งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร.มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ

2 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
Topics การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา Anemia Thalassemia Hemophilia การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางนีโอพลาสซึม Leukemia Lymphoma Wilm’s tumor Neuroblastoma

3 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
Anemia Thalassemia Hemophilia

4 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
เลือด (Blood) ส่วนประกอบของเลือด ของเหลว : Plasma เม็ดเลือด เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte or Red Blood Cell) เม็ดเลือดขาว (Leukocyte or White Blood Cell) เกล็ดเลือด (Thrombocyte or Platelet)

5 ANEMIA (1) ไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia) สาเหตุ พยาธิสภาพ
อาการและอาการแสดง การวินิจฉัย การรักษา: แบบประคับประคอง การรักษาเฉพาะ การปลูกถ่ายไขกระดูก

6 ANEMIA (2) วินิจฉัยการพยาบาล
1. เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะซีดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้หรือสร้างได้ลดลง 2. เลือดออกได้ง่ายเนื่องจากกลไกการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ จากเกล็ดเลือดต่ำ 3. เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงและได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 4. เด็กและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากเป็นโรคเรื้องรังต้องเข้ารับการรักษาในรพ.บ่อยครั้ง ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวและมีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์จากการได้รับยา

7

8 Thalassemia (1) หมายถึงโรคโลหิตจางแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างสายโกลบิน พยาธิสภาพ อัลฟ่าธาลัสซีเมีย (∞ - Thalassemia) เบต้าธาลัสซีเมีย (ß - Thalassemia)

9 Thalassemia (2)

10 Thalassemia (3) อาการและอาการแสดง ความรุนแรงของโรค
เม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง ; โพรงกระดูกขยายตัว ; ตับม้ามโต ; การเจริญเติบโตช้า ; ผิวหนังสีเทาอมเขียว ; หัวใจโต ; Hemolysis crisis ; ภาวะแทรกซ้อน ความรุนแรงของโรค ชนิดรุนแรง (Thalassemia Major) ชนิดรุนแรงปานกลาง (Thalassemia Intermedia) ชนิดรุนแรงน้อย (Thalassemia Minor)

11 Thalassemia (4) การวินิจฉัยโรค การรักษา ประวัติและการตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอด การรักษา การให้เลือด การให้ยาขับเหล็ก การปลูกถ่ายไขกระดูก การให้คำปรึกษาทางพันธุ์ศาสตร์ (ก่อนตั้งครรภ์)

12 Thalassemia (5)

13 Thalassemia (6)

14 Thalassemia (7)

15 Thalassemia (8)

16 Thalassemia (9) วินิจฉัยการพยาบาล
1. เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซีดจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง 2. เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเรื้อรังทำให้กระบวนการสร้างภูมิต้านทานของร่างกายลดลง และการทำงานของม้ามในการกำจัดเชื้อโรคลดลง 3. มีภาวะเหล็กเกินเนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง การได้รับเลือดบ่อยและลำไส้มีการดูดซึมธาตุเหล็กมากขึ้น ทำให้เหล็กไปจับตามอวัยวะต่างๆ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง 4. เด็กและญาติมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และมีการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์

17

18 แบ่งเป็น 3 ชนิด : Hemophilia A, Hemophilia B, Hemophilia C พยาธิสภาพ
เป็นโรคเลือดออกง่ายหยุดยาก เรื้อรังตลอดชีวิต ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากการขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด แบ่งเป็น 3 ชนิด : Hemophilia A, Hemophilia B, Hemophilia C พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง: ชนิด A จะคล้ายกับ ชนิด B การตรวจวินิจฉัย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

19 Hemophilia (2) การรักษา
ให้ส่วนประกอบของเลือด (Replacement Therapy) : FFP, cryoprecipitate (Factor 8 แยกส่วน ใช้กับ ผู้ป่วย Hemophilia A), FDP, Plasma etc. รักษาอาการเลือดออกเฉพาะที่ ให้ Corticosteroid ในรายที่มีเลือดออกในข้อ ช่วยลดการอักเสบ ให้คำปรึกษาทางด้านพันธุกรรม ปลูกถ่ายตับ

20 Hemophilia (3) วินิจฉัยการพยาบาล
1 มีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เนื่องจากกระบวนการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ 2 เสี่ยงต่อการเกิดข้อพิการ เนื่องจากมีเลือดออกในข้อทำให้เกิดการเจ็บปวด ข้ออักเสบของกระดูกและเอ็นรอบๆ ข้อ เกิดพังผืด และการดึงรั้ง 3 เด็กและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังต้องเข้ารับการรักษาในรพ.บ่อยครั้งและถูกจำกัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว และขาดความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง

