งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
นางนิโลบล แวววับศรี นิติกรเชี่ยวชาญ สำนักกฎหมาย

2 ขอบเขตเนื้อหา ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกในงบดำเนินงาน รายการ ค่าตอบแทน ใช้สอยวัสดุ สาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่าย ที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะเดียวกัน รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและหนังสือเวียนกระทรวงการคลัง รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง และรายจ่ายใดที่ไม่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

3 กฎหมายและระเบียบการคลัง
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. กฎหมายเงินคงคลัง 3. กฎหมายวิธีการงบประมาณ 4. กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 5. ระเบียบการบริหารงบประมาณ 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง 7. ระเบียบเงินทดรองราชการ

4 รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้
กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง

5 การเบิกเงินงบประมาณ ประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว
ได้รับอนุมัติวงเงินประจำงวดแล้ว มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือ ผู้มีสิทธิ หนี้นั้นถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดต้องจ่ายเงิน

6 งบประมาณ หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณจำแนกรายจ่ายตามงบประมาณเป็น 2 ลักษณะ รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

7 รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปใช้จ่ายตามรายการที่กำหนดดังนี้ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ  เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ เงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ เงินสมทบของลูกจ้างประจำ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ เป็นต้น

8 นอกจากรายการหลักดังกล่าวดังกล่าวแล้ว พ. ร. บ
นอกจากรายการหลักดังกล่าวดังกล่าวแล้ว พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีอาจตั้งรายจ่าย รายการอื่น ๆ ไว้ในรายจ่ายงบกลาง ตามความเหมาะสมแต่ละปีได้ เช่น ค่าใช้จ่าย การปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

9 รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
หมายถึง รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้สำหรับแต่ละ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ ได้แก่  งบบุคลากร  งบดำเนินงาน  งบลงทุน  งบเงินอุดหนุน  งบรายจ่ายอื่น

10 งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใด ในลักษณะเดียวกัน

11 ค่าตอบแทน หมายถึง เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด เช่น  เงินค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ  ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ  ค่าตอบแทนกรรมการตรวจการจ้างและ ผู้ควบคุมงาน  เงินสมนาคุณกรรมการสอบสวนทางวินัย ข้าราชการ  เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหา รถประจำตำแหน่ง เป็นต้น

12 ค่าใช้สอย หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ (ยกเว้น บริการสาธารณูปโภค) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองและ พิธีการและรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการ ที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่น ๆ เช่น  ค่าจ้างเหมาบริการ  ค่าเบี้ยประกันภัย  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ในประเทศ)  ค่าของขวัญ เป็นต้น

13 ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของซึ่งโดยสภาพแล้ว ย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ เป็นต้น

14 ค่าสาธารณูปโภค หมายถึง รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า
ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์ เป็นต้น

15 งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใด งบรายจ่ายหนึ่งหรือรายจ่ายที่สำนักงานประมาณกำหนดให้ ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้ เช่น เงินราชการลับ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ค่าใช้จ่ายสำหรับกองทุนหรือเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

16 รายจ่ายประเภทค่าตอบแทน
ความหมาย : เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้แก่ทางราชการ ลักษณะ เงินเดือน นอกเหนือเงินเดือน นอกเวลาราชการปกติ นอกเหนืองานในหน้าที่ เงินเพิ่มรายเดือน

17 1. ข้าราชการได้เงินเดือน + ตำแหน่ง ให้ได้ค่าตอบแทน
ระเบียบ กค. ว่าด้วยค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม หลักเกณฑ์ 1. ข้าราชการได้เงินเดือน + ตำแหน่ง ให้ได้ค่าตอบแทน เท่ากับเงินตำแหน่ง เว้น ระดับ 7 2. ข้าราชการที่ได้เงินเดือนระดับ 8 8ว หรือเทียบเท่า ให้ได้รับ 3,500 บาท 3. ข้าราชการ เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น - เงินเดือนเต็มขั้น

18 (1) มีขั้นเหลืออยู่ 1.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 2% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง (2) มีขั้นเหลืออยู่ 1 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 4% ของอัตราเงินเดือนฯ (3) มีขั้นเหลืออยู่ 0.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 6% ของอัตราเงินเดือนฯ (4) ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนฯ 4. หากได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงิน ตอบแทนพิเศษตามระเบียบ พ.ศ และได้ปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง 5. หากพ้นหรือเลื่อนอันดับหรือตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทน

19 ข้าราชการพลเรือนที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน = อัตราเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ ข้าราชการซึ่งได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ, ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส (c7-8) เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับ 8 หรือ 8 ว ซึ่งไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน 3,500 บาท และข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 3,500 บาท ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน , ชำนาญงาน , อาวุโส ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ , ชำนาญการ ที่เคยมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน (เงินดาว) ให้ได้รับในอัตราที่เคยได้รับต่อไป กรณีพ้นจากประเภทตำแหน่งหรือระดับดังกล่าว ไม่ว่าเหตุใด ให้งดจ่าย การจ่ายเงินค่าตอบแทน (เงินดาว) เป็นการจ่ายชั่วคราว หากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือน กค. จะพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการที่ปรับใหม่ต่อไป

