ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ขอบเขตการบังคับใช้วิ.ปกครอง 2.1 ทบทวนหลักการกระทำทางปกครองต้อง ชอบด้วยกฎหมาย 2.2 การบังคับใช้กับคำสั่งทางปกครอง 2.3 ขอบเขตการใช้วิ.ปกครองในฐานะกฎหมาย กลาง (มาตรา 3) 2.4 ข้อยกเว้นการบังคับใช้วิ.ปกครอง (มาตรา 4)
หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย กรณีศึกษา ความเป็นมาของแนวคิด สาระสำคัญ ความแตกต่างของหลักกฎหมายมหาชนกับหลัก กฎหมายเอกชน หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ
กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน กับผู้แทนเยาวชน แสดงความเป็นห่วง ปัจจุบัน สังคมขาดความเอื้ออาทร และไม่เคารพกฎหมาย 27 เม.ย. 2558
กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน
“ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อ ป.อาญา มาตรา 113 “ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อ ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ.....” ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกบฏต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ร.ธ.น. 2557 มาตรา 48 “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดอำนาจและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557…. ไม่ว่าก่อนหรือหลัง หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน รณรงค์ไม่เอารัฐประหารถูกจับ รณรงค์ตรวจสอบการทุจริตถูกจับ
กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน คสช.ออกประกาศยกเลิกผังเมืองเพื่อเปิดทางอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
ความเป็นมาของแนวคิด ทำไมต้องปกครองโดยกฎหมาย ทวิลักษณะของมนุษย์ : เหตุผล กับ อารมณ์ความรู้สึก มีความไม่แน่นอน ทำอะไรตามอำเภอใจ เอกลักษณ์ของกฎหมาย : เหตุผล มีความแน่นอนชัดเจน ตัดอารมณ์ ความรู้สึกออกไป
ความเป็นมาของแนวคิด นักปรัชญากรีก ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด คือ ราชาปราชญ์/ Philosophy King ระบอบการปกครองที่ดีถัดมา คือ การปกครองโดย กฎหมาย/ The Law ระบอบการปกครองโดยกฎหมายเท่านั้นที่เป็นที่ ปรารถนาของประชาชน
ความเป็นมาของแนวคิด ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนเป็นเพียงวัตถุแห่งการปกครอง การกำหนดสิทธิหน้าที่มาจากผู้ปกครอง The King can do no wrong ฝ่ายบริหารไม่มีทางทำผิดกฎหมาย “รัฐ ก็คือตัวข้า” หลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
ความเป็นมาของแนวคิด พัฒนาการทางการเมืองมาจากการต่อสู้เรียกร้อง ผู้ถูกปกครองมีอำนาจมากขึ้นจากการต่อสู้ Magna Carta 1215 กษัตริย์ยอมจำกัด อำนาจ Glorious Revolution 1688 กษัตริย์ ยอมอยู่ใต้กฎหมายของสภา, ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายของสภา อังกฤษจึงเป็นต้นแบบของประเทศประชาธิปไตยที่ปกครอง โดยกฎหมาย
หลักการปกครองโดยกฎหมายในระบบกฎหมายไทย คำถาม ประเทศไทยเปลี่ยนจากการปกครองโดยคน มาเป็นการปกครองโดยกฎหมายเมื่อใด 2) อะไรคือหลักฐานยืนยันการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว
หลักการปกครองโดยกฎหมายในระบบกฎหมายไทย 24 มิถุนายน 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครอง ร.ธ.น. 10 ธ.ค. 2475 มาตรา 2 อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม มาตรา 12 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมเสมอกันโดยกฎหมาย
หลักกฎหมายเอกชนกับหลักกฎหมายมหาชน หลักการพื้นฐานของกฎหมายเอกชน หลักเสรีภาพ แดนอำนาจของเอกชน ประชาชนมีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมาย ห้าม เช่น ในการขอทำบัตรประชาชน ประชาชนมีสิทธิที่จะแจ้ง เจ้าหน้าที่ว่าตนนับถือศาสนาอะไร หรือไม่นับถือศาสนาก็ได้
หลักกฎหมายเอกชนกับหลักกฎหมายมหาชน หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน ผูกพันต่อกฎหมาย ในฐานะฐานแห่งอำนาจ เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชน ฝ่ายปกครองจะกระทำการกระทบสิทธิประชาชนไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ เช่น เจ้าหน้าที่รับทำบัตรประชาชน ต้องการให้ประชาชน ระบุศาสนาที่นับถืออย่างชัดเจนได้หรือไม่