21

22 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางนีโอพลาสซึม
Leukemia Lymphoma Wilm’s Tumor Neuroblastoma

23 Leukemia (1)

24 มะเร็งเม็ดเลือดขาว: ALL สาเหตุ การแบ่งชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
Leukemia (2) มะเร็งเม็ดเลือดขาว: ALL สาเหตุ การแบ่งชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว พยาธิภาพ อาการและอาการแสดง อาการที่เกิดจากไขกระดูกถูกกด อาการและอาการแสดงที่เกิดจากเซลล์มะเร้งเม็ดเลือดขาวลุกลามไปในอวัยวะอื่นๆ การวินิจฉัยโรค

25 Leukemia (3) การรักษา โดยใช้ยาเคมีบำบัด : .การชักนำให้โรคสงบ ให้การรักษาเข้มข้น การป้องกันการเกิดมะเร็งเม็ดเชือดขาวใน CNS การรักษาเพื่อให้โรคสงบอยู่ต่อไป การหยุดการรักษา การปลูกถ่ายไขกระดูก การรักษาแบบประคับประคอง

26 วินิจฉัยการพยาบาล Leukemia (4)
1. เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงต่ำจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเข้าไปกดการทำงานของไขกระดูก 2. เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากไขกระดูกถูกกดการทำงานทำให้สร้างเม็ดเลือดขาวลดลง และผลข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัด 3. เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำจากไขกระดูกถูกกดการทำงานจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวลุกลามเข้าไปในไขกระดูก และจากการได้รับยาเคมีบำบัด 4. ภาวะโภชนาการเปลี่ยนแปลงได้รับสารอาหารน้อย เนื่องจากมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้นจากการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีเยื่อบุในปากอักเสบ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน จากการได้รับยาเคมีบำบัด

27 วินิจฉัยการพยาบาล (ต่อ)
Leukemia (5) วินิจฉัยการพยาบาล (ต่อ) 5. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด 6. เด็กและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วยเป็นโรคคุกคามต่อชีวิต ขาดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินของโรค การรักษาและการดูแล และภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลงจากการได้รับยาเคมีบำบัด

28 Lymphoma (1) Malignant Lymphoma หมายถึง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ในต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของอวัยวะในระบบน้ำเหลือง โดยทั่วไปพบในผู้ใหญ่ > เด็ก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม Hodgkin’s Disease (HD) Non-Hodgkin’s Lymphoma (NHL) พบบ่อยที่สุดในเด็ก Burkitt’s Lymphoma สาเหตุ : ไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่าภาวะติดเชื้อไวรัส Ebstein - Bar Virus (EBV) ทำให้เป็น Burkitt’s Lymphoma, ได้รับยากดภูมิเป็นระยะเวลานาน

29 Lymphoma (2) พยาธิสภาพ : ตำแหน่งที่พบบ่อย คือต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Cervical Lymph Node) อาการและอาการแสดง Hodgkin’s Disease มีการต่อมน้ำเหลืองโตมาเป็นปี ไม่มีอาการเจ็บปวด Non-Hodgkin’s Disease มีอาการรวดเร็วและรุนแรงกว่า Hodgkin มักมารพ.เมื่อมีการกระจายไปทั่วร่างกายแล้ว อาจมีก้อนที่ช่องท้อง ช่องทรวงอก หรือในระบบประสาท Burkitt’s Lymphoma มีลักษณะพิเศษ คือ มีต้นกำเนิดจาก B-cell (B Lymphocyte) มีการแทรกกระจายในเนื้อเยื่อ มีก้อนเนื้องอกโตเร็วมากมักพบเฉพาะที่ เช่น ช่องท้อง รอบกระดูกขากรรไกร

30 Lymphoma (3) การแบ่งระยะของโรค
Stage I : เป็นกับต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียว หรือ กลุ่มเดียว Stage II : เป็นกับหลายต่อมน้ำเหลือง แต่อยู่ด้านเดียวกับกระบังลม Stage III : เป็นกับต่อมน้ำเหลืองสองทั้งข้างของกระบังลม หรือเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นอีก 1 แห่ง Stage IV : เป็นที่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ทั้งในต่อมน้ำเหลือง และนอกต่อมน้ำเหลือง เช่น ตับ ปอด ไขกระดูก ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น

31 Lymphoma (4) การรักษา ขึ้นกับระยะของโรค
Stage I, II, III ให้รังสีรักษาเป็นหลักและถ้าผู้ป่วยกลับมาอีกครั้งจะให้เคมีบำบัด หรืออาจให้เคมีบำบัดสลับกับรังสีรักษา หรือเคมีบำบัดและทำการปลูกถ่ายไขกระดูก Stage IV จะให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก ร่วมกับรังสีรักษาในบริเวณที่ก้อนโตมาก เพื่อบรรเทาอาการ