20 ผู้มีสิทธิ ระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ
ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้มีสิทธิ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ไม่รวมถึงนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ข้าราชการตำรวจ ไม่รวม พลตำรวจสำรอง ลูกจ้างประจำ ทหารกองประจำการ ข้าราชการรัฐสภา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ

21 เกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
1. ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท ได้รับ เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท แต่ถ้าเงินเพิ่มฯ รวมกับเงินเดือนฯ แล้วไม่ถึง 8,200 บาท ให้ได้รับ เงินเพิ่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ เป็น 8,200 บาท 2. การเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณงบใด รายการใด ให้เป็นไปตามที่ สำนักงบประมาณกำหนด

22 ไม่ใช้บังคับกับผู้มีสิทธิตาม
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา

23 ยกเลิกบัญชีเงินเพิ่มฯ และให้ส่วนราชการ คำนวณอัตราการจ่ายเงินเพิ่มฯ ตามหลักเกณฑ์ใหม่
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มฯ เต็ม ตามสิทธิที่คำนวณได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินในระบบ GFMIS

24 มีผลใช้บังคับกับ - อาสาสมัครทหารพราน - สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
- พนักงานราชการ - ลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ

25 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย
ในการบริหารงาน ของส่วนราชการ พ.ศ. 2553

26 เจตนารมณ์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ ในลักษณะงบดำเนินงานให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับการปฏิบัติราชการของแต่ละส่วนราชการมากยิ่งขึ้น โดยมีการจัดหมวดหมู่ของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ในการบริหารงานของส่วนราชการ และเพื่อให้เกิดวินัยทางการคลัง

27 คำนิยาม (ข้อ 4) “ส่วนราชการ” หมายความว่า สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นหรือเทียบเท่ากรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม แต่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นอธิบดี หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี และราชการบริหารส่วนภูมิภาค “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

28 คำนิยาม (ข้อ 4) “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า รายจ่ายที่กำหนดให้จ่าย ในการบริหารงานประจำตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือรายจ่ายที่เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ตามที่กำหนดไว้ในแผนงบประมาณ ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายจาก งบดำเนินงาน ลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และ ค่าสาธารณูปโภค หรืองบรายจ่ายอื่นใดที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน และให้หมายความรวมถึงรายจ่ายที่เกิดจากภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีด้วย

29 บททั่วไป - การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ส่วนราชการต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามกฎหมายกฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี - ในกรณีที่การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายใดไม่เป็นไปตามระเบียบนี้อันเป็นเหตุ ให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยเร็ว - หลักฐานการเบิกจ่ายให้ถือปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงิน จากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง

30 บททั่วไป - ค่าใช้จ่ายใดที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือหนังสือเวียนของกระทรวงการคลังกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ให้หัวหน้า ส่วนราชการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวตามรายการและอัตราที่กำหนดไว้ เช่น

31 1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
2. เบี้ยประชุมกรรมการ 3. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ 4. เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสอบแข่งขันบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่หักจาก เงินค่าธรรมเนียมการสอบนั้น 6. ค่าเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ 7. การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ 8. การติดตั้งและการใช้โทรศัพท์ของทางราชการ 9. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

32 หมวด 1 ค่าตอบแทน 1. ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้ส่วนราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายเป็นค่าตอบแทนได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

33 2. ค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายได้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของ ทางราชการ (1) ค่าตอบแทนล่ามในการแปลภาษาท้องถิ่น ภาษาต่างประเทศ หรือภาษามือ (2) ค่าตอบแทนในการแปลหนังสือหรือเอกสาร (3) ค่าตอบแทนในการจัดเก็บหรือสำรวจข้อมูล เฉพาะในช่วงระยะเวลาที่มีการจัดเก็บหรือสำรวจข้อมูล ในกรณีที่ผู้แปล หรือผู้จัดเก็บหรือผู้สำรวจข้อมูล เป็นเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ มิให้ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว

34 หมวด 2 ค่าใช้สอย - ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

35 กระทรวงการคลังได้แจ้งเวียนรายการค่าใช้สอยตามหนังสือ ที่ กค 0406
กระทรวงการคลังได้แจ้งเวียนรายการค่าใช้สอยตามหนังสือ ที่ กค /ว 96 ลว. 16 ก.ย. 2553 ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการระหว่างการรับเสด็จส่งเสด็จ หรือเกี่ยวเนื่องกับการรับเสด็จ ส่งเสด็จ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ค่าจ้างเอกชนดำเนินงานของส่วนราชการ ค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ หรือการประชาสัมพันธ์งานของส่วนราชการ ค่าพานพุ่มดอกไม้ พานประดับพุ่มดอกไม้ พานพุ่มเงิน พุ่มทอง กรวยดอกไม้พวงมาลัย ช่อดอกไม้ กระเช้าดอกไม้ หรือพวงมาลา สำหรับวางอนุสาวรีย์ หรือใช้ในการจัดงานการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่าง ๆ ค่าหรีด หรือพวงมาลา สำหรับสักการะศพ ให้เบิกจ่ายในนามของส่วนราชการเป็นส่วนรวม เฉพาะสักการะศพ ผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือ หรือเป็นผู้เคยทำประโยชน์ ให้แก่ประเทศหรือส่วนราชการจนเป็นที่ประจักษ์ชัด