กรณีศึกษาที่ ๑ พวกชอบตื๊อ น.ศ. ถูกใจเพื่อนร่วมคณะ น.ศ. จึงติดตามตื้อเพื่อ จะขอชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ขอจีบ ขอเป็นแฟน หรือขอ แต่งงาน โดยตามอยู่นานเพื่อนก็ไม่เปลี่ยนใจและบอกให้ หยุดตามตื้อ แต่น.ศ.เชื่อที่แม่บอกว่าตื้อเท่านั้นที่ครอง โลก จึงยังคงตามตื้อต่อไป เช่นนี้เพื่อนนักศึกษาจะ ดำเนินการทางกฎหมายกับ น.ศ.ได้หรือไม่อย่างไร
กรณีศึกษาที่ ๒ พวกชอบดื่ม ชอบคุย น.ศ. กับเพื่อน ๆ ไปเที่ยวดื่มกินกันที่ร้าน Warm Up ขณะที่กำลังคุยกันอย่างออกรสอยู่ ตำรวจนอก เครื่องแบบได้เข้าตรวจสอบความเรียบร้อยและถามชื่อและ ขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชน น.ศ. มีสิทธิปฏิเสธ หรือไม่ อย่างไร
เนื้อหาของ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหาย ความมาก่อนของกฎหมาย หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ เงื่อนไขของกฎหมาย
หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ฝ่ายปกครองต้องไม่กระทำการใดที่ขัดต่อกฎหมาย ต้องพิจารณาว่าในขณะที่ฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจนั้น มีกฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้อง หากไปขัดกฎหมาย ฉบับใดฉบับหนึ่ง ต้องละเว้นจากการกระทำนั้น หากฝ่ายปกครองฝ่าฝืนย่อมส่งผลให้การกระทำ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย การกระทำทางปกครอง คือ ผลิตผลของการใช้อำนาจ ทางปกครอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น .....................? การกระทำหน้าที่ vs การริเริ่ม โครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ กฎหมาย อะไรบ้างที่เป็นข้อจำกัดของการกระทำทาง ปกครอง ?
กฎหมายที่เป็นข้อจำกัดของการใช้อำนาจทางปกครอง รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่เทียบเท่าพระราชบัญญัติ จารีตประเพณี กฎหมายลำดับรอง ระเบียบภายในฝ่ายปกครอง เฉพาะที่สร้างขึ้นมาเพื่อ คุ้มครองสิทธิประชาชน
คำสั่ง, สัญญา, ปฏิบัติการ พีระมิดของกฎหมาย ร.ธ.น. พ.ร.บ./เทียบเท่า กฎ คำสั่ง, สัญญา, ปฏิบัติการ
2.1 การบังคับใช้กับ คำสั่งทางปกครอง 2.1 การบังคับใช้กับ คำสั่งทางปกครอง
กิจกรรมทางปกครอง กิจกรรมเชิงควบคุม การรักษาความสงบเรียบร้อย การดูแลประโยชน์สาธารณะ กิจกรรมเชิงบริการ การจัดให้มีสาธารณูปโภค การบริการประชาชน กิจกรรมเชิงปราบปราม การดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 1. กิจกรรมเชิงควบคุม = ในรูปแบบคำสั่ง กฎ เช่น การออกใบอนุญาตต่างๆ อาจารย์ การออกเกรด การควบคุมคุณภาพการศึกษา การลงโทษนักศึกษาผิดวินัย 2. กิจกรรมเชิงให้บริการ = ในรูปแบบการกระทำกายภาพ/ปฏิบัติการทางปกครอง สัญญาทางปกครอง เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภค การสอน 3. กิจกรรมเชิงปราบปราม ตำรวจทางยุติธรรม police judiciaire ตำรวจ อัยการเป็นฝ่ายปกครอง แต่ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี (สั่งขัง ชอบไม่ชอบ สั่งฟ้องไม่ฟ้อง ประกัน) มาตรา ๔ พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
รูปแบบการกระทำของฝ่ายปกครอง กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน ปฏิบัติการทางปกครอง การกระทำทางกฎหมาย ความสัมพันธ์ภายใน ความสัมพันธ์ภายนอก รูปธรรม-เฉพาะราย นามธรรม-ทั่วไป นามธรรม-ทั่วไป รูปธรรม-ทั่วไป รูปธรรม-เฉพาะราย คำสั่งภายใน กฎ ระเบียบภายใน คำสั่งทั่วไป ทางปกครอง ฝ่ายเดียว สองฝ่าย คำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครอง
กิจกรรมทางปกครอง กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน ฝ่ายปกครองมีฐานะเหนือกว่าเอกชน ใช้อำนาจมหาชนบังคับ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของเอกชนโดยไม่ต้องการการยินยอม กฎหมายเอกชน ฝ่ายปกครองมีฐานะเท่าเทียมกับเอกชน หลักความยินยอมในการผูกนิติสัมพันธ์(สัญญาทางแพ่ง)
การกระทำที่มุ่งต่อผลทางกฎหมาย การกระทำทางข้อเท็จจริง การกระทำทางปกครอง ในระบบกฎหมายมหาชน การกระทำที่มุ่งต่อผลทางกฎหมาย (ก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง ยกเลิก นิติสัมพันธ์) ปฏิบัติการทางปกครอง การกระทำทางข้อเท็จจริง (ไม่เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิและหน้าที่)
