การพัฒนาศูนย์พึ่งได้ (OSCC) ปรีติ สำราญทรัพย์ สำนักบริหารการสาธารณสุข
หัวข้อการบรรยาย 1. สถานการณ์ความรุนแรงในเด็กและสตรีในปี 2559 2. การพัฒนาระบบข้อมูลเด็กและสตรี 3. คำจำกัดความ ความหมาย ในแบบบันทึกการช่วยเหลือผู้ที่ถูก กระทำรุนแรงและผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ปีงบประมาณ 2560 4. การใช้โปรแกรมฐานข้อมูลการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ปีงบประมาณ 2560
1. สถานการณ์ความรุนแรงในเด็กและสตรี ในปี 2559
จำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ จำแนกตามสถานะเด็กและสตรี จำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ จำแนกตามสถานะเด็กและสตรี ปี จำนวนเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง (ราย) จำนวนสตรี ที่ถูกกระทำรุนแรง (ราย) จำนวนเด็กและสตรี (รวม) เฉลี่ยการถูก ทำร้าย 2555 9,703 10,869 20,572 56 ราย/วัน 2556 19,229 12,637 31,866 87 ราย/วัน 2557 6,333 7,666 13,999 38 ราย/วัน * 2558 10,712 13,265 23,977 66 ราย/วัน หมายเหตุ : * เนื่องจากในปีงบประมาณ 2557 มีการใช้โปรแกรม OSCC Application ควบคู่ ทำให้สถิติ ในปีงบประมาณ 2557 มีความคลาดเคลื่อนและมีจำนวนตัวเลขต่ำกว่าปรกติ
จำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ จำแนกตามเพศ จำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ จำแนกตามเพศ ปี จำนวนโรงพยาบาล (แห่ง) เพศชาย (ราย) เพศหญิง เพศทางเลือก จำนวนผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง (รวม) เฉลี่ยการถูก ทำร้าย 2559 508* 945 18,053 19 19,017 52 ราย/วัน หมายเหตุ : 1. เนื่องจากในปีงบประมาณ 2559 มีการปรับปรุงโปรแกรมระบบรายงานเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ กลุ่มเพศชาย และ กลุ่มเพศทางเลือก และได้เปลี่ยนชื่อระบบรายงานจากเดิมเป็น “ระบบรายงานการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงและผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยเปิดให้บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 2. * จำนวนรพศ./รพท./รพช. ทั่วประเทศ มีทั้งหมด 896 แห่ง 3. ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559
จำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ จำแนกตามระดับอายุ (ปี) จำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ จำแนกตามระดับอายุ (ปี)
จำนวนผู้มารับบริการ จำแนกตามประเภทของการกระทำรุนแรง (ราย)
ประเภทของการกระทำรุนแรง ทางเพศ (ราย)
ประเภทของการกระทำรุนแรง ทางเพศ (ราย)
ประเภทของการกระทำรุนแรง จำแนกตามผู้กระทำ (ร้อยละ)
ประเภทของการกระทำรุนแรง จำแนกตามสถานที่เกิดเหตุ (ร้อยละ)
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิด การกระทำรุนแรง (ร้อยละ)
2. การพัฒนาระบบข้อมูลเด็กและสตรี
พัฒนาการระบบข้อมูลของศูนย์พึ่งได้ พ.ศ. 2543-2546 ยังไม่ได้มีระบบข้อมูลรวบรวม พ.ศ. 2547-2550 เก็บข้อมูลเป็นแบบสรุป (secondary data) จากรพศ./ รพท. พ.ศ. 2551 – 2558 เก็บข้อมูลรายบุคคล รายงานผ่าน web โปรแกรม OSCC พ.ศ. 2556- 2557 รัฐบาลกำหนดให้ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับ 5 กระทรวงหลัก ให้รายงานผ่าน โปรแกรม ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 หลังปี 2557 หน่วยงานหลักกระทรวงพ.ม. ไม่ยืนยันที่จะดำเนินการ โปรแกรมดังกล่าวต่อไป จึงได้ยกเลิกการดำเนินการดังกล่าวโดย ปริยาย พ.ศ. 2558 ปรับปรุงโปรแกรม OSCC เดิม และดำเนินการเก็บข้อมูลใหม่ ปี 2559
ความจำเป็นในการรายงานระบบ OSCC การรายงานในระบบ 43 แฟ้มของกสธ. ไม่สามารถแยก การบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายออกจากบาดเจ็บชนิดอื่นๆ ได้ หน่วยงานกสธ.มีเครือข่ายกว้างขวางที่สุด ทำให้การ รายงานนี้ เป็นรายงานที่ครอบคลุมการ บาดเจ็บจากการถูกทำร้าย มีข้อมูล มากที่สุดเท่าที่ มีอยู่ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ หลาย อนุสัญญา มีความจำเป็นที่จะต้องรายงาน สถานการณ์ของความรุนแรงต่อเด็กและสตรี การละเมิด สิทธิมนุษย์ชน การค้ามนุษย์
3. คำจำกัดความ ความหมาย ในแบบบันทึก การช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงและผู้ที่ตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์ปีงบประมาณ 2560