36 (5) ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการ และให้หมายรวมถึงการประชุมราชการทางไกลผ่านดาวเทียม เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารในกรณีที่มีการประชุมคาบเกี่ยวมื้ออาหาร ค่าเช่าห้องประชุม ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นต้น (6) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกรณีหน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอกเข้าดูงานหรือเยี่ยมชมส่วนราชการ หรือกรณีการตรวจเยี่ยมหรือตรวจราชการตามภารกิจปกติของบุคลากรภายในส่วนราชการ การแถลงข่าวของส่วนราชการ การมอบเงินหรือสิ่งของบริจาค

37 (7) ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินของส่วนราชการ ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือ ชำรุดเสียหายจากการใช้งานปกติ
ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินของส่วนราชการที่ได้รับ ความเสียหาย ซึ่งมิได้เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือชำรุดเสียหายจากการใช้งานปกติ เมื่อส่วนราชการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินการหาผู้รับผิดทางละเมิด ตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่

38 (8) ค่าของขวัญหรือของที่ระลึกที่มอบให้ชาวต่างประเทศ กรณีเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว กรณีชาวต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย ในนามของส่วนราชการเป็นส่วนรวม ค่าของขวัญหรือของที่ระลึกที่มอบให้กรณีหน่วยงาน ที่ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการ หรือกรณีการเยี่ยมชม ส่วนราชการในนามส่วนราชการเป็นส่วนรวม (9) ค่าโล่ ใบประกาศเกียรติคุณ ค่ากรอบใบประกาศเกียรติคุณ ของขวัญ ของรางวัล ของที่ระลึก สำหรับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุ หรือผู้ให้ความช่วยเหลือหรือควรได้รับการยกย่องจากทางราชการ

39 (10) ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเว็บไซต์ และส่วนอื่น ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำเว็บไซต์ (11) ค่าธรรมเนียมในการคืนบัตร เปลี่ยนบัตรโดยสารพาหนะในการเดินทางไปราชการ หรือค่าบัตรโดยสาร ที่ไม่สามารถคืนหรือเปลี่ยนบัตรได้กรณีเลื่อนการเดินทางไปราชการ กรณีส่วนราชการสั่งให้งด หรือเลื่อน การเดินทางไปราชการ และให้รวมถึงกรณีเหตุสุดวิสัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ทั้งนี้ ต้องมิได้เกิดจาก ตัวผู้เดินทาง เป็นเหตุ

40 (12) ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่มิใช่ค่าธรรมเนียมธนาคาร เกี่ยวกับการ ทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อความสะดวกของส่วนราชการที่มิใช่เป็นการร้องขอของผู้มีสิทธิรับเงิน ตามข้อ 18 (5) (13) ค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้เดินทางไปราชการ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ (14) ค่าใช้จ่ายในการใช้สถานที่ชั่วคราวของส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (15) ค่าใช้จ่ายในการประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ของส่วนราชการ (16) ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกำจัดแมลง แมง หนู หรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่คน และให้หมายความรวมถึงการกำจัดเชื้อโรคหรือเชื้อรา ตามส่วนราชการหรือบ้านพักที่ทางราชการ จัดไว้ให้

41 (17) ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารสำหรับผู้ป่วยสามัญ ผู้ป่วย โรคเรื้อน ของสถานบริการของส่วนราชการ หรือสำหรับผู้ถูกควบคุม คุมขัง กักขัง คุมความประพฤติ หรือผู้ที่ถูกใช้มาตรการอื่นใด อันมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด หรืออาหาร นม อาหารเสริม สำหรับเด็กที่อยู่ในการสงเคราะห์ ของทางราชการ หรือหน่วยงานของทางราชการ (18) ค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิก หรือการจัดซื้อหนังสือ จุลสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในราชการ โดยส่วนรวม (19) ค่าบริการในการกำจัดสิ่งปฏิกูล จัดเก็บขยะของส่วนราชการ ค่าบริการในการกำจัดสิ่งปฏิกูล บ้านพักของทางราชการกรณีไม่มีผู้พักอาศัย

42 (20) ค่าผ่านทางด่วนพิเศษ ค่าบริการจอดรถในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ สำหรับรถยนต์ของส่วนราชการตามระเบียบว่าด้วยรถราชการ ซึ่งส่วนราชการได้มาโดยวิธีการซื้อ การยืม หรือรับบริจาค หรือได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศและขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของส่วนราชการนั้น การเช่า หรือรถส่วนตัวของข้าราชการผู้เลือกรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหา รถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับ รถประจำตำแหน่งที่ได้จัดหามาใช้ในการปฏิบัติราชการ

