร่างกาย 3. อวัยวะน้ำเหลือง (lymphatic organ) มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ที่มาจากไขกระดูก เพื่อพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ดังนี้ ระบบน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลือง (lymph node) มีขนาดเล็กรวมกันเป็นกลุ่มตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ และขาหนีบ เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ทอนซิล (tonsil) เป็นกลุ่มปุ่มน้ำเหลืองซึ่งภายในมีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดขาวที่ใช้ทำลายแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอม และยังทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วอีกด้วย ต่อมไทมัส (thymus gland) อยู่บริเวณรอบหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่เดินทางมาที่ต่อมไทมัสจะพัฒนาเป็นเซลล์ทีเพื่อต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย กลุ่มของปุ่มน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และระบบน้ำเหลืองในร่างกาย

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับมา แอนติเจน น้ำนมแม่ วัคซีน ท็อกซอยด์ (Toxoids) วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Killed vaccine) วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) เซรุ่ม

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น 1. ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังจากการหายป่วยจากการติดเชื้อโรค โดยการจดจำของเซลล์ทีและเซลล์บี เมื่อร่างกายได้รับแอนติเจนชนิดเดิมซ้ำ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวมากำจัดทันที 2. ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นจากการให้วัคซีน เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดเมื่อร่างกายได้รับการกระตุ้นจากการให้วัคซีน (vaccine) ซึ่งเป็นแอนติเจนของเชื้อโรคที่ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกาย โดยจะไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อแอนติเจนชนิดนั้น ๆ วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลายชนิด ดังนี้ ท็อกซอยด์ (Toxoids) วัคซีนที่ผลิตจากสารพิษหรือทอกซินที่ทำให้หมดพิษแล้ว วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Killed vaccine) วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ทำให้ตายแล้ว แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีได้ วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย วัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องให้หลายครั้งหรือมีการกระตุ้นเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งเพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนให้ครบตามเวลาและจำนวนครั้งที่กำหนด

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับมา 1. ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ ทารกจะได้รับจากแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และน้ำนมแม่ที่ดื่ม แม่เป็นผู้สร้างแอนติบอดีแล้วส่งผ่านให้ลูก แต่จะมีผลคุ้มกันเพียงอายุประมาณ 6 เดือนหลังคลอด เท่านั้น 2. ภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดเซรุ่ม โดยเซรุ่มเป็นน้ำเลือดที่มีแอนติบอดีที่เมื่อร่างกายได้รับแล้วจะสามารถต้านทานพิษของโรคนั้นได้ทันที การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันให้ถูกวิธีเพื่อช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ดังนี้ 1. การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 2. การออกกำลังกาย 3. การทำจิตใจให้ผ่อนคลาย 4. การหลีกเลี่ยงสารเสพติดและสุรา 5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงทางเพศ

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของภูมิคุ้มกัน ก่อเองเสียเวลา รับมาใช้ได้เลย

กิจกรรมท้ายคาบเรียน ให้นักเรียนนำดินน้ำมัน 3 สีที่เตรียมมา ปั้นสิ่งต่อไปนี้ เชื้อโรค เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์ เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ชนิด T เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ชนิด B ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที หลังจากนั้นครูจะเดินไปหาทุกกลุ่มให้อธิบายให้ครูฟังว่าเม็ดเลือดขาวมีวิธีการกำจัดเชื้อโรคได้อย่างไร

แบคทีเรีย

Phagocyte Macrophage Basophil Eosinophil Monocyte

Lymphocyte Lymphocyte B cell Lymphocyte T cell https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Blausen_0624_Lymphocyte_B_cell.png#/media/File:Blausen_0625_Lymphocyte_T_cell_(crop).png

See you next week