32 Wilm’s tumor (1) หรือ Nephroblastoma หมายถึง มะเร็งของไต เป็นภาวะเนื้อไตชั้น parenchyma มีการเจริญผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต สาเหตุ : ไม่แน่นอน แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อผิดปกติตั้งแต่ระยะที่ทารกเป็นตัวอ่อน (Embryo) พยาธิสภาพ ะ ก้อนจะใหญ่มาก และโตเร็วอยู่ภายในเนื้อไต ฉีกขาดง่าย และลามไปหลอดเลือดในไตได้ (ปัสสาวะมีเลือดออก) อาการและอาการแสดง : คลำพบก้อนที่ท้อง (พบบ่อย) ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่เจ็บปวด ซีด ปวดท้อง มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง

33 Wilm’s tumor (2) การวินิจฉัย
ซักประวัติ : ปัสสาวะเป็นเลือดสด น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ตรวจร่างกาย : คลำได้ก้อนที่ท้อง ตรวจทางห้องปฏิบัติการ : WBC ต่ำ ตรวจ IVP (Intravenous pyelogram) พบไตข้างที่เป็นจะใหญ่กว่าปกติ กรวยได (Calyx) บิดเบี้ยวหรืออยู่ผิดที่ หรือพบสารที่ฉีดเข้าไปไม่ถูกขับออกมาเนื่องจากก้อนเนื่องงอกอุดกั้นอยู่ การรักษา หายได้ประมาณ 75-80% ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและการตอบสนองต่อการรักษา ผ่าตัดเอาก้อนออก รังสีรักษา เคมีบำบัด

34 หมายถึง มะเร็งของเซลล์ประสาท ชนิดก้อนที่พบมากในเด็กเล็ก
Neuroblastoma (1) หมายถึง มะเร็งของเซลล์ประสาท ชนิดก้อนที่พบมากในเด็กเล็ก สาเหตุ : ไม่ทราบแน่นอน แต่สันนิษฐานว่าอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พยาธิสภาพ : เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ประสาทอ่อน (Neural Crest) มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลา อาการและอาการแสดง มีก้อนที่ช่องท้อง หรือส่วนอื่นๆ เช่น ในช่องอก ก้อนบริเวณหลังลูกตา (ทำให้ความดันในลูกตาสูง ตาโปน) อาการทั่วไป มีไข้ น้ำหนักลด

35 Neuroblastoma (2) การวินิจฉัย
การเจาะไขกระดูก พบเซลล์มะเร็ง มีการรวมตัวเฉพาะเรียกว่า “Rosette Formation” ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ เม็ดเลือดแดงต่ำ (ซีด) เกล็ดเลือดต่ำ ตรวจปัสสาวะ 24 ชม. พบสาร VMA สูง *VMA (Vanilmandelic Acid) เป็นเมตาบอไลท์ของฮอร์โมนอีพิเนฟริน (Epinephrine) และ นอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรคเนื้องอกของอะดรีนาลเมดุลลา IVP พบขนาดของไตข้างที่เป็นมะเร็งปกติ กรวยไตปกติ การขับสารทึบแสงออกปกติ แต่จะพบไตจะถูกดันต่ำลงมา

36 Neuroblastoma (3) การรักษา การผ่าตัด
ให้รังสีรักษา หลังผ่าตัด (กรณีผ่าออกไม่หมด) ให้เคมีบำบัด การปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด

37 วินิจฉัยการพยาบาลเด็กโรคมะเร็ง (1)
1. มีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เนื่องจากภาวะซีด 2. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ 3. เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำเพราะมีปริมาณเลือดขาวต่ำ 4. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือด เช่น อาการไข้ หนาวสั่น อาการแพ้เลือด การติดเชื้อที่ปนมากับเลือด

38 วินิจฉัยการพยาบาลเด็กโรคมะเร็ง (2)
5. มีความไม่สุขสบายและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด 6. มีความไม่สุขสบายและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาการข้างเคียงของรังสีรักษา 7. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารน้ำ สารอาหาร เนื่องจากอาการคลื่นไส้อาเจียน และ/หรือเจ็บแผลในปาก 8. มีความเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกายจากพยาธิสภาพของโรค 9. ผู้ป่วยเด็กและบิดามารดา/ผู้เลี้ยงดู มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย

39 References คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.(2553). ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน. พรทิพย์ ศิริบูรณพิพัฒนา.(2552). การพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่7) โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด. คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2554). เอกสารการสอนชุดวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น หน่วยที่ 6-10 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่1). นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

40 Thank you for attention


ดาวน์โหลด ppt การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google