43 (21) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัด ผลิตรายการ และถ่ายทอด ทางสถานีโทรทัศน์ และวิทยุ
(22) ค่าพาหนะกรณีได้รับมอบหมายให้เดินทางไปปฏิบัติราชการ ซึ่งส่วนราชการไม่สามารถจัดรถยนต์ส่วนกลางให้ได้ (23) ค่าตรวจสอบเพื่อการรับรองระบบการทำงานหรือมาตรฐานการทำงาน (24) ค่าระวาง บรรทุก ขนส่งพัสดุหรือพัสดุภัณฑ์ของ ส่วนราชการ ยกเว้น ค่าระวาง บรรทุก ขนส่งพัสดุหรือพัสดุภัณฑ์ ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ

44 (25) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้พัสดุที่ยืมจากหน่วยงานอื่นเพื่อใช้ ปฏิบัติราชการกรณีจำเป็นเร่งด่วนเป็นการชั่วคราว (26) ค่าตรวจร่างกายของบุคลากรเพื่อตรวจหาสารกัมมันตภาพรังสี และเชื้อเอชไอวี จากการปฏิบัติงานตามภารกิจปกติ และไม่ถือเป็นสวัสดิการ การรักษาพยาบาลที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่จะใช้สิทธิเบิกจ่ายตาม กฎหมายเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล (27) ค่ารักษาพยาบาลและค่าตรวจสุขภาพสัตว์ สำหรับหน่วยงานที่มี ภารกิจปกติในการดูแลสัตว์

45 1) ค่าจัดทำสมุดบันทึก สมุดฉีก หรือของชำร่วย เนื่องในโอกาสต่างๆ
- ค่าใช้สอยดังต่อไปนี้ มิให้เบิกจ่าย 1) ค่าจัดทำสมุดบันทึก สมุดฉีก หรือของชำร่วย เนื่องในโอกาสต่างๆ 2) ค่าจัดพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าฝากส่งเป็นรายเดือน สำหรับบัตรอวยพร ในเทศกาลต่างๆ และค่าจัดพิมพ์นามบัตรให้กับบุคลากรภายในส่วนราชการ 3) ค่าพวงมาลัย ดอกไม้ ของขวัญ หรือของเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อมอบให้ กับส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน บุคคล เนื่องในโอกาสต่าง ๆ 4) ค่าทิป 5) เงินหรือสิ่งของบริจาค 6) ค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรมนันทนาการ ภายใน ส่วนราชการ ค่าใช้สอยที่ไม่ให้เบิกจ่ายนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

46 - ค่าใช้จ่ายในการเช่าอาคารและที่ดิน รวมทั้งค่าบริการอื่นใดที่เกี่ยวกับ การเช่าให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามอัตรา ดังนี้ (1) การเช่าอาคารเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน เก็บเอกสารหรือพัสดุ ต่าง ๆ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราตารางเมตรละห้าร้อยบาท ต่อเดือน หรือในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นต้องเช่าในอัตราเกินตารางเมตร ละห้าร้อยบาทต่อเดือน ให้เบิกจ่ายในวงเงินไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อเดือน (2) การเช่าที่ดินเพื่อใช้ในราชการ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน อัตราห้าหมื่นบาทต่อเดือน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตาม (1) หรือ (2) เกินอัตราที่กำหนดไว้ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ อัตราที่เบิกจ่ายต้องไม่สูงกว่าอัตราตามท้องตลาด และต้องบันทึกเหตุผล ที่ต้องเบิกจ่ายในอัตรานั้นไว้ด้วย

47 - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในชั้นศาล การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง - ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหาย ยื่นคำขอให้ส่วนราชการชดใช้ กรณีที่เจ้าหน้าที่ ของส่วนราชการได้กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ในการปฏิบัติหน้าที่ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่าย โดยปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการนั้น

48 หมวด 3 ค่าวัสดุ - ค่าวัสดุตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ ของสำนักงบประมาณ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เว้นแต่ รายการต่อไปนี้ ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดหรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง (1) ค่าเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายที่จัดให้เจ้าหน้าที่ไว้ใช้ ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (2) ค่าเครื่องแบบยามรักษาการณ์ (3) ค่าวัสดุที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน

49 หมวด 4 ค่าสาธารณูปโภค - ค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค ดังต่อไปนี้ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ ของทางราชการ 1) ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ของส่วนราชการ และบ้านพักราชการที่ไม่มีผู้พักอาศัย ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง ในกรณีมีผู้พักอาศัยให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่าย ตามมติคณะรัฐมนตรี หรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด 2) ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าฝากส่งไปรษณีย์ ค่าบริการไปรษณีย์ตอบรับ ค่าดวงตราไปรษณีย์ หรือค่าเช่าตู้ไปรษณีย์