การกระทำที่มุ่งต่อผลทางกฎหมาย การกระทำฝ่ายเดียว ผลภายนอก ผลทั่วไป กฎ ผลเฉพาะ คำสั่ง ไม่เจาะจงบุคคล เจาะจงกรณี คำสั่งทั่วไป ผลภายใน ระเบียบภายใน คำสั่งภายใน การกระทำสองฝ่าย สัญญาทางปกครอง
มาตรา 5 วรรคสาม วิ.ปกครอง “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การ อนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจด ทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำสั่งทางปกครอง ความหมายโดยเนื้อหา (มาตรา 5 วรรคสาม (1) พ.ร.บ.วิ.ปกครอง) ความหมายตามที่องค์กรฝ่ายปกครองบัญญัติไว้ เป็นกรณีในกฎกระทรวง (มาตรา 5 วรรคสาม (2) พ.ร.บ.วิ.ปกครอง)
◊ คำสั่งทางปกครองตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 5 วรรคสาม (2) วิ ◊ คำสั่งทางปกครองตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 5 วรรคสาม (2) วิ.ปกครอง) “(๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง” เป็นการบังคับให้เป็นคำสั่งทางปกครอง โดยอำนาจทาง กฎหมาย แม้จะไม่เข้าลักษณะของคำสั่งทางปกครอง ตามความหมายโดยแท้
การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ของทางราชการ กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นคำสั่งทางปกครอง การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ของทางราชการ สั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ อนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่าหรือให้สิทธิปย. สั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาคำเสนอ สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา
◊ คำสั่งทางปกครองโดยเนื้อหา (มาตรา 5 วรรคสาม (1) วิ.ปกครอง) “(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็น การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการ ถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”
◊ คำสั่งทางปกครองโดยเนื้อหา การกระทำของเจ้าหน้าที่ เป็นการใช้อำนาจปกครอง เป็นการใช้อำนาจฝ่ายเดียว เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล มีผลภายนอกฝ่ายปกครอง มีผลเฉพาะบุคคลและเฉพาะกรณี เพื่อที่จะเป็นคำสั่ง ต้องเข้าเกณฑ์ ทุกข้อ
1. การกระทำของเจ้าหน้าที่ คำสั่งทางปกครองต้องกระทำโดย « เจ้าหน้าที่ » ที่ กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ข้อยกเว้น เอกชนอาจได้รับมอบอำนาจปกครองจาก กฎหมาย (พ.ร.บ.) ให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานต่อไปนี้ มีอำนาจออกใบอนุญาต ให้แก่บุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน มีอาวุธ ปืนติดตัวไปได้ตามความที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) อธิบดีกรมตำรวจ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และ ทั่วราชอาณาจักร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัด เฉพาะภายในเขตจังหวัดของตน และเฉพาะผู้ที่มีถิ่น ที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
พ.ร.บ. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มาตรา 55 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีอำนาจให้ ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ในสาขาวิชาที่มี การศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้
สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) พ.ร.บ. การขนส่ง ทางบก พ.ศ. 2522
2. เป็นการใช้อำนาจปกครอง ≠ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ คำสั่งของประธานรัฐสภาในการ ดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ. การตรากฎหมาย ≠ คำสั่งทางปกครอง
≠ การใช้อำนาจตุลาการ คำพิพากษาของศาล หรือ คำสั่งใดๆในกระบวนการ พิจารณาพิพากษาอรรถคดี ≠ คำสั่งทางปกครอง
คำสั่งของประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม (ก. ต คำสั่งของประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เพื่อไล่ผู้พิพากษาที่ทำผิด วินัยร้ายแรงออกจากราชการ โดยอาศัยอำนาจจาก พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 = คำสั่งทางปกครอง แต่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ม.9 วรรคสอง (2) กำหนดยกเว้นไว้ไม่ให้ศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบการ ดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