แบบบันทึกข้อมูล ใช้กับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง? แบบเดิม : การช่วยเหลือเด็กและสตรี ที่ถูกกระทำรุนแรง แบบใหม่ : การช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ กลุ่มเป้าหมายเดิม กลุ่มเป้าหมายใหม่ 1. ผู้รับบริการเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546) 2. ผู้รับบริการหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวมถึง ผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส 1. ผู้รับบริการที่เป็นเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ 2. ผู้รับบริการหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ที่เข้ารับ บริการในศูนย์พึ่งได้
ความรุนแรง หมายถึง ??? การใช้กำลังหรืออำนาจโดยเจตนา ทั้งการลงมือกระทำจริงหรือการขู่ว่าจะทำ ต่อตนเองและผู้อื่น ต่อกลุ่มคนหรือชุมชน ที่ทำให้เกิด หรือมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าจะเกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือส่งผลร้ายต่อจิตใจ การพัฒนาเติบโต หรือการขาดแคลนในสิ่งที่พึงมีพึงได้ (ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก)
ประเภทของความรุนแรง ความรุนแรงต่อตนเอง หมายถึง การทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย ความรุนแรงระหว่างบุคคล 2.1 ความรุนแรงในครอบครัว : ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน มักจะเกิดขึ้นในบ้าน (รวมถึง : ความรุนแรงระหว่างคู่สมรส / ความรุนแรงต่อลูกหรือเด็กในบ้าน / ผู้สูงอายุ) 2.2 ความรุนแรงในชุมชน : มักเกิดขึ้นนอกบ้านและเป็นการกระทำต่อบุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น ความรุนแรงในวัยรุ่น อาชญากรรม เป็นต้น 2.3 ความรุนแรงในสังคม : อาจเกิดจากสาเหตุทางสังคม การเมือง หรือเศรษฐกิจ การเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ข่มเหง ความรุนแรงระหว่างบุคคลแสดงออกได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ทางเพศ การละเลยทอดทิ้ง การล่อลวง/บังคับแสวงหาประโยชน์
ความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง ??? การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ ให้เกิดอันตราย แก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพหรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตราย แก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัวหรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม ให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ (ตามพรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550) แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท
บุคคลในครอบครัว หมายถึง ??? คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้ง (ตามพรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550) บุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน
บุคคลในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 นี้มีความหมายกว้างนอกเหนือจากความหมายตามกฎหมายครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลในครอบครัวตามพระราชบัญญัติฯ จึงหมายรวมถึง 1. คู่สมรส หมายถึง ชายและหญิงที่อยู่ร่วมกันโดยจดทะเบียนสมรส 2. คู่สมรสเดิม หมายถึง ชายและหญิงที่เคยจดทะเบียนสมรส ต่อมาภายหลังได้จดทะเบียนหย่า 3. ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส 4. บุตร หมายถึงบุตรตามความเป็นจริง 5. บุตรบุญธรรม 6. สมาชิกในครอบครัว หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือทางญาติพี่น้องกัน เช่น บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย 7. บุคคลใดๆที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน หมายถึง บุคคลใดที่มิใช่บุคคลตามข้อ 1-6 ที่ต้องพึ่งพาอาศัยไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจหรือสังคมและต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นต้องพึ่งพา อาศัยหรืออยู่ในครัวเรือนเดียวกันในขณะที่มีการใช้ความรุนแรง เช่น คนรับใช้
การข่มขืนกระทำชำเรา หมายถึง ??? การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 19 พ.ศ.2550) ซึ่งรวมถึงชาย เด็กชาย บุคคลเพศที่ 3 และ คู่สมรส
ซึ่งรวมถึงชาย เด็กชาย บุคคลเพศที่ 3 และ คู่สมรส อนาจาร หมายถึง ??? การกระทำที่ไม่เหมาะสมทางเพศ เช่น การกอด จูบ ลูบคลำ การลูบไล้ การเล้าโลม แตะต้องเนื้อตัวส่วนต่างๆของร่างกาย และหมายความรวมถึง การทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับความอับอายขายหน้าในทางเพศต่อหน้าธารกำนัล ซึ่งรวมถึงชาย เด็กชาย บุคคลเพศที่ 3 และ คู่สมรส