50 4) ค่าเช่าพื้นที่เว็บไซต์ และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
3) ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ระบบและค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ต ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม ค่าสื่อสารผ่านดาวเทียม ค่าวิทยุสื่อสาร วิทยุติดตามตัว เป็นต้น 4) ค่าเช่าพื้นที่เว็บไซต์ และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง 5) ค่าธรรมเนียมธนาคารเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อความสะดวกของส่วนราชการที่มิใช่เป็นการร้องขอ ของผู้มีสิทธิรับเงิน

51 หมวด 5 บทเฉพาะกาล - บรรดาความตกลงที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มิได้กำหนดไว้ ในระเบียบนี้ และมีอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้มีผล ใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง - การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายใดที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ หรือ แนวทางการปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงการคลังใด ที่กำหนดไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางการปฏิบัตินั้นต่อไป จนแล้วเสร็จ

52 ค่าใช้จ่าย ที่กำหนดโดยกฎหมาย

53 พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547

54 เบี้ยประชุมกรรมการ ยกเลิก
พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป) ยกเลิก 1. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523 2. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523 3. มติ ครม. กำหนดเงินสมนาคุณรายเดือน

55 คณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม
แต่งตั้งโดย (1) ก.ม. /ประกาศพระบรมราชโองการ (2) ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนฯ ประธานวุฒิสภา (3) คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ครม. (4) นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล (5) คณะกรรมการ คณะกรรมการ (1) – (4) คณะอนุกรรมการ (1) – (5)

56 ลักษณะเบี้ยประชุม กรรมการ (1) รายเดือน : (2) รายครั้ง :
แต่งตั้งโดย ก.ม. ประกาศพระบรมราชโองการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง กำหนดนโยบายซึ่งมีผลกระทบ ต่อการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม ในภาพรวมของประเทศ - รายชื่อและอัตราตามที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - แต่งตั้งโดย กม. ประกาศพระบรมราชโองการ นอกจาก (1) - โดยประธานรัฐสภา ประธานสภา ผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา โดย ค.ร.ม. นายก หรือ ร.ม.ต. ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.

57 ลักษณะเบี้ยประชุม (ต่อ)
อนุกรรมการ (1) รายเดือน : คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ได้รับรายเดือน มีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญพิเศษ ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - คณะอนุกรรมการนอกจาก (1) อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม ให้ได้รับเฉพาะ บุคคลต่างส่วนราชการและบุคคลภายนอก

58 อัตราเบี้ยประชุม รายเดือน
- ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังประกาศกำหนด - ได้รับเฉพาะเดือนที่เข้าร่วมประชุม รายครั้ง - กรรมการ ครั้งละไม่เกิน 1,200 บาท - อนุกรรมการ ” บาท - ประธานเพิ่ม 1 ใน 4 - รองประธานเพิ่ม 1 ใน 8 - เลขานุการไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน

59 ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และเฉพาะที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยกฎหมาย/ประกาศพระบรมราชโองการ

60 ต้องมีกรรมการ อนุกรรมการ มาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุมและ มีสิทธิเบิกเบี้ยประชุม

61 กรณีกรรมการหรืออนุกรรมการแต่งตั้ง โดยตำแหน่ง ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทน โดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ให้ถือว่า ผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ ให้นับเป็น องค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม

62 โดยระเบียบกระทรวงการคลัง
ค่าใช้จ่ายที่กำหนด โดยระเบียบกระทรวงการคลัง

63 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่าย เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550

64 “ข้าราชการ” หมายความว่า
- ข้าราชการพลเรือน - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา - ข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ - ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา - ข้าราชการรัฐสภา - ข้าราชการตำรวจ - ข้าราชการทหาร

65 “เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดยลักษณะงาน ส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงาน หรือ โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอก ที่ตั้งสำนักงานและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน และหรือ โดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัด หรือกะและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน”

66 “การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ปกติของ ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน ดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการปกติของ ข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาหยุดพัก)”

67 ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณก่อนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น และให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและ วิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยยังไม่ได้รับอนุมัติให้ขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า และให้แจ้งเหตุ แห่งความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้

68  ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทาง ไปราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนนอกเวลาราชการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทาง ไปราชการนั้นเสร็จสิ้นหรือเสร็จสิ้น การฝึกอบรมในแต่ละวันและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน ให้เบิกเงินตอบแทนได้

69 การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ไม่เกิน วันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกเงินค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

70 กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นครั้งคราวหรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติ โดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

71  การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น  การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการสำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว

72 การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ ไม่อาจเบิกเงินตอบแทน
การอยู่เวรรักษาการณ์ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติหรือตามระเบียบหรือคำสั่ง ที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการไม่เต็มจำนวนชั่วโมง

73 ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ มีสิทธิได้รับ เงินตอบแทนฯ ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้นำหลักเกณฑ์และอัตราเงินตอบแทนตามระเบียบนี้มาใช้ โดยอนุโลม

74 พนักงานราชการมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนฯ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ และประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3)

75  กรมบัญชีกลางได้กำหนดแบบฟอร์มประกอบการเบิกจ่ายเงินตอบแทน ซึ่งส่วนราชการอาจกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบฟอร์มได้ตามความเหมาะสม