≠ การใช้อำนาจรัฐบาล ทางเนื้อหา ทางฐานอำนาจ ความสัมพันธ์กับรัฐสภา การกำหนดนโยบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทางฐานอำนาจ การกระทำทางรัฐบาล ได้รับอำนาจจากบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ
3. เป็นการใช้อำนาจฝ่ายเดียว เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจฝ่ายเดียวที่เหนือกว่าวินิจฉัยสั่ง การโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับคำสั่ง โดยอาศัยฐานอำนาจจากกฎหมาย (พ.ร.บ. พ.ร.ก. กฎหมายลำดับรอง)
≠ สัญญา สัญญา การแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่าย มีการทำคำเสนอและคำสนอง แลกเปลี่ยนเจตนาซึ่งกันและกัน เมื่อเจตนาสอดคล้องกันก็เกิดเป็น สัญญา สัญญาทางปกครอง (มาตรา 3 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง) สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทาง ปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และ มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ
คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญา คำสั่งทางปกครองที่มีการร้องขอ เช่น ใบอนุญาตต่างๆ คำสั่งทางปกครองที่ต้องการความยินยอมของผู้รับคำสั่ง เช่น คำสั่งบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
4. เป็นการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง ระงับนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล “การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการ ถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน” (มาตรา 5 วิ. ปกครอง)
การกำหนด การยืนยัน สถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของ บุคคล การกำหนดกฎเกณฑ์ การสั่งการ การบังคับให้กระทำการ งด เว้นกระทำการ ยอมให้บุคคลอื่นกระทำการ การอนุญาต หรือไม่อนุญาต การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เช่น คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร คำสั่งปฏิเสธคำขอใบอนุญาตตั้งสถาน บริการ การกำหนด การยืนยัน สถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของ บุคคล เช่น คำสั่งแต่งตั้งบรรจุข้าราชการ การรับรองวุฒิการศึกษา
ไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง การให้ข้อมูล คำแนะนำ การเตือน การขอความร่วมมือให้ กระทำหรือละเว้นการกระทำ เช่น หนังสือเตือนให้คนต่างด้าวไปต่อใบอนุญาต การแจ้งคำสั่ง การเตรียมการหรือการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เพื่อออกคำสั่ง เช่น คำสั่งแต่งตั้งคกก.สอบสวนความผิดวินัย
การสอบสวนความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตั้งคณะกรรมการสอบสวน คัดค้านกรรมการหรือกรรมการถอนตัว แจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา รวบรวมพยานหลักฐาน แจ้งสรุปพยานหลักฐานและให้โอกาสแก้ข้อกล่าวหา ทำรายงานการสอบสวน สั่งลงโทษทางวินัย
5. มีผลกระทบภายนอกฝ่ายปกครอง ≠ คำสั่งภายในฝ่ายปกครอง การสั่งการระหว่างผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีผลเป็นการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิกสิทธิของบุคคลภายนอกฝ่ายปกครอง
คำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ที่กระทบต่อสิทธิหน้าที่ใน ฐานะที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นกลไกขององค์กร เช่น คำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำรายงาน ทำแผนที่ = คำสั่งภายในฝ่ายปกครอง คำสั่งที่กระทบต่อสิทธิหน้าที่ส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย = คำสั่งทางปกครอง
กฎ คำสั่งทางปกครอง 6. มีผลเฉพาะบุคคลและเฉพาะกรณี ไม่เจาะจงบุคคล และไม่เจาะจงกรณี ทั่วไป นามธรรม กฎ เจาะจงบุคคล และเจาะจงกรณี เฉพาะราย รูปธรรม คำสั่งทางปกครอง ไม่เจาะจงบุคคล แต่เจาะจงกรณี ทั่วไป รูปธรรม คำสั่งทั่วไป ทางปกครอง
แบบฝึกหัดชิ้นที่ 1 ให้นักศึกษายกตัวอย่างการกระทำทางปกครองที่นักศึกษาเห็น ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองมาหนึ่ง ฉบับ แล้วอธิบายตาม องค์ประกอบของคำสั่งทางปกครองว่า การกระทำทางปกครอง ดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนตามองค์ประกอบของคำสั่งทาง ปกครองอย่างไร โดยอ้างอิงมาตราของกฎหมายให้ชัดเจน