รูปแบบของการกระทำรุนแรง 1. การกระทำรุนแรงทางร่างกาย 2. การกระทำรุนแรงทางเพศ 3. การกระทำรุนแรงทางจิตใจ 4. ละเลยทอดทิ้ง 5. การล่อลวง/บังคับแสวงหาผลประโยชน์
การกระทำรุนแรงทางร่างกาย หมายถึง ??? การใช้กำลังหรืออุปกรณ์ใดๆเป็นอาวุธ ทำร้าย ร่างกายเกินกว่าเหตุ มีผลทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต ได้แก่ การใช้กำลัง, การใช้อาวุธ/สิ่งของ/อุปกรณ์/ สารเคมี, มอมยา/มอมสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การกระทำรุนแรงทางร่างกาย กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 2. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้แก่ 1. คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กิน หรือ เคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียน สมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัย และ อยู่ในครอบครัวเดียวกัน 2. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกวาสิบแปดปบริบูรณแตไมรวมถึงผูที่บรรลุนิติภาวะดวยการสมรส
การกระทำรุนแรงทางเพศ หมายถึง ??? การกระทำที่มีผลทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับความเสียหาย เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยสมัครใจ หรือ ไม่สมัคร ใจ กรณีสมัครใจ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี, บุคคล อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ กรณีไม่สมัครใจ ได้แก่ กระทำชำเรา, กระทำ อนาจาร กลุ่มเป้าหมาย ทุกกลุ่มเป้าหมาย (เด็ก, สตรี, ผู้ชาย, ผู้สูงอายุ, คนพิการ)
การกระทำรุนแรงทางเพศโดยไม่สมัครใจ การกระทำชำเรา การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้ อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยวะเพศ ทวาร หนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใด กระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
การกระทำรุนแรงทางเพศโดยไม่สมัครใจ การกระทำอนาจาร กระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางเพศ เช่น การกอด จูบ ลูบคลำ การลูบไล้ การเล้าโลม แตะต้องเนื้อตัว ส่วนต่างๆของร่างกาย และหมายความรวมถึง การทำให้ ผู้ถูกกระทำได้รับความอับอายขายหน้าในทางเพศต่อหน้าธารกำนัล ได้แก่ ให้เด็กแสดงหรือดูภาพ/วีดีโอลามก การให้ เด็กเปิดเผยของสงวน และการเปิดเผยของสงวนให้ เด็กดู
การกระทำรุนแรงทางจิตใจ หมายถึง ??? การกระทำใดๆ ที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบกระเทือนด้านจิตใจ หรือเสียสิทธิเสรีภาพ ได้แก่ กักขังหน่วงเหนี่ยว/จำกัดอิสรภาพ, ปฏิเสธ ดู ถูกเหยียดหยาม ทำให้ไม่มีคุณค่า, ข่มขู่ทำให้ หวาดกลัว, การเฉยเมยไม่สนใจ, ทะเลาะ/ทำร้าย ร่างกายกันต่อหน้าเด็ก
การกระทำรุนแรงทางจิตใจ กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 2. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้แก่ 1. คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กิน หรือ เคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียน สมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัย และ อยู่ในครอบครัวเดียวกัน 2. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกวาสิบแปดปบริบูรณแตไมรวมถึงผูที่บรรลุนิติภาวะดวยการสมรส
การละเลยทอดทิ้ง หมายถึง ??? การละเว้นอย่างต่อเนื่อง ในการสนองต่อความต้องการพื้นฐาน ทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ และพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ได้แก่ ละเลยในการจัดสิ่งจำเป็นพื้นฐานทางกาย/ สุขภาพ, ละเลยในการดูแลอารมณ์ความรู้สึกหรือขาด การให้ความสนใจอย่างพอเพียง, การทิ้งไว้ในที่ สาธารณะ
การละเลยทอดทิ้ง กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 2. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้แก่ 1. คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กิน หรือ เคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียน สมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัย และ อยู่ในครอบครัวเดียวกัน 2. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกวาสิบแปดปบริบูรณแตไมรวมถึงผูที่บรรลุนิติภาวะดวยการสมรส