76 ค่าใช้จ่ายที่กำหนด โดยมติคณะรัฐมนตรี

77 การทำประกันภัยของภาคราชการ
 การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ  การประกันภัยรถราชการ

78 หลักเกณฑ์ •ถือหลักประกันตนเอง
สถานที่ราชการภายในประเทศ •ถือหลักประกันตนเอง •เว้นแต่ สถานที่ราชการหรือทรัพย์สินของ รัฐวิสาหกิจที่มีคลังเก็บสิ่งของหรือโรงงานที่อาจ เสียหายมาก เมื่อเกิดอัคคีภัยให้ประกันภัยได้ สถานที่ราชการในต่างประเทศที่เป็นกรรมสิทธิ์ ของรัฐบาลให้ประกันได้

79 การประกันภัยรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ
•รถยนต์ส่วนกลางและรถประจำตำแหน่งให้ประกันได้ในแบบคุ้มครองบุคคลที่ 3 หรือตามที่กฎหมายประเทศนั้นกำหนด •หากจำเป็นต้องทำประกันภัยแตกต่างไปจากที่กล่าวเนื่องจากสถานการณ์ในประเทศนั้นไม่ปลอดภัยฯ ให้ประกันได้ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ •สถานฑูต สถานกงสุลที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีเขตแดน ติดกับประเทศไทย ให้ทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยในประเทศไทยได้ โดยคุ้มครองความเสียหายถึงประเทศนั้น

80 • หากจะประกันภัยทรัพย์สินอื่น ๆ ให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐพิจารณา
องค์ประกอบคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรมการประกันภัย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมธนารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ

81 อำนาจหน้าที่ -กำหนดขอบเขตการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินอื่น -กำหนดความหมายของ “ทรัพย์สินของ ทางราชการ”และ “สถานที่ราชการ” -พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องที่ส่วนราชการเสนอขอจัดเอาประกันภัย -เชิญเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ เข้าร่วมพิจารณาหรือชี้แจงแสดงความคิดเห็นต่อ คณะกรรมการ

82 การประกันภัยรถราชการ
หลักเกณฑ์ รถราชการ หมายถึง รถราชการตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ รถส่วนกลาง รถประจำตำแหน่ง รถรับรอง รถรับรองประจำจังหวัดและรถอารักขา - ที่ได้มาโดยการซี้อ รับบริจาคหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ - และขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์แล้ว

83 - ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับภารกิจ
 ประเภทภาคบังคับ ส่วนราชการต้องจัดทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535  ประเภทภาคสมัครใจ - ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับภารกิจ - เสนอเรื่องขออนุมัติต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนการเบิกจ่าย

84 หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใช้ดุลพินิจเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการทำประกันภัย
เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ งบดำเนินงาน ลักษณะค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ หรืองบอื่นๆ ที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน หรือเงินรายรับประเภทอื่นที่มิใช่เงินงบประมาณ เช่น เงินรายได้ เงินบำรุง เป็นต้น

85 รถที่ไม่สามารถจัดทำประกันภัยได้
รถยนต์ที่ส่วนราชการจัดหาโดยการเช่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 รถยนต์ส่วนตัวของข้าราชการผู้ที่เลือกรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 รถราชการของส่วนราชการในต่างประเทศให้ถือปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548

86 การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่าย แทนการจัดหารถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิ ได้รถประจำตำแหน่ง

87 หลักเกณฑ์ 1. ต้องเป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการ รองหัวหน้า ส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นไป ผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง

88 ข้าราชการประจำในต่างประเทศ ได้แก่ เอกอัครราชทูต อัครราชทูต อัครราชทูตที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษ กงสุลใหญ่ และหัวหน้าสำนักงานในต่างประเทศ หัวหน้าส่วนราชการอาจพิจารณาจัดสรรรถประจำตำแหน่งสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิในระดับ 11 และระดับ 10 - ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับการจัดรถประจำตำแหน่งมาแล้ว - และได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้รับผิดชอบงานด้านบริหารที่มีอำนาจการบังคับบัญชาได้

89 ข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม
ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยรถราชการ พ.ศ ได้แก่ -นายทหารยศชั้นนายพลดำรงตำแหน่งตั้งแต่เจ้ากรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป -นายทหารยศชั้นนายพล พันเอก นายาเอก นาวาอากาศเอก ที่รับเงินเดือนอัตราพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษและนาวาอากาศเอกพิเศษซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรอง ผู้ช่วย และ เสนาธิการหรือเทียบเท่าตำแหน่งข้างต้น -นายทหารชั้นยศนายพลที่เทียบกับข้าราชการของส่วนราชการนอกกระทรวงกลาโหม ซึ่ง ค.ร.ม. อนุมัติให้ได้รับรถประจำตำแหน่ง

90 2. อัตราการจ่าย ระดับรองอธิบดีหรือเทียบเท่า 25,400 บาท/คน/เดือน
ระดับรองอธิบดีหรือเทียบเท่า 25,400 บาท/คน/เดือน ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่า 31,800 บาท/คน/เดือน ระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า 41,000 บาท/คน/เดือน

91 3. ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิเป็นผู้เลือกว่าจะใช้รถประจำตำแหน่งหรือรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ
3.1 ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสามารถใช้สิทธิเลือกได้ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค (ครม. มีมติ) ทั้งกรณีเลือกรับรถประจำตำแหน่งหรือรับเงินค่าตอบแทนฯ โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อใช้สิทธิเลือกแล้ว จะเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเลื่อนระดับหรือโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ กรณีรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีสิทธิฯ อยู่ก่อนและหลังมติ ครม. ในครั้งนี้ คงต้องถือปฏิบัติตามสิทธิที่เลือกไว้เดิม

92 3. 2 ผู้มีสิทธิที่จะเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ. ศ
3.2 ผู้มีสิทธิที่จะเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ.ศ แต่ได้เลือกรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ ก่อนแล้ว หากประสงค์ขอให้หน่วยงานจัดรถประจำตำแหน่งให้ หากส่วนราชการไม่มีรถให้ดำเนินการจ้างเหมาบริการโดยทำสัญญาไม่เกิน ปีงบประมาณ 4. เมื่อเลือกรับเงินแล้ว ให้ข้าราชการจัดหารถยนต์ส่วนตัว ที่เหมาะสมกับเกียรติและฐานะที่ดำรงอยู่มาใช้ในการปฏิบัติ ราชการ

93 5. ห้ามนำรถยนต์ส่วนกลางหรือรถประจำตำแหน่งของส่วนราชการมาใช้ในการปฏิบัติราชการ หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดวินัย ยกเว้น กรณีได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ 6. การเปลี่ยนแปลงประเภทรถ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ ข้อ 9 7. เบิกจ่ายเงินฯ ตามที่สำนักงบประมาณกำหนด (งบดำเนินงานลักษณะค่าตอบแทน)

94 ค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน ตามภารกิจปกติ ให้หัวหน้า ส่วนราชการใช้ดุลพินิจ เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง

95 ที่ กค 0502 / ว 101 ลว. 10 ก.ค. 2533 จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันในหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและ วัสดุ หรือ หมวดอื่นๆ ที่เบิกจ่ายในลักษณะหมวดดังกล่าว กรณีที่ไม่มี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ค.ร.ม. หรือ รายการที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้จ่ายในเรื่องนั้นๆ ไว้แล้ว ดุลยพินิจ หนส.ราชการอนุมัติจ่ายได้ เท่าที่จ่ายจริง จำเป็น ประหยัด ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหน่วยงาน

96 ที่ กค / ว ลว. 5 ส.ค. 2540 ค่าใช้จ่ายในหมวดค่าตอบแทน ฯลฯ หรือหมวดอื่น ฯลฯ ให้เป็นไปตามการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ การมอบหมาย เป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ค่าใช้จ่ายที่ หน. ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ไม่สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาต ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่หลักโดยตรง ตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายจาก ค.ร.ม.

97 ค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงาน
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537 เรื่อง การกำหนดอัตรากำลังคน เป็นมาตรการกำหนดขนาดกำลังคนภาครัฐ โดยให้ ส่วนราชการทบทวนงานที่สามารถถ่ายโอนให้เอกชนรับไปดำเนินการแทน -มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เรื่อง มาตรการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ : ลูกจ้างประจำ โดยให้ยุบเลิกตำแหน่งลูกจ้างประจำในหมวดแรงงานเมื่อตำแหน่งว่างลง

98 หนังสือสั่งการ - ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 131 ลว. 28 ธ.ค. 41 เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงานของ ส่วนราชการ - ที่ กค /ว 86 ลว. 17 ก.พ. 48 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงานของส่วนราชการ - ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 67 ลว. 14 ก.ค. 53 เรื่อง การจ้างเอกชนดำเนินงาน - ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 337 ลว. 17 ก.ย. 53 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจ้างเอกชนดำเนินงาน

99 ว 131 ลว. 28 ธ.ค. 41 ส่วนราชการจำเป็นต้องจ้างเอกชนดำเนินงาน
 ไม่มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นงาน/โครงการใหม่ มีผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถแล้วเสร็จตามกำหนด เนื่องจาก - ปริมาณงานมาก - ตำแหน่งว่างลง/ถูกยุบเลิก  วิธีการจ้างให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

100 ว 86 ลว. 17 ก.พ. 48 ไม่ถือเป็นการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ เป็นการจ้างทำของ ไม่ถือเป็นการจ้างแรงงาน ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะ “นายจ้าง – ลูกจ้าง” ไม่ต้องนำเงินส่งสมทบกองทุนประกันสังคม มุ่งผลสำเร็จของงานที่จ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด

101 ค่าตอบแทนอื่น ๆ ค่าล่วงเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต้องกำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
ส่วนราชการผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุม บังคับบัญชา มีอำนาจเพียงตรวจตรางาน สั่งปรับปรุงแก้ไข ไม่อยู่ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับตามที่ลูกจ้างของทางราชการต้องปฏิบัติ