ล่อลวง/บังคับแสวงหาผลประโยชน์ หมายถึง ??? การใช้เด็กหรือผู้หญิง ในกิจกรรมซึ่งสนองประโยชน์แก่คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์การเงิน ด้านเพศ หรือด้านอำนาจทางการเมือง ได้แก่ การใช้แรงงานเด็ก, ค้ามนุษย์ (การค้า ประเวณี, การผลิต หรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก, การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในรูปแบบอื่น, การเอาคนมาเป็นทาส, การนำคนมาขอทาน, การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ, การบังคับตัดอวัยวะ เพื่อการค้า, การขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม)
ล่อลวง/บังคับแสวงหาผลประโยชน์ กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 2. ผู้ถูกกระทำตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ได้แก่ 1. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกวาสิบแปดปบริบูรณแตไมรวมถึงผูที่บรรลุนิติภาวะดวยการสมรส 2. ผู้หญิง, ผู้ชาย, ผู้สูงอายุ, คนพิการ
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หมายถึง ??? สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการณ์จะให้เกิดขึ้น การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการคุมกำเนิดการถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์ เป็นต้น กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับบริการที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการในศูนย์พึ่งได้
สาเหตุการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาจากการคุมกำเนิด - ไม่ได้คุมกำเนิด - คุมกำเนิด ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน, ยาฉีด คุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด, ถุงยางอนามัย, ใส่ห่วงอนามัย, ทำหมัน, หลั่งข้างนอก 2. ปัญหาการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการกระทำความผิดทาง กฎหมาย ได้แก่ กระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี, กระทำชำเรา บุคคลอายุ 15 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์, กระทำชำเราบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป
แบบบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
แบบบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
แบบบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ต่างกันตรงไหน ???
4. โปรแกรมฐานข้อมูลการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำ รุนแรงและผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ระบบการรายงาน รพช. รพศ.,รพท. สสจ. Server สบรส. สบรส.
ระบบ Smart Card กับโปรแกรม OSCC ลงทะเบียนผู้ใช้ระบบ กรมการปกครอง เก็บเลข 13 ของผู้ใช้ระบบ ส่งข้อมูลบุคคลที่ค้นหา
oscc oscc
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เรียกดูรายงานข้อมูล ส่งออกข้อมูลเป็นรายบุคคลได้ภายในจังหวัด เท่านั้น ไม่สามารถเห็นข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลของ ผู้มารับบริการ
หลายท่านอาจต้องถือ 2 User/Password โรงพยาบาล Admin : บริหารจัดการ User : ผู้รายงานข้อมูล หลายท่านอาจต้องถือ 2 User/Password
Admin : ผู้บริหารจัดการระบบ ทำหน้าที่อะไร ???? เพิ่มรหัสผ่านให้ผู้รายงานข้อมูล ส่งออกข้อมูลเป็นรายบุคคลได้ภายในรพ.ตนเอง เท่านั้น Username : รหัสหน่วยบริการ 5 หลัก/ Password : 123456 ไม่สามารถเห็นข้อมูลที่ระบุตัวบุคคล ของผู้มารับบริการ
User : ผู้รายงานข้อมูล ทำหน้าที่อะไร ???? นำเข้า + แก้ไขข้อมูล + ลบข้อมูล เรียกดูข้อมูลรายบุคคล Username / Password : ตามที่กำหนดในเมนู “จัดการ ผู้บันทึก แบบรายงาน” ผู้รายงานข้อมูล เท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ทราบชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชนผู้ป่วย
การเข้าสู่ระบบรายงานการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงและผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
การเข้าสู่ระบบรายงาน (ตัวจริง) สำนักบริหารการสาธารณสุข http://www.phdb.moph.go.th เลือกเมนู หรือ http://phdb.moph.go.th/hssd1/
การเข้าสู่ระบบรายงาน (ตัวจำลอง) 1. เรียกใช้งานโปรแกรมผ่าน Google Chrome 2. ที่ Address พิมพ์ http://phdb.moph.go.th/test_hssd1/
การเข้าสู่ระบบรายงาน (ตัวจำลอง) 3. ระบบจะแสดงหน้าแรก ให้ระบุ ชื่อผู้ใช้ (Username) : noomnim รหัสผ่าน (Password) : 1234 แล้วคลิก “เข้าสู่ระบบ”
การเข้าสู่ระบบรายงาน (ตัวจำลอง) 4. ไปที่ “ระบบโปรแกรม” เลือก “โปรแกรมระบบรายงานเด็ก และสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง”
น้องนิ่ม 0830213223 , 025901741 E-mail : preeti.s@moph.mail.go.th