102 ว 67 ลว. 14 ก.ค. 53 และ ว 337 ลว. 17 ก.ย. 53 จ้างเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ หากเป็นการจ้างบุคคลธรรมดาให้จ้างได้เฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงานโดยไม่จำต้องทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาจ้างเต็มปีงบประมาณและห้ามมิให้ทำข้อตกลงหรือสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง

103 “ไม่จำต้องทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาจ้างเต็มปีงบประมาณ” หมายถึง ให้คำนึงถึงระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญหากประสงค์ จะจ้างระยะเวลา ไม่เต็มปีงบประมาณ ก็ให้ทำสัญญาหรือข้อตกลง ตามระยะเวลาปฏิบัติงานจริง หากใช้ระยะเวลา เต็มปีงบประมาณก็สามารถทำสัญญาหรือตกลง เต็มปีงบประมาณได้

104 “มิให้ข้อตกลงหรือสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง” หมายถึง การทำสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญารายเดิมภายหลังสัญญาหรือข้อตกลงสิ้นสุดลง โดยมิได้ดำเนินการกระบวนการจัดหาใหม่ จะไม่สามารถกระทำได้ แต่หาก ได้ดำเนินกระบวนการจัดหาใหม่แล้ว ปรากฏว่า ผู้รับจ้าง รายเดือนได้รับการคัดเลือก ก็สามารถจะทำสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้รับจ้างรายดังกล่าวต่อไปได้ โดยไม่ถือว่า เป็นการสัญญาหรือข้อตกลงในลักษณะต่อเนื่อง

105 ลักษณะงานที่จ้างควรเป็นงานที่ส่วนราชการซื้อบริการเป็นรายชิ้น
ห้ามจ้างงานที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการหรืองาน ซึ่งหากมีการเผยแพร่ข้อมูล จะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ หรือ งานที่มีลักษณะของการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชน กรณีที่ส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องจัดหาบุคคลมาปฏิบัติงาน การประจำ ในลักษณะเดียวกับข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หรือ พนักงานราชการ ให้ดำเนินการจ้างในลักษณะจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงิน นอกงบประมาณ โดยการจ้างดังกล่าวต้องไม่ขัดกับระเบียบเงินนอก งบประมาณแต่ละประเภท หรือขออนุมัติกรอบอัตราพนักงานราชการ จากสำนักงาน ก.พ.

106 ผู้รับจ้างไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ลูกจ้าง ของส่วนราชการถือปฏิบัติ
ผู้รับจ้างไม่มาปฏิบัติงาน อาจหาผู้อื่นมาทำงานแทน หรือบอกกล่าวล่วงหน้า หากเกิดความเสียหายเนื่องจากไม่มาทำงาน อาจกำหนดค่า ปรับสำหรับความเสียหายนั้น อัตราค่าจ้างไม่จำต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา ให้พิจารณาจาก ความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับงานที่แท้จริงหรือ อัตราตลาด

107 การจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลงหรือสัญญาจ้างจะจ่ายได้ เมื่อมีการตรวจรับงานจ้างโดยคณะกรรมการตรวจรับ เงินแล้ว หากผู้รับจ้างประสงค์จะได้รับประโยชน์ของผู้ประกันตน สามารถสมัครได้ ตาม ม. 40 ของกฎหมายว่าด้วย ประกันสังคม หากมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและราชการได้รับ ความเสียหายให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยเร็ว

108 ข้อแตกต่าง สัญญาจ้างทำของ สัญญาจ้างแรงงาน มุ่งผลสำเร็จของงาน ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจ ควบคุมบังคับบัญชา ไม่ต้องร่วมรับผิด ทางละเมิดต่อบุคคลอื่น มุ่งเน้นแรงงาน ผู้ว่าจ้างมีอำนาจ ควบคุมบังคับบัญชา ร่วมรับผิดทางละเมิด ต่อบุคคลอื่นใน มีสวัสดิการตาม กฎหมายประกันสังคม

109 การเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ
ตามระเบียบฯ หัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจ เบิกจ่ายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม หลักเกณฑ์ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 102 ลงวันที่ 29 มิ.ย. 2548 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหาร - ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการ จัดประชุม เช่น ค่าเช่าห้องประชุม ค่าดอกไม้ตกแต่งสถานที่ เป็นต้น

110 (ข้อ 12) 5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ไม่ได้กำหนดไว้ ในระเบียบนี้
5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ไม่ได้กำหนดไว้ ในระเบียบนี้  ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ เบิกจ่ายตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

111 (ข้อ 13) 6. ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณกำกับดูแลการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบ หากเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามระเบียบและทางราชการ ได้รับความเสียหายให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

112 ขอบคุณและสวัสดี นางนิโลบล แวววับศรี นิติกรเชี่ยวชาญ สำนักกฎหมาย โทร Fax E – mail


ดาวน์โหลด ppt การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google